กำเนิดพระพิมพ์ พระพิมพ์ทวาราวดี พระพิมพ์ซุ้มพุทธคยา พระพิมพ์ปางมหาปาฏิหาริย์ สมัยทวาราวดี นิยมสร้างพระพิมพ์ด้วยดินเผา คติในการสร้างพระพิมพ์แต่เดิมนั้น กำเนิดพระพิมพ์คงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นของที่ระลึก พระพิมพ์ปางมหาปาฏิหาริย์ เป็นพระเครื่องเนื้อดินพบที่ ราชบุรี มีจารึกคาถา เย ธัมมา อยู่ด้านหลัง (ในภาพ) หากได้พบพระพิมพ์และจารึกย่อๆ คาถา เย ธัมมา (ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา) แล้วก็ยังจะรู้ได้ว่า มีพระ พุทธศาสนาซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเกิดขึ้นแล้ว
พระพิมพ์ปางมหาปาฏิหาริย์ พบที่ราชบุรี มีจารึกคาถา เย ธัมมา อยู่ด้านหลัง ส่วนหนึ่งของกิจกรรม เนื่องในเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศส-ไทย ครั้งที่ 6 ประจำ ปี พ.ศ.2552 คือ นิทรรศการ เรื่อง "ศิลปะทวาราวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย" ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑ์สถาน แห่งชาติเปิดให้ประชาชนเขาชมตั้งแต่ วันที่ 14 ส.ค.ไปจนถึงวันที่ 9 ต.ค.นี้ ตอนหนึ่งจากหนังสือ ศิลปะทวาราวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย (มีจำหน่ายในงาน) ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ เขียนเรื่องพระพิมพ์...ว่า กำเนิดพระพิมพ์ สมัยทวาราวดี นิยมสร้างพระพิมพ์ด้วยดินเผา คติในการสร้างพระพิมพ์แต่เดิมนั้นคงมี วัตถุประสงค์เพื่อเป็นของที่ระลึก แสดงถึงการที่พุทธศาสนิกชนได้ไปบูชาสังเวชนียสถานทางพระพุทธศาสนาในประเทศ อินเดีย 4 แห่ง คือสถานที่ประสูติ (สวนลุมพินี) สถานที่ ตรัสรู้ (ตำบลพุทธคยา) สถานที่ประทานปฐมเทศนา (ตำบลสารนาถ) และสถานที่ปรินิพพาน (เมืองกุสินารา) หรือสร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระพุทธ ศาสนา ให้พระพุทธรูปและพระธรรมอันเป็นหัวใจของพุทธศาสนาปรากฏอยู่ แม้จนกระทั่งเมื่อปัญจอันตรธานมาถึง โดยเชื่อตามคัมภีร์ของลังกาว่า เมื่อ พ.ศ.5000 มาถึง พระพุทธศาสนาจะเสื่อมทราม ไม่มีพระสงฆ์และไม่มีใครสามารถรู้พระธรรมวินัยแล้ว หากได้พบพระพิมพ์และจารึกย่อๆ คาถา เย ธัมมา (ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา) แล้ว ก็ยังจะรู้ได้ว่า มีพระพุทธศาสนาซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเกิดขึ้นแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมสร้างพระพิมพ์จำนวนมากบรรจุไว้ตามเจติยสถาน เพื่อเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนา พระพิมพ์ที่สร้างขึ้นสมัยทวาราวดี มีหลายรูปแบบ...ดังนี้ พระพิมพ์ปางมหาปาฏิหาริย์ พบที่ราชบุรี มีจารึกคาถา เย ธัมมา อยู่ด้านหลัง (ในภาพ) พระพิมพ์นี้ ได้มีการตีความออกเป็น 2 แนวความคิด แนวคิดแรกชื่อว่าเป็นพระพุทธประวัติตอนแสดงมหาปาฏิหาริย์ ที่เมืองสาวัตถี แนวคิดที่สอง เป็นเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมบนยอดเขาคิชฌกูฏ ตามคัมภีร์สัทธรรมบุณฑริกสูตรของมหายาน ที่ใช้ภาษาสันสกฤต ผสมภาษาปรากฤต คัมภีร์นี้กล่าวถึงการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าเป็น 4 ขั้น เพื่อสั่งสอนให้สัตว์ทั้งหลายได้พ้นทุกข์ โดยแสดงธรรมขั้นต่ำแก่ฝ่ายหินยานก่อน แล้วจึงแสดงธรรมชั้นสูงต่อฝ่ายมหายาน โดยแสดงต่อพระโพธิสัตว์ เพื่อให้ถึงความเป็นพระพุทธเจ้า (ตรัสรู้) เท่านั้น พระพิมพ์ซุ้มพุทธคยา มีทั้งพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ เป็นแบบที่สืบทอดมาจากต้นแบบพระพิมพ์พุทธคยาในประเทศอินเดีย พบมาก ที่นครปฐม เมืองอู่ทอง ราชบุรี กาญจนบุรี กรุวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ และพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การค้นพบพระพิมพ์พุทธคยา นับเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้ถึงเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ที่สุด สิ่งหนึ่ง เพราะพบทั้งในประเทศอินเดีย พม่า และไทย บทความพระเครื่องเรื่องพระพิมพ์ที่ประกอบด้วยสถูป หรือธรรมจักรด้านข้าง เป็นพระพิมพ์ดินเผาอีกรูปแบบหนึ่งที่แพร่หลายในวัฒนธรรมทวาราวดี ประกอบด้วยพระพุทธรูปประทับอยู่ตรงกลาง ประดับด้วยสถูปและธรรมจักร หรืออาจเป็นสถูปทั้งสองด้าน องค์พระโดยทั่วไปมี ปางสมาธิ ปางมารวิชัย และปางประทับนั่งด้วยพระบาท แสดงปางประทานธรรม. คำ ว่าพระเครื่อง พระพิมพ์ O บาราย O
ที่มาหนังสือไทยรัฐ ออนไลน์ http://www.thairath.co.th/content/pol/29533
|