|
จัดว่าเป็น เทียนมงคล ด้วยเหมือนกัน สำหรับจัดไว้ในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษา จนถึงวันออกพรรษา
การจัดทำเทียนพรรษามีวัฒนาการมาเป็นลำดับจากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่นเป็นเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย และนำไปถวายพระสงฆ์ การนำเทียนเล่มเล็กๆหลายๆเล่มมามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายต้นกล้าหรือลำไม้ไผ่แล้วนำไปติดตั้งกับฐาน การมัดรวมเทียนแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของการทำต้นเทียนและกลายเป็น ต้นเทียนพรรษา ในสมัยต่อมาเทียนพรรษานั้น ได้จำแนกออกเป็น ๒ ชนิด ได้แก่ ๑. เทียนพรรษาแบบจุดได้ สามารถให้แสงสว่างซึ่งมีขนาดและกำหนดเป็นมาตรฐาน ผิวเรียบและลวดลายที่เกิดจากพิมพ์ ไม่สามารถที่จะนำมาแกะได้ ๒. ส่วนเทียนพรรษาที่จัดทำขึ้นเอง เทียนประเภทนี้มีขี้ผึ้งผสมอยู่ ๖๐๗๐%มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๑๕, ๒๐, ๒๕, ๓๐ ซม. เทียนประเภทนี้ไม่มีไส้ ผู้ทำจะนำเอาไม้ หรือเหล็กมาทำเป็นแกน (เพื่อความแข็งของต้นเทียนที่จะนำมาแกะ)ก่อนเทเทียนห่อหุ้ม ผู้ทำจะนำเอาเชือกมาพันให้ตลอดแกน ก่อนจะนำเข้าพิมพ์หล่อ ก่อนนำเทียนมาหล่อห่อหุ้ม เมื่อแข็งตัวแล้วจึงนำแกะสลักตกแต่ง เทียนพรรษาชนิดนี้จุดไม่ได้ จัดทำเพื่อการประกวดความสวยงาม ถวายเป็นพุทธบูชาอย่างเดียวเท่านั้น
เทียนที่จะนำมาประกวด แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทคือ ๑. ประเภทมัดรวมติดตาย ๒. ประเภทติดพิมพ์ ๓. ประเภทแกะสลัก ต้นเทียนทั้ง ๓ ประเภทนี้ มีประวัติความเป็นมา อาจแบ่งออกได้เป็น ๓ สมัย ดังนี้ สมัยแรก (พ.ศ. ๒๕๔๔๒๕๗๙) การคิดทำต้นเทียนจะทำลักษณะง่าย ๆ โดยนำเทียนเล่มเล็ก ๆ มามัดรวมกันด้วยเชือก หรือป่าน และต่อเทียนที่มัดแล้วให้เป็นลำต้นสูงตามความต้องการ แล้วใช้กระดาษสีพันรอบ ๆ ก็ถือว่าสวยงามเพียงพอแล้ว เป็นการลงทุนที่ไม่มากนัก ต่อมามีการทำต้นเทียนให้ใหญ่โต และมีการใช้ทุนมากขึ้น จะทำโดยลำพังตนเองไม่ได้ จึงมีการรวมกลุ่มกันทำเป็นคุ้ม ๆ ไป ตามชื่อวัดในละแวกนั้นมาไม่ได้ขาด จนกระทั่งสมัยกลาง
สมัยกลาง (พ.ศ. ๒๔๘๐๒๕๐๑) การจัดทำต้นเทียนได้ทำอย่างจริงจังใน พ.ศ. ๒๔๘๐ และได้วิวัฒนาการสลับซับซ้อนมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากที่เคยทำมาอย่างมาก มีการพิมพ์ลายดอกผึ้งเป็นลายต่าง ๆ จากแบบพิมพ์ที่ทำขึ้น แบบพิมพ์จะแกะสลักจากต้นกล้วยบ้างและผลไม้บางชนิดบ้าง เช่น มะละกอ ฟักเขียว ฟักทอง มันเทศ เป็นต้น เมื่อทำแบบพิมพ์ลายต่าง ๆ เสร็จแล้ว จะนำไปจุ่มลงในน้ำขี้ผึ้งที่ต้มจนหลอมละลาย แล้วนำแบบพิมพ์ที่ขี้ผึ้งติดอยู่ ไปจุ่มในน้ำเย็นอีกครั้งหนึ่ง จะได้ลายดอกขี้ผึ้งตามแบบพิมพ์ลายดอกต่าง ๆ แล้วไปติดกับต้นเทียนที่หล่อไว้แล้ว ตลอดจนส่วนฐานและองค์ประกอบอื่น ๆ ให้มีลวดลายงามตามรูปแบบที่คิดไว้ วิธีการเช่นนี้นับว่าเป็นต้นแบบการจัดทำต้นเทียน ประเภทติดพิมพ์" การพิมพ์ลายดอกลงในแบบพิมพ์ที่ทำจากผลไม้ หรือไม้เนื้ออ่อนทำให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลา ต่อมา นายโพธิ์ ส่งศรี ซึ่งเคยเป็นช่างออกแบบก่อสร้างมาก่อน จึงคิดวิธีแกะสลักลายแบบพิมพ์ ลงบนไม้สีดา (ต้นฝรั่ง) ซึ่งมีเนื้อไม้แข็งทนทาน ลายที่แกะสลักลงเป็นลายง่าย ๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู กรุยเชิง เป็นต้น วิธีทำลายดอกจะใช้ขี้ผึ้งที่หลอมละลายแล้วเทลงบนแบบพิมพ์ รอจนกว่าขี้ผึ้งที่หลอมละลายแล้วเทลงบนแบบพิมพ์ รอจนกว่าขี้ผึ้งเย็นจึงแกะออกจากแม่พิมพ์ แล้วนำไปติดต้นเทียน ซึ่งต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ได้มีชื่อเสียงมากจนถึงปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕
สมัยปัจจุบัน ได้มีการฟื้นฟูการทำเทียนพรรษา และการแห่เทียนพรรษา กำหนดให้มีการประกวดเทียน ๒ ประเภทคือ
ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภทติดพิมพ์ สำหรับเทียนพรรษาที่ใหญ่ที่สุด เป็นประเภทติดพิมพ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๔ นิ้ว สูง ๔ เมตร ๙ นิ้ว น้ำหนัก ๒ ตันเศษ ตั้งอยู่ที่วัดท่าไม้ ต.ท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร สามารถจุดได้ในเทศกาลสำคัญ ครั้งแรกจุดเฉลิมในพิธีกาญจนาภิเษกวันวิสาขบูชาที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙ ถวายเป็นพุทธบูชา และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน ศกเดียวกัน.
ที่มา : http://issaree49172792063.blogspot.com/2008/10/blog-post.html
|
|