ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1867
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ปริศนาหน้าหลุมศพ...บูเช็คเทียน

[คัดลอกลิงก์]




ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหานครซีอานของจีน เป็นที่ตั้งสุสานจักรพรรดิถังเกาจง และจักรพรรดินีบูเช็คเทียน

หน้าหลุมพระศพมีป้ายศิลาสูง 6.3 เมตร ตั้งตระหง่านเคียงคู่กันสองป้าย ป้ายแรกอยู่ทางทิศตะวันตก จารึกข้อความสดุดีความดีงามมากมาย ที่ถังเกาจงสะสมไว้ตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์

ข้อความเหล่านี้ จารึกตามคำบอกเล่าของจักรพรรดินีบูเช็คเทียน และจารึกในรูปแบบบทกวี 7 คำ จากองค์รัชทายาทถังจงจง

ป้ายศิลาตะวันออก สลักลวดลายมังกร 8 ตัว พันอยู่ส่วนบนยอด บนขึ้นไปสลักเป็นฝูงม้าค้อมตัวดื่มน้ำ และกองทหารในเครื่องแบบงามสง่า สลับอยู่กับลวดลายปุยเมฆ

งานแกะสลักละเอียดอ่อนและประณีตเหล่านี้ ทำให้ป้ายศิลานี้ถูกกล่าวถึงมาทุกยุคทุกสมัย

แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าของป้ายศิลานี้ คือความว่างเปล่า ไม่ ปรากฏคำจารึกใดๆเอาไว้เลย

อะไรเป็นสาเหตุให้จักรพรรดินีบูเช็คเทียน ผู้จารึกคำสดุดีจักรพรรดิผู้เป็นพระสวามี แต่ไม่ยอมจารึกสดุดีป้ายศิลาของพระนางเอง

ความว่างเปล่าบนป้ายศิลานี้ มีคนรุ่นหลังจำแนกข้อสันนิษฐานไว้ 3 ประการ

ประการแรก จักรพรรดินีบูเช็คเทียนเข้าพระทัยว่า คุณงามความดีที่ทรงสร้างไว้มากมายเหลือคณานับ จนแผ่นศิลาที่มีความสูงใหญ่ ไม่มีพื้นที่พอจารึก

ประการต่อมา บูเช็คเทียนยกระดับตัวเองจากพระสนมธรรมดา จนมีอิทธิพลมากพอช่วงชิงบัลลังก์มาจากพระสวามีได้ เมื่อสิ้นพระชนม์ แล้ว จึงปล่อยพื้นที่ในแผ่นศิลาเอาไว้ให้คนรุ่นหลัง

จารึกชั่ว-ดีกันเอง

ประการที่ 3 กว่าจะได้อำนาจเป็นจักรพรรดินี บูเช็คเทียนก่อ กรรมทำเข็ญเอาไว้ไม่น้อย หากเขียนแต่คำสดุดี คนรุ่นหลังจะถือเป็นจุดตั้งข้อครหา การปล่อยที่ว่างเอาไว้ น่าจะเกิดผลดีมากกว่า

ข้อสันนิษฐานเหล่านี้ ถกเถียงกันเรื่อยมา หลายยุคหลายสมัย ทุกข้อล้วนแต่มีเหตุผลชวนให้คิด

ต่อมาเมื่อ ค.ศ.1134 พระเชษฐาจักรพรรดิจินไท้จง ได้สลักกฎ มณเฑียรบาล ด้วยอักษรชาวจีน (เผ่าหนึ่ง) ลงบนแผ่นหินที่ว่างเปล่า แล้วสลักอักษรฮั่นกำกับเป็นคำอธิบาย

ราว ค.ศ.1234 ช่วงเวลาราชวงศ์ซ่งและอาณาจักรจิน ได้มีผู้สลักอักษร 13 ข้อความเป็นภาษาชาวเผ่าซี่ตาน ชนเผ่าเจ้าของภาษาเคยสถาปนาอาณาจักรเหลียว (ค.ศ.907-1125)

ชนเผ่านี้ล่มสลาย ถึงสมัยราชวงศ์หยวน หาผู้อ่านภาษานี้ได้น้อยคน จนถึงสมัยราชวงศ์หมิง ภาษาซี่ตานก็กลายเป็นภาษาตาย ไม่มีใครอ่านออกเขียนได้อีก

คุณประสิทธิ ฉกาจธรรม เขียนเรื่องนี้ไว้ใน "พลิกม่านไม้ไผ่" (หนังสือของอาศรมสยาม-จีนวิทยา สมาคมปัญญาภิวัฒน์) ให้ บทสรุปว่า 13 ข้อความของเผ่าซี่ตาน ซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งใจเขียนวิจารณ์ จนถึงวันนี้ ยังไม่ใครรู้ว่าเป็นคำวิจารณ์แบบใด

ผมอ่านแล้วคิดเอาเอง ความดีความไม่ดีขององค์จักรพรรดินี เป็นเรื่องที่ผู้คนในแผ่นดินถัง เมื่อกว่าพันปีที่แล้ว ไม่ว่าจะราษฎรรากหญ้า หรือคนแวดล้อมในราชสำนัก...พูดไม่ได้

ความว่างบนป้ายศิลาหน้าหลุมพระศพ เป็นปริศนาให้คนรุ่นหลังตีความ ไม่ต่างจากความเงียบ...ที่ประชาชนมักมีให้ผู้นำที่วาง อำนาจ...ในบางโอกาส

ความเงียบแบบนั้น ในวันเวลานั้น คงจะบอกกันตรงๆไม่ได้ว่า รักหรือชัง เกลียดหรือกลัว.

กิเลน ประลองเชิง
ขอบคุณครับ อ่านจบผมนึกถึงเพลงนี้เลย  https://www.youtube.com/watch?v=jaAw1sMUAAo
ความว่างบนป้ายศิลาหน้าหลุมพระศพ เป็นปริศนาให้คนรุ่นหลังตีความ ไม่ต่างจากความเงียบ...ที่ประชาชนมักมีให้ผู้นำที่วาง อำนาจ...ในบางโอกาส

ความเงียบแบบนั้น ในวันเวลานั้น คงจะบอกกันตรงๆไม่ได้ว่า รักหรือชัง เกลียดหรือกลัว.



ช่างเข้ากับยุคปัจจุบันเหลือเกิน
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้