ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3639
ตอบกลับ: 9
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

" โมฆะบุรุษ " โดยแท้

[คัดลอกลิงก์]



สมเด็จพระญาณสังวร สกลมหาสังฆปริณายก

ทุกสรรพสิ่งที่ดิ้นรนแสวงหา สะสมกันเข้าไว้ ในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจาก

ซึ่งป่วยการที่จะกล่าวไปถึงสมบัติที่จะนำเอาติดตัวไปด้วย

แม้แต่เนื้อตัว ร่างกายที่ว่าเป็นของเราก็ยังเอาติดตัวไปด้วยไม่ได้

และก็เป็นความจริงที่ได้เห็นและรู้จักกันมานานนับล้านๆปีคนแล้วคนเล่า

ในเมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆกันอยู่เช่นนี้แล้ว


เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะต้องทิ้ง จะต้องจากไป


ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเราซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี


ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้


เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ์
ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในชาติหน้าแม้หากว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริงดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้

อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัว มิได้ขาดทุนแต่อย่างใด

หากสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนเอาไว้ว่ามีจริงดั่งที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอมรับแล้ว
เราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไป
เราท่านทั้งหลายไม่ขาดทุนหรอกหรอ เวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์

กลับต้องโมฆะเสียเปล่าก็สมควรทีจะได้ชื่อว่าเป็น " โมฆะบุรุษ " โดยแท้

สาธุ
สาธุครับ
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-10 09:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
" เวลาเหลืออีกไม่มากแล้ว ให้พากันปฏิบัติ "


" โลกต้องไม่ให้ช้ำ ธรรมต้องไม่ให้เสีย อย่าปฏิบัติตนสุดโต่ง

ต้องปฏิบัติธรรมสมกับฐานะและสภาพของแต่ละบุคคล "



Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2014-2-10 09:32
" เวลาเหลืออีกไม่มากแล้ว ให้พากันปฏิบัติ "

กราบๆๆ อ่านธรรมะยามเช้า ชุ่มชื่นใจแท้  
สาธุครับ
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-12 05:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในด้านการฝึกตนไม่ให้ประมาท


ความประมาท คือ ความเลินเล่อ เผลอสติ ไม่สำรวมระวัง กาย วาจา ใจ ส่วนความไม่ประมาทมีวินัยตรงกันข้าม ได้แก่ ความรอบคอบ มีสติคอยกำกับการกระทำ วาจา ใจ
  สติ  คือ ความระลึกรู้สึกตัวอยู่เสมอจำเป็นต้องใช้ในกิจกรรมทุกอย่าง ตั้งแต่การทำการงานตามปกติ
หลักคำสอนในเรื่องความไม่ประมาท(ปัจฉิมโอวาท)
" ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย... บัดนี้ เราเตือนท่านทั้งหลาย  สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา  ท่านทั้งหลาย  จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด" มหาปรินิพพานสูตร 10/180
                                                                                                                                                                                    
อธิบาย... พระพุทธเจ้าตรัสสอน เรื่องความไม่ประมาท เป็นพระโอวาทสุดท้าย  ในที่อื่น ทรงสั่งสอนว่า กุศลธรรมทั้งหมด  รวมลงในความไม่ประมาท  เหมือนรอยเท้าสตว์เดินดินต่าง ๆ รวมลงในรอยเท้าช้างฉะนั้น  ความไม่ประมาท จะเป็นเหตุให้เราเตือนใจ  ตามคำสอนที่ทรงเตือนไว้ว่า  "วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้ เราทำอะไรอยู่"  เราจะได้หมั่นพิจารณาดูตน และ หาโอกาสเพิ่มพูนคุณงามความดี  ละความชั่วให้ลดน้อยลง ความไม่ประมาทจะเตือนไม่ให้เราลืมตน เห็นเป็นจริงเป็นจังกับชีวิตในโลก  ประหนึ่งว่า  จะดำรงอยู่ได้ชั่วกัปชั่วกัลป์  ในที่สุด ทุกคนจะต้องจบลงด้วยความตาย  ทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ก็จะเปลี่ยนมือไปเป็นของคนอื่น  ที่ดินที่เรานึกว่าเป็นของเรา  แต่ถ้าเราจะกลายเป็นเถ้าถ่าน ฝังเรี่ยรายอยู่บนพื้นดินนั้น หรือ บางที เขาก็จะเก็บไว้ในโกศเล็ก ๆ เหมือนของเด็กเล่น แต่ไม่มีใครอยากจับต้อง ถึงที่สุด เหมือน ๆ กันเช่นนี้  ในขณะที่มีชีวิตอยู่  จึงควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท  ถือเอาสาระจากชีวิตที่เน่าเปื่อย ไม่มีสาระนี้ ไว้ให้ได้ด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดี  บำเพ็ญประโยชน์ท่าน ให้สมบูรณ์เถิด
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-12 08:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถ้าลด อคติ...ทั้งสี่ได้ จิตใจคงจะเป็นสุข



.....ฉันทาคติ....คือ ลำเอียง เพราะรัก จึงขาดความ"ยุติธรรม"

.....โทสาคติ....คือ ลำเอียง เพราะเกลียด

.....โมหาคติ....คือ ลำเอียงเพราะเขลา

.....ภยาคติ......คือ ลำเอียงเพราะกลัว


คนเรา บางครั้งตัดสินใจ "ผิด" เพราะมี "อคติ" ต่อบุคคลอื่น

"อคติ" นั้นนอกจากทำให้เรากระทำในสิ่งที่ ไม่ถูกต้องแล้ว

ยังจะทำให้ จิตใจของเราเอง ขุ่นมัว และเป็นทุกข์ !
อนุโมทนากับการให้ทานแห่งสติปัญญาครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้