ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2262
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หิริโอตตัปปะ

[คัดลอกลิงก์]
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

   หิริ  (ความละอายต่ออกุศล) และ โอตตัปปะ(ความเกรงกลัวต่ออกุศล)     ต่างก็เป็น

สภาพธรรมฝ่ายดีด้วยกันทั้งคู่   คือ เป็นโสภณสาธารณเจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิตฝ่ายดี

ทุกประเภท   และเกิดพร้อมกันทุกครั้ง      เป็นความละอาย     และความเกรงกลัวต่อ

อกุศล    กลัวต่อผลของบาปอกุศลที่จะเกิดขึ้น   เพราะบาปอกุศลนำมาซึ่งความทุกข์

ความเดือดร้อนในภายหลัง    กุศลจิต มีหลายขั้น  เพราะฉะนั้น หิริ  โอตตัปปะ   จึงมี

หลายระดับ  ตามระดับขั้นของจิต ด้วย   เริ่มตั้งแต่เกิดร่วมกับกุศลจิตในชีวิตประจำวัน

จนกระทั่งสูงสุด คือ ขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้น ทำกิจประหารกิเลส     หิริ โอตตัปปะ    ก็

เกิดร่วมกับมรรคจิืต  ซึ่งเป็นโลกุตตรกุศล


    หิริ  และโอตตัปปะ  เป็นธรรมฝ่ายดี  เมื่อเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของตน  อกุศลจิตย่อม

จะเกิดขึ้นไม่ได้      และที่สำคัญ
ธรรม ๒ ประการนี้ เป็นธรรมคุ้มครองโลก   เป็นเครื่อง

เกื้อกูลให้สัตว์โลกอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข    สงบร่มเย็น     ปราศจากการเบียดเบียน

ซึ่งกันและกัน   ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดีทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ

  


    อีกประการหนึ่ง  เพราะมีความละอายและมีความเกรงกลัวต่ออกุศล   กลัวต่อภัยคือ

การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์อย่างไม่มีวันจบสิ้น         ซึ่งเต็มไปด้วยทุกข์นานา

ประการ  จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แต่ละบุคคลได้มีวิริยะอุตสาหะที่จะฟังพระธรรม

ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง   อบรมเจริญปัญญาสะสมความเข้าใจ

ถูก เห็นถูก เป็นปกติในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ เนือง ๆ    เพื่อวันหนึ่งข้างหน้าจะเป็นผู้ที่

สามารถดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้  ไม่ต้องมีการเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์

     

    ที่สำคัญต้องเข้าใจว่า  ธรรม   เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย    ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ

บัญชาของใคร    แม้แต่สภาพธรรมฝ่ายดี ก็เช่นเดียวกัน  เพราะเคยสะสมกุศล  เห็น

ประโยชน์ของกุศลธรรม  พร้อมทั้งเห็นโทษของอกุศลธรรมในชีวิตประจำวัน    กุศล-

ธรรม   มี หิริ   และ โอตตัปปะ  เป็นต้น     จึงเกิดขึ้น      โดยไม่มีตัวตนที่บังคับหรือ

ทำขึ้นมาได้  แต่เกิดขึ้นเป็นไปแล้วตามเหตุตามปัจจัย ครับ

                           
                             หิริ และ โอตตัปปะ [ธรรมสังคณีปกรณ์]  

                          ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุก ๆ ท่านครับ...
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-6 07:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หิริโอตตัปปะคืออะไร



หิริ คือ ความละอายบาป เป็นความรู้สึกรังเกียจ ไม่อยากทำบาป เห็นบาปเป็นของสกปรก จะทำให้ใจของเราเศร้าหมอง จึงไม่ยอมทำบาป

โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวบาป เป็นความรู้สึกกลัว กลัวว่าเมื่อทำไปแล้ว บาปจะส่งผล เป็นความทุกข์ทรมานแก่เรา จึงไม่ยอมทำบาป  สมมติว่า เราเห็นเหล็กท่อนหนึ่ง เผาไฟอยู่จนร้อนแดง เรามีความรู้สึกกลัว ไม่กล้าจับต้อง เพราะเกรงว่าความร้อน จะลวกเผาไหม้มือ ได้กับโอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัว ต่อผลของบาป



เหตุที่ทำให้เกิดหิริ


1.
คำนึงถึงความเป็นคน หรือชาติตระกูล “เรานี่มีบุญ อุตส่าห์ได้เกิดเป็นคนแล้ว ทำไมจึงจะมาฆ่าสัตว์ ทำไมต้องมาขโมยเขากิน นั่นมันเรื่องของสัตว์เดียรัจฉาน เรานี่เป็นมนุษย์ สูงกว่าสัตว์ทั้งหลายอยู่แล้ว” พอคำนึงถึง หิริก็เกิดขึ้น

2.คำนึงถึงอายุ “เราก็อายุป่านนี้ จะมาทำไม่ดี ไม่ควรได้อย่างไร” นึกถึงวัยหิริก็เกิด

3)  คำนึงถึงความดีที่เคยทำ “เราเคยมีความกล้าหาญทำความดีมามากแล้ว ทำไมจะต้อง มาทำความชั่วเสียตอนนี้ ไม่เอาไม่ยอมทำความชั่ว”  พอคำนึงถึง ความดีเก่าก่อน หิริก็เกิดขึ้น

4)  คำนึงถึงความเป็นพหูสูต “ดูซิ เรามีความรู้ขนาดนี้ แล้วรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำรู้สารพัดแล้ว  จะมาทำความชั่วได้อย่างไร”  พอนึกได้หิริก็เกิดขึ้น

5)  คำนึงถึงพระศาสนา “เราเองก็มีศาสดา ที่เคารพสูงสุด พระองค์สู้ทนเหนื่อยยาก แล้วทรงสั่งสอน อบรมพวกเราต่อ ๆกันมา เราจะละเลยคำสอน ของพระองค์ ไปทำชั่ว ได้อย่างไร” พอนึกถึงพระศาสดา หิริก็เกิดขึ้น

6)  คำนึงถึงครูอาจารย์ สถานศึกษา “เราก็ศิษย์มีครูเหมือนกัน ครูอาจารย์ สู้อุตส่าห์อบรมสั่งสอนมา ชื่อเสียงของเราก็โด่งดัง เป็นที่ยกย่องสรรเสริญ แล้วเราจะมาทำชั่ว ได้อย่างไร” พอคำนึงถึงครูอาจารย์ และสถาบัน หิริก็เกิดขึ้น


เหตุที่ทำให้เกิดโอตตัปปะ


1. กลัวคนอื่นติ “นี่ถ้าเราขืนทำไม่ดี คนอื่นรู้ คงเอาไปพูดกันทั่ว ชื่อเสียงที่สร้างมาอย่างดี คงพังพินาศหมดแน่” เมื่อกลัวว่าคนอื่นเขาจะติเอา โอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป

2)  กลัวการลงโทษ “อย่าดีกว่า ขืนไปทำร้ายเขา บาปกรรมตามทัน ตำรวจจับได้ มีหวังติดคุกตลอดชีวิตแน่” เมื่อกลัวว่าบาปจะส่งผลให้ถูกลงโทษ โอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป

3)  กลัวการเกิดในทุคติ “ไม่เอาละ ขืนไปขโมยของเขา อีกหน่อยต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก สัตว์เดียรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย ไม่ทำดีกว่า” เมื่อกลัวว่า จะต้องไปเกิดในทุคติ โอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป  สรุปดังภาพที่ 8.8





ที่มา..http://www.ipesp.ac.th/learning/panomprai/html/n8-5.html
ขอบคุณคร้าบ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้