ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2792
ตอบกลับ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เมื่อผม..โดนทวงบุญคุญ..

[คัดลอกลิงก์]





"ผู้ใดที่ทวงบุญคุณในความดีงามของตน(ที่ได้กระทำไป)


เขาได้ทำลายคุณค่าและผลรางวัลของความดีนั้นเสียแล้ว"



-- Ali Bin Abitalib --
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-1 06:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้หยิ่งยะโส โอหัง จะทำงานไม่สำเร็จ

ผู้คิดเอาแต่ได้ จะทำงานผิดพลาด


.
เล่าจื๊อ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-1 06:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในการสำคัญทั้งหลาย

ผลจะดีหรือเลวอยู่ที่เรื่องเล็ก ๆ


.
- -  นโปเลียน - -



จริงดั่งว่า..เรื่องที่เราคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ


อาจจะส่งผลเรื่องดี หรือเลวก็เป็นได้
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-1 07:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
"คนเราถ้าเคารพพ่อแม่ เคารพครูบาอาจารย์

ก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ

ถ้าดูถูกพ่อแม่ ดูถูกครูบาอาจารย์

ดูถูกพระพุทธ ดูถูกพระธรรม

ดูถูกพระสงฆ์



จะหาความเจริญไม่ได้ จะมีแต่เคราะห์แต่โศก"





คำสอนของ หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค





เตือนสติว่าด้วยการให้ทาน - ให้เพื่อ "ทำบุญ"  หรือ "เป็นบุญคุณ"







ว่าการให้ทาน - ให้เพื่อทำบุญ หรือให้เพื่อเป็นบุญคุณ
       ข่าวการเสียชีวิตคนดัง ที่เสียใจว่าทำดีและคนอื่นไม่เห็นค่า ช่วยเตือนสติเรา ๆ ให้เรียนรู้การทำบุญวิถีพุทธ และวิธีวางใจยามทำบุญ เพื่อเหตุการณ์เศร้านี้ จะได้ไม่ซ้ำรอยอีก
ภาพ : shutterstock.com
พึงระลึก ให้เพื่อทำบุญ หรือ เพื่อเป็นบุญคุณ ?

เจตนาทวงบุญคุณ


          ต้นเหตุที่ทำให้เกิดการทวงบุญคุณเกิดขึ้น  ก็หนีไม่พ้นความต้องการให้ผู้อื่นยอมรับในตน  ลักษณะของผู้ทวงบุญคุณจึงมีลักษณะตรงกันข้ามกับผู้มีความกตัญญูนั่นเอง


ผลของการเป็นผู้ชอบทวงบุญคุณ

  
        จะทำให้ผลของกุศลที่เราจะได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็จะหายไปกับเจตนาในการทวงบุญคุณด้วย  เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ปฏิบัติธรรมทุกราย  จำเป็นจะต้องระมัดระวังอย่าให้ความรู้สึกเป็นบุญคุณเกิดขึ้นระหว่างเรากับผู้อื่น เพราะลักษณะของการทวงบุญคุณเป็นลักษณะของการใช้บารมี  หากเราไม่ได้สร้างบุญคุณเช่นนั้นจริง  ภาษาพระเรียกว่าอวดอุตริมนุสสธรรม  การทวงบุญคุณคนก็จะนำความเสื่อมมาสู่ตนได้

            การทวงบุญคุณผู้อื่นเป็นการเชื้อเชิญมานะทิฐิให้เข้ามาสิงในใจตน  ก่อให้เกิดความเย่อหยิ่งเป็นมารขัดขวางความเจริญ  กลายเป็นคนแข็งกระด้างแล้วเป็นคนไม่ยอมคน  การที่เราไม่ยอมคน ถึงแม้ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูก ก็ถือเป็นมานะทิฐิด้วย หากเราเข้าใจเรื่องเจตนาผู้หลงผิดแม้เราจะได้พยายามถึงที่สุดอย่างไรก็ตาม  แล้วเขายังมองไม่เห็นในสิ่งที่เขาได้กระทำนั้น  มาตรการสุดท้ายก็ต้องยอมแล้วปล่อยให้เขาคิดเช่นนั้นต่อไป

          ในสมัยพุทธกาลพระพุทธองค์ท่านเลือกที่จะไม่สนทนาธรรมกับบุคคลเหล่านี้  เรียกว่าอเวนัยสัตว์ แต่เมื่อใดก็ตามบุคคลเหล่านี้รู้สึกสำนึกในการกระทำผิดของตน  เราก็ให้โอกาสบุคคลเหล่านั้นอีกครั้ง

       ผู้ที่สามารถถอนความต้องการให้ผู้อื่นยอมรับ  เมื่อใช้รวมกับการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน  ก็จะทวีกำลังในผลของกุศลที่เราจะได้รับให้ทวีกำลังแรงขึ้น  จะเป็นการเสริมกำลังให้เราเห็นผลจากการปฏิบัติที่เห็นผลเจริญก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดจนเป็นที่ประจักษ์แก่ตนเป็นที่อัศจรรย์  เพราะบุคคลเหล่านี้เมื่อทำให้ผู้อื่นด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์  จะไม่สนใจว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร  เพราะถึงสนใจก็ห้ามความคิดของคนเหล่านั้นไม่ได้  ขอเพียงให้ตนได้เป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ  ก็เป็นพอ

           เมื่อเราไม่สนใจความคิดของผู้อื่นแล้ว  ความรู้สึกที่อยากจะทวงบุญคุณก็ไม่เกิด  ผลของกุศลก็จะแรงกล้า หากเรามีบาปกรรมแล้วกรรมนั้นกำลังส่งผลให้เราได้รับทุกขเวทนาอยู่  ความทุกข์เหล่านั้นก็จะพ้นไปจากเราได้ราวปาฏิหารย์  หากเราเป็นผู้พ้นกรรมกลายเป็นผู้มีบารมีในทางธรรมแล้ว  จะทำให้เรามีช่องทางที่จะทำให้ตนกลายเป็นผู้ให้อย่างแท้จริง  แล้วเราก็มีความสุขจากการเป็นผู้ให้ให้ยิ่งขึ้น

ทำดีแล้วหลงติดดี จากสุขเป็นทุกข์


          บางคนทำความดีมีความสุข แล้วหลงติดความดี เช่น ไปบริจาคปัจจัยให้กับวัดแล้วรอว่าเมื่อไหร่หลวงพ่อจะประกาศชื่อ พอประกาศออกมาแล้วว่าบริจาคหนึ่งหมื่นบาท บริจาคไปหนึ่งแสนบาทก็ดีใจ แต่ถ้าประกาศไม่ครบหรือประกาศผิดจะไปถอนคืน
         
            อาตมา (ท่าน ว วชิรเมธี) เคยมีประสบการณ์อ่านชื่อเจ้าภาพผิด เขาเป็นร้อยตำรวจโท แต่ว่าจดชื่อมาว่าเป็นร้อยตำรวจตรี พอประกาศร้อยตำรวจตรีแค่นั้น เขาตรงไปหาเจ้าอาวาสเลย ทำไมประกาศชื่อเขาอย่างนั้น โวยวายจนคณะกรรมการวัดวุ่นวาย เพียงเพราะประกาศยศตำแหน่งผิด

          นี่คือ ทำบุญเพื่อหวังได้ความสุข แต่ว่าทำบุญแล้วติดบุญ ทำดีแล้วติดดี พอติดดีแล้วแทนที่จะมีความสุขกลับกลายเป็นความทุกข์แทน

เรื่องของพระฉันนะ - พระภิกษุที่ว่านอน สอนยาก




            อีกคนหนึ่งซึ่งเป็นตัวอย่างของคนติดดี คือ พระฉันนะผู้ที่นำเจ้าชายสิทธัตถะออกบวช พอท่านนำเจ้าชายสิทธัตถะออกบวชแล้ว หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้ พระฉันนะก็ตามไปบวชด้วย

            บรรดาพระภิกษุที่ว่ายากสอนยากนั้น  ไม่มีใครเกินพระฉันนะ  

           พระฉันนะ เป็นผู้ที่เกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า เป็น สหชาติทั้ง 7 คือเป็น 1 ใน7 ที่เกิดพร้อมกับพระพุทธเจ้า เติบโตมาด้วยกัน และก็เป็นสหาย เพื่อนเล่นและก็ทำหน้าที่คอยรับใช้ พระโพธิสัตว์มาตลอด ในวันที่พระโพธิสัตว์ออก มหาภิเนษกรมณ์ คือ ออกบวช นายฉันนะ ก็ติดตามไปด้วย จึงมีความคุ้นเคยกับพระโพธิสัตว์เป็นอย่างยิ่ง

            เมื่อพระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และนายฉันนะ ออกบวช ท่านพระฉันนะอาศัยความคุ้นเคยที่เคยมี จึงถือตัว สำคัญตน ว่า ตนเอง เป็นคนสนิทของพระพุทธเจ้า สำคัญว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ของเราจึงถือตัว ท่านพระฉันนะนั้นกล่าวถึงพระอัครสาวกทั้งสองอย่างพูดยกตน ข่มผู้อื่น ว่า

             "อันตัวเรานั้นเป็นผู้เดินทางไปพร้อมกับพระพุทธเจ้าในคราวท่านออกผนวช  ส่วนพระสองรูปนี้กลับเที่ยวประกาศตนว่า  เป็นพระสารีบุตรบ้าง  เป็นพระโมคคัลลานะบ้าง  เที่ยวประกาศตนว่าเป็นพระอัครสาวก"

            พระพุทธเจ้าทรงทราบ  ก็เรียกมาว่ากล่าวตักเตือน  พระฉันนะก็นิ่งรับฟัง  พอพระพุทธเจ้าเสด็จไป  ก็เริ่มด่าพระอัครสาวกอีก  แม้พระองค์จะเรียกมาตักเตือนอีกจนถึงครั้งที่  ๓  ว่า  พระอัครสาวกทั้งสองรูปเป็นกัลยามิตรที่ดี  เป็นผู้ประเสริฐ  จงคบกัลยาณมิตรเพื่อนผู้ดีงามเช่นนี้เถิด  แม้กระนั้น  พระฉันนะได้ฟังโอวาทแล้วก็ยังไม่เชื่อฟัง  ยังคงด่าพระอัครสาวกอีกต่อไป

              พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่บรรดาพระภิกษุว่า  "ภิกษุทั้งหลาย  ขณะที่เรายังคงอยู่  พวกเธอคงไม่อาจอบรมสั่งสอนฉันนะได้  แต่เมื่อเราปรินิพพานไปแล้ว  จึงจะสามารถทำได้ "

              พระอานนท์จึงกราบทูลถามว่า  จะให้ทำเช่นไรต่อพระฉันนะ  
              พระองค์จึงได้ตรัสว่า ให้ลงพรหมทัณฑ์แก่ฉันนะ

             ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว  พระสงฆ์ก็ประกาศลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ  พอพระฉันนะได้ยินเช่นนั้น  ก็เกิดความทุกข์ขึ้นในใจ  จิตใจเศร้าหมองเป็นลำดับ  จนล้มสลบลงถึง  ๓  ครั้ง  เมื่อฟื้นคืนสติ  ก็ได้อ้อนวอนต่อคณะสงฆ์ว่า ขอท่านทั้งหลายให้โอกาสกระผมเถิด  


           ว่าแล้วก็กลับตนประพฤติตนใหม่เป็นพระภิกษุที่ดี  จนปฏิบัติธรรมได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด[size=1.1em]     

          พรหมทัณฑ์ คือ  การที่พระสงฆ์ประกาศไม่คบ  ไม่พูดคุย  ไม่สนทนา  ไม่ประกอบพิธีกรรมต่อพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่ประพฤติตนเป็นคนว่ายากสอนยาก

           
          เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  พึงหลีกหนีจากคนไม่ดี  พึงเข้าสนทนาเรียนรู้จากบัณฑิตผู้ฉลาดทรงคุณธรรม  และการเป็นคนว่ายากสอนยากมักเป็นอยู่ลำบาก  เมื่อตนไร้ที่พึ่งพิง  จึงควรประพฤติตนให้ว่าง่ายสอนง่าย

            อย่างนี้เรียกว่า แม้แต่ในความดีก็อย่าหลงติด ถ้าทำความดีแล้ว ให้ปล่อย
           นักปราชญ์บางท่านจึงบอกว่า
            เราทำบุญกับใครแล้วให้ลืมเสีย แต่ใครทำคุณกับเรา เราต้องจำให้ขึ้นใจ

[size=1.1em]



ที่มาเรียบเรียงจาก :
หนังสือความทุกข์มาโปรดความสุขโปรยปราย โดยพระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี)
https://www.gotoknow.org/posts/140929
http://www.yantep.com/forum.php?mod=viewthread&tid=825
http://www.banduangdham.com/forum/index.php?topic=118.10;wap2


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้