ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4570
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ปราสาทพิมานอากาศ

[คัดลอกลิงก์]
ปราสาทพิมานอากาศ กับตำนานการเสพสมของกษัตริย์เขมรกับนางนาค





เขมร (ขอม) เป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ในด้านศิลปและวัฒนธรรมไม่แพ้ชนชาติใดในโลก ด้วยการมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน จึงเป็นการยากที่คนโบราณจะสืบหาต้นตอของชนชาติตนเอง ดังนั้นจึงทำให้เกิดตำนานมากมายเกี่ยวกับการกำเนินบรรพบุรุษ ตำนานที่เก่าแก่ที่สุดของชนชาติเขมรนั้นมีนาคเข้ามาเกี่ยวข้องและส่งต่ออิทธิพลความเชื่อเรื่องนาคมาถึงปัจจุบัน ตำนานนาคเรื่องแรกเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการเกิดอาณาจักรแรกของเขมร กล่าวคือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๖ เกิดอาณาจักรโบราณบริเวณปากแม่น้ำโขง เรียกว่า อาณาจักรฟูนัน (พุทธศตวรรษที่ ๖ - ๑๑) ตำนานกล่าวว่า
                   พราหมณ์โกญธัญญะ (สันนิฐานว่ามาจากอินเดีย) ได้เดินทางมายังชายฝั่งของเขมร ธิดาพญานาคผู้ครองดินแดนแถบนี้ได้พายเรือออกมาต้อนรับ แต่พราหมณ์โกญธัญญะเป็นผู้มีเวทมนต์คาถาได้ยิงธนูวิเศษมาที่เรือธิดาพญานาค ทำให้นางตกพระทัยกลัว แล้วยินยอมแต่งานด้วย ส่วนพญานาคผู้บิดาได้ทรงดื่มน้ำทะเลจนเหือดแห้งเพื่อสร้างอาณาจักรให้ราชบุตรเขยและธิดา  และตั้งชื่ออาณาจักรที่สร้างขึ้นว่า "กัมโพช" (มยุรี วีระประเสริฐ, ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรกัมพูชาโดยสังเขป : ๒๑๗) จากตำนานนี้ทำให้ชาวเขมรเชื่อว่าตนนั้นสืบเชื้อสายมาจากพญานาคนั่นเอง ส่วนชื่อ ฟูนัน นั้นเป็นชื่อที่ราชทูตจีนใช้เรียกอาณาจักรแห่งนี้
                  พญานาคเกี่ยวพันกับคติการดำเนินชีวิตของชาวเขมรมาอย่างช้านาน ปรากฏเด่นชัดในงานสถาปัตยกรรมมากมายในเขมร เช่นหัวสะพาน หัวบันได ฯลฯ รวมถึงงานวรรณกรรมมากมาย ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงตำนานการสมสู่ของกษัตริย์เขมรกับนางนาคบนยอดปราสาทอากาศพิมาน ปราสาทเขมรแบบก่ออิฐตั้งอยู่ในบริเวณเขตกำแพงเมืองนครธม (พระนครหลวง) จังหวัดเสียมเรียบ ตามบันทึกของชาวจีนนามว่า "จิวต้ากวน" ที่เดินทางมาเป็นราชให้กับราชทูตจีน ราว พ.ศ. ๑๘๓๘ กล่าวคือ

                  "มีกษัตริย์ขอมโบราณพระองค์หนึ่งจะต้องเสด็จขึ้นไปบนปราสาทอากาศพิมานนี้ทุกคืนเพื่อบรรทมกับนางนาคซึ่งแปลงกายเป็นสตรี หลับนอนกับนางนาคแล้วจะค่อยไปบรรทมกับพระมเหสีองค์อื่น ๆ หากไม่ทำอย่างนี้แล้วนางพญานาคจะพิโรธ ทำให้ต้องสวรรคต และบ้านเมืองจะวุ่นวาย" (พระมหาถนัด อตฺถจารี, Ph.D., ท่องแดนศิลานคร แดนปราสาทขอม : ๑๔๔ - ๑๔๕)

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-11 09:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ข้อมูลเบื้องต้นของปราสาทพิมานอากาศ พระมหาถนัด อตฺถจารี, Ph.D. (ท่องแดนศิลานคร แดนปราสาทขอม : ๑๔๔ - ๑๔๗) ได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้


                  ปราสาทพิมานอากาศ สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 15 รัชสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ ๒ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ และพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (ปรายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ปลาย ๑๗) และต่อเติมเรื่อยมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตอนปลาย) เป็นศิลปะแบบคลัง สร้างในฮินดู ไศวนิกาย ปราสาทพิมานอากาศ เป็นปราสาทหลังเดียวที่ก่อสร้างด้วยหินทรายอยู่บนฐานศิลาแลง ซ้อนกันเป็น ๓ ชั้น คล้ายปิรามิด ความสูงของฐานปราสาทพิมานอากาศทั้ง ๓ ชั้นราว ๑๒ เมตร (ชั้นละ ๔ เมตร) รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้ามีบันไดลาดชันทั้ง ๔ ด้าน ส่วนฐานล่างนั้นวัดจากทิศเหนือไปสู่ทิศใต้ มีความกว้าง ๒๘ เมตร วัดจากทิศตะวันออกไปถึงตะวันตกมีความยาว ๓๕ เมตร ส่วนทางเข้าชมพระราชวังต้องเดินผ่านฐานขึ้นบนพลับพลาสูงไปตามบันไดครุฑ เพราะพระราชวังนี้ต้องอยู่บนพลับพลาสูง เมื่อขึ้นไปสู่พลับพลาสูงจะเห็นประติมากรรมรูปสิงห์ ศิลปะสมัยบายนยืนผงาดอยู่เชิงบันไดทั้งสองข้าง บนฐานพลับพลาสูงแห่งนี้ยังมีร่องรอยการปลุกสร้างพลับพลาในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ให้ออกว่าราชการตรวจพลสวนสนาม หรือประกอบพิธีทางศาสนา ปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยอีกแล้ว เพราะสิ่งก่อสร้างทำจากไม้ ตัวปราสาทบนฐานชั้นบนสุดด้านนอกเป็นระเบียงคตทำจากหินทราย ด้านในเป็นตัวปราสาทสร้างบนฐานสูง ๒.๕ เมตร

                   เรื่องราวอันแสนพิศดารนี้ยากเกินกว่าที่คนในสมัยนี้จะเชื้อถืออีกต่อไป สพหรับผู้เขียนนั้นให้ขอสันนิฐานไว้ท้ายเรื่องว่า ถ้าใครก็ตามที่เดินขึ้นไปบนปราสาทที่มีความสูง และ ไม่สมสู่กับนางนาคอมนุษย์ทุกคืนวัน รับลองได้เลยว่า อายคงไม่ยืนยาวเป้นแน่แท้ และเชื้อเถอะว่า กษัตริย์เขมรผู้นั้น จะต้องหมดเรี่ยวแรงขาสั่นเทา จนไม่สามารถสมสู่กับมเหสีที่เป็นมนุษย์ได้อย่างแน่นอน

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง


ที่มา..http://www.gotoknow.org/posts/323530

ขอบคุณครับ
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-3-27 06:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้