ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
~ อ่านใจธรรมชาติ ~
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1845
ตอบกลับ: 4
~ อ่านใจธรรมชาติ ~
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-1-25 18:34
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
การภาวนาหมายความว่าให้คิดดูให้ชัดๆพยายามอย่ารีบร้อนเกินไปอย่าช้าเกินไปค่อยทำค่อยไปแต่ให้มีวิธีการและจุดหมายในการปฏิบัติภาวนานั้น
ทุกคนที่ออกมาปฏิบัตินั้นก็ออกมาด้วย"ความอยาก"กันทั้งนั้นมันมีความอยากแต่ความอยากนี้บางทีมันก็ปนกับความหลงถ้าอยากแล้วไม่หลงมันก็อยากด้วยปัญญาความอยากอย่างนี้ท่านเรียกว่าเป็นบารมีของตนแต่ไม่ใช่ทุกคนนะที่มีปัญญา
บางคนไม่อยากจะให้มันอยากเพราะเข้าใจว่าการมาปฏิบัติก็เพื่อระงับความอยากความจริงน่ะถ้าหากว่าไม่มีความอยากก็ไม่มีข้อปฏิบัติไม่รู้ว่าจะทำอะไรลองพิจารณาดูก็ได้
ทุกคน แม้องค์พระพุทธเจ้าของเราก็ตามที่ท่านออกมาปฏิบัติก็เพื่อจะให้บรรเทากิเลสทั้งหลายนั้น
แต่ว่ามันต้องอยากทำอยากปฏิบัติอยากให้มันสงบและก็ไม่อยากให้มันวุ่นวายทั้งสองอย่างนี้มันเป็นอุปสรรคทั้งนั้นถ้าเราไม่มีปัญญาไม่มีความฉลาดในการกระทำอย่างนั้นเพราะว่ามันปนกันอยู่อยากทั้งสองอย่างนี้มันมีราคาเท่าๆกัน
อยากจะพ้นทุกข์มันเป็นกิเลสสำหรับคนไม่มีปัญญาอยากด้วยความโง่ไม่อยากมันก็เป็นกิเลสเพราะไม่อยากอันนั้นมันประกอบด้วยความโง่เหมือนกันคือทั้งอยากไม่อยาก ปัญญาก็ไม่มีทั้งสองอย่างนี้มันเป็นกามสุขัลลิกานุโยโคกับอัตตกิลมถานุโยโคซึ่งพระพุทธองค์ของเราขณะที่พระองค์กำลังทรงปฏิบัติอยู่นั้นท่านก็หลงใหลในอย่างนี้ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรท่านหาอุบายหลายประการกว่าจะพบของสองสิ่งนี้
ทุกวันนี้เราทั้งหลายก็เหมือนกันทุกสิ่งทั้งสองอย่างนี้มันกวนอยู่เราจึงเข้าสู่ทางไม่ได้ก็เพราะอันนี้ความเป็นจริงนี้ทุกคนที่มาปฏิบัติก็เป็นปุถุชนมาทั้งนั้นปุถุชนก็เต็มไปด้วยความอยากความอยากที่ไม่มีปัญญาอยากด้วยความหลงไม่อยากมันก็มีโทษเหมือนกัน"ไม่อยาก" มันก็เป็นตัณหา"อยาก" มันก็เป็นตัณหาอีกเหมือนกัน
ทีนี้ นักปฏิบัติยังไม่รู้เรื่องว่าจะเอายังไงกันเดินไปข้างหน้าก็ไม่ถูกเดินกลับไปข้างหลังก็ไม่ถูกจะหยุดก็หยุดไม่ได้เพราะมันยังอยากอยู่มันยังหลงอยู่มีแต่ความอยากแต่ปัญญาไม่มีมันอยากด้วยความหลงมันก็เป็นตัณหาถึงแม้ไม่อยากมันก็เป็นความหลงมันก็เป็นตัณหาเหมือนกันเพราะอะไร?เพราะมันขาดปัญญา
ความเป็นจริงนั้นธรรมะมันอยู่ตรงนั้นแหละตรงความอยากกับความไม่อยากนั่นแหละแต่เราไม่มีปัญญาก็พยายามไม่ให้อยากบ้างเดี๋ยวก็อยากบ้างอยากให้เป็นอย่างนั้นไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ความจริงทั้งสองอย่างนี้หรือทั้งคู่นี้มันตัวเดียวกันทั้งนั้นไม่ใช่คนละตัวแต่เราไม่รู้เรื่องของมัน
พระพุทธเจ้าของเราและสาวกทั้งหลายของพระองค์นั้นท่านก็อยากเหมือนกันแต่ "อยาก" ของท่านนั้นเป็นเพียงอาการของจิตเฉยๆหรือ "ไม่อยาก"ของท่าน ก็เป็นเพียงอาการของจิตเฉยๆอีกเหมือนกันมันวูบเดียวเท่านั้นก็หายไปแล้ว
ดังนั้นความอยากหรือไม่อยากนี้มันมีอยู่ตลอดเวลาแต่สำหรับผู้มีปัญญานั้น"อยาก" ก็ไม่มีอุปาทาน"ไม่อยาก" ก็ไม่มีอุปาทานเป็น "สักแต่ว่า"อยากหรือไม่อยากเท่านั้นถ้าพูดตามความจริงแล้วมันก็เป็นแต่อาการของจิตอาการของจิตมันเป็นของมันอย่างนั้นเองถ้าเรามาตะครุบมันอยู่ใกล้ๆนี่มันก็เห็นชัด
ดังนั้นจึงว่าการพิจารณานั้นไม่ใช่รู้ไปที่อื่นมันรู้ตรงนี้แหละเหมือนชาวประมงที่ออกไปทอดแหนั่นแหละทอดแหออกไปถูกปลาตัวใหญ่เจ้าของผู้ทอดแหจะคิดอย่างไร?ก็กลัว กลัวปลาจะออกจากแหไปเสียเมื่อเป็นเช่นนั้นใจมันก็ดิ้นรนขึ้นระวังมากบังคับมาก ตะครุบไปตะครุบมาอยู่นั่นแหละประเดี๋ยวปลามันก็ออกจากแหไปเสียเพราะไปตะครุบมันแรงเกินไปอย่างนั้นโบราณท่านพูดถึงเรื่องอันนี้ท่านว่าค่อยๆทำมันแต่อย่าไปห่างจากมันนี่คือปฏิปทาของเราค่อยๆคลำมันไปเรื่อยๆอย่างนั้นแหละ
อย่าปล่อยมันหรือไม่อยากรู้มันต้องรู้ ต้องรู้เรื่องของมันพยายามทำมันไปเรื่อยๆให้เป็นปฏิปทาขี้เกียจเราก็ทำไม่ขี้เกียจเราก็ทำเรียกว่าการทำการปฏิบัติต้องทำไปเรื่อยๆอย่างนี้
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-25 18:34
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถ้าหากว่าเราขยันขยันเพราะความเชื่อมันมีศรัทธาแต่ปัญญาไม่มีถ้าเป็นอย่างนี้ขยันไปๆ แล้วมันก็ไม่เกิดผลอะไรขึ้นมากมายขยันไปนานๆเข้าแต่มันไม่ถูกทางมันก็ไม่สงบระงับทีนี้ก็จะเกิดความคิดว่าเรานี้บุญน้อยหรือวาสนาน้อยหรือคิดไปว่ามนุษย์ในโลกนี้คงทำไม่ได้หรอกแล้วก็เลยหยุดเลิกทำเลิกปฏิบัติ
ถ้าเกิดความคิดอย่างนี้เมื่อใดขอให้ระวังให้มากให้มีขันติความอดทน ให้ทำไปเรื่อยๆเหมือนกับเราจับปลาตัวใหญ่ก็ให้ค่อยๆคลำมันไปเรื่อยๆปลามันก็จะไม่ดิ้นแรงค่อยๆทำไปเรื่อยๆไม่หยุดไม่ช้าปลาก็จะหมดกำลังมันก็จับง่ายจับให้ถนัดมือเลยถ้าเรารีบจนเกินไปปลามันก็จะหนีดิ้นออกจากแหเท่านั้น
ดังนั้นการปฏิบัตินี้ถ้าเราพิจารณาตามพื้นเหตุของเราเช่นว่าเราไม่มีความรู้ในปริยัติไม่มีความรู้ในอะไรอื่นที่จะให้การปฏิบัติมันเกิดผลขึ้นก็ดูความรู้ที่เป็นพื้นเพเดิมของเรานั่นแหละอันนั้นก็คือ"ธรรมชาติของจิต"นี่เอง มันมีของมันอยู่แล้วเราจะไปเรียนรู้มันมันก็มีอยู่หรือเราจะไม่ไปเรียนรู้มันมันก็มีอยู่
อย่างที่ท่านพูดว่าพระพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นก็ตามหรือไม่บังเกิดขึ้นก็ตามธรรมะก็คงมีอยู่อย่างนั้นมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นไม่พลิกแพลงไปไหนมันเป็นสัจจธรรมเราไม่เข้าใจสัจจธรรมก็ไม่รู้ว่าสัจจธรรมเป็นอย่างไรนี้เรียกว่าการพิจารณาในความรู้ของผู้ปฏิบัติที่ไม่มีพื้นปริยัติ
ขอให้ดูจิตพยายามอ่านจิตของเจ้าของพยายามพูดกับจิตของเจ้าของมันจึงจะรู้เรื่องของจิตค่อยๆทำไป ถ้ายังไม่ถึงที่ของมันมันก็ไปอยู่อย่างนั้น
ครูบาอาจารย์บางท่านบอกว่าทำไปเรื่อยๆอย่าหยุดบางทีเรามาคิด"เออ ทำไปเรื่อยๆถ้าไม่รู้เรื่องของมันถ้าทำไม่ถูกที่มันมันจะรู้อะไร"อย่างนี้เป็นต้นก็ต้องไปเรื่อยๆก่อนแล้วมันก็จะเกิดความรู้สึกนึกคิดขึ้นในสิ่งที่เราพากเพียรทำนั้น
มันเหมือนกันกับบุรุษที่ไปสีไฟได้ฟังท่านบอกว่าเอาไม้ไผ่สองอันมาสีกันเข้าไปเถอะแล้วจะมีไฟเกิดขึ้นบุรุษนั้นก็จับไม้ไผ่เข้าสองอันสีกันเข้า แต่ใจร้อนสีไปได้หน่อยก็อยากให้มันเป็นไฟใจก็เร่งอยู่เรื่อยให้เป็นไฟเร็วๆแต่ไฟก็ไม่เกิดสักทีบุรุษนั้นก็เกิดความขี้เกียจแล้วก็หยุดพักแล้วจึงลองสีอีกนิดแล้วก็หยุดพักความร้อนที่พอมีอยู่บ้างก็หายไปล่ะซิเพราะความร้อนมันไม่ติดต่อกัน
ถ้าทำไปเรื่อยๆอย่างนี้เหนื่อยก็หยุดมีแต่เหนื่อยอย่างเดียวก็พอได้แต่มีขี้เกียจปนเข้าด้วยเลยไปกันใหญ่แล้วบุรุษนั้นก็หาว่าไฟไม่มีไม่เอาไฟ ก็ทิ้งเลิก ไม่สีอีกแล้วก็ไปเที่ยวประกาศว่าไฟไม่มี ทำอย่างนี้ไม่ได้ไม่มีไฟหรอกเขาได้ลองทำแล้ว
ก็จริงเหมือนกันที่ได้ทำแล้วแต่ทำยังไม่ถึงจุดของมันคือความร้อนยังไม่สมดุลกันไฟมันก็เกิดขึ้นไม่ได้ทั้งที่ความจริงไฟมันก็มีอยู่อย่างนี้ก็เกิดความท้อแท้ขึ้นในใจของผู้ปฏิบัตินั้นก็ละอันนี้ไปทำอันโน้นเรื่อยไปอันนี้ฉันใดก็ฉันนั้น
การปฏิบัตินั้นปฏิบัติทางกายทางใจทั้งสองอย่างมันต้องพร้อมกันเพราะอะไร? เพราะพื้นเพมันเป็นคนมีกิเลสทั้งนั้นพระพุทธเจ้าก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้าท่านก็มีกิเลสแต่ท่านมีปัญญามากหลายพระอรหันต์ก็เหมือนกันเมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ก็เหมือนกับเรา
เมื่อความอยากเกิดขึ้นมาเราก็ไม่รู้จักเมื่อความไม่อยากเกิดขึ้นมาเราก็ไม่รู้จักบางทีก็ร้อนใจบางทีก็ดีใจถ้าใจเราไม่อยากก็ดีใจแบบหนึ่งและวุ่นวายอีกแบบหนึ่งถ้าใจเราอยากมันก็วุ่นวายอย่างหนึ่งและดีใจอย่างหนึ่งมันประสมประเสกันอยู่อย่างนี้
อันนี้คือปฏิปทาของผู้ปฏิบัติเราเหมือนอย่างที่พระวินัยที่เราฟังๆกันไปนี้ดูแล้วมันเป็นของยากจะต้องรักษาสิกขาบททุกอย่างให้ไปท่องทุกอย่างเมื่อจะตรวจดูศีลของเจ้าของก็ต้องไปตรวจดูทุกสิกขาบทก็คิดหนักใจว่า"โอ อย่างนี้ไม่ไหวแล้ว"
ความจริงเมื่อพระพุทธเจ้าท่านสอนให้พิจารณากายอย่างเกศา โลมา นขาทันตา ตะโจ มันก็มีแต่กายทั้งนั้นอย่างที่ท่านให้กรรมฐานครั้งแรกก็มีแต่เรื่องกายทั้งนั้นท่านให้พิจารณาอยู่ตรงนี้ให้ดูตรงนี้ถ้าเราพิจารณาแล้วเห็นไม่ชัดมันก็จะเห็นคนไม่ชัดสักคนคนอื่นก็ไม่ชัดตัวเราเองก็ไม่ชัดเห็นตัวเราก็สงสัยเห็นคนอื่นก็สงสัยมันสงสัยอยู่ตลอดไปแต่ถ้าเราสามารถเห็นตัวเราได้ชัดเท่านั้นมันก็หมดสงสัย
เพราะอะไร? เพราะรูปนามมันเหมือนกันทั้งนั้นถ้าหากเราเห็นชัดในตัวเราคนเดียวก็เหมือนเห็นคนทั้งโลกไม่ต้องตามไปดูทุกคนก็รู้ว่าคนอื่นก็เหมือนกับเราเราก็เหมือนกับเขาถ้าเราคิดได้เช่นนี้ภาระของเขาก็น้อยลงถ้าเราไม่คิดเช่นนั้นภาระของเขาก็มากเพราะจะต้องตามไปดูทุกคนในจักรวาลนี้จึงจะรู้จักคนทุกคนภาระมันก็มากน่ะซิถ้าคิดอย่างนี้มันก็ทำให้ท้อแท้
อย่างพระวินัยของเรานี้ก็เหมือนกันมีสิกขาบทอยู่มากมายเหลือเกินไม่รู้จักเท่าไหร่แล้วถ้าเพียงนึกว่าจะต้องอ่านให้ครบทุกสิกขาบทก็แย่แล้ว ไม่ไหวแล้วเห็นว่าเหลือวิสัยเสียแล้วเห็นจะไม่มีทางไปตรวจดูศีลให้สมบูรณ์บริบูรณ์ได้นี่ความเข้าใจของเรามันเป็นอย่างนั้นเหมือนอย่างว่าท่านให้รู้แจ้งซึ่งมนุษย์ทั้งหลายก็คิดว่าจะต้องไปดูคนให้ทุกคนมันถึงจะรู้ทุกคนอย่างนี้มันก็มากเท่านั้นแหละ
นี่ก็เพราะว่าเรามันตรงเกินไปตรงตามตำราตรงตามคำของครูบาอาจารย์เกินไปเพราะถ้าเราเรียนปริยัติขนาดนั้นมันก็ไปไม่ไหวเหมือนกันมันทำให้หมดศรัทธาเหมือนกันเรียกว่าเรายังไม่เกิดปัญญาถ้าปัญญามันเกิดแล้วก็จะเห็นว่าคนทั้งหมดก็คือคนคนเดียวถ้ามันคือคนคนเดียวเราก็พิจารณาแต่เราคนเดียวก็เพียงพอ เพราะเราก็มีรูปมีนามลักษณะของรูปนามมันก็เป็นอยู่อย่างนี้คนอื่นก็เป็นอยู่อย่างนี้เหมือนกันปัญญาจะทำให้เห็นได้เช่นนั้นทีนี้ภาระที่จะต้องคิดก็น้อยลงเพราะเห็นเสียแล้วว่ามันของอย่างเดียวกัน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-25 18:35
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงว่า"อัตตะนา โจทะยัตตานัง"จงเตือนตนด้วยตนเองให้เตือนตัวเจ้าของเองนี้ไม่มีที่อื่นถ้าเราเห็นตัวเราเองแล้วมันก็เหมือนกันหมดทุกคนเพราะอันเดียวกันบริษัทเดียวกันยี่ห้อเดียวกันเพียงแต่ต่างสีสัณฐานกันเท่านั้นเหมือนอย่างยาทัมใจกับยาบวดหายมันก็ยารักษาโรคปวดเหมือนกันเพียงแต่ว่ามันเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนรูปห่อเสียหน่อยเท่านั้นแท้จริงมันก็ยารักษาโรคเดียวกัน
ถ้าเราเห็นได้เช่นนี้มันก็จะง่ายขึ้นค่อยๆทำมันไปเรื่อยๆอย่างนั้นแหละแล้วมันก็จะเกิดความฉลาดขึ้นในการกระทำทำไปเรื่อยๆจนกว่ามันจะเกิดความเห็นแล้วจะเห็นความจริงของมันจริงๆ
ถ้าจะพูดเรื่องปริยัติแล้วทุกอย่างมันเป็นปริยัติได้ทั้งนั้นตาก็เป็นปริยัติหูก็เป็นปริยัติจมูกก็เป็นปริยัติปากก็เป็นปริยัติลิ้นก็เป็นปริยัติกายก็เป็นปริยัติเป็นปริยัติหมดทุกอย่างรูปเป็นอย่างนั้นก็รู้ว่ารูปเป็นอย่างนั้นแต่ว่าเรามันมัวไปติดอยู่ในรูปไม่รู้จักหาทางออก
เสียงเป็นอย่างนั้นก็รู้ว่าเสียงเป็นอย่างนั้นแต่ก็ไปติดอยู่ในเสียงไม่รู้จักหาทางออกดังนั้น รูปเสียง กลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์นี้มันจึงเป็นห่วงที่เกาะเกี่ยวให้มนุษย์สัตว์ทั้งหลายติดอยู่ในตัวของมันฉะนั้นก็ให้เราปฏิบัติไปคลำไปอย่างนั้นแหละแล้ววันหนึ่งก็จะต้องได้ความรู้เกิดความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งขึ้นมา
ที่จะได้ความรู้เกิดความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาได้นี้มันจะเกิดได้จากการปฏิบัติที่ไม่หยุดไม่ท้อถอย ปฏิบัติไปทำไปนานเข้าๆพอสมควรกับนิสัยปัจจัยของตนมันก็จะเกิดความรู้สึกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า"ธรรมวิจยะ" มันจะเกิดโพชฌงค์ของมันเองโพชฌงค์ทั้งหมดมันจะเกิดอยู่อย่างนี้สอดส่องธรรมไป
โพชฌังโค สติสังขาโตธัมมานัง วิจโยตถา
วิริยัมปีติปัสสัทธิง โพชฌังคาจะ ตถา ปะเร
สมาธุเปกขโพชฌังคาสัตเต เต สัพพทัสสินา
เบื้องแรกมันเกิดอย่างนี้อาการนี้มันจะเกิดขึ้นมามันก็เป็นโพชฌงค์เป็นองค์ที่ตรัสรู้ธรรมะทั้งนั้นถ้าเราได้เรียนรู้มันก็รู้ตามปริยัติเหมือนกันแต่ไม่มองเห็นที่มันเกิดที่ในใจของเราไม่เห็นว่ามันเป็นโพชฌงค์ความเป็นจริงนั้นโพชฌงค์นั้นเกิดมาในลักษณะอย่างนี้พระพุทธเจ้าท่านจึงบัญญัติผู้รู้ทั้งหลายก็บัญญัติเป็นข้อความออกมาเป็นปริยัติปริยัตินี้ก็เกิดจากที่ได้มาจากการปฏิบัติปริยัตินี้ก็เกิดจากที่ได้มาจากการปฏิบัติแต่มันถอนตัวออกมาเป็นปริยัติเป็นตัวหนังสือแล้วก็ไปเป็นคำพูดแล้วโพชฌงค์ก็เลยหายไปหายไปโดยที่เราไม่รู้แต่ความเป็นจริงนั้นมันก็ไม่ได้หายไปไหนมันมีอยู่ในนี้ทั้งหมด
มันจะเกิดธัมมวิจยะการพินิจพิจารณาตามไปเกิดความเพียรเกิดปีติ และอื่นๆขึ้นทั้งหมดไปตามลำดับของโพชฌงค์ถ้ามันเกิดการกระทำขึ้นทั้งหมดดังนี้มันก็เป็นองค์ที่ตรัสรู้ธรรมะมันก็ต้องมีอยู่ในนี้
ดังนั้นท่านจึงว่าค่อยๆคลำไปค่อยๆพิจารณาไปอย่านึกว่ามันอยู่ข้างโน้นอย่านึกว่ามันอยู่ข้างนี้เหมือนอย่างพระภิกษุท่านหนึ่งของเราท่านไปเรียนบาลีแปลธรรมบทกับเขาเรียนไม่ได้เพราะไปนึกแต่ว่าปฏิบัติกรรมฐานนั้นมันแจ้ง มันรู้สะอาดมันเห็น ท่านก็ออกมาปฏิบัติอยู่ที่วัดหนองป่าพงท่านว่าจะมานั่งปฏิบัติแล้วไปแปลบาลีท่านนึกว่าจะไปรู้อย่างนั้นไปเห็นอย่างนั้นก็เลยอธิบายให้ท่านฟังว่าเห็นอันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้นอย่างหนึ่งเห็นจากการเรียนปริยัติธรรมนั้นก็อีกอย่างหนึ่งมันก็เห็นเหมือนกันแต่ว่ามันลึกซึ้งกว่ากัน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-25 18:35
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถ้าเห็นจากการปฏิบัติแล้วมันละมันละไปเลย หรือถ้ายังละไม่หมดก็พยายามต่อไปเพื่อละให้ได้มีความโกรธเกิดขึ้นมามีความโลภเกิดขึ้นมาท่านไม่วางมันพิจารณาดูที่มันเกิดแล้วก็พิจารณาโทษให้มันเห็นด้วยแล้วก็เห็นโทษในการกระทำนั้นเห็นประโยชน์ในการละสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นความเห็นอันนี้ไม่ใช่อยู่ที่โน่นที่นี่มันอยู่ในจิตของตนเองจิตที่มันไม่ผ่องใสไม่ใช่อื่นไกล
อันนี้นักปริยัติและนักปฏิบัติพูดกันไม่ค่อยจะรู้เรื่องโดยมากมักจะโทษกันว่านักปฏิบัติพูดไม่มีรากฐานพูดไปตามความเห็นของตนความเป็นจริงมันก็อย่างเดียวกันแหละเหมือนหน้ามือกับหลังมือเมื่อเราคว่ำมือลงหน้ามือมันก็หายไปแต่มันไม่ได้หายไปไหนมันหายไปอยู่ข้างล่างนั่นแหละแต่มองไม่เห็นเพราะหลังมือมันบังอยู่แล้วเมื่อเราหงายฝ่ามือขึ้นหลังมือมันก็หายไปแต่มันก็ไม่ได้หายไปไหนมันก็หายไปอยู่ที่ข้างล่างเหมือนกันนั่นแหละ
ดังนั้น ให้เรารู้ไว้อย่างนี้เมื่อเกี่ยวกับการปฏิบัติอย่าไปคิดว่ามันหายไปไหนถึงจะเรียนรู้ขนาดไหนหาเท่าไหร่ก็ไม่เห็นก็ไม่รู้จักคือไม่รู้ตามที่เป็นจริงถ้ารู้ตามความเป็นจริงเมื่อไหร่ก็จะ"ละ" ได้เมื่อนั้นถอนอุปาทานได้ไม่มีความยึดหรือถ้ามีความยึดอยู่บ้างมันก็จะบรรเทาลง
ผู้ปฏิบัติก็ชอบอย่างนี้หลงอย่างนี้พอปฏิบัติก็อยากได้ง่ายๆอยากให้ได้ตามใจของตนก็ขอให้ดูอย่างนี้ดูร่างกายของเรานี่แหละมันได้อย่างใจของเราไหมจิตก็เหมือนกันมันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้นจะให้เป็นอย่างที่เราอยากไม่ได้แล้วคนก็ชอบมองข้ามมันเสียอะไรไม่ถูกใจก็ทิ้งอะไรไม่ชอบใจก็ทิ้งแต่ก็หารู้ไม่ว่าสิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจนั้นอันใดผิด อันใดถูกรู้แต่เพียงว่าอันนั้นไม่ชอบอันนั้นแหละผิดไม่ถูกเพราะเราไม่ชอบอันใดที่เราชอบอันนั้นแหละถูกอย่างนี้มันใช้ไม่ได้
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันก็ล้วนแต่เป็นธรรมะอย่างเราเรียนปริยัติมาเมื่อเกิดความรู้สึกอย่างใดมันก็วิ่งไปตามปริยัติเวลาเราภาวนาข้อนั้นเป็นอย่างนั้นข้อนี้เป็นอย่างนี้อะไรต่ออะไรมันก็ต้องวิ่งไปตามนี้ถ้าเราไม่มีปริยัติหรือไม่ได้เรียนปริยัติมาเราก็มีธรรมชาติจิตของเราเมื่อมีความรู้สึกนึกคิดไปตามธรรมชาติจิตอันนี้ถ้าหากว่ามีปัญญาพิจารณามันก็เป็นปริยัติด้วยกันทั้งนั้นธรรมชาติจิตของเรานี่ก็เป็นปริยัติ
ที่ว่าธรรมชาติของเราเป็นปริยัตินั้นคือเมื่อมีความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาอย่างไรพระพุทธเจ้าท่านให้พิจารณาอารมณ์อันนั้นอาศัยอารมณ์อันนั้นเป็นปริยัติสำหรับผู้ภาวนาที่ไม่มีความรู้ในปริยัติจำต้องอาศัยความจริงอันนี้ทุกอย่างมันก็เป็นมาอย่างนี้เหมือนกัน
ฉะนั้นคนเรียนปริยัติก็ดีคนไม่เรียนปริยัติก็ดีถ้าหากว่ามีศรัทธามีความเชื่ออย่างที่ว่ามาแล้วมาฝึกปฏิบัติให้มีความเพียรมีขันติ ความอดทนให้สม่ำเสมอมีสติเป็นหลักคือความระลึกได้ว่าเรานั่งอยู่เรายืนอยู่เรานอนอยู่เราเดินอยู่ให้รู้ตัวทุกอิริยาบถ
สติสัมปชัญญะสองอย่างนี้สติความระลึกได้สัมป-ชัญญะ ความรู้ตัวมันไม่ห่างกันเลยมันเกิดขึ้นพร้อมกันเร็วที่สุดเราจะไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรความระลึกได้เกิดขึ้นความรู้ตัวมันก็เกิดขึ้นมาด้วย
เมื่อจิตเราตั้งมั่นอยู่อย่างนี้มันก็รู้สึกง่ายๆคือระลึกได้ว่าเราอยู่อย่างไรเป็นอะไร ทำอะไรมีสติเมื่อใดก็มีความรู้ตัวอยู่เมื่อนั้น
ทีนี้ก็มีปัญญาแต่บางทีปัญญามันน้อยมันมาไม่ค่อยทันมีสติอยู่ก็จริงมีความรู้สึกอยู่ก็จริงแต่ว่ามันก็ผิดของมันได้เหมือนกันแต่แล้วตัวปัญญามันจะวิ่งเข้ามาช่วยสติความระลึกได้และสัมปชัญญะความรู้ตัวนั้นมีเป็นพื้นฐานอยู่แล้วก็ควรอบรมปัญญาด้วยอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานเช่นว่ามันจะรู้อยู่ระลึกได้ก็ให้ระลึกได้มันอยู่อารมณ์เกิดขึ้นมาอย่างไรก็ให้ระลึกอารมณ์นั้นได้อยู่แต่ให้เห็นไปพร้อมๆกันว่ามันมีอนิจจังเป็นรากฐานมีทั้งทุกขังมันเป็นทุกข์ทนยากมีทั้งอนัตตาอันไม่ใช่ตัวตนทั้งนั้นแหละมัน "สักแต่ว่า"เกิดความรู้สึกขึ้นมาแล้วไม่มีตัวตนแล้วมันก็หายไปเท่านั้นเองคนที่"หลง" ก็ไปเอาโทษกับมันจึงไม่รู้จักใช้สิ่งทั้งหลายนี้ให้เกิดประโยชน์
ถ้าหากว่ามีปัญญาอยู่พร้อมแล้วความระลึกได้และความรู้ตัวมันจะติดต่อกันเป็นลำดับแต่ถ้าปัญญานั้นยังไม่ผ่องใสสติสัมปชัญญะมันก็อาจจะมีผิดบ้างถูกบ้าง ถ้าเป็นอย่างนั้นต้องมีปัญญามาช่วยพระพุทธเจ้าท่านทรงใช้อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานมาต้านทานมันเลยว่าสตินี้มันก็ไม่แน่นอนมันลืมได้เหมือนกันสัมปชัญญะความรู้ตัวนี้ก็ไม่แน่นอนมันล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง
อะไรที่มันไม่เที่ยงแล้วเราไม่รู้ทันมันอยากจะให้มันเที่ยงมันก็เป็นทุกข์เท่านั้นเป็นทุกข์เพราะไม่ได้ตามปรารถนาไม่ได้ตามความอยากที่จะให้มันเป็นอยู่อย่างนั้นซึ่งเป็นความอยากที่เกิดจากอำนาจจิตที่สกปรกสกปรกด้วยความไม่รู้จักอันนี้มันก็เกิดกิเลสตัณหาตรงนี้แหละ
พอมีความรู้สึกเกิดขึ้นมาเช่นว่า เราได้กระทบรูปเสียงกลิ่นรส โผฏฐัพพะก็มีความชอบใจบ้างไม่ชอบใจบ้างคือมีความยึดมั่นถือมั่นเต็มอยู่ในใจของเราดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงให้คลี่คลายออกเรื่องที่มันเกิดขึ้นมานี่ให้ยกเอาความไม่เที่ยงเป็นหลักวินิจฉัยอะไรที่มันเกิดขึ้นมาให้เห็นว่าถึงเราจะชอบมันหรือไม่ชอบมันอันนี้ไม่แน่นอนอันนี้ไม่เที่ยงถ้าเราไปยึดมั่นมันมันก็พาให้เราเป็นทุกข์ทำไมเป็นทุกข์เพราะเราไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้เป็นไปตามใจของเราได้ทุกอย่าง
เมื่อได้รับอารมณ์มาแล้วจิตที่หลง ที่ไม่มีความรู้มันก็ไปอย่างหนึ่งจิตที่รู้มันก็ไปอีกอย่างหนึ่งพอมีความรู้สึกเกิดขึ้นจิตที่รู้มันก็เห็นว่าไม่ควรยึดมั่นในสิ่งเหล่านั้นถ้าไม่มีปัญญามันหลงตามไปด้วยความโง่ไม่เห็นเป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตาเห็นแต่พอว่าเราชอบใจอันนี้มันถูกแล้วมันดีแล้วอันไหนเราไม่ชอบใจอันนั้นมันไม่ดีอย่างนั้นจึงไม่เข้าถึงธรรมะ
ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขาพระพุทธเจ้าท่านให้เห็นเป็น"สักแต่ว่า"ให้ยืนอยู่ตรงนี้เสมอดังนั้นเราจะไปเลือกอารมณ์ไม่ได้ถ้าอารมณ์มันวิ่งมาหาเราทั้งทางดี ทางชั่วทางผิด ทางถูกแล้วเราไม่รู้เพราะไม่มีปัญญาเราก็จะวิ่งตามมันไปตามไปด้วยตัณหาด้วยความอยากแล้วเดี๋ยวก็ดีใจเดี๋ยวก็เสียใจเพราะอะไร? เพราะเอาใจของเราเป็นหลักอะไรที่เราชอบใจก็เข้าใจว่าอันนั้นดีอะไรที่เราไม่ชอบใจก็เข้าใจว่าอันนั้นไม่ดีอย่างนี้เรียกว่ายังห่างไกลธรรมะยังไม่รู้ธรรมะมันก็เดือดร้อนเพราะความหลงมันเต็มอยู่
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-1-25 18:36
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถ้าพูดเรื่องจิตก็ต้องพูดอย่างนี้ไม่ต้องออกไปห่างตัวให้เห็นว่าอันนี้มันไม่แน่อันนี้เป็นทุกข์อันนี้เป็นอนัตตาไม่ใช่อัตตาถ้าเห็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆนี้ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาเราควรรู้จักอารมณ์อันนี้ตามอารมณ์อย่างนี้มันจะทำให้เกิดปัญญาท่านจึงเรียกว่าอารมณ์ของวิปัสสนา
อารมณ์ของสมถกรรมฐานนั้นท่านให้กำหนดอานาปาน-สติคือลมหายใจเข้าออกนี้เป็นรากฐานควบคุมจิตของเราให้อยู่ในกระแสของลมนี้ให้มันแน่วแน่นิ่งนอนอยู่เมื่อเราพยายามทำตามดังนั้น จิตของเราก็จะสงบนี่ท่านเรียกว่าอารมณ์ของกรรมฐาน
อารมณ์กรรมฐานนี้จะทำจิตให้สงบเพราะจิตมันวุ่นวายมาไม่รู้กี่ปีกี่ชาติแล้วลองนั่งดูเดี๋ยวนี้ก็ได้อาการวุ่นวายจะเกิดขึ้นทันทีมันจะไม่ยอมให้เราสงบฉะนั้นท่านจึงให้หาอารมณ์กรรมฐานอารมณ์อันใดถูกใจถูกจริตของเราท่านให้พิจารณาอันนั้นเช่น เกศา โลมานขา ทันตา ตโจท่านให้พิจารณากลับไปกลับมาเมื่อทำอย่างนี้บางคนพิจารณาตโจหนังรู้สึกพิจารณาได้สบายเพราะถูกจริตถ้าอันใดถูกจริตของเราอันนั้นก็จะเป็นอารมณ์กรรมฐานของเราสำหรับปราบกิเลสทั้งหลายให้มันเบาบางลง
บางคนมีความโลภโกรธ หลง อย่างแรงกล้าก็ไม่มีอะไรจะปราบเจ้ากิเลสนี้ได้พอพิจารณามรณสติคือการระลึกถึงความตายอยู่บ่อยๆก็เกิดความสลดสังเวชเพราะว่าจนมันก็ตายรวยมันก็ตายดีมันก็ตายชั่วมันก็ตายอะไรๆมันก็ตายหมดทั้งนั้นยิ่งพิจารณาไปจิตใจก็ยิ่งเกิดความสลดสังเวชพอนั่งสมาธิก็สงบได้ง่ายๆเพราะมันถูกจริตของเรา
อารมณ์ของสมถกรรมฐานนี้ถ้าไม่ถูกจริตของเรามันก็ไม่สลดไม่สังเวช อันใดที่ถูกกับจริตอันนั้นก็จะประสบบ่อยๆมีความรู้สึกนึกคิดในอาการนั้นบ่อยๆแต่เราไม่ค่อยจะได้สังเกตจึงควรสังเกตเพื่อให้ได้ประโยชน์เปรียบเหมือนกับอาหารที่เขาจัดมาให้สำรับหนึ่งมันก็มีหลายอย่างเราก็ชิมไปทุกถ้วยทุกอย่างนั่นแหละแล้วก็จะรู้เองว่าอาหารอย่างไหนที่เราชอบอย่างไหนที่เราไม่ชอบอย่างไหนชอบก็ว่ามีรสชาติอร่อยกว่าอย่างอื่นนี่พูดถึงอาหาร
นี่ก็เทียบให้เห็นกับจริตของคนเรากรรมฐานที่ถูกจริตมันก็สบายอย่างอานาปานสติกำหนดลมหายใจเข้าออกถ้าถูกจริตแล้วก็สบายไม่ต้องไปเอาอย่างอื่นพอนั่งลงก็กำหนดลมหายใจเข้าออกก็เห็นชัดฉะนั้นก็เอาของใกล้ๆนี่ดีกว่ากำหนดลมหายใจให้มันเข้ามันออก อยู่นั้นแหละดูมันอยู่ตรงนั้นแหละดูไปนานๆ ทำไปเรื่อยๆจิตมันจะค่อยวางสัญญาอื่นๆมามันก็จะห่างกันออกไปเรื่อยๆเหมือนคนเราที่อยู่ห่างไกลกันการติดต่อก็น้อย
เมื่อเราสนใจอานาปานสติมันก็จะง่ายขึ้นเราทำบ่อยๆก็จะชำนาญการดูลมขึ้นตามลำดับลมยาวเป็นอย่างไรเราก็รู้ลมสั้นเป็นอย่างไรเราก็รู้ แล้วก็จะเห็นว่าลมที่เข้าออกนี้มันเป็นอาหารอย่างวิเศษมันจะค่อยติดตามไปเองของมันทีละขั้นจะเห็นว่ามันเป็นอาหารยิ่งกว่าอาหารทางกายอย่างอื่น
จะนั่งอยู่ก็หายใจจะนอนอยู่ก็หายใจจะเดินไปก็หายใจจะนอนหลับก็หายใจลืมตาขึ้นก็หายใจถ้าขาดลมหายใจนี้ก็ตายแม้แต่นอนหลับอยู่ก็ต้องกินลมหายใจนี้พิจารณาไปแล้วเลยเกิดศรัทธาเห็นว่าที่เราอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะอันนี้เองข้าวปลาอาหารต่างๆก็เป็นอาหารเหมือนกันแต่เราไม่ได้กินมันทุกเวลานาทีเหมือนลมหายใจซึ่งจะขาดระยะไม่ได้ถ้าขาดก็ตายลองดูก็ได้ถ้าขาดระยะสัก๕-๑๐ นาที มันจวนจะตายไปแล้ว
นี่พูดถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ปฏิบัติมันจะรู้ขึ้นมาอย่างนี้แปลกไหม?แปลกซิ ซึ่งถ้าหากไม่ได้พิจารณาตามลมหายใจอย่างนี้ก็จะไม่รู้สึกว่ามันเป็นอาหารเหมือนกันจะเห็นก็แต่คำข้าวเท่านั้นที่เป็นอาหารความจริงมันก็เป็นแต่มันไม่อิ่มเท่ากับอาหารลมหายใจ
อันนี้ ถ้าเราทำไปเรื่อยให้เป็นปฏิปทาอย่างสม่ำเสมอความคิดมันจะเกิดอย่างนี้จะเห็นต่อไปอีกว่าที่ร่างกายเราเคลื่อนไหวไปได้ก็เพราะลมอันนี้ยิ่งพิจารณาก็ยิ่งเห็นประโยชน์ของลมหายใจยิ่งขึ้นแม้ลมจะขาดจากจมูกเราก็ยังหายใจอยู่แล้วลมนี้ยังสามารถออกตามสรรพางค์กายก็ได้เราสงบนิ่งอยู่เฉยๆปรากฏว่าลมมันไม่ออกลมมันไม่เข้าแต่ว่าลมละเอียดมันเกิดขึ้นแล้ว
ฉะนั้น เมื่อจิตของเราละเอียดถึงที่สุดของมันแล้วลมหายใจก็จะขาดลมหายใจไม่มีเมื่อถึงตรงนี้ท่านบอกว่าอย่าตกใจแล้วจะทำอะไรต่อไป?ก็ให้กำหนดรู้อยู่ตรงนั้นแหละรู้ว่าลมไม่มีนั่นแหละเป็นอารมณ์อยู่ต่อไป
พูดถึงเรื่องสมถกรรมฐานมันก็คือความสงบอย่างนี้ถ้ากรรมฐานถูกจริตแล้วมันเห็นอย่างนี้แหละถ้าเราพิจารณาอยู่บ่อยๆมันก็จะเพิ่มกำลังของเราอยู่เรื่อยๆเหมือนกับน้ำในโอ่งพอจะแห้งก็หาน้ำมาเติมลงไปอยู่เรื่อย
ถ้าทำสม่ำเสมออยู่อย่างนี้มันจะกลายเป็นปฏิปทาของเราทีนี้ก็จะได้ความสบายเรียกว่าสงบสงบจากอารมณ์ทั้งหลายคือมีอารมณ์เดียวคำที่ว่ามีอารมณ์เดียวนั้นพูดยากเหมือนกันความเป็นจริงอาจมีอารมณ์อื่นแทรกอยู่เหมือนกันแต่ไม่มีความสำคัญกับเรามันเป็นอารมณ์เดียวอยู่อย่างนี้
แต่ให้ระวังเมื่อความสงบเกิดขึ้นมาแล้วมีความสบายเกิดขึ้นมากระวัง มันจะติดสุขติดสบาย แล้วเลยยึดมั่นถือมั่นฉะนั้นถ้าหากเกิดความคิดขึ้นมาให้พิจารณาว่าความสุขนี้ก็ไม่เที่ยงความสบายนี้ก็ไม่เที่ยงหรือความทุกข์ก็ไม่เที่ยงความที่เป็นยังงั้นๆมันก็ไม่เที่ยงจึงอย่าไปยึดมั่นถือมั่นมันเลย
ความรู้สึกอย่างนั้นมันเกิดขึ้นมาเพราะปัญญาเกิดขึ้นมาแล้วเห็นสภาวะของทั้งหลายเป็นอย่างนั้นเมื่อมีความรู้สึกอย่างนี้ก็เหมือนคลายเกลียวน้อตให้หลวมออกไม่ให้มันตึงเมื่อก่อนมันตึงมันแน่นความรู้สึกของเราที่มองก็เช่นกันสมัยก่อนมองเห็นอันนั้นก็แน่นอนอันนี้ก็แน่นอนมันเลยตึงมันก็เป็นทุกข์พอไม่ยึดมั่นถือมั่นเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่แน่นอนมันก็คลายเกลียวออกมา
เรื่องความเห็นนี้เป็นเรื่องของทิฐิเรื่องความยึดมั่นถือมั่นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามานะท่านจึงสอนว่าให้ลดทิฐิมานะลงเสียจะลดได้อย่างไร?จะลดได้ก็เพราะเห็นธรรมเห็นความไม่เที่ยงสุขก็ไม่เที่ยงทุกข์ก็ไม่เที่ยงอะไรๆก็ไม่เที่ยงทั้งนั้นเมื่อเราเห็นอย่างนั้นอารมณ์ทั้งหลายที่เรากระทบอยู่มันก็จะค่อยๆหมดราคาหมดราคาไปมากเท่าไรก็บรรเทาความเห็นผิดไปได้เท่านั้นนี้เรียกว่ามันคลายน้อตให้หลวมออกมามันก็ไม่ตึง
อุปาทานก็จะถอนออกมาเรื่อยๆเพราะเห็นชัดในเรื่องอนิจจังทุกขัง อนัตตาในสกลร่างกายนี้หรือในรูปนามนี้ในโลกนี้มันเป็นอย่างนี้แล้วก็จะเกิดความเบื่อคำว่า "เบื่อ"ไม่ใช่เบื่ออย่างที่คนเขาเบื่อกันคือเบื่ออย่างที่ไม่อยากรู้ไม่อยากเห็นไม่อยากพูดด้วยเพราะไม่ชอบมันถ้ามันเป็นอะไรไปก็ยิ่งนึกสมน้ำหน้าไม่ใช่เบื่ออย่างนี้เบื่ออย่างนี้เป็นอุปาทานเพราะความรู้ไม่ทั่วถึงแล้วเกิดความอิจฉาพยาบาทเกิดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เรียกว่า"เบื่อ" นั่นเอง
"เบื่อ" ในที่นี้ต้องเบื่อตามคำสอนของพระพุทธเจ้าคือเบื่อโดยไม่มีความเกลียดไม่มีความรักหากมีอารมณ์ชอบใจหรือไม่ชอบใจอันใดเกิดขึ้นมาก็เห็นทันทีว่ามันไม่เที่ยง"เบื่อ"อย่างนี้จึงเรียกว่า"นิพพิทา" คือความเบื่อหน่ายคลายจากกำหนัดรักใคร่ในอารมณ์อันนั้นไม่ไปสำคัญมั่นหมายในอารมณ์เหล่านั้นทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจไม่ไปยึดมั่นถือมั่นและไม่ไปสำคัญมั่นหมายในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นจนเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด
พระพุทธเจ้าท่านสอนต่อไปอีกว่าให้รู้จักทุกข์ให้รู้จักเหตุเกิดทุกข์ให้รู้ความดับทุกข์ให้รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ท่านให้รู้ของสี่อย่างนี้เท่านั้นทุกข์เกิดขึ้นมาก็ให้รู้ว่านี่ตัวทุกข์แล้วทุกข์นี้มาจากไหนมันมีพ่อแม่เหมือนที่เราเกิดมาเหมือนกันไม่ใช่ว่ามันเกิดขึ้นมาลอยๆเมื่ออยากจะให้ทุกข์ดับก็ไปตัดเหตุของมันเสียที่ทุกข์มันเกิดก็เพราะไปยึดมั่นถือมั่นนั่นเองฉะนั้นจึงให้ตัดเหตุของมันเสียการรู้จักดับความทุกข์ก็ให้คลายเกลียวที่แน่นนั้นออกเสียให้เห็นโทษของอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นแล้วก็ถอนตัวออกมาเสียรู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ก็คือมรรคให้ปฏิบัติให้ตลอดตั้งแต่สัมมาทิฐิไปจนถึงสัมมาสมาธิให้มีความเห็นให้ถูกต้องในมรรคทั้งแปดข้อนี้ถ้ามีความรู้ความเข้าใจและความเห็นชอบในสิ่งทั้งหลายนี้แล้วก็จะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เราก็จะพ้นจากความทุกข์ข้อปฏิบัตินั้นคือสมาธิ ปัญญา
เรื่องของจิตใจหรือธรรมชาติของจิตจะต้องเป็นอย่างนี้จะต้องรู้และเห็นสิ่งทั้งสี่ประการ(อริยสัจจ์ ๔)นี้ให้ชัดเจนตามความเป็นจริงของมันเพราะมันมันเป็นสัจจธรรมจะมองไปข้างหลังข้างหน้า ข้างขวาข้างซ้าย มันก็เป็นสัจจธรรมทั้งนั้นดังนั้นผู้บรรลุธรรมจะไปนั่งที่ไหนหรือไปอยู่ที่ใดก็จะมองเห็นธรรมอยู่ตลอดเวลา
ที่มา
http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/chahthai/Reading_the_Natural_Mind.html
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...