ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7382
ตอบกลับ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ปราสาทหินเมืองต่ำ

[คัดลอกลิงก์]
ปราสาทหินเมืองต่ำ

ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคำว่า เมืองต่ำ นี้ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิม แต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่ในที่ต่ำกว่าปราสาทพนมรุ้ง โดยมวลสารวัตถุจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุในที่นี้ รัชกาลที่ 9 ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระสมเด็จจิตรลดา

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 18:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติ

ปราสาทเมืองต่ำสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในศิลปะปาปวนตอนต้น และลดความสำคัญลงไปในราวพุทธศตวรรษที่ 18 และถูกทิ้งร้างในที่สุด จนเมื่อราวปี พ.ศ. 2490 จึงเริ่มมีการอพยพเข้ามาของชาวบ้าน มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้อีกครั้งหนึ่ง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ปราสาทเมืองต่ำน่าจะเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย เพราะถึงแม้ได้มีการขุดพบศิวลึงค์ แต่ภาพสลักส่วนมากที่ปราสาทนี้ ล้วนเป็นภาพเกี่ยวกับการอวตารของพระนารายณ์ อีกทั้งเป็นปราสาทน้ำล้อม ซึ่งเป็นลักษณะของไวษณพนิกาย ต่างจากปราสาทบนภูเขาของไศวนิกาย
ปราสาทเมืองต่ำมีปรางค์ประธานห้าองค์บนฐานเดียวกัน เช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิ โดยแต่ละองค์มีรายละเอียดดังนี้
ปรางค์ประธาน
ปรางค์ประธานปัจจุบันได้ถล่มลงมาแล้ว พบเพียงฐานเป็นศิลาแลง และหน้าบันซึ่งสลักจากหินทราย เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะปาปวน สันนิษฐานว่าตัวปราสาทเป็นปราสาทหินทราย
ปราสาทประกอบ
ปราสาทประกอบอีก 4 หลังเป็นปราสาทอิฐ ปัจจุบันได้รับการบูรณะในสภาพสมบูรณ์ และมีหน้าบันด้านหน้าอยู่ครบ โดยปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้ มีหน้าบันเป็นภาพพระวรุณเทพประทับเหนือหงษ์ ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือเป็นภาพพระกฤษณะ (ร่างอวตารของพระวิษณุ) ยกภูเขาโควรรธนะ ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศใต้เป็นภาพพระอินทร์ ปางมหาราชลีลาสนะ (นั่งชันเข่า) ประทับเหนือหน้ากาล ส่วนปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ เป็นภาพพระศิวะคู่พระอุมา ประทับบนโคนนทิในปาง อุมามเหศวร
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 18:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติความเป็นมา
ปราสาทหินเมืองต่ำตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ ที่อุดมสมบูรณ์มีลำห้วยที่ไหลผ่าน คือ ลำห้วยจระเข้มาก ลำปะเทีย เป็นต้น และที่สำคัญ ยังตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคม จากเมืองพระนครศูนย์กลางของ อาณาจักรขอมโบราณ ไปยังเมืองพิมายอีกด้วย จากการขุดค้นทางโบราณคดี บริเวณโคกสลองตอง ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับ ปราสาทเมืองต่ำ ได้พบหลักฐาน อย่างชัดเจนว่า บริเวณพื้นที่แถบนี้ มีมนุษย์เข้ามาอาศัย ตั้งแต่ก่อนการสร้างปราสาทเมืองต่ำคือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 18:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติความเป็นมาของปราสาทหินเมืองต่ำยังไม่ทราบชัดเพราะไม่พบหลักฐานที่แน่นอนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด หรือใครเป็นผู้สร้าง มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวน ซึ่งมีอายุอยู่ในราว พ.ศ. 1550-1625 โดยลักษณะของศิลปะขอมแบบคลังซึ่งมีอายุราว พ.ศ. 1508-1555 ปะปนอยู่ด้วย ภาพสลักส่วนใหญ่เป็นภาพเทพในศาสนาฮินดู จึงอาจกล่าวได้ว่า ปราสาทแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-17 เพื่อใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 18:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สถานที่น่าสนใจ
ตัวปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทเมืองต่ำ เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ก่อสร้างด้วยวัสดุ 3 ชนิดปนกัน คือ อิฐ หินทรายและศิลาแลง มีแผนผัง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้างxยาว ประมาณ 120x127 เมตร ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก  จากการศึกษารูปแบบศิลปกรรม ของปราสาทเมืองต่ำ อาจกล่าวได้ว่า ศาสนสถานแห่งนี้ สร้างขึ้นตามแบบศิลปขอม ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 หรือเมื่อราว 1,000 ปีมาแล้ว ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วย อาคารสิ่งก่อสร้างน้อยใหญ่ เป็นจำนวนมาก โดยเริ่มจากศูนย์กลาง ของปราสาท อันเปรียบเสมือน ศูนย์กลางของจักรวาล อันเป็นที่ประทับของ เทพเจ้า ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู ก่อสร้างเป็นกลุ่มปราสาทอิฐ จำนวน 5 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน แบ่งออกได้เป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์ แถวหลัง 2 องค์ โดยปราสาทประธานองค์กลาง ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดนั้น ได้ชำรุดหักพังเหลือเพียงฐานล่าง ปัจจุบันมีสภาพสมบูรณ์เพียง 4 หลัง เฉพาะปราสาทประธานเดิม มีการประดับด้วย ลวดลายปูนปั้น ซึ่งชำรุดหมดแล้ว นอกจากนี้แล้ว ยังมีทับหลังสลัก เป็นรูปเทพเจ้า ในศาสนาฮินดู เช่น พระศิวะปางอุมามเหศวร พระวรุณทรงหงส์ พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เป็นต้น และยังได้มีการพบศิวลึงค์ ขนาดใหญ่ในบริเวณใกล้กับ กลุ่มปราสาทอิฐด้วย
ตรงด้านหน้าของกลุ่มปราสาทอิฐ มีบรรณาลัย หรืออาคารเก็บคัมภีร์ทางศาสนา ตั้งอยู่จำนวน 2 หลัง โดยทั้งหมด ถูกล้อมรอบด้วยระเบียงคต รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กึ่งกลางของระเบียงคตทั้ง 4 ด้าน มีซุ้มประตูทางเข้า-ออก ขนาดใหญ่ ด้านละ 1 ประตู ในส่วนของทับหลัง หน้าบัน เสาติดผนัง มีการสลักภาพเทพเจ้า และลวดลายประดับ อย่างสวยงาม เช่น พระกฤษณะปราบนาคกาลียะ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ลายก้านดอก เป็นต้น

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 18:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ด้านนอกมุมระเบียงคตทั้ง 4 มุม มีสระน้ำขนาดใหญ่อย่างละ 1 สระ ทุกสระมีลักษณะเหมือนกัน คือมีแผนผังเป็นรูปตัว L ผนังสระ และพื้นสระกรุด้วยศิลาแลง ขอบสระมีรูปพญานาคราช 5 เศียร มีบันไดทางขึ้น-ลงสระละ 2 บันได

จากลักษณะของสระน้ำดังกล่าว เชื่อกันว่าสระน้ำทั้ง 4 สระนี้ คงเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่พราหมณ์จะได้นำมาใช้ ในบริเวณศูนย์กลางของปราสาท นอกจากนี้แล้ว จารึกที่พบที่ปราสาทเมืองต่ำนี้ ยังกล่าวว่าสระน้ำเหล่านี้คือ สิ่งที่คุ้มครองดูแลรักษาปราสาท  ถัดจากสระน้ำออกไป เป็นกำแพงแก้ว ล้อมรอบปราสาท ก่อด้วยศิลาแลง สูงประมาณ 2 เมตร บนสันกำแพง ประดับด้วยบราลีหินทราย ตรงกึ่งกลางของกำแพงทั้ง 4 ด้าน มีซุ้มประตูทางเข้า-ออก ก่อด้วยหินทรายขนาดใหญ่ ด้านละ 1 ประตู ในส่วนของทับหลังหน้าบัน และเสาติดผนัง มีการสลักรูปเทพเจ้า และลวดลายต่าง ๆ ประดับ เช่น รูปพระกฤษณะปราบนาคกาลียะ ลายก้านต่อดอก ลายก้านขด และลายประจำยามก้ามปู เป็นต้
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 18:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทะเลเมืองต่ำ
ด้านนอกปราสาทเมืองต่ำ ทางทิศเหนือห่างออกไปประมาณ 200 เมตร มีบารายขนาดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านเรียกกัน "ว่าทะเลเมืองต่ำ" เป็นสระน้ำขนาดใหญ่มาก มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้างxยาว ประมาณ 510x1,090 เมตร สันนิษฐานว่า บารายแห่งนี้คงขุดเพื่อใช้ เป็นแหล่งน้ำตามคติความเชื่อ ทางศาสนาฮินดู และใช้ในการอุปโภคบริโภค ของประชาชนในสมัยนั้น
ในบริเวณใกล้เคียงกับปราสาทเมืองต่ำ นอกจากปราสาทพนมรุ้งแล้ว ยังมีปราสาทศิลปขอมขนาดเล็ก อีกหลายแห่งที่สำคัญ เช่น กุฏิฤาษีเมืองต่ำ กุฏิฤาษีหนองบัวราย อันเป็นอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาลโบราณ สมัยพุทธศตวรรษที่ 18 และปราสาทบ้านบุ อันเป็นธรรมศาลา หรือที่พักคนเดินทาง สมัยพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้น


ที่มาhttp://www.tonkeian.com/index.ph ... 318658&Ntype=33

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ความจุของตัวหนังสือแต่ละโพสมันได้มากกว่านี้มิใช่เหรอ
ซอยยิกๆเลยนะเสี่ย เมธ
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 18:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2013-11-15 18:37
ความจุของตัวหนังสือแต่ละโพสมันได้มากกว่านี้มิใช่เห ...

แบบนี้ก็ต้องลดเครดิตบุญเก่าเจ้หนูออกด้วยน่ะครับ
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-11-15 18:57
แบบนี้ก็ต้องลดเครดิตบุญเก่าเจ้หนูออกด้วยน่ะครับ ...

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้