ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4177
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สัตว์หิมพานต์ในด้านสังคมศาสตร์

[คัดลอกลิงก์]
สัตว์หิมพานต์ในสายตาของคนโบราณอยู่ปะปนกับมนุษย์ทั่วไปในป่าหิมพานต์ เนื่องจากป่าหิมพานต์ในตำราระบุไว้ชัดเจนว่า เป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป สูงพ้นมหาสมุทรสีทันดร ๕๐๐ โยชน์ มีเนื้อที่ ๖๐๐ โยชน์ เป็นที่อยู่มนุษย์และสัตว์ใหญ่น้อย ๓๐๐ โยชน์ เป็นที่อยู่อมนุษย์และสัตว์ใหญ่น้อย ๓๐๐ โยชน์ มีมหาสมุทรสีทันดรล้อมรอบ ๔๐๐ โยชน์ คิดเป็นอัตราส่วน ๓๐๐: ๓๐๐: ๔๐๐ รวมกันได้ ๑๐๐๐ ส่วน
ฉะนั้น ผู้ที่ปฏิบัติตนไม่สม่ำเสมอใน กุศล และ อกุศล คือผู้ที่ยังเป็นชาวป่าหิมพานต์อยู่นั่นเอง
ตัวอย่างสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตหิมพานต์ มีดังนี้ฯ
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-3 21:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๑.นาค(naga) เป็นอมนุษย์โหงวเฮ้งหน้ามู่ทู่ ขี้โมโห(ขี้โกรธ โกรธง่าย หายง่าย) ชอบร้องรำทำเพลง (เต้น ดิ้น เลื้อย)ในจังหวะรุนแรง(คงประมาณ เฮฟวี่ เมทัล) ชายเรียกนาคา (naga) หญิงเรียกนาคี(nagi) อมนุษย์นี้อาจดื่มสุราบ้างเล็กน้อย(พอครึ้ม) คนโบราณสร้างค่าพฤติกรรมและความหมายของนาคาและนาคี ไว้ต่างกัน คือ นาคา บุรุษที่กำเนิดในสังคมชนบทที่ถูกอมนุษย์อย่าง ครุฑ และ นรสิงห์เบียดเบียน นาคี สตรีที่กำเนิดในสังคมชนบทตลอดจนจารีต วิถีชีวิตแบบชนบทที่ถูกสังคมเมืองทำลายล้าง ยังมี นาคเฝ้าทรัพย์และนาคเฝ้าคัมภีร์ ที่ไม่สามารถไปไหนได้เพราะต้องเฝ้าปกป้องของสำคัญ นาคเฝ้าทรัพย์นั้นมักเห็นเวลาเกิดภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำท่วมเพราะไปไหนไม่ได้กลัวของหาย(ที่รื้อบิ๊กแบ็กก็น่าจะใช่)ผิดกับนาคเฝ้าคัมภีร์ที่มักหลบซ่อนรวบรวมและศึกษาคัมภีร์ต่างๆอย่างไม่เปิดเผยรึเปิดเผยไม่ได้เพราะคุยกับใครไม่ค่อยรู้เรื่อง ธรรมดานาคมีพิษและโทสะรุนแรง นาคและมนุษย์จึงพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากัน โดยเฉพาะเวลามีอะไรมากระทบสิ่งที่เฝ้า ในบางกรณีนาคเฝ้าทรัพย์และนาคเฝ้าคัมภีร์จะสัมพันธ์กันถ้านาคนั้นเฝ้าทรัพย์ที่สร้างจากคัมภีร์ มีข้อมูลที่แสดงว่า กลุ่มกอร์กอน(Gorgon)หรือเก็งกองอาจเกี่ยวข้องกับนาคในเรื่องการใช้พิษทำร้ายผู้อื่น(กลุ่มกอร์กอนทำร้ายผู้อื่นโดยการเพ่งมองเพื่อให้แข็งเป็นหินเหมือนนาคที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน)
พิษนาคมี๔ชนิด คือ(พิษนาค๔ชนิดนี้ในทางสังคม คือ ทำเลที่หากิน)
๑.กัฏฐมุข พิษซึ่งทำให้ธาตุดิน(ในกาย)กำเริบ ร่างกายจะแข็งไปหมดทั้วตัวยุติการทำงานของระบบทั้งหมดในร่างกาย(อาการ เหน็บชา ตะคริว ด้วย)(ในทางสังคม คือ ทำเลที่หากินบนพื้นดิน/มีอำนาจบนพื้นดิน)
๒.ปูติมุข พิษซึ่งทำให้ธาตุน้ำ(ในกาย)กำเริบ คือโดนแล้วจะบวมพองและเน่าเปื่อย ใช้แปลงโฉมได้ด้วย(แบบพระนล)(ในทางสังคม คือ ทำเลที่หากินในน้ำ/มีอำนาจในน้ำ เช่น มาเฟียบนเรือยอร์ช)
๓.อัคคิมุข พิษซึ่งทำให้ธาตุไฟ(ในกาย)กำเริบเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน(ร้อนในก็ใช่) ฟ้าผ่า เพลิงสันดาปตนก็ใช่ (เกิดการเผาไหม้ภายใน)(ในทางสังคม คือ ทำเลที่หากินบนดวงอาทิตย์!!!แต่คงไม่มีใครหากินแบบนี้)
๔.สัตถมุข พิษซึ่งทำให้ธาตุลม(ในกาย)กำเริบ ลมในกายตีกลับเกิดอาการท้องเดิน(ท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่ระบาย)(ในทางสังคม คือ ทำเลที่หากินในอินเตอร์เน็ต แว๊บไปแว๊บมาแบบลม)
(พิษนี้คือธาตุ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม)

วิธีการทำร้ายด้วยพิษมี๔ชนิด คือ(ในทางสังคม คือ พรรคพวกบริวาร)
๑.ทัฏฐะวิสะ เมื่อขบกัดแล้วจะเกิดพิษซ่านไปทั่วร่างกาย(ในทางสังคม คือ เมื่อใช้วาจาสั่งพรรคพวกบริวาร พรรคพวกบริวารก็จะจัดการให้)
๒.ทิฏฐะวิสะ ใช้วิธีมองแล้วพ่นพิษออกทางตา(ในทางสังคม คือ เมื่อใช้ดวงตาเพ่งเล็งให้พรรคพวกบริวารรู้พรรคพวกบริวารก็จะจัดการให้)
๓.ผุฏฐะวิสะ ใช้ลมหายใจพ่นเป็นพิษแผ่ซ่าน(ในทางสังคม คือ เมื่อถอนหายใจให้พรรคพวกบริวารรู้พรรคพวกบริวารก็จะจัดการให้)
๔.วาตาวิสะ มีพิษที่กาย จะแผ่พิษจากตัว(ในทางสังคม คือ มีตัวเองพรรคพวกบริวารจัดการให้/ทำเองทุกอย่าง)
ลักษณะการทำร้ายของพิษมี๔ชนิด คือ
๑.อาตตะวิสนะโฆระวิสะ มีพิษแผ่ซ่านออกไปอย่างรวดเร็วแต่ไม่รุนแรง
๒.โฆระวิสนะอาคตะวิสะ มีพิษรุนแรงมาก แต่พิษนั้นแผ่ออกไปช้าๆ
๓.อาคตวิสนะโฆระวิสะ มีพิษแผ่ซ่านไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก
๔.นะอาควิสนะโฆระวิสะ มีพิษแผ่ช้าๆและไม่รุนแรง
ความพิโรธของพญานาค คือ ปรากฏการณ์ น้ำท่วม น้ำหลาก และ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ที่คนโบราณระบุชัดเจนว่าใหญ่และรุนแรงขนาดกลืนกินอาณาจักร หรือ ล่มเมืองได้อย่างในตำนานแคว้นโยนก(แคว้นสิงหนวัติ)กับปลาไหลเผือก(ขนาดยักษ์) หรือ นครเอกชะทีตา(ผาแดง-นางไอ่ กับกระรอกเผือก)ทั้ง๒อาณาจักรนี้ คนโบราณระบุชัดเจนว่าเช่นกันว่า“พระยานาค”เป็นผู้(ออกแบบ)สร้างขึ้นมา
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-3 21:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๒.ครุฑ(garuda) ครุฑนั้นช่างเจรจา ชอบกินงู(หรือนาค) เป็นอมนุษย์โหงวเฮ้งปากแหลม สัญลักษณ์ของครุฑสำหรับคนโบราณคือ สัญลักษณ์ของความมั่งคั่งคาถาบูชาครุฑที่คนโบราณออกแบบไว้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเงินทอง เป็นคาถาเรียกทรัพย์ ฉะนั้นความหมายของครุฑค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นอมนุษย์ที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ(นายทุน) เพราะความหมายของครุฑสัมพันธ์กับความมั่งคั่ง(ทางเศรษฐกิจ)สำหรับผู้บูชาและเกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่งคั่ง(ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ)ของสังคมที่บูชาด้วย ที่อยู่ของครุฑอยู่บนยอดต้นงิ้ว เป็นอมนุษย์ที่อยู่สูงมากภัยใดๆจากเบื้องล่างไม่อาจเอื้อมถึงได้เพราะต้นงิ้วปีนยากและยังมีหนามแหลม ใครที่คิดทำร้ายครุฑในที่อยู่จะบาดเจ็บเสียเอง(อาจเพราะฟ้องร้องแล้วโดนฟ้องกลับ)ครุฑชอบกินนาคแต่ไม่ใช่ทุกตัวจะกินนาค (ก็คงจริงถ้าจะพัฒนาเศรษฐกิจอย่างง่ายๆเร็วๆโลภๆก็คงต้องเบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมมนุษย์ในชุมชนเอา)
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-3 21:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓.นรสิงห์(narasiha) ชายเรียกนรสีห์(narasiha นร/นรี/นารี แปลว่า มนุษย์) หญิงเรียกอัปสรสีห์(apsara อัปสร แปลว่า นางฟ้า) พฤติกรรมของกลุ่มนรสิงห์คล้ายกับแพนของกรีก นรสิงห์เฉลียวฉลาด เจ้าเล่ห์ เย่อหยิ่ง และชอบใช้กำลัง มีเท้า๒แบบ คือ เท้ากีบ และ เท้าเล็บ เดรัจฉานจะหากินโดยที่ท้องจะขนานกับพื้นโลก(หากินแนวนอน)คือหากินทางขวาง แต่พวกมนุษย์ครึ่งเดรัจฉานเหล่านี้จะใช้ปัญญาในทางขวาง(ผลประโยชน์ส่วนรวม) ทำเพื่อเรื่องกินและกาม(ผลประโยชน์ส่วนรวม)คือ กิน นอน และสืบพันธุ์ นรสิงห์มักอาศัยรวมกันตั้งแต่สองตัวไปจนถึงฝูงใหญ่เพื่อออกล่าหรือผสมพันธุ์ นรสิงห์กินทั้งพืช ทั้งสัตว์ รวมถึงซากสัตว์(ดูจากลักษณะเท้า) ตามลักษณะนรสิงห์มีทั้งเท้ากีบและเท้าเล็บ จะสามารถจำแนกพฤติกรรมได้เป็น๒ชนิด กลุ่มนรสิงห์เท้าเล็บมีวาจาเยี่ยงราชสีห์คำรามที่สามารถกำราบผู้ที่อยู่ต่ำกว่าตนได้ทุกชนิด และมักขู่เอากับกลุ่มนรสิงห์เท้ากีบในบางโอกาส สมกับลักษณะทางกายภาพที่เป็นราชสีห์ถึง๕๐% ในขณะที่กลุ่มนรสิงห์เท้ากีบมักอยู่กับความกลัวและใช้ชีวิตหลบซ่อน กลางวันเที่ยวป่า กลางคืนเที่ยวแจ้ง คล้ายๆพวกตัวเนื้อ เช่น เก้ง กวาง ละมั่ง เลียงผา ฯลฯ(พอๆกับวัยรุ่นสมัยนี้ไม่สว่างไม่ถึงบ้าน) เพราะกลัวถูกกลุ่มนรสิงห์เท้าเล็บไล่ล่า แต่บางครั้งกลุ่มนรสิงห์เท้ากีบจะขอรวมฝูงกับกลุ่มนรสิงห์เท้าเล็บเพื่อรับใช้ ทำตามคำสั่งเพื่ออยู่รอด แต่อาจไม่รอดเพราะนรสิงห์อาจกินพวกที่อ่อนแอกว่า(ทั้งเท้ากีบและเท้าเล็บ) หรือลูก(ที่รัก)ตนเองอย่างหน้าตาเฉย ในบางครั้งนรสิงห์อาจใช้กำลังแบบโง่ๆ ไม่รู้จักประมาณตน(เช่น ปล้นมาเฟีย) หรือหยิ่งจนเกินจะนอบน้อมผู้ใด(เช่น เหยียบเท้านักเลงแล้วไม่ยอมขอโทษ) บางครั้งจะยกพวกตีกันด้วย จึงมักไม่ได้ตายดีนัก
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-3 21:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๔.ยักษ์(yaksha) บุคลิกและพฤติกรรมของยักษ์คือการบันดาลโทสะอย่างเกรี้ยวกราด เป็นอมนุษย์โหงวเฮ้งตาโต ตัวดำ(เขียวคล้ำถึงดำ) กายยักษ์(ทั่วไป)มีสีเขียว(โกรธจนตัวเขียว) เป็นพวกบ้าอำนาจ สกปรก กักขฬะ ก้าวร้าว อาจอยู่ในตระกูลสูง ชอบแสดงอำนาจ และอาละวาด หน้าตาของยักษ์มี๔แบบ สร้างจากองค์ประกอบของตา๒แบบ และ ปาก๒แบบ คือ ตาโพลง ตาจระเข้ ปากขบ ปากแสยะ ลักษณะหน้าตาของยักษ์มีลักษณะคล้ายเทพ(ยักษ์)เฝ้าประตู(อะเงียว-อุนเงียว)ของญี่ปุ่น ชายเรียก ยักษา(yaksha) หญิงเรียก ยักษี(yakshi) ยักษ์เป็นพวกชอบเฝ้ามีฤทธิ์อำนาจในการแย่งชิงของผู้อื่นมาครองแล้วตั้งตนเป็น”ผู้เฝ้า”
ลักษณะตา และ ปากของยักษ์หมายถึงความโกรธ ๔ ลักษณะ(คล้ายลักษณะการทำร้ายของพิษนาค๔ชนิด)
๑.ตาโพลง ปากขบ-โกรธง่าย หายยาก
๒.ตาโพลง ปากแสยะ-โกรธง่าย หายง่าย
๓.ตาจระเข้ ปากขบ-โกรธยาก หายยาก
๔.ตาจระเข้ ปากแสยะ-โกรธยาก หายง่าย
๕.รากษส(rakshasa)บุคลิกและพฤติกรรมคล้ายยักษ์ แต่รากษสอยู่ในกลุ่ม กุมภัณฑ์และผีเสื้อน้ำเป็นอมนุษย์ขี้โกรธ เป็นพวกชอบรักษามีฤทธิ์อำนาจในการแย่งชิงของผู้อื่นมาครองแล้วตั้งตนเป็น“ผู้รักษา”ชายเรียกรากษส(rakshasa)หญิงเรียกรากษสี(rakshasi) รากษสอาศัยตามป่าต้นน้ำ(ที่ราบลุ่ม)ฝรั่งเรียกว่าพวกโทรล(Troll)
ผีเสื้อน้ำนั้นสิง(อาศัย)อยู่ในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม(โดยใช้ฤทธิ์อำนาจแย่งชิงแหล่งน้ำนั้นมา) มี๒กลุ่ม คือ ผีเสื้อน้ำ(จืด)และผีเสื้อสมุทร(น้ำเค็ม)ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เป็นพวกชอบผูกขาดแหล่งน้ำครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆด้วย)แต่จะหากินในวงจำกัดคือ แหล่งน้ำที่ตนเองอยู่เท่านั้น ในชาดกเรื่อง พญาวานรกับต้นอ้อ แสดงว่าผีเสื้อน้ำไม่สามารถจับเหยื่อที่ไม่แตะต้องน้ำได้จึงหลอกล่อให้เหล่าวานรลงน้ำเพราะเขตนั้นไม่มีแหล่งน้ำอื่นนอกจากของตน(ผูกขาด)แต่ไม่สำเร็จ ต่างกับเปรตบางตระกูลที่กินไม่เลือก
๖.กุมภัณฑ์(kumabhan)บุคลิกและพฤติกรรมคล้ายยักษ์ แต่กุมภัณฑ์นั้นชอบยืน เดิน นั่ง(เห็นบ่อยๆบนรถเมล์) นอน “ถ่างขา”เพราะ ต้องแบกอัณฑะ กุมภัณฑ์ แปลว่า ผู้มีอัณฑะใหญ่(กุมโภ แปลว่า หม้อ+อัณฑะ แปลว่า ไข่)รูปปั้นตามโบราณสถานต่างๆที่ยืนถ่างขา หรือ นักเล่นโขน/เล่นหนังใหญ่ที่ยืนถ่างขา ก็คือลักษณะการเคลื่อนไหวของกุมภัณฑ์นั่นเอง(กุมภัณฑ์คล้ายทานุกิของญี่ปุ่นที่มีอัณฑะใหญ่)
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-3 21:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๗.นารีผล(nariphala)อมนุษย์ที่เกิดแบบ“โอปปาติกะ”เพียงอย่างเดีนวคือ เป็นเองโดยไม่จำเป็นต้องมีพ่อแม่หรือบุพพการี(หรือพ่อแม่ไม่เลี้ยง) มีรูปลักษณ์ประดุจสาวแรกรุ่นอายุ๑๖ปี ปัจจุบันพบได้ทั่วไป ตาม ผับ เธค หรือตาม(ใต้)ต้นไม้(ตั้งแต่สมัยก่อน)อาจรวมถึงโคนเสาไฟด้วย เดี๋ยวนี้เจอยาเร่งเข้าไป๑๑-๑๒ก็หง่อมคาต้นแล้ว
๘.กินรี(kinari)ชายเรียกกินนร(kinnara) หญิงเรียกกินรี(kinari)อมนุษย์ครึ่งมนุษย์ครึ่งหงส์ สง่างาม และค่อนข้างหยิ่ง จะไม่สมาคมกับชนชั้นที่ต่ำกว่า เช่น มนุษย์ แต่จะสมาคมกับชนชั้นที่สูงกว่าอย่างเทวดา เป็นต้น
๙.เทพอัศวิน(tebaasavin)อมนุษย์ครึ่งมนุษย์ครึ่งม้าชายเรียกเทพอัศวิน(tebaasavin) หญิงเรียกเทพีอัศวิน(tebiasavin)อยู่ทั้งแบบเดี่ยวและรวมเป็นกลุ่ม(ฝูง) ฝูงเทพอัศวินนั้นมักปรากฏตัวเวลากลางคืนในช่วงดึก ที่มนุษย์หลับไหล ถนนปลอดรถราใดๆ ฝูงเทพอัศวินนั้นจะมาพร้อมกับเสียง(แว้นๆ)อันดังกระหึ่มทั่วท้องถนน พฤติกรรมทั่วไปคล้ายนรสิงห์ แต่มีความเร็วมากกว่า(ในบางกรณีจะมีนารีผลซ้อนท้ายด้วย)
๑๐.คนธรรพ์(gandharva)อมนุษย์ที่คล้ายมนุษย์ที่สุดพวกคนธรรพ์มีบ้านเมืองของตนเองอยู่ระหว่างสวรรค์ และโลกมนุษย์ และเป็นพวกมีนิสัยเป็นเจ้าชู้ มีเสน่ห์ทำให้ผู้หญิงหลงรักคนธรรพ์มีความรู้ความสามารถในด้านดนตรีที่ดีมาก(ชอบดนตรีเป็นชีวิต) ปัจจุบันพบได้ทั่วไป ตาม ผับ เธค บ้างเล็กน้อย(เล่นดนตรีตาม ผับ เธค) ชอบฆ่ากันตายเพราะแย่งนารีผล พวกคนธรรพ์มักจะไม่รอจนนารีผลสุกดี(วัยกำลังได้ที่)ก็จะเด็ดไปแล้ว เนื่องจากมีวิธีบ่มให้แก่ทันใช้ได้(เลี้ยงต้อย) คนธรรพ์บางพวกมีชื่อเสียงในสังคมด้วย(นักร้อง นักดนตรี) ชายเรียกคนธรรพ์(gandharva) หญิงเรียกอัปสร(apsara)
คนธรรพ์แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ
๑.คนธรรพ์ชั้นสูง มีวิมานอยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เช่น ปัญจสิขเทพบุตร มีเทพธิดาประจำอยู่ในวิมาน
๒.คนธรรพ์ชั้นกลาง เกิดอยู่ในป่าหิมพานต์ มีวิมานอยู่ในต้นไม้เป็นบริวารของคนธรรพ์ชั้นสูง
๓.คนธรรพ์ชั้นล่าง อยู่บนพื้นมนุษย์ สิงอยู่ในต้นไม้จำพวกไม้หอม
๑๑.วิทยาธร(bitayadhara)อมนุษย์ที่คล้ายมนุษย์ที่สุดเช่นกัน เป็นพวกที่มีศาสตร์ความรู้ที่หลากหลาย(รวมถึงดนตรีด้วย) พวกนี้เหาะได้ มีเวทมนตร์คาถา อาคมต่างๆ วิทยาธรมีรูปร่างหลากหลาย อยู่แบบเดี่ยวก็มีอยู่เป็นหมู่เป็นกลุ่มก็มีชอบฆ่ากันตายเพราะแย่งนารีผลเช่นกัน(วิธีบ่มนารีผลน่าจะมาจากวิทยาธรนี่เอง) ชายเรียกวิทยาธร(bitayadhara)หญิงเรียกวิทยาธรี(bitaydhri)
ขอบคุณมากค่ะ
วิธีบ่มนารีผล
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้