ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2945
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อัศจรรย์แห่ง...พระกริ่งพระรักษาโรค

[คัดลอกลิงก์]
ขอขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20090620/17668/%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87...%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84.html
                                        พระกริ่ง เป็นพระเครื่องที่คนในวงการพระเครื่องเชื่อมากันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะ "เซียนพระกริ่ง" ยังเชื่อกันอย่างแน่วแน่ว่า สามารถช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ทุกโรค โดยเฉพาะโรคที่การแพทย์แผนปัจจุบันหาสาเหตุไม่พบ และรักษาด้วยยาไม่ได้ ยามใดที่เกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วย จงอธิษฐานขออำนาจพุทธคุณในพระกริ่ง แล้วนำพระแช่น้ำ จากนั้นก็เอามาดื่ม บ้างก็นำมาอาบ เพื่อความเป็นสิริมงคล โรคภัย ไข้เจ็บป่วยอยู่นั้น ก็จะหายโดยอัศจรรย์                                                                
  สำหรับพระกริ่งที่มีชื่อเสียงทรงคุณวิเศษหลายประการ มีผู้นิยมนับถือกันมาก ยิ่งในปัจจุบันนี้ ยิ่งหายาก ต้องยกให้ พระกริ่งวัดสุทัศนฯ เพราะ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงสร้างไว้จำนวนไม่มาก
การจัดสร้างพระกริ่งในอดีตนั้น สร้างออกมาเพื่อใช้จริงๆ และโดยเฉพาะสายวัดสุทัศนฯ สร้างออกมาอยู่ในหลักสิบองค์ต่อครั้งเท่านั้น
ที่สำคัญ คือ การแสวงหาแร่ธาตุที่มีคุณต่างๆ นั้น ต้องใช้ความพยายามไม่น้อย ตามตำราการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะ สายวัดสุทัศนฯ ประกอบไปด้วย
๑.ชินน้ำหนัก ๑ บาท (๑ บาท = ๑๕.๒ กรัม) ๒.จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก ๒ บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน) ๓.เหล็กละลายตัว น้ำหนัก ๓ บาท ๔.บริสุทธิ์ทองแดงบริสุทธิ์ น้ำหนัก ๔ บาท ๕.ปรอท น้ำหนัก ๕ บาท ๖.สังกะสี น้ำหนัก ๖ บาท ๗.ทองแดง น้ำหนัก ๗ บาท ๘.เงิน น้ำหนัก ๘ บาท และ ๙.ทองคำ น้ำหนัก ๙ บาท มาหล่อหลอมให้กินกันดีแล้ว นำมาตีเป็นแผ่น แล้วจารยันต์ ๑๐๘ กับ นะ ปถมัง ๑๔ นะ ครั้นได้ฤกษ์ยามดีก็จะทำพิธีลงยันต์ในพระอุโบสถต่อไป จากนั้นก็นำกลับมาหล่อตามฤกษ์อีกครั้ง
"เรื่องการใช้พระกริ่งทำน้ำมนต์รักษาโรคนั้น ผมเคยมีประสบการณ์ตรงด้วยตัวเอง เมื่อประมาณปี ๒๕๓๐ ลูกชายคนโต (นายอรรจน์ จิระเจริญยิ่ง ปัจจุบันอายุ ๒๖ ปี) ท้องร่วงอย่างรุนแรง ต้องหามส่งโรงพยาบาล หมอเริ่มให้กินยาชุดแรกตอน ๐๒.๐๐ น. และชุดที่ ๓ ประมาณ ๐๔.๐๐ น. อาการก็ไม่ดีขึ้น นอนดิ้นทุรนทุราย จึงคิดถึงคำเล่าลือเรื่องพระกริ่งช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ทุกโรค จากนั้นนำพระกริ่งวัดช้างปี ๒๔๘๔ ที่พกติดตัวเป็นประจำ เอาน้ำใส่แก้ว จากนั้นก็ยกมืออธิษฐาน ก่อนที่จะแช่พระกริ่งในแก้ว แล้วให้ลูกดื่มกิน เพียงแค่ลูกกลืนน้ำอึกที่ ๓ ลูกก็หลับสนิท ตื่นมาอีกครั้งตอนเที่ยงวันของวันรุ่งขึ้น สามารถกินข้าวได้ และออกจากโรงพยาบาลได้ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย"
นี่คือ คำยืนยันของ นายศุภกร จิรยิ่งเจริญ (ล้ง ซาจั๊บ) หรือ ล้ง ท่าพระจันทร์ ผู้ชำนาญพระกริ่งสายวัดสุทัศนฯ และพระกริ่งทั่วไป ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานถ่ายภาพพระเครื่องในงานประกวดพระ
ทั้งนี้ ล้ง ท่าพระจันทร์  ได้เล่าถึงตำนานความเป็นมาของการสร้างพระกริ่งให้ฟังว่า การสร้าง "พระกริ่ง" มีมาแต่โบราณ เริ่มขึ้นที่ประเทศทิเบต และจีน จึงเรียกติดปากว่า พระกริ่งทิเบต และพระกริ่งหนองแส
พระกริ่งเป็นพระพุทธเจ้าปางมาช่วยโปรดสัตว์โลก หรือเรียกกันว่า "พระไภสัชคุรุ" เป็น พระพุทธเจ้าปางหนึ่งของลัทธิมหายาน ซึ่งหมายความว่า ทรงเป็นครูในด้านเภสัช คือ การรักษาพยาบาล
ต่อมาได้แพร่หลายมาก นิยมสร้างในเขมร เรียกว่า พระกริ่งอุบาเก็ง หรือ พระกริ่งพนมบาเก็ง และพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์
ส่วนคำกล่าวว่า ตำราสร้างพระกริ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เดิมเป็นตำราของ สมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว สำนักอรัญญิกาวาส สมถธุระวิปัสสนาธุระแห่งกรุงศรีอยุธยา และมาอยู่ที่ สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ วัดพระเชตุพนฯ จากนั้น พระมงคลทิพย์มุนี (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส ก่อนที่จะมาตกอยู่ที่ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งยังทรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพโมลี
สำหรับมูลเหตุที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นั้น มีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ ทรงเล่าว่า เมื่อพระองค์ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสมโพธิ ครั้งนั้น สมเด็จพระวันรัต (แดง) อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่นเสด็จมาเยี่ยม เมื่อรับสั่งถามถึงอาการของโรคเป็นที่เข้าพระทัยแล้ว รับสั่งว่า เคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯ เสด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐาน ขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้เป็นอหิวาตกโรคกินหายเป็นปกติ พระองค์จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่ตามเสด็จ ไปนำพระกริ่งที่วัดบวรนิเวศ แต่สมเด็จฯ ทูลว่า พระกริ่งที่กุฏิมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า จึงรับสั่งให้นำมา แล้วอาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐานขอน้ำพระพุทธมนต์ แล้วนำไปถวายสมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์แล้ว โรคอหิวาต์ก็บรรเทาหายเป็นปกติ ส่วนจะเป็นพระกริ่งสมัยไหน พระองค์ท่านรับสั่งว่า จำไม่ได้
เมื่อถามถึงความแตกต่างของพุทธคุณพระกริ่ง ที่มีการจัดสร้างในอดีตกับปัจจุบัน ล้ง ท่าพระจันทร์ พูดไว้อย่างน่าคิดว่า
"พุทธคุณของพระกริ่งนั้น ส่วนใหญ่จะมีพุทธคุณดีทุกด้าน ในกรณีของพระกริ่งเขมรนั้น จะมีพุทธคุณเด่นด้านคงกระพันชาตรี ทั้งนี้จะแตกต่างกับพระกริ่งจีน จะมีพุทธคุณโดดเด่นทางด้านการรักษาโรค เช่นเดียวกับพระกริ่งที่สร้างในเมืองไทย และพระกริ่งที่มีพุทธคุณเด่นด้านรักษาโรคนั้น  ต้องยกให้พระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) แห่งวัดสุทัศนฯ ด้วยมวลสารพิธีกรรม และฤกษ์ ทำให้พระกริ่งที่สร้างในยุคก่อนมีความเข้มขลัง สามารถแช่น้ำทำน้ำมนต์มาดื่มกันรักษาโรคได้ แต่การสร้างพระกริ่งยุคหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นการรวบรัด แม้ว่าจะเป็นเนื้อนวโลหะครบตามสูตร แต่การจารยันต์ และฤกษ์การเทนั้น ไม่เป็นตามตำรา พระกริ่งยุคหลังจึงนำมาแช่น้ำทำน้ำมนต์มาดื่มกินรักษาโรคไม่ได้ดีเท่าในอดีต"
  "การสร้างพระกริ่งยุคหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นการรวบรัด แม้ว่าจะเป็นเนื้อนวโลหะครบตามสูตร แต่การจารยันต์ และฤกษ์การเทนั้น ไม่เป็นตามตำรา  พระกริ่งยุคหลังจึงนำมาแช่น้ำทำน้ำมนต์มาดื่มกินรักษาโรคไม่ได้ดีเท่าในอดีต"
เรื่อง - ภาพ... "ไตรเทพ ไกรงู"

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-4-20 00:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้