ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2075
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

"หลวงพ่อลา" (พระครูสุนทรสังฆกิจ) วัดแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2019-10-12 22:03

เปิดประวัติปาฏิหาริย์ "หลวงพ่อลา" (พระครูสุนทรสังฆกิจ) แห่งวัดแก่งคอย พระเถราจารย์ชื่อดังจังหวัดสระบุรี





ประวัติ ปาฏิหาริย์ หลวงพ่อลา (พระครูสุนทรสังฆกิจ) วัดแก่งคอย พระเถราจารย์ชื่อดังจังหวัดสระบุรี
หลวงพ่อลา ชัยมงฺคโล ท่านมีนามเดิมว่า ลา สายสมบัติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๘ เดือนยี่ ปีระกา สมัยรัชกาลที่ ๕ ณ ต.คล้อทอง อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี มีบิดาชื่อ นายโม้ มารดาชื่อ นางแจ่ม สายสมบัติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คน หลวงพ่อลาเป็นคนที่ ๔ ประกอบอาชีพชาวนา
หลวงพ่อมีนิสัยฝักใฝ่ทางธรรมตั้งแต่อายุยังน้อย ครั้นอายุได้ ๑๕ ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดคล้อทอง ต.คล้อทอง อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทต่อสำเร็จเป็นพระภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ ฉายานามว่า ชัยมงฺคโล
จากนั้นก็อยู่วัดคล้อทองได้หลายพรรษาจนพ้นนวกะแล้ว จึงได้รุกขมูลไปทางชายแดนไทย-ลาว เข้าสู่แขวงสวันเขต ประเทศลาว (ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ในการปกครองของประเทศไทย) ระหว่างที่พำนักอยู่ที่แขวงสวันเขตนี้ ได้มีโอกาสศึกษาวิชาอาคามต่างๆตามสมัยนิยม ขณะนั้นท่านได้พบกับหลวงปู่ผู้เฒ่ารูปหนึ่ง และได้เรียนวิชาการทำน้ำมนต์ประกอบเทียน เป็นวิชาสำคัญที่ทำให้ท่าน มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง และกว่าที่ท่านจะสำเร็จวิชานี้ครบถ้วนกระบวนความ ต้องไปฝึกบนภูเขาถึง ๕ ปีเต็ม จึงจะได้รับอนุญาตให้นำวิชานี้ไปใช้ได้ คุณวิเศษของวิชาเทียนน้ำมนต์มหัศจรรย์นี้ ถ้าหากผู้ใดได้อาบกินแล้วถือได้ว่าสำเร็จตามความปรารถนาที่ได้อธิษฐานไว้ทุกประการ ถึงแม้ว่ามีความขึ้นโรงขึ้นศาลเรื่องราวปัญหาชีวิตต่างๆ ที่หนักหนาสาหัส ก็จะบรรเทาเบาบางลง ส่วนเรื่องที่ไม่หนักหนาก็จะสูญหายไปอย่างน่าอัศจรรย์
เมื่อสำเร็จวิชาแล้ว ท่านได้กราบลาหลวงปู่ผู้เฒ่ากลับสู่เมืองไทย โดยรุกขมูลผ่านทางอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เดินทางเรื่อยๆ จนเข้าสู่เขต จังหวัดสระบุรี และได้เข้าจำพรรษาอยู่ในบ้านช่องเหนือ ต.บ้านป่า อ.แก่งคอย จ.สระบุรี พำนักอยู่ในโบสถ์หลังเล็กๆ มุงด้วยสังกะสีที่ชาวบ้านศรัทธาสร้างถวาย จำพรรษาอยู่หลายปีจนได้ตำแหน่งทางคณะสงฆ์เป็น พระปลัดลา ครั้นต่อมาทางวัดแก่งคอยได้ขาดแคลนสมภารเจ้าวัด คณะสงฆ์กับชาวบ้าน จึงได้นิมนต์ท่านมาครองวัดแก่งคอย จนได้ตำแหน่งทางคณะสงฆ์เจริญรุ่งเรือง ขึ้นตามลำดับขั้น โดยได้รับตำแหน่งพระครูชั้นประทวน เมื่อปี ๒๔๗๖ และอีกสองปีต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวง อำเภอแก่งคอย และในที่สุดได้เลื่อนชั้นเป็น พระครูสัญญาบัตรที่ (พระครูสุนทรสังฆกิจ) พร้อมกับตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
ลำดับการดำรงตำแหน่งของ (พระครูสุนทรสังฆกิจ) หลวงพ่อลา ชัยมงฺคโล
พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้รับการแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดบ้านช่อง ต.บ้านป่า อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระปลัด ฐานะเจ้าคณะแขวง
พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าคณะหมวด
พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าอาวาสวัดแก่งคอย
พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์นาม พระครูสุนทรสังฆกิจ
พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอ ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔
พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
หลวงพ่อลา ท่านได้ถึงแก่มรภาพลง เมื่อวันที่ ๔ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗ สิริอายุ ๗๑ ปี ๕๐ พรรษา พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๘ เวลา ๑๔.๓๐ น. ณ เมรุลอยวัดแก่งคอย
ประวัติปาฏิหาริย์และความศักดิ์สิทธิ (หลวงพ่อลา ชัยมงฺคโล)
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้ทันกับการสมโภชกรุงเทพมหานครครบ ๑๕๐ ปี ใน พ.ศ.๒๔๗๕ โดยมี สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นประธานคณะกรรมการ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธา อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รัฐบาลอนุญาตเงินแผ่นดินอุดหนุน ส่วนที่ยังขาดอยู่ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้กรรมการจัดดำเนินการเรี่ยไรพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลร่วมกัน โดยให้กระทรวงพระคลัง มหาสมบัติจัดพนักงานรับเรี่ยไร โดยมีใบเสร็จ และเหรียญพระแก้วตอบแทน เป็นที่ระลึก



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-10-12 22:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
และในพิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระแก้วมรกตนี้ (หลวงพ่อลา) ท่านก็ได้ถูกนิมนต์ในพิธีพุทธาภิเษกนี้ด้วยเช่นกัน
รายนามพระเกจิอาจารย์ ที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) พ.ศ.๒๔๗๕
(อ้างอิงจากวัดพระแก้วโดยตรง)
๑. พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิตร
๒. สมเด็จพระวันรัต ( แพ ติสสเทโว ) วัดสุทัศน์
๓. พระโพธิวงศาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม
๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดโพธิ์
๕. หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา
๖. หลวงพ่อเข้ม วัดม่วง ราชบุรี
๗. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
๘. หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
๙. หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบลฯ
๑๐. หลวงพ่อเปี้ยน วัดโพธิราม สุพรรณบุรี
๑๑. หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน ลพบุรี
๑๒. เจ้าคุณอุบาลี สิริจันโท วัดบรมนิวาส
๑๓. หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ สุมทรสงคราม
๑๔. หลวงพ่อแฉ่ง วัดพิกุลเงิน นนทบุรี
๑๕. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
๑๖. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
๑๗. หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา
๑๘ #หลวงพ่อลา_วัดแก่งคอย_สระบุรี
๑๙. หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
๒๐. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์
๒๑. หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สุมทรสงคราม
๒๒. หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี สิงห์บุรี
๒๓. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี
๒๔. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
๒๕. หลวงพ่อทอง วัดเขากบ นครสวรรค์
๒๖. หลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ราชบุรี
๒๗. หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
๒๘. หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สุมทรสงคราม
๒๙. หลวงพ่อชม วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
๓๐. หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สุมทรสงคราม
๓๑. หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์
๓๒. หลวงพ่อคง วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
๓๓. หลวงพ่อญัติ วัดสายไหม ปทุมธานี
๓๔. หลวงพ่อพร วัดดอนเมือง
๓๕. หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว
๓๖. หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี
๓๗. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
๓๘. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
๓๙. หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง พิจิตร
๔๐. หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
๔๑. หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
๔๒. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
๔๓. หลวงพ่อสนธิ์ วัดสุทัศน์
จะเห็นได้ว่ารวมสุดยอดเกจิแห่งยุคนั้นเลยก็ว่าได้ครับ

หลวงพ่อลา ท่านมีสุดยอดวิชา ทําน้ำพระพุทธมนต์ เทียนชัยไร้น้ำตา ที่แสดงอภินิหารให้เห็น เมื่อท่านจุดเทียนบริกรรมทําน้ำพระพุทธมนต์ โดย น้ำตาเทียน จะไม่ละลายไหลย้อยที่ด้านบนต้นเทียน แต่กลับไหลลงตามไส้เทียนมาออกที่ด้านฐาน
จึงมักจะมีศิษย์คอยเฝ้าแย่งเอา เทียนเมื่อเสร็จพิธี บางครั้งยังไม่เสร็จพิธี เทียนละลายแค่ครึ่งต้นก็แย่งกันแล้ว แต่ไม่กี่ครั้งก็เลิก เพราะ ถอนเทียนไม่ออกแต่เมื่อเสร็จพิธี หลวงพ่อลาก็ถอดเทียนอย่างง่ายๆมอบให้ผู้ที่ท่านเห็นควร
ครั้งในสมัยนั้น ท่านได้มีผู้มีจิตเมตตานำกวางและแพะมาถวายท่านเลี้ยงไว้ที่วัด ท่านได้ลงผ้ายันต์ผูกคอให้กวางและแพะของท่านปล่อยไว้ในวัด เมื่อได้เวลา กวางและแพะออกไปหากินอาหารในตลาด แย่งกินผักผลไม้จากแม้ค้าในตลาด บางคนก็เอาไม้คานตี เอามีดฟัน บางคนถึงกับเอาปืนยิง แต่ก็ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า จนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วว่าแพะและกวาง ของหลวงพ่อลาอยู่ยงคงกระพัน ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก
ครั้งหนึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารญี่ปุ่นได้ใช้แก่งคอย เป็นเมืองท่าลำเลียงพล
เพราะเมืองแก่งคอยมีทั้งแม่น้ำป่าสัก เส้นทางรถไฟ จึงเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม ทหารญี่ปุ่นได้ยึดเมืองแก่งคอยเป็นเวลาถึง ๔ ปี จนกระทั้งพันธมิตรได้ใช้เครื่องบิน B24 ทิ้งระเบิดลงเมืองแก่งคอย ที่ทหารญี่ปุ่นประจำการณ์อยู่ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘
แน่นอนว่า ระเบิดก็ต้องลงในแหล่งชุมชนเมืองแก่งคอย แม้ทหารญี่ปุ่นจะสูญเสียไป เป็นจำนวนมาก ประชาชนและเมืองแก่งคอยก็สูญเสียเช่นกัน แต่ก็น่าอัศจรรย์ยิ่งเมื่อชาวเมืองรอดชีวิตอย่างปาฏิหาริย์ เมื่อหลบลูกระเบิดในวัดแก่งคอย
และมีลูกระเบิดลูกหนึ่งลงมาตกในวัด แต่ไม่ระเบิด ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นอิทธิฤทธิ์หลวงพ่อลา ที่ชาวบ้านเมืองแก่งคอยเคารพนับถือช่วยปกป้องภัยในครั้งนี้ ลูกระเบิดลูกนั้น ยังอยู่ที่วัดแก่งคอยเป็น อนุสรณ์สถานลูกระเบิดเตือนใจ ให้ระลึกถึงเหตุการณ์ที่มีการสูญเสียในครั้งจนถึงปัจจุบัน
หลวงพ่อลา ท่านได้สร้างวัตถุงมงคลไว้เป็นที่ระลึกแก่ลูกศิษย์หลายอย่าง เช่น ผ้าปะเจียด ผ้ายันต์ และเหรียญรุ่นแรก เป็นเหรียญที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์ ที่ (พระครูสุนทรสังฆกิจ) เป็นเหรียญกลมรูปไข่ ปั๊มข้างกระบอก เนื้อทองแดงห่วงเชื่อม ด้านหน้าเป็นรูปท่านครึ่งองค์ ด้านหลังเป็นยันต์อุนาโลม ด้านล่างบอกปีพ.ศ.๒๔๗๙ จำนวนการสร้างไม่เกิน ๕๐๐ เหรียญ ปัจจุบันหาชมยากมากและมีจำนวนน้อยจึงมีราคาสูง ผู้ที่มีไว้ก็หวงแหนกันยิ่งนัก
ภายหลังต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ ทางวัดทำการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม ในปีพ.ศ.๒๕๐๖ ทางวัดได้ทำการขุดรอบฐาน พระอุโบสถหลังเก่าเพื่อจะรื้อถอน ในวันหนึ่งเวลาเที่ยงทางโรงเรียนได้ให้นักเรียนพักเที่ยง ได้มีเด็กกลุ่มหนึ่งได้พากันมาวิ่งเล่นซ่อนหารอบอุโบสถที่กำลังก่อสร้างอยู่นั้น ขณะที่เด็กกำลังเล่นกันอย่างเพลิดเพลินนั้น เหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดก็เกิดขึ้น อุโบสถทั้งหลังได้ลมครืนลงมาทับเด็กที่เล่นซ่อนหากันอยู่นั้น เด็กบางคนได้วิ่งไปบอกครู ให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คณะครูจึงได้ตีระฆังเช็คดูนักเรียนว่ามีใครอยู่ และมีใครสูญหายบ้าง เมื่อเช็คดูแล้วได้มีเด็กหายไปหนึ่งคน คือ (เด็กชายไพบูลย์ ภู่อ่อนนิ่ม)
คณะครูและพระสงฆ์ในวัดได้มาค้นหาเด็กคนนั้นในที่พระอุโบสถพังลงมา หาอยู่เป็นเวลานานก็ได้ยินเสียงเด็กร้องขอความช่วยเหลือ คณะครูและพระสงฆ์ได้ช่วยกันงัด และยกก่อนปูนที่พังทับอยู่นั้นออก ก็ได้พบเด็กนอนอยู่ใต้นั้น ตรวจร่างกายของเด็กแล้วก็พบว่า ไม่ได้รับบาดเจ็บเลย เด็กได้บอกกับ (หลวงพ่อพระครูสมบูรณ์ ศีลวัตร) ว่า ได้มีหลวงพ่อแก่ๆ มาช่วยดันก่อนปูนเอาไว้ เมื่อดูที่คอของเด็กชายไพบูลย์ ก็ปรากฏว่ามี (เหรียญหลวงพ่อลารุ่นแรก) แขวนอยู่ที่คอของเด็กคนนั้น จึงเชื่อได้ว่า อภินิหารของเหรียญหลวงพ่อลาได้ช่วยให้เด็กชายไพบูลย์ ภู่อ่อนนิ่ม รอดชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น จนเป็นที่กล่าวขานเลื่องลือไปทั่ว
อภินิหารของหลวงพ่อลาที่มีต่อ (นายสวัสดิ์ หริญเดช) คือได้ถูกรถชนกระเด็นไปอยู่บนหน้ากระโปรงรถ แต่ก็ไม่ได้รับอันตรายใดๆ เพราะท่านได้มีแหนบและผ้ายันต์ของหลวงพ่อลาพกติดตัวอยู่ จึงได้รับความคุ้มครองปลอดภัยด้วยปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อลา
หลวงพ่อลามีลูกศิษย์ลูกหามากมาย คนที่อยากกล่าวถึงด้วยความเคารพชื่นชม คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่สอง หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี๒๔๗๕ ต้องเชื่อว่าเพราะ หลวงพ่อลา สั่งสอนพระยาพหลฯ จึงเป็นนายกฯที่ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม สมถะ ยากที่จะหาใครเทียบ
ตอนท่านพระยาพหลฯ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อพ.ศ.๒๔๙๐ ด้วยอายุ ๖๐ ปี ครอบครัวท่านไม่มีเงินที่จะจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพให้สมเกียรติจนทางรัฐบาล คือ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ต้องเข้ามาจัดงานให้คิดดูแล้วกันว่า คนที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรีถึง ๕ สมัย อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจคับประเทศตั้ง ๕ ปีครึ่ง แต่ไม่ได้คิดแสวงหาความร่ำรวยเลย จึงสมกับที่ได้รับคำยกย่องว่า (เชษฐบุรุษประชาธิปไตย) ฟังแล้วอยากได้นายกรัฐมนตรีแบบนี้ซัก ๑๐ คน เห็นลูกศิษย์สุดประเสริฐแบบนี้ พอบอกว่าเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อลา สภาพงามๆ สวยสมบูรณ์ มีราคาถึง ๗ หลัก เพราะหายากมากๆ และเป็นเหรียญหลักยอดนิยม ของจังหวัดสระบุรี
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้