ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2698
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่อก้อน วัดห้วยสะแกราช จ.นครราชสีมา

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2019-8-31 18:40

ประวัติและภาพวัตถุมงคล พระครูสาทรคณารักษ์ (หลวงพ่อก้อน จิตตาสาโท) วัดห้วยสะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา         

            

นามเดิมว่า ก้อน นามสกุล ผดุงกลิ่น เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2436 ที่บ้านสะแกราช บิดาชื่อ สุข มารดาชื่อ จันทร์ ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน พ.ศ.2450 ได้บวชเป็นสามเณรและได้บวชเป็นพระที่วัดนี้ หลังจากนั้นศึกษาธรรมะจนสอบได้นักธรรมโทและเล่าเรียนวิชากับ หลวงพ่อโต วัดบ่อแดง เป็นพระรูปหนึ่งในโคราชที่คนเคารพบูชามาก

หลวงพ่อท่านเป็นพระที่ไม่สนใจเรื่องยศศักดิ์ ชอบอยู่อย่างสงบ แต่เมื่อใครเดือนร้อนไปขอความช่วยเหลือท่าน ถึงแม้ว่าท่านจะอาพาธอยู่ก็ตามจะลุกขึ้นมาช่วยเหลือทันที สิ่งที่ท่านไม่ชอบมากคือคนที่ชอบปล้นชาวบ้าน ท่านบอกว่าคนพวกนี้ส่วนมากตายโหงและก็เป็นไปตามปากท่านเยอะเลย






เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อก้อน วัดห้วยสะแกราช จ.นครราชสีมา สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2506 เป็นเนื้อทองแดงแบบรมดำและไม่รมดำ จำนวนสร้างประมาณ 2000 เหรียญ




[img][/img]

รูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อก้อน วัดห้วยสะแกราช จ.นครราชสีมา สร้างปี พ.ศ.2506
                                       

รูปหล่อบูชารุ่นแรก หลวงพ่อก้อน วัดห้วยสะแกราช จ.นครราชสีมา เสาร์ห้า ปี 2523 ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว จำนวนสร้าง 500 องค์
                                                                                                                 
                                                                                                                                 
                                                                                                                                 


[img][/img]   [img][/img]
พระผงรูปเหมือน
หลังจากที่ปลุกเสกพระเครื่องรุ่นเสาร์ห้าครั้งนั้นแล้ว ท่านก็เริ่มป่วยมาตลอด บรรดาศิษย์และหลาน ๆ ของท่านก็เฝ้าพยาบาลผลัดเปลี่ยนกันดูแลรักษา แต่ด้วยท่านชราภาพและมีโรคแทรกซ้อน ในที่สุดก็จากไปอย่างไม่มีวันกลับในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2523
ที่มา : พระยอดนิยมภาคอีสาน ชุด วัฒนธรรมขอม ... มรดกพระเครื่อง
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้