ภาพเจดีย์เก่าเกือบจะเป็นซากปรักหักพัง ริมถนนสาย 347 เส้นทางจากปทุมธานีมุ่งหน้า อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา อาจเป็นภาพที่คุ้นตาของผู้คนที่ขับขี่ยวดยานผ่านไปมา แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า เจดีย์เก่า ๆ นั้นมีความสำคัญอย่างไร…? ใครเป็นผู้สร้าง…? ด้วยเพราะไม่มีใครใคร่จะอยากศึกษา เท่าๆ กับคนที่ต้องการให้ความสำคัญของสถานที่แห่งนี้เลือนลางหายไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ !!! สอบถามคนละแวกนั้น ได้ความแค่ว่า เจดีย์เก่าทรุดโทรมที่เห็นนั้นคือ “วัดกระชาย” เป็นวัดที่กษัตริย์สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ถูกทิ้งร้างมานานหลายปี บริเวณโดยรอบเป็นทุ่งนามีเจ้าของ เหลียวซ้ายแลขวามองไม่เป็นทางเข้าเลย การจะเข้าไปสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดูจะเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะต้องลุยฝ่าโคลนเข้าไป ถ้าไม่ศรัทธาจริง ๆ คงไม่มีใครพยายาม ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะอยุธยามีวัดอีกนับร้อยแห่งให้เลือกสักการะ หลังจากที่พยายามฝ่าดงโคลนเข้ามา จนถึงตัวเจดีย์ ก็ยิ่งแปลกใจเมื่อบริเวณโดยรอบมีร่อง รอยการยึดครองของฝูงวัว เพราะได้ทิ้งหลักฐานเป็นมูลทั้งเก่า-ใหม่ อีกทั้งยังมีร่องรอยของการขุดค้นซากปรักหักพังของตัวเจดีย์ จนอิฐกระจายไปทั่วบริเวณ ปะปนไปกับขยะมูลฝอยที่ไม่มีใครสน ใจดูแลทำความสะอาด ห่างไปไม่ไกลมี พระพุทธรูปชำรุดบางองค์ มีแต่เศียร ไม่มีองค์พระ บางองค์มีเศียร ไม่มีพระหัตถ์ บางองค์ไม่มีทั้งพระเศียร และพระหัตถ์ ถูกทิ้งไว้อย่างไร้การเหลียวแล จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วัดกระชายแห่งนี้ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์น้อยมาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเสียเลยทีเดียว และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้ ผู้ขียนน สนใจที่จะขุดค้นประวัติศาสตร์และได้พบกับข้อเท็จจริงมากมาย จนสามารถเชื่อม โยงไปสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ จึงขอถ่ายทอดเป็นลำดับดังนี้ วัดกระชาย แท้จริงแล้วคือ “วัดเจ้าชาย” ซึ่งสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นผู้สร้างขึ้น เพื่อเป็นวัดประจำพระองค์ และเวลาไล่เลี่ยกัน ท่านได้สร้าง วัดวรเชษฐ์ สมัยโบราณถูกเรียกว่า “วัดเจ้า ชษฐ์” ถือเป็นวัดประจำพระองค์พระนเรศวร แต่ที่มาเพี้ยนเป็น “วัดวรเชษฐ์” นั้น อนุมานได้ว่าเป็นเพราะภายหลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว สมเด็จพระเอกาทศรถได้พระราชทานชื่อใหม่เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระบรมเชษฐาธิราช จึงให้เรียกขานวัดนี้ว่า “วัดวรเชษฐ์” อันแปลว่า “วัดพี่ชายผู้ประเสริฐ” และท่านได้สร้าง วัดมหาเถรคันฉ่องถวายให้กับพระอาจารย์ อันเป็นที่รักและเคารพของพระองค์และพระนเรศวร ที่ทรงไปนิมนต์กลับมาสยามครั้งทรงขึ้นเป็นกษัตริย์นั่นเอง โดยถ้าดูที่ตั้งของวัดทั้ง 3 จะพบว่า เป็นการตั้งวัดตามคติความเชื่อโบราณ เป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด อันเป็นรูปร่างของการประจุพลังงาน เพื่อที่วัดทั้งสาม เมื่อสวดมนต์พร้อมกันก็จะเป็นคลื่นพลังงานแห่งพระพุทธคุณแผ่ปกคลุมและหนุนนำอยุธยา แต่ในกาลต่อมากลับมีกลุ่มบุคคล ไม่หวังดีเปลี่ยนชื่อวัดเจ้าชายเป็นวัดกระชาย วัดวรเชษฐ์เป็นวัดประเชต (วรเชต) ซึ่งแปลว่าเฉดหัวไป และวัดมหาเถรคันฉ่อง เป็นวัดลอดช่อง ซึ่งเสมือนตั้งใจทำลายวัดสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย ให้สูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทย ไม่ใครได้รับรู้ศึกษา วัดเจ้าชาย ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา บริเวณทุ่งปากกราน ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้างที่ยังไม่ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน อยู่บนเนินกลางทุ่งนา สันนิษฐานว่าสมัยก่อนมีคูน้ำล้อมรอบบริเวณวัด ปัจจุบันคูน้ำได้เปลี่ยนสภาพเป็นทุ่งนาไปหมดแล้ว เมื่อถึงฤดูทำนาจะมีน้ำเจิ่งนองล้อมรอบวัดและมีความลึกพอสมควร ไม่สามารถเดินทางด้วยเท้าเข้าถึงวัดได้ ไม่น่าเชื่อว่าวัดที่เคยเกรียงไกรแห่งนี้ จะไม่มีแม้แต่ทางเข้า จริงอยู่ว่าส่วนหนึ่งเป็นที่ของ กรมศิลปากร แต่ทำไมถึงไม่มีการทำนุบำรุง ประชาสัมพันธ์ให้คนได้รู้จัก ได้ระลึกถึงบุญคุณของ บุรพกษัตริย์ไทย ที่สละซึ่งความสุขส่วนพระองค์ รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระเชษฐาผู้เป็นที่รัก ตลอดช่วงชีวิตของพระองค์ ทรงช่วยกอบกู้เอกราชช่วยให้คนไทยมีแผ่นดินอยู่ มีพระรัตนตรัยเป็น ที่เคารพนับถือ “ผู้รู้ท่านหนึ่งให้ความรู้ว่า ความสำคัญของวัดเจ้าชาย เป็นที่สถิตของเทพ พรหม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พวกใจบาปหยาบช้า จึงมีความหวาดกลัวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเทพ พรหม จะมาลงโทษ จึงร่วมกันทำลายเสียเลย ความจริงสิ่งที่ลำลายได้เป็นวัตถุเท่านั้น พลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพลังเทพพรหมไม่สามารถทำลายได้ พลังเหล่านั้นจะสถิตคงอยู่ตามสภาวะ แต่เมื่อใดก็ตามมีเหตุปัจจัยถึงพร้อมก็จะแสดงออกมา และไม่เฉพาะวัดเจ้าชายเท่านั้น พลังที่สถิตที่วัดวรเชษฐ์และวัดมหาเถระคันฉ่อง ซึ่งเป็นรูปพีระมิด ศูนย์พลังที่ชัดเจนที่สุดคือบริเวณเจดีย์ คนที่เชื่อเท่านั้นที่จะสามารถรับพลังตรงนี้ได้เช่นเดียวกัน” เกร็ดประวัติศาสตร์ที่พอจะค้นคว้าหามาได้คือ คำให้การของ “ขุนหลวงหาวัด” ที่ระบุถึงการประหารชีวิตพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในขณะนั้นมีชันษาได้เพียง 15 ปี เท่านั้น แต่กลับคิดกบฏต่อพระปิตุฉาโดยจะเอาพระแสงแทงพระนารายณ์ แต่ไม่สำเร็จ โดยในครั้งนั้น ด้วยเห็นกับพระบิดาของพระศรีศิลป์ คือพระไชยาทิตย์ ผู้เป็นพระเชษฐาฝากฝังราชโอรสก่อนสิ้นชีพพิราลัย จึงให้พระศรีศิลป์ออกจากโทษเสีย แต่พระศรีศิลป์กลับคิดร้ายอีกครั้งเมื่อคราว พระนารายณ์เสด็จออกว่าราชการเมืองอยู่ที่สีหบัญชร พระศรีศิลป์ สบโอกาสคิดจะลอบปลงพระชนม์แต่ไม่สำเร็จ พระนารายณ์จึงสั่งให้เพชฌฆาตสังหาร นายเพชฌฆาตนำตัวพระศรีศิลป์มามัดผูกฝังทั้งเป็นที่วัดเจ้าชายแห่งนี้ และตอนใกล้เสียงกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พม่าได้ใช้เป็นสถานที่ตั้งทัพ เพื่อยิงปืนใหญ่ทำลายกรุงศรีอยุธยา อย่างที่กล่าวตอนต้นแล้วว่า วัดเจ้าชายแห่งนี้ถือเป็นหนึ่งใน 1 ใน 3 ของวัดที่ถือเป็นฐานพีระมิดสำคัญที่ช่วยปกป้องคุ้มภัยกรุงศรีอยุธยา นับเนื่องต่อจากสมัยพระเอกาทศรถ และอีกหลาย รัชกาล ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะช่วยกันกอบกู้วัดนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง รู้ถึงความ สำคัญ
|