ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1600
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

"ถนนเจริญกรุง ถนนคอนกรีตสายแรกของไทย"

[คัดลอกลิงก์]
ถนนเจริญกรุง เป็นถนนลาดยางสายแรกของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2404 เนื่องจากบรรดากงศุลต่างชาติที่เข้ามารับหน้าที่อยู่ในกรุงเทพมหานครได้ร่วมกันทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายพระองค์ โดยมีใจความว่า พวกเขาเคยขี่จักรยาน ขี่ม้าออกกำลังกาย และตากอากาศ ทำให้ไม่เจ็บไม่ไข้ แต่พอย้ายมาอยู่ในกรุงเทพมหานครก็ไม่มีถนนหนทางที่จะให้ขี่จักรยาน ขี่ม้าได้อีก จึงสุขภาพไม่เข็งแรงไปตามๆ กัน ดังนั้นรัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนลาดยางจนเรียบแบบถนนของประเทศในยุโรป เพื่อไม่ให้ชาวต่างชาติมาดูถูกได้ว่าประเทศไทยเรามีแต่ทางเดินรกเปรอะเปื้อน ไม่เจริญหูเจริญตา
ถนนใหม่นี้ถูกสร้างขึ้นโดยเริ่มตั้งแต่ถนนสนามไชย ขนานกับแม่น้ำเจ้าพระยาลงมาทางใต้จนไปจรดแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนตกในปัจจุบัน รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 8.5 กิโลเมตร ส่วนความกว้างนั้นไม่เท่ากันตลอดทั้งสาย ช่วงที่กว้างที่สุดกว้าง 12.75 เมตร ช่วงที่แคบที่สุดกว้าง 7 เมตร แรกสร้างเสร็จใหม่ๆ ชาวบ้านจะเรียกกันว่า ถนนใหม่ (New Road) แต่ภายหลังรัชกาลที่ 4 พระราชทานนามให้ว่า ถนนเจริญกรุง
ถนนเจริญกรุง ถนนคอนกรีตสายแรกของไทย ใช้เทคนิคการสร้างแบบยุโรป ซึ่งมีถนนอีก 2 สายที่สร้างในเวลาใกล้เคียงและมีลักษณะเดียวกันก็คือ ถนนบำรุงเมือง และ ถนนเฟื่องนคร ถนนทั้ง 3 สายนี้เมื่อสร้างเสร็จ ได้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักที่สะดวกสบายและทันสมัยที่สุดของประเทศไทยในสมัยนั้น
แต่ช่วงแรกๆ นั้น ชาวบ้านยังไม่คุ้นกับถนนใหม่ รถราก็ยังมีน้อย จึงไม่ค่อยมีคนใช้ถนนนี้สักเท่าไหร่ ถนนมี 2 ฝั่งแต่มีคนเดินแค่ฝั่งเดียว อีกฝั่งหนึ่งปล่อยให้หญ้าขึ้นรกไปหมด จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงได้มีการปรับปรุงถนนเจริญกรุงขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นถนนคอนกรีตลาดยางแอสฟัลต์ หรือยางมะตอย ทำให้เป็นถนนลาดยางสายแรกของไทยอีกด้วย
ทุกวันนี้แม้ว่าถนนเจริญกรุงจะแออัดไปด้วยบ้านเรือน ร้านค้า และยวดยานพาหนะไปบ้าง แต่ก็ยังคงความสำคัญเอาไว้ได้อย่างไม่เสื่อมคลาย ยังคงมีตึกรามบ้านช่องเก่าๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กรุงเทพมหานคร ยังคงมีวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของคนไทยและคนจีนให้ได้ศึกษา และยังคงมีอาชีพซึ่งต้องใช้ทั้งศิลปะและภูมิปัญญาพื้นบ้านที่หาดูที่ไหนไม่ได้ในปัจุบัน เช่น หมั่งหมิ่ง และ ตุ้ยเลี้ยง เป็นต้น
ที่มา MyFristBrain / เที่ยวทั่วกรุง









ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้