องค์ฑากิณี...มีความหมายตามนี้..หรือผู้รู้ท่านอื่นจะเมตตาให้ความรู้เสริมเพิ่มเติมได้บ้างครับ....
ฑากิณี (Dakini) บ้างก็กล่าวว่าคือพระแม่ผู้เดินเหิรในนภากาศ มีหน้าที่ในการปฏิบัติธรรมแห่งตันตระ โดยมีรากฐานเดิมเป็นยักษ์จึงมีชื่อเรียกอีกนามหนึ่งว่า “นางโยคินี” (Yogini) แม้ว่านางฑากิณีและนางโยคินีจะมีความหมายเดียวกัน แต่โดยนัยแล้วฑากิณี จะมีอาวุโสกว่านางโยคินี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ช่วยมหาสิทธาและยิดัม อีกทั้งยังเป็น ผู้เก็บรักษาคำสอนและปกป้องช่วยเหลือผู้ปฏิบัติให้บรรลุผล ในคติศาสนาพราหมณ์ถือว่าเป็นบริวารของพระแม่กาลี “ฑากิณีมีใครบ้าง?”
ฑากิณีมีด้วยกัน 5 ตระกูลตามฌานิพุทธเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่
ตระกูลปัทมา ตระกูลพุทธะ ตระกูลวัชระ ตระกูลรัตนมณี และตระกูลกรรมา (กรรม) อย่างไรก็ตาม ฑากิณีในตระกูลวัชระทั้งแปดองค์ที่เป็นบริวารของยิดัมเหวัชระ ประกอบด้วย นางเคารี (Gauri) นางเฉารี (Chauri) นางเวตาลี (Vetali) นางฆษมารี (Ghasmari) นางปุกกาสี (Pukkasi) นางชาพารี (Shabari) นางฉนฑลี (Chandali) และนางโทมพี (Dombi) “พุทธศิลป์ฑากิณีเป็นไฉน?”
ในงานพุทธศิลป์ นางโยคินีตนนี้มีนามว่า วัชรโยคินี (Vajrayogini) หรือวัชรวาราฮี (Vajravarahi) อยู่ในท่าร่ายรำอรรธปรยังก์ที่เริงร่าอยู่บนร่างศพ ซึ่งเป็นคู่พระบารมีของยิดัมจักรสัมวารา สวมมงกุฏที่ทำด้วยหัวกระโหลกห้าหัว มือขวาถือขวานสั้น ชี้ลงพื้น ส่วนมือซ้ายถือถ้วยกระบาล ที่ข้อศอกพับประคองคฑาสามง่ามที่ปลายยอดเสียบหัวกระโหลกสามไว้ สวมสร้อยสังวาลประดับด้วยหัวกระโหลก และสวมข้อเท้า ทั้งซ้ายขวา ภายใต้รัศมีของเพลิงไฟแห่งปัญญา
|