ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2176
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ~

[คัดลอกลิงก์]


ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี


๐ ปฐมวัย

หลวงพ่อจาด หรือพระครูสิทธิสารคุณ
เดิมชื่อ จาด วงษ์กำพุช เกิดเมื่อวันที่่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2415
ตรงกับวันอังคาร เดือน 4 ปีวอก แรม 6 ค่ำ
ที่บ้านดงน้อย อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

บิดาชื่อนายปอ (บางตำราว่าชื่อ นายเป๊อะ) วงษ์กำพุช
ส่วนมารดานั้นไม่ทราบชื่อ เนื่องจากถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเยาว์
ต่อมาบิดาได้ยกท่านให้เป็นบุตรบุญธรรม
ของนายถิน และนางหลิน สีซัง คหบดีชาวบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
ซึ่งทั้งสองท่านได้ให้ความรักและความเมตตาแก่ท่านมาก เพราะไม่มีลูกเป็นของตนเอง

ประวัติในวัยเยาว์ของท่านมิได้บันทึกไว้
แต่เมื่อท่านอายุครบ 20 ปี บิดาบุญธรรมของท่าน
ได้นำท่านไปฝากกับพระอาจารย์ที่วัดบ้านสร้าง เพื่อเรียนการขานนาค
การอยู่กับพระภิกษุรูปอื่น และการปรนนิบัติอาจารย์

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-15 12:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๐ ชีวิตบรรพชา

เมื่อฝึกอบรมได้เป็นเวลาพอสมควรแล้วก็ถือเอาวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2436
ทำพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
โดยมีท่านพระครูปราจีนบุรี วัดหลวงปรีชากุล เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์อ้วน วัดบ้านสร้าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และพระอาจารย์หลี วัดบางคาง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วก็ได้เดินทางไปโปรดบิดา
คือนายปอ ที่วัดเกาะแก้วเวฬุวัน ตำบลดงน้อย อำเภอพนมสารคาม
จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วได้จำพรรษาที่วัดนี้

ขณะที่ท่านจำพรรษาที่วัดเวฬุวันนั้น ท่านได้มีโอกาสศึกษาวิชาจากพระอาจารย์จัน
(บางตำราว่าชื่อ พระอาจารย์จีน) ซึ่งเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น
และยังเป็นผู้สอนภาคปฏิบัติ พระภิกษุจาดจึงได้ฝึกกรรมฐานจนแก่กล้า

ครั้นพรรษาที่สอง จึงได้ติดตาม พระอาจารย์อ้วน
ไปศึกษาพระปริยัติธรรม กับ พระอาจารย์อยู่ วัดไกรสีห์ บางกะปิ กทม.
และเมื่อพรรษาที่สี่ ท่านจึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบางกระเบา

หลังจากนั้นท่านได้ออกธุดงค์อยู่ในป่าเป็นเวลาหลายปี
ได้พบพระภิกษุมากมาย อาทิ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อแช่มวัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ฯลฯ

พระภิกษุจาดได้ศึกษาวิชาหลายแขนง เช่น คาถาการปล่อยคุณไสย
เมตตามหานิยม และอยู่ยงคงกระพัน เมื่อพระภิกษุจาดอายุประมาณ 40 ปี
ท่านได้เดินทางกลับไปจำพรรษา ณ วัดบางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-15 12:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

วัดบางกระเบา อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

หลวงพ่อจาดเป็นพระที่เก่งทางด้านคาถาอาคม ทั้งวิชาบังไพรล่องหน หายตัว
และวิชามหาอุดอยู่ยงคงกระพัน แต่จะไม่แสดงตนว่าเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์
โดยท่านจะใช้วิชาดังกล่าวก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น

ยุคสมัยนั้นประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงครามมหาเอเชียบูรพา
วัตถุมงคลของหลวงพ่อจาด ได้มีการจัดสร้างกันหลายครั้ง
แต่ครั้งที่ยิ่งใหญ่ และสร้างกันเป็นจำนวนมากนั้น
เห็นจะได้แก่เมื่อคราวเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ปี พ.ศ. 2483
ซึ่งพระคณาจารย์ ผู้ทรงคุณ วิทยาคมต่างๆ ทั่วประเทศ
ก็ได้จัดสร้างวัตถุมงคลแจกเหล่าทหารหาญกันในปีนี้เป็นจำนวนมาก
หลวงพ่อจาดก็ได้รับอาราธนาจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ให้ไปปลุกเสกเครื่องรางของขลัง
เพื่อแจกจ่ายให้กับทหารตำรวจและประชาชนจังหวัดปราจีนบุรี

หลวงพ่อจาด สร้างเป็นเหรียญ นั่งเต็มองค์ ด้านหลังเป็นพระมหาอุตม์ นั่งอยู่กลางดอกบัว
มีทั้งเนื้อเงินลงยา และทองแดง เกียรติคุณแห่งเหรียญหลวงพ่อจาดได้มาประจักษ์ขึ้น
เมื่อมีเครื่องบินฝรั่งเศสมาทิ้งระเบิด ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
ซึ่งเกิดปาฏิหาริย์เลื่องลือไปทั่ว จนได้รับสมญานามว่าเทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-15 12:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อจาดก็ได้รับนิมนต์ให้ปลุกเสกของขลังมากมาย
แต่ที่สำคัญ คือ แหวนมงคล 9 ที่ทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่ทหารที่ออกรบ
จนเกิดเหตุอัศจรรย์เป็นที่น่าเกรงขามต่อศัตรูคือทหารไทยอยู่ยงคงกระพันชาตรี
จนทำให้ชาวต่างชาติตั้งชื่อเรียกขานทหารไทยว่า ทหารผี

หลวงพ่อจาดดำรงสมณเพศเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุทั่วไป
และเป็นที่เคารพนับถือของพระเถระผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

คุณความดีของท่านเป็นที่ทราบไปถึงทางการจึงได้รับสมณศักดิ์ ตามลำดับดังนี้

พ.ศ.2447 ได้รับสมณศักดิ์ที่ พระครูจาด

พ.ศ.2457 เป็นเจ้าคณะแขวง อ.บ้านสร้าง

พ.ศ.2461 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2470 รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูสิทธิสารคุณ ระดับชั้นโท

หลวงพ่อจาดมรณภาพเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน (บางตำราว่า มิถุนายน) พ.ศ. 2499 สิริอายุรวม 85 ปี

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-main-page.htm
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=44149

ขอบพระคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้