6. พระสมเด็จรุ่นที่ 6 พ.ศ.2500เนื่องจากปีนี้เป็นปีกึ่งพุทธกาล 2500 ปีหลวงปู่จึงสร้างจำนวนมาก ประมาณ84000 องค์ เพื่อเพียงพอแก่การแจกจ่ายและได้นำเข้าพิธี 25 ศตวรรษ เพื่อให้มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้น เนื่องจากหลวงปู่ได้รับเชิญร่วมปลุกเสกในพิธีด้วย พระพิมพ์จึงค่อนข้างสวยงาม และมีประสบการณ์มากเช่นกันพระมีทั้งหมด 15 พิมพ์คือ 6.1 พิมพ์พระประธาน ขนาดบูชา 6.2 พิมพ์ปรกโพธิ์พิมพ์ใหญ่ 6.3 พิมพ์ทรงนาคปรก 6.4 พิมพ์ปรกโพธิ์ฐานแซม 6.5พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร 6.6 พิมพ์ฐานหมอน 6.7 พิมพ์ทรงนิยม 6.8 พิมพ์ทรงเจดีย์ 6.9 พิมพ์ทรงนิยมพิมพ์กลาง 6.10 พิมพ์ทรงนิยม พิมพ์เล็ก 6.11 พิมพ์คะแนนปรกโพธิ์ 6.12 พิมพ์คะแนนพระประธาน 6.13 พิมพ์ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว 6.14 พิมพ์คะแนนทรงพระประธานขนาดเล็ก 6.15 พิมพ์ทรงเม็ดแตง 7. พระสมเด็จ รุ่นที่ 7 พ.ศ. 2512 เรียกว่า รุ่น เสาร์5 มี6พิมพ์ สร้างในวันเสาร์ 5 (วันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5) ซึ่งทางไสยศาสตร์ถือกันว่าสร้างในวันนี้แล้วขลังมาก นอกจากนี้ท่านยังได้เอาเสากุฏิของสมเด็จโตมาสร้างเป็นพระเนื้อไม้อีกด้วย พระชุดนี้จึงจำนวน 6พิมพ์ดังนี้ 7.1 พิมพ์นิยมเสาเอกสร้างด้วยไม้ ทำจากเสากุฏิ สมเด็จโต 7.2 พิมพ์ทรงจุฬามณี 7.3 พิมพ์สังฆาฏิ 7.4 พิมพ์ทรงอกร่องหูยานฐานแซม 7.5 พิมพ์กลีบบัว 7.6 พิมพ์ทรงพระประธานหูบายศรี 8. พระสมเด็จ รุ่นที่ 8 รุ่นสุดท้าย พ.ศ.2515 เรียกว่ารุ่น100 ปี การมรณภาพสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พิธีมหาพุทธาภิเษก หลวงปู่หิน สร้าง2พิมพ์เข้าพิธีด้วย มี 2พิมพ์ หลวงปู่หินได้การบูรณบ่อน้ำมนต์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต เพราะมีอายุกว่า 100 ปี ชำรุดทรุดโทรมมาก หลวงปู่จึงขุดให้ลึกกว่าเดิม ปรากฏว่าเจอแผ่นยันต์ ลักษณะเป็นปูนปั้น มีขนาด 17 นิ้ว ยาว 21 นิ้ว จมอยู่ในบ่อ สันนิษฐานว่าเป็น แผ่นยันต์ของสมเด็จโตที่สร้างไว้ หลวงปู่จึงนำมาเก็บไว้ แล้วเทคอนกรีตรอบบ่อตามเดิม ต่อมาภายหลังเมื่อบูรณเสร็จ ท่านจึงนำแผ่นยันต์ลงไปไว้ในบ่อตามเดิมเพื่อเป็นสิริมงคล แม้กระทั่งพระและสามเณรที่ลาสิกขาก็นิยมใช้น้ำในบ่อไปประกอบพิธีกรรมกันอยู่เสมอ ท่านจึงได้สร้างพระพิมพ์ขึ้นมาร่วมพิธีสมเด็จ 100 ปีในปี 2515 ด้วย เพื่อนำเงินมาบูรณะบ่อน้ำมนต์ดังกล่าว พระที่สร้าง มีทั้งหมด 2 พิมพ์ด้วยกันคือ 8.1 พิมพ์ทรงนิยม 8.2 พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร 8.3 เหรียญ รุ่นแรก พ.ศ.2516
9. พระกริ่งรูปเหมือนปี 2518 10.เหรียญหลวงปู่หิน ปี 2521 นอกจากนี้ยังมีพระนอกพิมพ์อีกจำนวนหลายพิมพ์เช่นกัน เรียกว่า พิมพ์นอก เป็นพระที่สร้างในปีเดียวกัน แต่ไม่ได้ออกเป็นทางการท่านจะแจกเป็นการส่วนตัวแต่พิมพ์ทรงจะแตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกับพิมพ์ที่วัด ท่านพระครูสังฆรักษ์ หิน อุปสมบทพระ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2463พรรษาแห่งการบวช ท่านศึกษาทางกรรมฐานจนแตกฉาน จนเกิดความชำนาญต่อมาศึกษาทางด้านคาถาอาคม จนเกิดความแตกฉาน วิชาไสยศาสตร์ ชนิดหาตัวจับยากภายหลังค้นคว้าแพทย์แผนโบราณ รักษาผู้คนตกทุกข์ได้ยาก เป็นพันๆคนในขณะนั้นท่านย้ายมาอยู่ วัดระฆัง พ.ศ.2478 – พ.ศ.2521 ตลอดระยะเวลา 43ปี ภายหลังหลวงปู่หิน ป่วย ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่ วัดกล้วย จ.อยุธยาเพื่อทำการรักษาตัวเพราะไม่มีเวลาพักผ่อน และท่านมีเวลาไม่นานแล้ว ประกอบกับมีเนื้องอกที่กระพุ้งแก้มเพราะ เกิดจาการฉันท์หมากมาก ในปีเดียวกันนั้นเอง (พ.ศ.2521) ท่านเดินทางกลับวัดระฆัง19พฤษภาคม 2521 และท่านก็ได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ 21พฤษภาคม2521 รวมอายุ 79ปี 58 พรรษา ขอขอบคุณข้อมูลนี้จากหนังสือประวัติ หลวงปู่หิน จากวัด พระศรีสุทธิโสภณ (เที่ยงอัคคธัมโม ปธ9) 3ต.ด.2521 ซึ่งเป็นผู้เรียบเรียง ประวัติ หลวงปู่ หินที่ออกมาจากวัดระฆัง หนังสือเล่มนี้ทำแจกแก่ศิษย์ยานุศิษย์ที่มางานฌาปนกิจ หลวงปู่หิน วัดระฆัง ซึ่งอาจจะลงรายละเอียดได้ไม่หมด เพราะบางส่วนที่ท่านสร้างได้นำพระที่ท่านสร้างบางส่วนไปลงกรุเช่นพิมพ์สังกัจจายฐานผ้าทิพย์ และที่วัดบ้านเกิดของท่านอีกบางส่วนทางวัดไม่ได้ลงไว้
|