ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5907
ตอบกลับ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วัดโคกพระยา ที่สำเร็จโทษชนชั้นสูงในอยุธยา

[คัดลอกลิงก์]
"วัดโคกพระยา" ครั้งแรกที่ไปกว่าจะหาวัดนี้เจอ ก็เหนื่อยพอดู ทางเข้าวัดก็เป็นทางที่คับแคบแออัดด้วยชุมชน การเข้าถึงวัดถ้าไม่ถามชาวบ้านก็จะไม่มีทางรู้เลย ไม่มีการบูรณะ ไม่มีป้ายแหล่งท่องเที่ยวระหว่างเดินทางด้วยซ้ำ ถึงแม้จะอยู่ใกล้วัดหน้าพระเมรุซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของอยุธยา

"ถึงวัดโคกพระยาอาลัยนัก
เพลาจักหมดอำนาจวาสนา
สำเร็จโทษท่อนจันทน์บรรลัยล
เพลงพระยาโศกวอนสะท้อนใจ
ชะตาสูงเพียงใดได้ตกยาก
แพรแดงฝากฝังศพกลบเลือดไหล
ท่อนจันทน์ทุบร่างพับลับล่วงไป
กลบดินไว้แว่ววังเวงเพลงพระยาฯ"


ในพงศาวดารหลายฉบับ กล่าวว่ากษัตริย์ที่ถูกปราบดาภิเษกเกือบทุกพระองค์จะโดนสำเร็จโทษ ณ วัดโคกพระยา เริ่มตั้งแต่การปราบดาภิเษกของพระราเมศวร ซึ่งสำเร็จโทษพระเจ้าทองลัน เป็นเหตุการณ์แย่งชิงบัลลังค์ของสองราชวงศ์ระหว่างราชวงศ์อู่ทองและราชวงศ์สุพรรณภูมิในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น (การแย่งชิงครั้งแรกของขุนหลวงพ่องั่วแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ แต่พระราเมศวรที่ถูกแย่งบัลลังค์ไม่ถูกสำเร็จโทษแต่โดนเนรเทศแทนและกลับมาชิงบัลลังค์ในภายหลังสมัยพระเจ้าทองลันโอรสของขุนหลวงพ่องั่วนั่นเอง) ซึ่งหลังจากสำเร็จโทษพระเจ้าทองลัน ก็ดูเหมือนจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกครั้งที่มีการปราบดาภิเษกจะมีการสำเร็จโทษกษัตริย์กันที่วัดโคกพระยาแห่งนี้




ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-6 20:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แผนที่ทางอากาศชี้ตำแหน่งวัดโคกพระยา



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-6 21:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2017-1-6 21:31

รายชื่อกษัตริย์และราชวงศ์ที่ถูกประหารที่วัดนี้

๑.สมเด็จพระเจ้าทองลัน พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งกรุงศรีอยุธยา

๒.พระรัษฎาธิราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 12 แห่งกรุงศรีอยุธยา

๓.พระยอดฟ้า พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 14 แห่งกรุงศรีอยุธยา

๔.พระศรีเสาวภาคย์ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 20 แห่งกรุงศรีอยุธยา

๕.พระพันปีศรีศิลป์ พระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ถูกสำเร็จโทษ โดยออกญากลาโหมสุริยวงศ์ หรือพระเจ้าปราสาททอง

๖.สมเด็จพระเชษฐาธิราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 22 แห่งกรุงศรีอยุธยา

๗.สมเด็จเจ้าฟ้าไชย พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 25 แห่งกรุงศรีอยุธยา

๘.สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 26 แห่งกรุงศรีอยุธยา

๙.เจ้าพระขวัญ พระราชโอรสในสมเด็จพระเพทราชาที่ประสูติแต่กรมหลวงโยธาทิพ

๑๐.เจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ

๑๑.พระองค์เจ้าชื่นและพระองค์เจ้าเกิด พระราชบุตรในกรมพระราชวังบวรเสนาพิทักษ์ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดี (เจ้าสามกรม) พระราช โอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ







  อย่างน้อยที่สุดที่นี่เป็นที่ประหารกษัตริย์หรือรัชทายาทถึง๑๑พระองค์ซึ่งองค์แรกคือพระเจ้าทองลัน           เป็นเสมือนการเอาคืนของราชวงศ์อู่ทอง     ต่อราชวงศ์สุวรรณภูมิทั้งๆที่ขุนพะงั่วท่านก็เพียงให้พระราเมศวรไปครองที่ลพบุรี         แต่ท่านราเมศวรคงเจ็บแค้นมากประวัติศาสตร์คือร่องรอยเห็นความทรงจำ      การผลัดเปลี่ยนแผ่นดินในแต่ละสมัยโดยเฉพาะการเปลี่ยนราชวงศ์   แต่ละครั้งผู้คนต้องล้มตายเป็นอันมาก   กษัตริย์หนึ่งองค์ สายของราชวงศ์ข้าราชการและผู้ติดตามตลอดจน   ไพร่ทาสน่าจะมีเป็นร้อยหรือหลายร้อยหลายพันเอาทีเดียวที่จะต้องถูกประหารไปด้วยกัน    ตลอดช่วงสมัยของอยุธยาในเวลาสี่ร้อยกว่าปี      จากวิธีคิดระบบเครือญาติและวัฒนธรรมร่วมของแว่นแคว้นต่างๆ   และนี่เป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของอยุธยา(นักวิชาการอยุธยาด้านประวัติศาสตร์ร้อยทั้งร้อยมักจะตีความเช่นนี้)









ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-6 21:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

    แต่ถ้าเราลองเปลี่ยนมุมมองกลับกันตรงนี้อาจเป็นจุดแข็งก็ได้    เวลาประหารกษัตริย์ราชวงศ์ชั้นสูงถ้าประหารแบบไพร่ทั่วไปก็ดูไม่เป็นสัญลักษณ์       ก็เลยต้องทำเป็นพิธีกรรมให้คนทั่วไปรับรู้รับทราบและยำเกรง   การประหารโดยบรรจุในผ้าแดงการทุบโดยท่อนจันทน์   การไม่ให้เลือดตกลงบนแผ่นดินดูเป้นพิธีกรรมและให้เกียรติยศมากกว่าการใช้ดาบฟัน       เพราะจุดมุ่งหมายคือต้องการล้มฐานอำนาจหนึ่งเวลาล้มจึงไม่อาจละเว้นใครได้     ฟังดูโหดแต่นี่เป็นการมองย้อนกลับไม่ได้มาตีความว่าใครถูกผิด หลายท่านที่ถูกล้มจากอำนาจอาจจะถูกตีความว่าเป็นคนดีหรือดีกว่าผู้ที่ล้มก็ได้  แต่สุดท้ายผู้ที่แข็งแรงกว่าก็คือผู้ที่จะยืนอยู่ต่อไป       อย่างนั้นจะเรียกว่าเป็นจุดแข็งของอยุธยาหรือเปล่า    ที่ผู้ปกครองแม้จะเปลี่ยนไปมาแต่จะมีอำนาจอยู่ตลอด   ทำให้อำนาจภายนอกเข้ามาทำลายภายในยากพอสมควร



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-6 21:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


องค์เจดีย์ประธานที่ปรากฏก็เป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมทรงระฆังตังองค์ระฆังสูงชะลูดเล็กน้อย ก็เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับพงศาวดารที่กล่าวถึงวัดนี้ไว้ในยุคพระราเมศวร    ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒และ๔ของอยุธยาข้อมูลดอื่นตามแหล่งต่างๆก็ไปพูดถึงประเด็นการประหารกันหมด  ก็คงสรุปในขั้นต้นว่าเป็นวัดในยุคอยุธยาตอนต้น  หรือรุ่นอโยธยา  งานเจดีย์แปดเหลี่ยมในยุคต้นอยุธยาสมัยก่อนผมดูว่าเป็นของหายากแต่เมื่อตามวัดในอยุธยาไปเรื่อยๆกลับพบว่ามีมากทีเดียว   วัดที่อยู่ติดๆกันอย่างวัดหัสดาวาสก็ดีวัดพระเมรุหรือเมรุราชิกาก็ดีล้วนแต่เป็นงานรุ่นหลังทั้งสิ้น     มีข้อหน้าสังเกตอย่างหนึ่งคือวัดเมรุราชิกาซึ่งอยู่เกือบติดกันกับวัดนี้     เวลาใครนึกถึงต้องไปนึกถึงค่ายพระเจ้าอลองพญาที่พม่ามาตั้งทัพและก็บอกกันว่าเป็นวัดที่ไม่เสียหายหรือถูกทำลาย         แต่ลองแปลชื่อวัดดูก็เป็นว่าที่ถวายเพลิงพระเจ้าแผ่นดินธรรมเนียมอยุธยากับรัตนะตอนต้นคงเป็นเช่นเดียวกันสมัยก่อนคนทั่วไปถ้าเสียชีวิตต้องเอาไปทำศพกันนอกกำแพงเมือง   บางที่พื้นที่แถวนี้ของอยุธยาจะเกี่ยวพันกับธรรมเนียมทำนองนี้อยู่เหมือนกันตลอดจนแถวคลองสระบัวนี้ดูเป็นชุมชนที่หนาแน่นในอยุธยามากทีเดียว   อีกอย่างที่น่าสังเกตแทบจะทั่วไปของโบราณสถานในอยุธยาก็คือชุมชนมาประชิดติดกับตัวโบราณสถานเลย   ดูยังโชคดีที่โบราณสถานมีกำแพงหนาล้อมรอบ  ไม่เช่นนั้นคงรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่เป็นแน่  บ้านเมืองเราก็เป็นเช่นนี้เราปล่อยปละละเลย    เดี๋ยวพอวันหนึ่งที่เราต้องการเอาพื้นที่อนุรักษ์คืน    อาจจะเป็นอีกร้อยปีข้างหน้าเราก็เอากลับ มาไม่ได้แล้ว


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-6 21:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


การสำเร็จโทษด้วนท่อนจันทน์เป็นการประหารชีวิตพระราชวงศ์ซึ่งมีบัญญัติไว้ในมาตรา 176 แห่งกฎมนเทียรบาล กฎหมายตราสามดวงฉบับชำระในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ว่า[3] [4]

ถ้าแลโทษหนักถึงสิ้นชีวิตไซร้ ให้ส่งแก่ทะลวงฟันหลังแลนายแวงหลังเอาไปมล้างในโคกพญา นายแวงนั่งทับตักขุนดาบ ขุนใหญ่ไปนั่งดู หมื่นทะลวงฟันกราบสามคาบ ตีด้วยท่อนจันทน์แล้วเอาลงขุม นายแวงทะลวงฟันผู้ใดเอาผ้าทรงแลแหวนทองโทษถึงตาย เมื่อตีนั้นเสื่อขลิบเบาะรอง

กฎมนเทียรบาลเช่นว่านี้จะประกาศใช้เมื่อใดเป็นครั้งแรกยังคงเป็นที่ถกเกียงกันอยู่ในขณะนี้[5]

อย่างไรก็ดี ในบานแผนกของกฎมนเทียรบาลฉบับที่เก่าที่สุดปรากฏความว่า "ศุกมัสดุ ศักราช 720 วันเสาร์ เดือนห้า ขึ้นหกค่ำ ชวดนักษัตรศก สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีบรมไตรโลกนาถ... (ข้อความต่อไปเกี่ยวกับว่า ทรงประกาศใช้กฎหมายดังต่อไปนี้) "[6] ศักราชดังกล่าวเป็นจุลศักราช

ปรามินทร์ เครือทอง ผู้เขียนหนังสือ "สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์" ได้ตรวจสอบพระราชพงศาวดารต่าง ๆ ปรากฏปีเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแตกต่างดังต่อไปนี้[5]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า "ข้าพเจ้าเชื่อว่าศักราชอย่างลงไว้ในฉบับหลวงประเสริฐนั้นถูก..." ในกรณีนี้ ปี จ.ศ. ที่ระบุไว้ในบานแผนกได้แก่ จ.ศ. 720 ก่อนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นทรงราชย์เก้าสิบปี (จ.ศ. 810) ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแก้ว่า น่าจะเป็นเพราะอาลักษณ์เขียนผิด โดยเขียนเลข 8 เป็นเลข 7 ที่ถูกคือ จ.ศ. 820[7]ทั้งนี้ หากนับตามปีปฏิทินแล้ว จ.ศ. 720 ตรงกับปีจอ ซึ่งในบานแผนกว่าปีชวด และปีชวดจะตรงกับ จ.ศ. 722

ส่วนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า น่าจะเป็นเพราะอาลักษณ์เขียนผิดเช่นกัน แต่ที่เขียนผิดคือเลข 0 ที่ถูกต้องเป็น 2 อันได้แก่ จ.ศ. 722 ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)[7]

ปรามินทร์ เครือทอง เชื่อว่า ปีที่ระบุในบานแผนกน่าจะเป็นปีรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ไม่น่าใช่ปีรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เนื่องจากการสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ได้มีมาก่อนรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว โดยปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาดังต่อไปนี้

ศักราช 744 ปีจอ จัตวาศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 13 ปี
จึงเจ้าทองจันทร์ ราชบุตร พระชนม์ได้ 15 พรรษา ขึ้นเสวยราชสมบัติ 7 วัน
สมเด็จพระราเมศวรเสด็จลงมาแต่เมืองลพบุรี เข้าในพระราชวังได้ กุมเอาเจ้าทองจันทร์ได้
ให้พิฆาตเสียวัดโคกพระยา แล้วพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ

หากสรุปเอาตามพระบรมราชวินิจฉัยและความคิดเห็นของปรามินทร์ เครือทองข้างต้น ก็จะได้ว่ากฎมนเทียรบาลอันกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์นั้นประกาศใช้เป็นครั้งแรกในรัชกาลสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 1


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-6 21:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ความผิดและผู้กระทำความผิดอันระวางโทษนี้

มาตรา 176 ของกฎมนเทียรบาล ในกฎหมายตราสามดวง บัญญัติไว้ว่า "ถ้าแลโทษหนักถึงสิ้นชีวิตไซร้ ให้ส่งแก่ทะลวงฟันหลังและนายแวงหลังเอาไปมล้างในโคกพญา..." โดยมิได้ระบุรายละเอียดโทษดังกล่าวไว้ ทั้งนี้ ในกฎมนเทียรบาลเองมีบัญญัติข้อปฏิบัติ ข้อห้าม และข้อกำหนดโทษสำหรับพระราชวงศ์ตลอดจนนางสนมกรมในไว้ โดยโทษมีตั้งแต่ระดับโบย จำ เนรเทศ และประหารชีวิต ส่วนข้อปฏิบัติและข้อห้ามนั้นส่วนใหญ่เพื่อป้องกันความไม่เหมาะสมทางเพศ เช่น การพูดจา ไปมาหาสู่ และ/หรือมีสัมพันธ์กับนางสนมกรมใน นอกจากนี้ ในส่วนเฉพาะสำหรับพระราชกุมารยังมีข้อห้ามอื่น ๆ เพื่อป้องกันการกบฏต่อพระราชบัลลังก์อีกด้วย เป็นต้นว่า มาตรา 77 ห้ามมิให้ขุนนางที่มีศักดินาตั้งแต่แปดร้อยถึงหนึ่งหมื่นไร่ไปมาหาสู่กับพระราชโอรสและ/หรือพระราชนัดดา หากขุนนางใดละเมิดฝ่าฝืนต้องระวางโทษประหารชีวิต[3]

อย่างไรก็ดี ตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ผู้รับโทษประหารชีวิตด้วยท่อนจันทน์นี้มักเป็นพระราชวงศ์ที่ต้องโทษทางการเมือง เป็นต้นว่า มีการชิงพระราชบัลลังก์ และผู้กระทำการดังกล่าวสำเร็จจะสั่งให้ประหารพระมหากษัตริย์พระองค์เดิม ตลอดจนพระราชวงศ์ และบุคคลใกล้ชิดทั้งปวงของพระมหากษัตริย์ดังกล่าวอีกด้วย เพื่อป้องกันความสั่นคลอนของพระราชบัลลังก์ในภายหลัง อีกกรณีหนึ่งคือการที่พระมหากษัตริย์สิ้นพระชนม์และมีพระราชบุตรทรงอยู่ในพระราชสถานะที่จะเสด็จขึ้นทรงราชย์ได้ แต่มีบุคคลที่สามต้องการพระราชบัลลังก์เช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการกำจัดพระราชบุตรคนดังกล่าวตลอดจนผู้เกี่ยวข้องไปให้พ้นทาง[8]


บุคลากร

มาตรา 176 ของกฎมนเทียรบาล ในกฎหมายตราสามดวง บัญญัติไว้ว่า "ถ้าแลโทษหนักถึงสิ้นชีวิตไซร้ ให้ส่งแก่ทะลวงฟันหลังและนายแวงหลังเอาไปมล้างในโคกพญา นายแวงนั่งทับตักขุนดาบ ขุนใหญ่ไปนั่งดู..."[3]

ทะลวงฟัน

มีบัญญัติไว้ในกฎหมายตราสามดวง ส่วนพระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมืองว่า "หมื่นทะลวงฟัน" มีหน้าที่เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยและหน่วยจู่โจม[3] ซึ่งในการประหารพระราชวงศ์ด้วยท่อนจันทน์นี้ หมื่นทะลวงฟันมีหน้าที่เป็นเพชฌฆาต

นายแวงและขุนดาบ

"นายแวง" และ "ขุนดาบ" เป็นชื่อตำแหน่งข้าราชการระดับหนึ่งในสมัยโบราณมีหน้าที่ล้อมวงพระมหากษัตริย์เพื่อถวายการอารักขา และมีหน้าที่ประสานกับชาวพนักงานฝ่ายอื่น ๆ เพื่อให้การดังกล่าวเป็นไปโดยเรียบร้อย ซึ่งนายแวงมียศสูงกว่าขุนดาบ โดยในมาตรา 30 แห่งกฎมนเทียรบาล กฎหมายตราสามดวง บัญญัติว่า "...ถ้าเสด็จขึ้นเขาแลเข้าถ้ำ ขึ้นปรางค์เข้าพระวิหาร ให้ขุนดาบเข้าค้น แล้วให้ตำรวจในเข้าค้น แล้วให้นายแวงเข้าค้น แล้วให้กันยุบาตรค้นเล่าเป็นสี่ท่าจึ่งเชิญเสด็จ เมื่อเสด็จตำรวจในแนมสองข้าง นายแวงถัด ขุนตำรวจขุนดาบอยู่แต่ข้างล่าง ครั้นเสด็จถึงใน ตำรวจในอยู่บานประตูข้างใน นายแวงอยู่บานประตูข้างนอก ขุนดาบอยู่เชิงบันไดเชิงเขา..."[3]

ทั้งนี้ คำว่า "แวง" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 บัญญัติความหมายว่า[9] "แวง 1 ว. ยาว, แถว; เรียกเส้นลองจิจูดว่า เส้นแวง. (ข.). แวง 2 น. ดาบ. ...แวง 4 ก. ล้อมวง."

สำหรับการประหารพระราชวงศ์ด้วยท่อนจันทน์ นายแวงและขุนดาบมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยในมณฑลพระราชพิธีประหาร โดยเฉพาะนายแวงยังมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องโทษประหารด้วยท่อนจันทน์ไปยังมณฑลดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งในการควบคุมตัวดังกล่าว มาตรา 175 ยังให้อำนาจนายแวงสามารถจับกุมผู้มีพฤติกรรมต้องสงสัยได้ทันที ทั้งนี้ บัญญัติไว้ว่า "เมื่อไปนั้น ถ้ามีเรือผู้ใดเข้าไปผิดประหลาดอัยการนายแวง ท้าวพระยาห้วเมือง มนตรีมุข ลูกขุนแต่นาหนึ่งหมื่นถึงนาหกร้อยผู้ใดส่งลูกเธอก็ดี ให้ของส่งของฝากก็ดี อัยการนายแวงได้กุมเอาตัวเป็นขบถตามโทษนุโทษ"[3] [10]

ขุนใหญ่

คำว่า "ขุนใหญ่" หมายถึง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2540 ให้ความหมายของคำว่า "ขุน" ไว้ดังนี้[9] "ขุน 1 น. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา เช่น ขุนวิจิตรมาตรา; เรียกหมากรุกตัวสำคัญที่สุด. ว. ใหญ่ เช่น ขุนเขา.ขุนนาง (โบ) น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ตามปรกติต้องมีศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป."

ขุนใหญ่ในการประหารพระราชวงศ์ด้วยท่อนจันทน์นี้ได้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานในพระราชพิธีสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ในกรณีที่ไม่เสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้ ขุนใหญ่มีหน้าที่ไปกำกับการพระราชพิธีต่างพระเนตรพระกรรณเพื่อให้การเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีหน้าที่อ่านประกาศพระบรมราชโองการพระราชทานโทษประหารชีวิตในมณฑลพระราชพิธีก่อนจะเริ่มประหารด้วย[11]






8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-6 21:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-6 21:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

คลิปนี้ตาป้อง ชี้จุดที่สำเร้จโทษในสมัยอยุธยา


10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-6 21:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถ้ามีคนสนใจค่อยมาต่อ รายละเอียดเรื่องการประหารพระมหากษัตริย์ ณ.ที่แห่งนี้ พร้อมตำนานบอกเล่าเรื่องราวอาถรรพ์ต่างๆ

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E ... 0%E0%B8%A2%E0%B8%B2
https://th.wikipedia.org/wiki/%E ... 7%E0%B8%99%E0%B9%8C
http://oknation.nationtv.tv/blog/faab/2015/11/14/entry-1

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้