แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kittiphob เมื่อ 2016-10-31 08:34
บ่อพันขัน บ่อน้ำที่ตักเป็น ร้อยขัน พันขัน ก็ไม่มีวันหมด
คนในย่านนี้จึงเรียกว่า บ่อพันขัน
ไหว้ศาลเจ้าปู่ผ่าน
บ่อพันขัน
บ่อพันขัน ตรงนั้น มีตำนาน แต่โบราณ เรียกว่า จำปาขัน
เป็นเมืองเก่า เล่าลือ ระบือกัน จำปาขัน ได้ข่าว ลูกสาวมี
ชื่อคำแพง แต่งเห็น เป็นพี่เลี้ยง รูปเกลาเกลี้ยง นามธิดา ว่าแสนสี
เคยฟังดู รู้ชัด ประวัติมี สาวแสนสี สาวคำแพง แห่งจำปา
นางนั่งเรือ เล่นน้ำ ตามทะเล ต้องเสน่ห์ ท้าวอุธร นอนผวา
ฮาดคำโปง ชื่อนี้ มีมนต์ตรา ต้องเข่นฆ่า รักเกี้ยว สาวเดียวกัน
ทางเจ้าเมือง ทราบเรื่อง จึงออกปาก เรียกฝูงนาค มาหา จำปาขัน
เจาะบาดาล พ่นพิษ ฤทธิ์อัศจรรย์ พิษนาคนั้น กระจายเต็ม เค็มเหมือนเกลือ
ปูปลาหอย พลอยตาย ไม่วายนับ กลิ่นเหม็นอับ ทั่วไป ทั้งใต้เหนือ
นกอินทรี สองผัวเมีย อิ่มเหลือเฟือ กินจนเบื่อ อยากกินเนื้อ มนุษย์จัง
พระพุทธองค์ ทรงสั่ง โมคคัลลาน์ ขอให้มา ปราบกุสุมา ใจโอหัง
ไล่เข้าถ้ำ จีวรปิด ใช้ฤทธิ์บัง ชี้นิ้วสั่ง บ่อครกหิน น้ำกินมี
ที่ตั่งและประวัติโดยย่อ บ่อพันขัน
ตั้งอยู่ในเขตตำบลเด่นราษฎร์ กิ่งอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณทางด้านตะวันออก ของห้วยเค็มประมาณ100 เมตร ลักษณะทางกายภาพเป็นลานหินทรายแดงกว้างใหญ่ในพื้นที่ ประมาณ1กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บริเวณห้วยเค็มทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก โดยทางฝั่งตะวันตกเป็นพื้นที่ตำบลจำปาขัน อ.สุวรรณภูมิ ส่วนฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ของต.เด่นราษฎร์ กิ่งอำเภอหนองฮี
โดยพื้นที่ทั้งสองฝั่งยังมีแนวหินทรายต่อเนื่องขึ้นไปอีกบางส่วนจมอยู่ใต้ดิน แนวลำน้ำเค็มจากบ่อพันขัน ไปถึงลำน้ำเสียวประมาณ 2กิโลเมตร ในฤดูน้ำหลากพื้นที่บริเวณบ่อพันขันบางส่วนมักจมอยู่ใต้พื้นน้ำแต่ในฤดูแล้ง พื้นที่บริเวณบ่อพันขันจะปรากฏแนวพื้นหินทรายกว้างใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ บริเวณกว้าง โดยมักจะมีร่องรอย ของความเค็มของดินปรากฏโดยทั่วไป ลักษณะเป็นสีขาวของเกลือ และราษฎรในบริเวณนี้มักจะใช้เป็นสถานที่ ผลิตเกลือสินเธาว์ ต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุ เป็นทั้งผลผลิตที่ใช้บริโภคในหมู่บ้านใกล้เคียง และเป็นสินค้าออกไปยังจังหวัดใกล้เคียง เช่น ศรีษะเกศ สุรินทร์ อุบลราชธานี เป็นต้น โดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ผลิต คือ บ่อพันขันนั่นเอง ในบริเวณบ่อพันขันปรากฏพื้นที่ลักษณะพิเศษ คือมีบ่อน้ำจืดธรรมชาติ ที่มีน้ำพุดขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา โดยไม่มีวันหยุด มีขนาดกว้างประมาณ 6-8 นิ้ว ลึก 6-8 นิ้ว จึงเป็นที่มาของ บ่อพันขัน ชาวบ้านเรียกอีกอย่างว่า “น้ำสร่างครก” เพราะมีลักษณะคล้ายครกต้ำข้าว น้ำบริเวณบ่อพันขัน ไม่มีใครรู้ว่ามันเริ่มไหลออกมาเมื่อใด และจะหยุดไหลเมื่อใด อาจจะเป็นเรื่องของระบบน้ำใต้ดิน ที่ไหลซึมอกมาตลอดเวลาตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่ในความเชื่อ ของชาวบ้านในเรื่องความอัศจรรย์และความศักดิ์สิทธิ์ นับเป็นวิถีชีวิตของผู้คนในดินแดนแห่งทุ่งกุลาร้องไห้ ที่จริงๆ ไม่เคยร้องไห้ เพราะความอุดมสมบูรร์ของพื้นที่ เพียงเราจะจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนเท่านั้น แต่สิ่งที่ปรากฏและยังอยู่ในความทรงจำ ของผู้คนบริเวณนี้คือ การเป็นพื้นที่แหล่งต้มเกลือสินเธาว์ ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน โดยพื้นที่รอบๆ มีแต่ความเค็มของเกลือในฤดูแล้ง แต่มีพื้นที่เพียงจุดเล็กๆ ที่มีน้ำจืดไหลออกมาตลอดเวลา ตักเป็นพันขันก็ไม่หมด ท่ามกลางพื้นที่ ที่มีแต่ความเค็มตลอดฤดูแล้ง นับตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ จนถึงเดือน พฤษภาคม ของทุกปี
พื้นที่ บริเวณนี้จมอยู่ใต้น้ำมากว่า 20 ปี นับตั้งแต่ปี 2524 พอในปี 2547 ชาวบ้านในพื้นที่ได้ร่วมแรงรวมใจกัน ฟื้นฟูสภาพของบ่อพันขัน ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และคงอยู่กับจังหวัดร้อยเอ็ดตลอดไป
ประวัติ ทุ่งกุลาร้องไห้ เมืองจำปาขัน บ่อพันขันทุ่งกุลาร้องไห้ เมืองนครจำปาขัน บ่อพันขัน
ทุ่งกุลาร้องไห้สมัยที่ยังคงความแห้งแล้ง
ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบที่มีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน มีเนื้อที่ประมาณ 2,107,691 ไร่
มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และ ยโสธร ส่วนพื้นที่ที่ต่อเนื่องกันมากที่สุด กว้างยาวที่สุดนั้น เริ่มตั้งแต่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคามเรื่อยขึ้นไปทางตะวันออก ส่วนกว้างที่สุดอยู่ในท้องที่อำเภอปทุมรัตต์ เกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ โพนทราย มีเนื้อที่ประมาณ 847,000 ไร่ ส่วนทุ่งที่มีชื่อลือนามว่า ทุ่งกุลาร้องไห้นั้น อยู่เขตอำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด และอยู่ในเขตอำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ถ้าเรายืนอยู่ในใจกลางทุ่งแถบนี้แล้วเหลียวมองไป รอบ ๆ ตัวเราจะเห็นแต่ทุ่งหญ้าจดขอบฟ้าสุดสายตา เมื่อประมาณ 60-70ปีมาแล้วไม่มีต้นไม้ขึ้นอยู่เลยมีแต่ป่าหญ้าแท้ๆสูงแค่ศรีษะคนมาบัดนี้ เห็นมีต้นไม้ขึ้นบ้างเป็นแห่งๆตามเนินสูงทั่วๆไป แต่ก็มีบางตามากสภาพของทุ่งไม่ราบเรียบเสมอกันมีเนินมีแอ่งสูงๆต่ำๆมีลำห้วย เล็กใหญ่ไหลผ่านหลายสายเช่นลำเสียวเล็กลำเสียวใหญ่ลำเตาลำพลับพลาเป็นทาง ระบายน้ำออกจากทุ่งในฤดูฝนลงสู่แม่น้ำมูลสองฝังลำห้วยเหล่านี้เป็นดินทามฤดู ฝนน้ำหลากทุ่งฤดูแล้งน้ำแห้งขอด ประชาชนได้อาศัยจับปลาตามลำน้ำเหล่านี้เป็นอาหาร ในฤดูแล้งที่น้ำลดลง เมื่อราว พ.ศ. 2460 ถอยหลังขึ้นไปมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น กว้าง ละมั่ง อีเก้ง อยู่กันเป็นฝูงๆมีนกตัวใหญ่ๆ มาอาศัยอยู่ก็มาก เช่น นกหงส์ นกกระเรียน นกกระทุง นกเป็ดน้ำ อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ๆ แต่เวลานี้สัตว์ป่าเหล่านั้นได้หายสาบสูญไปสิ้นแล้ว
มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่าเมื่อหลายพันปีมาแล้วดินแดนทุ่งกุลาร้องไห้เคย เป็นทะเลสาบมาก่อนกว้างยาวสุดลูกหูลูกตาไม่มีต้นไม้ใหญ่สสักต้นเพราะน้ำลึก มาก เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด ในสมัยนั้นมีเมืองสำคัญอยู่เมืองหนึ่งคือ เมืองจำปาขัน หรือเมืองจำปานาคบุรี อยู่ทางทิศตะวันตกของทะเลสาบ
ปัจจุบันก็คือเทศบาล ตำบล จำปาขัน อำเภอ สุวรรณภูมิ จังหวัด ร้อยเอ็ด คือเมือง จำปานาคบุรี หรือ เมือง จำปาขัน นั้นเอง
|