ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
เรื่องของวงการสงฆ์ในอดีตที่ผิดพลาด
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2290
ตอบกลับ: 5
เรื่องของวงการสงฆ์ในอดีตที่ผิดพลาด
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2016-7-31 08:13
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
เรื่องในอดีต เอามาเล่าเพื่อเป็นกรณีศึกษา ให้ชาวพุทธได้มีความรู้
กรณีพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ)
เขียนโดย พระมหาวัฒนวงศ์ อาภสฺสรเมธี
ข้าพเจ้าเชื่อว่าคงมีน้อยคนในยุคนี้ ที่เคยได้ยินเรื่องราวของพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) พระผู้พัฒนางานด้านพระพุทธศาสนา และการฟื้นฟูเผยแผ่พระพุทธศาสนาหัวก้าวหน้า ในยุครัฐบาลเผด็จการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม จวบจนถึงสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ งานที่พระพิมลธรรมได้บุกเบิกไว้ ถือว่าเป็นงานที่ท้าทายต่อความคิดและความรู้สึกผู้คนในสมัยนั้นไม่น้อย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง ความริษยา และการคุกคามของผู้มีอำนาจทั้งทางตรงและทางอ้อม เรื่องราวความเป็นมาของท่านนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นตำนานแห่งการยืนหยัดต่อสู้กับความขัดแย้ง มิจฉาทิฐิ และการใช้อำนาจอันอยุติธรรมที่แอบแฝงอยู่ในสถาบันสงฆ์
การนำเรื่องราวของท่านมาเล่าสู่กันฟัง อาจช่วยให้เราได้ทบทวนความทรงจำ และรำลึกถึงหนทางการต่อสู้กับอำนาจอยุติธรรมด้วยการยึดมั่นในธรรมของท่านด้วยจิตคารวะ
ในยุคนั้นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างแนวทางการทำงานของพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ที่มีต่อความคิด ความรู้สึกของพระผู้ใหญ่และคณะสังฆมนตรีบางรูปในคณะสงฆ์ รุนแรงถึงขั้นที่ฝ่ายตรงข้ามต้องยืมมือรัฐบาลเผด็จการในสมัยนั้นเข้ามาใช้อำนาจแทรกแซง เพื่อกำจัดท่านออกไปจากวงการสงฆ์เลยทีเดียว จนภายหลังแม้ท่านจะถูกถอดถอนจากสมณศักดิ์ ถูกรัฐบาลสั่งจับคุมขังด้วยข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (อันเป็นข้อหายอดนิยมที่อุกฉกรรจ์มากในสมัยนั้น) และถูกบีบบังคับให้สึกออกจากสมณเพศ ท่านก็ยังคงยืนหยัดยึดมั่นอยู่ในธรรม ปฏิบัติธรรมอยู่ในห้องขัง ไม่ต่างจากตอนที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นเวลาถึง ๕ พรรษา จนเมื่อรัฐบาลเดิมหมดอำนาจไป กอรปกับมีการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ศาลทหารกรุงเทพฯ จึงได้มีการสอบสวนและพิสูจน์ได้ว่าท่านบริสุทธิ์ ในครั้งนั้นท่านได้รับอิสรภาพ และได้กลับมาครองสมณเพศท่ามกลางความยินดีของศาสนิกจำนวนมาก แต่กระนั้นก็ใช่ว่าจะได้รับสมณศักดิ์กลับคืน จนในภายหลังที่พระสงฆ์ได้รวมตัวกันเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ท่าน ท่านจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์คืนกลับมาดังเดิม
สาเหตุเบื้องหลังเหตุการณ์อันอยุติธรรม และความขัดแย้งที่รุนแรงทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีรากเหง้ามาจากอำนาจกิเลส มิจฉาทิฐิ ความริษยา และการผูกใจอาฆาตอย่างที่คนทั่วไปนึกไม่ถึง ว่าพระผู้ใหญ่ระดับชั้นสมเด็จฯ และสังฆมนตรีบางรูปในสมัยนั้นจะเป็นไปได้ถึงเพียงนี้ ดังที่จะขอกล่าวต่อไปโดยลำดับ
ประวัติโดยสังเขป
พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) มีนามเดิมว่า อาจ ดวงมาลา ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๖ ณ ตำบลบ้านโต้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๔ ปี ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา ทั้งทางด้านปฏิบัติและปริยัติเรื่อยมา เมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปีก็ได้ย้ายเข้ามาศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในกรุงเทพฯ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยได้พำนักอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ นั้นเอง ต่อมาท่านได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดมหาธาตุฯ โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “อาสโภ”
ท่านได้หมั่นเพียรศึกษาเรื่อยมาจนสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๘ ประโยค และได้เป็นครูสอนประจำสำนักวัดมหาธาตุฯ เป็นเวลาถึง ๗ ปี (๒๔๖๗–๒๔๗๕) ต่อมาจึงได้ถูกส่งไปเป็นเจ้าอาวาส ณ วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อไปฟื้นฟูการงานพระพุทธศาสนาที่นั่น ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย ท่านได้ทำงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่นั่นเป็นระยะเวลาถึง ๑๖ ปี (๒๔๗๕–๒๔๙๑) ในระหว่างนั้นท่านได้สร้างผลงานด้านการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาไว้ไม่น้อย และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายประการ เป็นต้นว่า สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา เจ้าคณะตรวจการภาค แม่กองธรรมสนามหลวง และยังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสุธรรมมุนี และเลื่อนชั้นเรื่อยมาจนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านได้ย้ายกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ และได้เลื่อนสมณศักด์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้ารองสมเด็จที่ “พระพิมลธรรม” ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสนั้น ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองถึง ๔ สมัย
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-7-31 08:13
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เหตุแห่งความขัดแย้ง
เหตุความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับพระพิมลธรรม จนท่านถึงกับต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดถอนสมณศักดิ์ ตลอดจนจับกุมคุมขังนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ และสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เพราะในช่วงเวลาที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ท่านได้สร้างสรรค์งานทางด้านการศึกษา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างใหม่ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการสงฆ์ อันก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เพราะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และมีทั้งผู้ที่ริษยาในความสำเร็จและชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านอยู่ไม่น้อย งานสำคัญ ๆ ที่ท่านได้บุกเบิกไว้ในยุคนั้นมีสามประการคือ
๑.การขอพระอาจารย์ชั้นธัมมาจริยะจากประเทศพม่ามาช่วยสอนพระอภิธรรมปิฎกในเมืองไทย
๒. การส่งพระภิกษุนักเรียนพุทธศาสนบัณฑิตไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เพื่อต่อปริญญาโท และปริญญาเอก ดังที่ยังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
๓.การฟื้นฟูวิปัสสนาธุระ คือตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นที่วัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรก แล้วขยายให้กว้างขวางมากขึ้นโดยลำดับไปสู่อำเภอและจังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ
นอกจากงานสำคัญทั้งสามประการนี้แล้ว ท่านยังได้มีการทำงานด้านอื่น ๆ ที่ท้าทายความรู้สึกของคนยุคนั้นและมหาเถระสมาคมอีกไม่น้อย เช่น การไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา การเป็นประธานนำคณะพระสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคยานาพระไตรปิฎก ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า การนำพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่ในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย กัมพูชา อังกฤษ อินเดีย และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น และการทำงานร่วมกับองค์กรฟื้นฟูศีลธรรรมจากต่างประเทศ (Moral Rearmament : M.R.A. ) หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อว่า เอ็ม. อาร์. เอ. โดยไม่ยึดถือศาสนาไหนของใครว่าเป็นสำคัญ เป็นต้น
งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่บางท่านไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะพระมหาเถระระดับสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) และสังฆมนตรีบางท่าน เพราะท่านเหล่านั้นไม่เข้าใจและมองไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนาในทางใด แต่ไม่กล้าขัดขวางโดยตรง ได้แต่แสดงความเห็นคัดค้าน ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา ก่อให้เกิดเป็นพลังกดดันและความขัดแย้งที่ค่อย ๆ สะสมเพิ่มมากขึ้นภายในสังฆสมาคมชั้นสูง
สาเหตุที่สำคัญอีกประการ ที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงก็คือ ความอิจฉาริษยาในชื่อเสียงเกียรติคุณของพระพิมลธรรมที่เฟื่องฟูมากในยุคนั้น เนื่องจากงานบุกเบิกใหม่ ๆ ที่พระพิมลธรรมได้มุ่งมั่นทำขึ้นเหล่านี้ยังผลให้ชื่อเสียง เกียรติคุณของท่านขจรขจายไปไกลยังนานาประเทศ ได้รับความเชื่อถือจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า และกัมพูชา และยังได้รับเชิญเป็นรูปแรกให้เดินทางไปร่วมงานกับองค์กรทางศีลธรรมและศาสนาระดับนานาชาติ เช่น เอ็ม. อาร์. เอ. เป็นต้น
เพื่อให้เห็นสาเหตุและประเด็นความขัดแย้งที่ชัดเจนขึ้น เราอาจทำได้ด้วยการย้อนพิจารณาถึงงานสำคัญ ๆ ที่พระพิมลธรรมได้บุกเบิกทำขึ้นในยุคนั้นตามลำดับดังนี้
งานประการแรก คือ การขอพระอาจารย์ชั้นธัมมาจริยะจากประเทศพม่ามาช่วยสอนพระอภิธรรมปิฎกในเมืองไทย ในปีพ.ศ. ๒๔๙๑ พระพิมลธรรมได้เคยปรึกษากับเอกอัครราชฑูตพม่า เพื่อขอให้ทางพม่าช่วยจัดส่งพระภิกษุ ชั้นธัมมาจริยะที่มีความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎกมายังประเทศไทย พร้อมทั้งจัดส่งพระไตรปิฎกภาษาบาลี อรรถกา และฎีกาฉบับอักษรพม่ามาให้ด้วย ทั้งนี้เพราะท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกันเป็นอย่างมาก
ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ สภาการพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่าจึงได้จัดส่งพระภิกษุระดับบัณฑิต ชั้นธัมมาจริยะ มายังประเทศไทย ๒ รูปคือ ท่านสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ และท่านเตชินทะ ธัมมาจริยะ ธัมมกถิกะ ซึ่งท่านอาจารย์ทั้งสองนี้ได้ช่วยฝังรากฐานวิชาความรู้พระอภิธรรมปิฎกไว้ให้อย่างดี เป็นระเบียบ เป็นหลักฐาน คือได้เขียนและแปลทำเป็นหลักสูตรไว้ให้ได้ใช้ศึกษาสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน
ในปี ๒๔๙๓ ทางพม่าได้จัดส่งสมณฑูต พร้อมทั้งอัญเชิญพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรพม่าพร้อมอรรถกถาและฎีกามายังประเทศไทยอีก ๓ ชุด ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ทางการคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย จึงได้จัดส่งพระสมณฑูตพร้อมทั้งพระไตรปิฎกฉบับอักษรไทย ไปเยี่ยมตอบและมอบให้ประเทศพม่าด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระพิมลธรรมได้ขอให้สภาการพุทธศาสนาสหภาพพม่า จัดส่งพระเถระฝ่ายวิปัสสนาจารย์ ให้มาสอนวิปัสสนาในเมืองไทย ๒ รูปคือ ท่านอูอาสภะ กัมมัฏฐานาจริยะ และท่านอูอินทวํสะ กัมมัฏฐานาจริยะ ซึ่งท่านพระอาจารย์ทั้งสองน ี้ก็ได้ช่วยเป็นกำลังเสริมสร้างการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานให้เจริญขึ้นในประเทศไทย โดยเริ่มเปิดฝึกสอนขึ้นที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ก่อนเป็นแห่งแรก และได้ดำเนินสืบเนื่องเรื่อยมาดังที่ปรากฏผลให้เห็นในปัจจุบัน
แม้งานเหล่านี้จะปรากฏผลให้เห็นว่า ได้สร้างประโยชน์ให้กับการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่างมาก แต่เนื่องจากในยุคนั้นยังมีคนไทยและพระภิกษุอีกไม่น้อยที่ยังมีอคติต่อพม่า จึงเป็นไปได้ว่างานที่พระพิมลธรรมได้ริเริ่มขึ้นนี้ คงมีฆราวาสและพระเถระหลายรูปที่นึกค้านไม่เห็นด้วย แต่ไม่กล้าออกมาต่อต้านขัดขวางโดยตรงในตอนนั้น
านประการที่สอง คือ การส่งพระภิกษุนักเรียนพุทธศาสนบัณฑิตไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เมื่อพระพิมลธรรมได้ประกาศถึงความตั้งใจในการนี้ออกไปในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ปรากฏว่ามีเสียงคัดค้านอย่างหนักหน่วง เพราะเป็นงานใหม่ที่ผู้บริหารคณะสงฆ์ไทยไม่เคยคิดมาก่อน และมองไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ได้อย่างไร แต่พระพิมลธรรมยังคงยืนยันในเจตนาเดิมต่อคณะสังฆมนตรี เพราะเห็นว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อการศาสนา และยังอาจได้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนิกในประเทศต่าง ๆ อีกด้วย (แม้จะมีผู้พบในภายหลังว่า การส่งพระเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศจะให้ทั้งคุณและโทษไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ข้าพเจ้าไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดไว้ ณ ที่นี้ หากท่านสนใจประเด็นดังกล่าวสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ความเข้าใจในเรื่องพระรัตนตรัย จากมุมมองของ ส.ศิวรักษ์ –ผู้เขียน)
เมื่อพระพิมลธรรมซึ่งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีในขณะนั้นได้แสดงเจตจำนง และแจ้งเรื่องไปว่า จะเดินทางไปส่งพระภิกษุสามเณรไปศึกษาวิชาพระพุทธศาสนายังประเทศพม่า อธิบดีกรมการศาสนา (นายบุญช่วย สมพงศ์) กับท่านสังมนตรีในสมัยนั้นต่างพากันคัดค้านโดยอ้างเหตุผลหลายประการ อาทิเช่น
“ประเทศพม่าเพิ่งหลุดจากความเป็นทาสของอังกฤษมาไม่นาน (คือเมื่อ ๔ มกราคม ๒๔๙๑) ส่วนประเทศไทยมีเอกราชสมบูรณ์เป็นประเทศอิสระมาเป็นเวลานาน ตามรูปการณ์นี้แสดงว่า สถาบันของประเทศพม่าย่อมต่ำกว่าของประเทศไทย ไม่ควรไปศึกษาในประเทศที่ต่ำกว่า” ๑
เหตุผลอีกประการที่นำมาอ้างก็คือ “พระพุทธศาสนาของประเทศไทย มีค่าสูงกว่าพระพุทธศาสนาของประเทศใดในโลก ไม่มีชาติใดสู้ได้ การนำนักศึกษาของเราไปศึกษาพระพุทธศาสนาของเขา จึงไม่เป็นการสมควร แต่ควรให้คนอื่นมาศึกษาในประเทศของเราจึงจะถูก ข้อสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การที่ท่านเจ้าคุณสังฆมนตรีนำพระภิกษุไปศึกษาในประเทศพม่าคราวนี้ จะเป็นการเสียสถาบันของประเทศ...” ๒
พระพิมลธรรมมิได้ต่อรองเป็นทำนองหักล้างข้ออ้างของอธิบดีกรมการศาสนามากนัก ท่านปรารภเพียงแต่ว่า การเดินทางในครั้งนี้ได้รับความเห็นชอบจากกรรมสัมปาทิก ของสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพร้อมกันแล้ว และได้เตรียมการทุกอย่าง พร้อมทั้งติดต่อเป็นการส่วนตัวกับผู้รู้จักในประเทศพม่า โดยการช่วยเหลือของอุปฑูตพม่าไว้พร้อมแล้ว จึงยากที่จะระงับการเดินทางได้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-7-31 08:16
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
และท่านยังได้ยืนยันการเดินทางต่ออธิบดีกรมการศาสนาเป็นครั้งสุดท้ายว่า การเดินทางครั้งนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของตำแหน่งและทางราชการแต่อย่างใด
ครั้นเมื่อพระพิมลธรรมได้นำพระภิกษุที่จะเดินทางไปศึกษาต่อ ไปกราบลาท่านสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) เพื่อรับโอวาทและอนุโมทนา แต่แทนที่ท่านสังฆนายกจะให้โอวาทอันไพเราะ ท่านกลับแสดงข้อขัดแย้งที่ท่านมีอยู่ออกมาให้พระหนุ่มที่จะเดินทางไปศึกษาต่อได้ฟังว่า “ท่านพิมลธรรมเอ๋ย ท่านจะเอาดีไปถึงไหน การพระศาสนาในเมืองไทยเราดีที่สุดอยู่แล้ว” ๓
แต่กระนั้นการที่พระพิมลธรรมนำพระภิกษุไปศึกษาต่อยังประเทศพม่านี้ก็ประสบความสำเร็จ และได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่และรัฐบาลพม่าเป็นอย่างดี และในกาลต่อมา ท่านยังได้ขยายขอบเขตในการส่งพระภิกษุไปศึกษาต่อไปยังประเทศอินเดีย ที่สถาบันนวนาลันทา และประเทศศรีลังกา ที่สถาบันธรรมฑูตวิทยาลัย เหล่านี้เป็นต้น นับว่าเป็นการทำงานชนิดท้าทายความคิดของสงฆ์และฆราวาสในยุคนั้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีการส่งภิกษุไปศึกษาต่อยังต่างประเทศที่พระพิมลธรรมได้วางรากฐานไว้ในสมัยนั้น ก็ยังคงดำเนินการสืบเนื่องมาจนปัจจุบันนี้ ทั้งยังได้ขยายขอบเขตออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบยุโรปและอเมริกาอีกด้วย
การริเริ่มตั้งสำนักสอนวิปัสสนาขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
านประการที่สาม คือ การฟื้นฟูวิปัสสนาธุระ คือตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นที่วัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรก แล้วขยายให้กว้างขวางมากขึ้นโดยลำดับไปสู่อำเภอและจังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ
นับตั้งแต่ครั้งที่พระพิมลธรรมได้ส่งพระภิกษุไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เพื่อให้นำความรู้กลับมาช่วยเสริมสร้างงานด้านพุทธศาสนาในประเทศไทย รวมทั้งการที่ท่านได้ขอเชิญพระพม่ามาช่วยทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระร่วมกันนั้น ได้ช่วยให้งานศาสนาในประเทศไทยก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก จนก่อให้เกิดการตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นวัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นต้นมา มีพระเถรานุเถระและคณะอุบาสก–อุบาสิกาสมัครเข้ามาปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก จนเต็มพระวิหารหลวงและระเบียงพระอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน และภายใน ๑ ปีต่อมา ก็สร้างพระเถระวิปัสสนาจารย์ออกมาไม่น้อย ซึ่งวิปัสสนาจารย์เหล่านี้ก็ได้ออกไปช่วยขยายงานพระศาสนาด้านวิปัสสนาธุระให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยได้ไปตั้งสำนักสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ อีกเกือบทั่วประเทศ
การไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา
อกจากงานสำคัญสามประการข้างต้นแล้ว พระพิมลธรรมยังได้บุกเบิกงานพระพุทธศานาด้านอื่น ๆ ที่เป็นการท้าทายความรู้สึกของคนในยุคนั้นอีกไม่น้อย เช่น การที่ท่านไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา ตามความตอนหนึ่งที่เล่าไว้ในหนังสือศึกสมเด็จ ๔ ว่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีองค์การปกครองนั้น รัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันการเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยรัฐบาลได้ใช้กลไกทุกชนิดในการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงอันตราย และความร้ายกาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์
รัฐบาลได้มีหนังสือกราบเรียนสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) เพื่อขอให้ทางคณะสงฆ์ออกกฎห้ามรับคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านสังฆนายกนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะสังฆมนตรี ปรากฏว่าสังฆมนตรีหลายรูปเห็นชอบด้วย และมีมติมอบให้พระพิมลธรรม (อาจ อาสภเถร) สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง รับไปดำเนินการให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของรัฐบาล
แต่วันนั้นพระพิมลธรรมมิได้เข้าร่วมประชุมด้วย ทำให้ท่านตกอยู่ในฐานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกต่อการดำเนินการเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าจะเป็นผลเสียแก่พุทธศาสนามากกว่าผลดี แต่หากปฏิเสธก็เท่ากับเป็นการขัดนโยบายของรัฐบาลและมติคณะสังฆมนตรี เมื่อยังหาทางออกไม่ได้ท่านจึงต้องเก็บเรื่องนี้ไว้ก่อน
อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็ยังคงติดตามเรื่องและทวงถามอยู่เสมอ ๆ ทำให้ท่านสังฆนายกและคณะสังมนตรีอีกหลายรูปต่างร้อนใจไปตาม ๆ กัน และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา เป็นต้นว่าพระพิมลธรรมหัวดื้อบ้าง อวดดีบ้าง เป็นคอมมิวนิสต์บ้าง ฯลฯ จนมีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งไปขอสัมภาษณ์พระพิมลธรรมว่า การที่ท่านไม่ยอมออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชนั้น หมายความว่าท่านไม่กลัวคอมมิวนิสต์ใช่หรือไม่ ท่านก็ตอบว่า ท่านไม่กลัว เพราะท่านเป็นศิษย์พระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งจึงไม่กลัว
เมื่อข่าวถูกตีพิมพ์ออกไป ทำให้รัฐบาลร้อนใจ จนต้องให้ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้นไปพบพระพิมลธรรมด้วยตนเอง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงว่าท่านมีเหตุผลอย่างไรต่อเรื่องนี้ พระพิมลธรรมจึงได้ชี้แจงว่า ที่ท่านไม่กลัวคอมมิวนิสต์นั้น เพราะเชื่อมั่นว่าถ้าเราชาวพุทธเคารพสักการะพระรัตนตรัย ยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ศึกษาให้รู้ให้เข้าใจศาสนา ปฏิบัติตามคำสอนในทางศาสนาอย่างจริงจังแล้ว จะไม่มีสิ่งใดมาทำลายสถาบันที่เราเคารพอยู่ได้เลย ขณะนี้ปัญหาเฉพาะหน้าจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรคนจึงจะรู้และปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องและจริงจัง เมื่อแก้ปัญหานี้ได้แล้วท่านเชื่อว่า ความหวาดกลัวภัยพิบัติต่าง ๆ ก็จะหมดไป และท่านยังเห็นต่อไปว่า หากเราสามารถสอนพวกคอมมิวนิสต์ให้รู้ธรรมะ ให้เลื่อมใสในศาสนาได้ ก็จะเป็นการดี เป็นบุญกุศลด้วย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไม่กลัวคอมมิวนิสต์ และอยากเทศน์ให้คอมมิวนิสต์ฟังด้วย
เมื่อเหตุผลเป็นเช่นนี้ พล.ต.อ. เผ่า จึงกล่าวว่าเห็นด้วยกับท่าน และนำความไปกราบเรียนให้ท่านนายกทราบ ซึ่งเมื่อ จอมพล ป. ได้รับทราบแล้ว ทางรัฐบาลก็ไม่ได้มีการขัดขวางในเรื่องนี้อีก
การเป็นประธานไปร่วมประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกที่ประเทศพม่า
อกจากเหตุการณ์ข้างต้นแล้ว ในสมัยหนึ่ง เมื่อประเทศพม่าตกลงจะประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนาพระไตรปิฎก ที่มหาปาสณาคูหา กรุงย่างกุ้งนั้น ทางราชการพม่าได้อาราธนามายังคณะสงฆ์ไทย ขอให้ส่งพระคณะสังคีติการกะไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนานี้ด้วย แต่เมื่อนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะสังฆมนตรีพิจารณา ที่ประชุมส่วนมากกลับไม่เห็นด้วยในการนี้ เพราะเห็นว่าพม่าเพิ่งจะได้เอกราชใหม่ ๆ การคิดจะกระทำฉัฏฐสังคายนา เป็นการคิดใหญ่เกินตัว บางท่านก็เห็นว่าควรส่งไปร่วมสังเกตการณ์ด้วยแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ไปร่วมประชุมลงมติ มีเพียงพระพิมลธรรมรูปเดียว ที่เห็นว่าควรส่งพระคณะสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมลงมติด้วย เพราะท่านเห็นว่าเป็นเรื่องของพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ไม่ควรนำอคติทางชนชาติและการปกครองมาข้องเกี่ยว
ไปตามลำดับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-7-31 08:16
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องนี้ประเทศพม่าได้เสนอเรื่องไปยังคณะรัฐบาลไทยด้วย เมื่อคณะรัฐบาลมีมติให้คณะสงฆ์ไทยจัดส่งคณะพระสังคีติการกะไปร่วม พระพิมลธรรมจึงต้องรับหน้าที่เป็นประธานนำคณะพระสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมยังประเทศพม่า ทั้งนี้เพราะท่านเป็นเพียงรูปเดียวในคณะสังฆมนตรีที่เห็นว่าควรส่งพระไทยไปร่วมประชุมสังคยานาดังกล่าว พระเถระสังฆมนตรีในสมัยนั้นจึงยกให้งานนี้เป็นภาระของท่านแต่เพียงผู้เดียว
พระพิมลธรรมกับ เอ็ม. อาร์. เอ.
อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่ได้รับนิมนต์ จาก ดร.แฟรงค์ บุชแมน ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานของขบวนการส่งเสริมศีลธรรม (Moral Rearmament : M.R.A.) ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ เอ็ม.อาร์.เอ. เพื่อไปร่วมงานฉลองอายุครบ ๘๐ ปีของดร.แฟรงค์ บุชแมน และฉลองครบรอบ ๑๐ ปี ของเอ็ม.อาร์.เอ. ที่มลรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเสร็จจากการเดินทางไปประชุมดังกล่าวแล้ว
พระพิมลธรรมพร้อมด้วยคณะยังได้เดินทางไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาในมลรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในยุโรปร่วมกับองค์กร เอ็ม.อาร์.เอ. อีกด้วย
ถือได้ว่าท่านเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้เดินทางไปประกาศพุทธธรรมยังประเทศเหล่านั้น เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีพระสงฆ์ไทยรูปใดเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่าง ๆ ดังกล่าวมาก่อนเลย นอกจากนี้พระพิมลธรรมยังเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้เข้าพบองค์พระสันตะปาปา ประมุขแห่งศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ณ กรุงวาติกัน เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี และหาทางแลกเปลี่ยนศาสนฑูตระหว่างศาสนาต่อกันและกันอีกด้วย
หลังจากการเดินทางในครั้งนั้น พระพิมลธรรมก็ได้รับนิมนต์จากองค์กร เอ็ม.อาร์. เอ. มาอีกเกือบทุกปีให้ไปร่วมเผยแผ่ศีลธรรมในประเทศต่าง ๆ ด้วยกัน ซึ่งท่านสามารถหาโอกาสเดินทางไปร่วมกับเอ็ม.อาร์. เอ. ได้อีก ๒–๓ ครั้ง ซึ่งท่านได้เล่าว่า “ปรากฏว่า สำหรับพระสงฆ์ไทยนั้น เขานิมนต์ไปร่วมเผยแผ่แต่ข้าพเจ้ารูปเดียว และการนิมนต์นั้น เขานิมนต์มาเกือบทุกปี แต่เราไม่มีโอกาสที่จะไปร่วมทุกปี” ๖
อนึ่งการเดินทางไปเผยแผ่ศีลธรรมร่วมกับ เอ็ม.อาร์.เอ. เป็นไปอย่างที่ไม่ยึดถือศาสนาไหนของใครว่าสำคัญ แต่ให้ยึดถือธรรม ๔ ประการเหมือนกันคือ ๑. จริงที่สุด ๒. บริสุทธิ์ที่สุด ๓. อดทนที่สุด ๔. เสียสละที่สุด ซึ่งใกล้เคียงกับฆราวาสธรรม ๔ ข้อของศาสนาพุทธ คือ ๑. สัจจะ ๒. ทมะ ๓. ขันติ ๔. จาคะ จึงเป็นโอกาสให้ท่านเดินทางไปทำงานร่วมกับเขาได้โดยไม่ขัดข้อง เพราะท่านเห็นว่าการที่ไปเผยแผ่ศีลธรรมร่วมกับคณะบุคคลากร เอ็ม.อาร์.เอ. นั้น ก็เหมือนกับการไปเผยแผ่ธรรมในพุทธศาสนานั่นเอง ซึ่งท่านก็ได้กล่าวถึงความรู้สึกของท่านที่มีต่อการทำงานร่วมกับองค์กร เอ็ม.อาร์.เอ. ไว้ว่า “...เราจึงไปร่วมกันได้อย่างสนิทชิดชอบเหมือนอย่างพี่น้องตลอดกาล” ๗
การที่พระพิมลธรรมได้ทุ่มเทสติปัญญา แรงกาย แรงใจ ในการพัฒนางานด้านพระพุทธศาสนาเหล่านี้จนประสบความสำเร็จดังที่ปรากฏอยู่ กลับกลายเป็นเหตุให้เกิดความไม่เข้าใจกันกับพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่บางท่าน และคณะสังฆมนตรีบางรูป อันเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้ง การใส่ร้ายป้ายสี และเหตุการณ์ที่ตามมาคุกคามพระพิมลธรรมได้อย่างไม่น่าเชื่อ คือ ถึงกับทำให้ท่านต้องถูกปลดออกจากสมณศักดิ์ โดยเฉพาะงานสำคัญประการที่สาม คือการริเริ่มตั้งสำนักวิปัสสนาขึ้นในวัดมหาธาตุนั้น ได้กลายเป็นข้ออ้างที่ฝ่ายตรงข้ามใช้กล่าวหาท่านว่า มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ คือมีการซ่องสุมกำลังเพื่อก่อการบ่อนทำลายประเทศชาติ จนเป็นเหตุให้ท่านต้องถูกจับกุมตัวไปคุมขังไว้ ณ กรมตำรวจเป็นเวลาถึง ๕ พรรษา
ซึ่งก่อนหน้าที่เหตุการณ์จะดำเนินไปจนถึงขั้นนั้น ก็ได้มีเสียงติฉินนินทาท่านนานัปการ จากบรรดาฆราวาสและพระเถระบางรูปที่มีจิตริษยาและมีความเห็นขัดแย้งกับท่าน มีเสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนตำแหน่ง หรือลาออกจากตำแหน่งเสีย ฯลฯ เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งท่านได้รับลิขิตจากสมเด็จสังฆนายกในสมัยนั้น คือ สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ที่ตำหนิการทำงานของท่านอย่างรุนแรง ทั้งยังแนะนำให้ท่านลาออกจากคณะสังฆมนตรีเสีย ท่านจึงได้ตัดสินใจไปพบสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) สังฆนายก เพื่อเรียนชี้แจงเรื่องราวการทำงาน และเรื่องต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริงนานถึง ๔ ชั่วโมง
แต่การณ์กลับกลายเป็นว่าตลอดเวลา ๔ ชั่วโมง ที่ท่านพยายามเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) สังฆนายกนั้นกลับไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด หนำซ้ำอาจจะยิ่งเพิ่มไม่พอใจ ไม่เข้าใจกันให้มากขึ้น ดังคำพูดของสมเด็จพระวันรัตที่กล่าวกับพระพิมลธรรม หลังจากที่คุยกันมานานถึง ๔ ชั่วโมงว่า “ท่านพิมลธรรมนี่ คุยกันตั้งแต่ ก–ฮ หาช่องลงกันไม่ได้สักตัวเลย” ๘
เมื่อกลายเป็นเช่นนี้พระพิมลธรรมจึงต้องยึดอุเบกขาธรรมเป็นที่ตั้ง ด้วยการวางเฉยต่อเสียงติฉินนินทาทั้งปวง สิ่งใดจะเกิดก็คงต้องปล่อยให้เกิด และท่านยังคงมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ พัฒนางานด้านศาสนาเหล่านี้ต่อไป โดยไม่สนใจหรือหวั่นไหวต่อคำคัดค้านหรือวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ด้วยเชื่อว่างานเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยในอนาคต และยังผลให้กิจการพระพุทธศาสนาที่มีอยู่แล้วให้เจริญวัฒนายิ่งขึ้น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-7-31 08:17
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การเปลี่ยนแปลงทางอำนาจในคณะสงฆ
อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก และได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงสังฆนายก และคณะสังฆมนตรีชุดใหม่ โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก และได้เสนอชื่อคณะสังฆมนตรีชุดใหม่ต่อสมเด็จพระสังฆราชฯ
ซึ่งในคณะสังฆมนตรีชุดใหม่นั้นไม่ได้มีชื่อของพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) รวมอยู่ด้วย ทั้งที่ท่านมีผลงานและเกียรติคุณมากมาย ตลอดจนมีอายุยังไม่มาก ยังพร้อมที่จะบริหารงานต่อไปได้อีกหลายปี (ขณะนั้นท่านมีอายุ ๕๗ ปี) นับได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจภายในคณะสงฆ์ในครั้งนี้ ทำให้พระพิมลธรรมได้พ้นออกจากตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง สมดังพระประสงค์ขององค์สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่นี้
เมื่อท่านไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางอำนาจใด ๆ ในคณะสังฆมนตรีแล้ว เหตุการณ์ก็น่าจะยุติลงเพียงเท่านั้น แต่เป้าหมายแท้จริงของผู้มีอำนาจระดับสูงในคณะสงฆ์ มิใช่เพียงเพื่อกันพระพิมลธรรมออกจากตำแหน่งสังฆมนตรีเท่านั้น หากแต่มุ่งที่จะกำจัดออกไปจากวงการสงฆ์เลยทีเดียว ดังที่เคยมีพระภิกษุที่เคารพรักและนับถือพระพิมลธรรมได้มากราบเรียนท่านว่า สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ได้ทรงตั้งพระทัยและปรารภไว้ว่า “จะทำพระพิมลธรรมให้เป็นพระมหาอาจ และจะทำพระมหาอาจให้เป็นนายอาจในที่สุด” ๙
แม้พระพิมลธรรมจะได้รับทราบความข้อนี้แล้ว แต่ท่านกลับรู้สึกเฉย ๆ เพราะท่านมีความมั่นใจอยู่เสมอในพระพุทธพจน์ที่ว่า “หมู่สัตว์ที่มีชีวิตทุกจำพวก มีกรรมเป็นของแห่งตน” และได้พิจารณาเห็นว่า เมื่อเรารับสนองกรรมใดก็ตามที่คู่ควรกัน กรรมอันนั้นก็จะหมดสิ้นอายุกันเสียที ถ้าเรามีเจตนาหลบเลี่ยงไม่ยอมรับผลกรรมนั้นแต่โดยดีในครั้งนี้ ครั้งต่อไปก็จะต้องรับผลสนองกรรมนั้นอีกจนได้ ท่านจึงไม่สนใจที่จะป้องกันตัว หรือระวังอะไรเป็นพิเศษ ยังคงมุ่งหน้าปฏิบัติภารกิจที่ยังมีอยู่ต่อไป
อมาไม่นานแผนการที่มุ่งหมายจะกำจัดพระพิมลธรรมก็เริ่มปรากฏให้เห็นจริงดังคาด กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๐๓ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อุฏฺ€ายีมหาเถร สังฆนายก ได้ทำหนังสือกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช กิตฺติโสภณมหาเถร มีความว่า พระพิมลธรรม วัดมหาธาตุฯ ได้เสพเมถุนทางเวจมรรคกับศิษย์ภายในวัด และทำอัชฌาจารปล่อยสุกกะ ทั้งนี้ทางการตำรวจสันติบาล มีรองผู้บังคับการตำรวจสันติบาล พร้อมด้วยผู้กำกับการตำรวจสันติบาล ได้นำพยานในฐานะผู้เสียหาย ๕ คนมาให้คำยืนยันรับรองคำให้การในคดีดังกล่าวต่อหน้ากรรมการสงฆ์ทีละคน พร้อมกับได้จดบันทึกและลงนามเป็นหลักฐานไว้พร้อมกันนี้แล้ว คณะกรรมการสงฆ์จึงลงความเห็นว่า พระพิมลธรรมต้องศีลวิบัติ ขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ไม่สมควรทรงเพศเป็นบรรพชิต และไม่สมควรดำรงสมณศักดิ์ต่อไป พร้อมกับขอประทานเสนอให้สมเด็จพระสังฆราช ทรงจัดการในชั้นปกครองต่อไป
โดยไม่คาดฝัน พระพิมลธรรมก็ได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราช กิตฺติโสภณมหาเถร ลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๐๓ ให้ท่านออกเสียจากสมณเพศภายใน ๑๕ วัน ดังมีข้อความว่า “..คณะกรรมการฝ่ายสงฆ์เห็นว่า ท่านถึงศีลวิบัติ ขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ไม่สมควรทรงเพศบรรพชิตในพระพุทธศาสนา และไม่สมควรดำรงสมณศักดิ์ต่อไป ...ขอให้ท่านพิจารณาตนด้วยตน ขอให้ท่านออกเสียจากสมณเพศและหลบหายตัวไปเสีย ...ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่ปรากฏในลิขิตนี้” ๑๐
หลังจากได้รับลิขิตดังกล่าว พระพิมลธรรมตลอดจนคณะสงฆ์วัดมหาธาตุ จึงได้ทำหนังสือกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช และผู้มีอำนาจฝ่ายบ้านเมือง เพื่อขอความเป็นธรรม และขอโอกาสชี้แจงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าวหลายครั้ง แต่กลับไม่เคยได้รับโอกาสแก้ข้อกล่าวหา หรือมีการสอบสวนรับฟังข้อเท็จจริงแต่อย่างใด
จนกระทั่งวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๓ สมเด็จพระสังฆราชทรงอาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๖ แห่งสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้มีพระบัญชาให้พระพิมลธรรมพ้นออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ฐานประพฤติผิดอย่างร้ายแรง
และในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๐๓ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) สังฆนายกในสมัยนั้นได้เรียกคณะสังฆมนตรีมาประชุมเพื่อลงมติให้ถอดพระพิมลธรรมและพระศาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส ออกจากสมณศักดิ์ และได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เสนอให้ดำเนินการถอดพระพิมลธรรมออกจากสมณศักดิ์ ในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๐๓
ต่อมาวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีถอดพระพิมลธรรม ออกจากสมณศักดิ์ มีความว่า “ด้วยพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งคณะสังฆมนตรีได้พิจารณาแล้วมีมติว่า ไม่สมควรจะได้ดำรงอยู่ในสมณศักดิ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ถอดพระพิมลธรรมออกเสียจากสมณศักดิ์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป...”
เมื่อเหตุการณ์ดำเนินมาถึงขั้นนี้แล้ว พระพิมลธรรมจึงจำต้องยอมรับปฏิบัติตามพระบรมราชโองการนั้น โดยไม่ได้ขัดขืนแต่อย่างใด
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-7-31 08:25
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ปูมบันทึกพระพิมลธรรม
http://www.mcukk.com/buddhasilpa/read.php?select=16
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...