ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ'โลหะผสม'ในวงการพระเครื่องพระบูชา
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1500
ตอบกลับ: 1
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ'โลหะผสม'ในวงการพระเครื่องพระบูชา
[คัดลอกลิงก์]
Marine
Marine
ออฟไลน์
เครดิต
2853
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2016-5-11 09:23
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ'โลหะผสม'ในวงการพระเครื่องพระบูชา: ปกิณกะพระเครื่องวิจิตรปิยะศิริโสฬส (แพะ สงขลา)
มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโลหะผสมในวงการพระเครื่อง ที่ผู้เขียนได้พยายามหาความกระจ่างมาโดยตลอด เกี่ยวกับโลหะบางชนิดที่วงการพระเครื่องเรียกขานกัน เนื่องจากในสมัยก่อนที่ยังไม่ได้เข้าวงการพระ ผู้เขียนเคยได้ยินว่า มีธาตุโลหะอัลปาก้าทองฝาบาตร โลหะขันลงหิน ฯลฯ แต่ก็ไม่เข้าใจ มาได้ยินการเรียกชื่อโลหะเหล่านี้อีกครั้ง เมื่อได้เข้ามาสัมผัสวงการพระ และหาผู้ที่สามารถคลี่คลายข้อข้องใจนี้ไม่ได้ เพิ่งมาได้รับความกระจ่างแจ้งเมื่อได้พูดคุยกับ คุณศิริชัยยิ้มตระการ เจ้าของโรงงานอรุณชัยการช่าง และบริษัท อรุณชัยเมดดัลเลี่ยน จำกัด จ.ชลบุรีโดยท่านได้ให้ข้อมูลว่า
โลหะทองเหลือง เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี โดยมีสัดส่วนทองแดง ๗๕ เปอร์เซ็นต์ สังกะสี ๒๕ เปอร์เซ็นต์
ส่วน ทองฝาบาตร คือทองเหลืองที่ผ่านการปั๊ม (พระที่ทำด้วยทองเหลืองด้วยกรรมวิธีปั๊ม) เพียงแต่เขามาเรียกให้โก้ๆ เท่านั้นเองเพื่อจะได้จำหน่ายพระในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากคนทั่วไปไม่รู้ว่า แท้ที่จริงก็คือทองเหลืองล้วนๆ นั่นเอง
สำหรับโลหะที่เรียกว่าขันลงหิน นั้นเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก โดยมากโลหะขันลงหินจะนิยมใช้ทำระฆัง เนื่องจากเวลาเคาะเสียงจะดังกังวาน ไพเราะเสนาะหู แต่มีข้อเสีย คือ ใช้เชื่อมไม่ได้เนื่องจากโลหะทุกชนิดที่ผสมด้วยดีบุกจะแตก เมื่อมีการเชื่อมเกิดขึ้น ดังนั้นระฆังส่วนมากท่อนล่างจะเป็นขันลงหิน ส่วนท่อนบนจะเป็นทองเหลือง
โลหะอีกชนิดหนึ่งที่วงการพระพูดถึงเสมอคือ นวโลหะ ตามสูตรโบราณ หมายถึงโลหะ ๙ ชนิดที่หลอมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ประกอบด้วยโลหะ ๕ ชนิด เรียนว่าเบญจโลหะ ได้แก่ เหล็ก ปรอท ทองแดง เงิน ทองคำ (ทองเป็นเกล็ดหรือทองเป็นก้อนซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ) ถ้าเพิ่มอีก ๒ ชนิด คือ เจ้าน้ำเงิน (แร่ผสมชนิดหนึ่งมีพลวงเป็นส่วนผสมหลักสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี รวมเป็น ๗ ชนิด เรียกว่า สัตตโลหะ (สัตตะ=เจ็ด) และถ้าเพิ่มอีก๒ ชนิด คือ ชิน (โลหะผสมชนิดหนึ่งประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยมใช้ทำพระเครื่อง) และบริสุทธิ์ (คือทองแดงบริสุทธิ์) รวมเป็น ๙ ชนิด เรียกว่า นวโลหะ (นวะ=เก้า)
พระเครื่องที่สร้างด้วย เนื้อนวโลหะ แบบโบราณนั้นสร้างได้ยากมาก เพราะส่วนมากผู้สร้างพระมักจะหาโลหะสำคัญบางชนิดไม่ได้ เช่น ชิน (ดีบุกผสมกับตะกั่ว) เจ้าน้ำเงิน (คนส่วนมากไม่ทราบว่าเป็นโลหะอะไร) จึงทำให้ยุคหลังๆ การสร้างพระเนื้อนวโลหะ มักจะไม่เต็มสูตร
เหรียญเนื้อนวโลหะ ที่เรียกกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ผสมด้วยโลหะ๙ ชนิดแบบสมัยก่อน อย่างเช่น เจ้าน้ำเงิน ก็ไม่มีใครทราบว่าเป็นโลหะอะไร มีลักษณะแบบไหน ถามหาผู้รู้ก็ไม่มีใครทราบ
นอกจากนี้ส่วนผสมหลัก คือ ทองคำ ก็มีราคาแพงมากเวลาทำเหรียญเนื้อนวโลหะโดยทั่วไปจึงไม่มีใครใส่ทองคำกันแล้ว
ดังนั้นทุกวันนี้เหรียญเนื้อนวโลหะจะมีส่วนผสมเพียง๓ อย่างเท่านั้น คือ ทองแดง ๘๕ เปอร์เซ็นต์ เงิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ สังกะสี ๕ เปอร์เซ็นต์
ส่วนโลหะที่เรียกกันว่าอัลปาก้า นั้น คือโลหะผสมระหว่างทองแดงกับนิกเกิลโดยยึดสัดส่วนเหมือนทองเหลืองคือ ทองแดง๗๕ เปอร์เซ็นต์ นิเกิล ๒๕ เปอร์เซ็นต์
สำหรับเหรียญพระที่ทำด้วยเนื้ออัลปาก้านั้นทางโรงงานสมัยใหม่จะเรียกว่าเหรียญนิกเกิล
อย่างไรก็ตามผู้เขียนยังไม่สิ้นความสงสัย เนื่องจากเคยได้ยินมาว่ามี โลหะอัลปาก้าเปลือย หรือเนื้อช้อนส้อมอีกชนิดหนึ่ง จึงได้ถามคุณศิริชัยว่า คือเนื้อโลหะชนิดใด ได้รับตอบว่า คือ โลหะผสมระหว่างทองแดง ๗๕ เปอร์เซ็นต์ นิกเกิล ๒๕ เปอร์เซ็นต์ โรงงานปั๊มพระสมัยก่อน เวลาปั๊มพระแล้วแม่พิมพ์มักจะแตกบ่อยๆ หากมีส่วนผสมของนิกเกิลมากเท่าใด เนื้ออัลปาก้าจะแข็งมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงได้ลดสัดส่วนของนิกเกิลลงเหลือ ๑๗ เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้โลหะผสม (อัลปาก้า) นิ่มขึ้น เป็นการรักษาแม่พิมพ์ให้ทนทานยิ่งขึ้น จะได้ปั๊มเหรียญจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม
คุณศิริชัยบอกด้วยว่า โลหะอัลปาก้า หากมีทองแดงเพิ่มมากขึ้นจะทำให้อัลปาก้ามีสีออกเหลืองมากยิ่งขึ้นตามสัดส่วนของทองแดง จึงป็นที่มาของ เนื้อช้อนส้อม หรือ อัลปาก้าเปลือย โดยปกติจะเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดง๘๓ เปอร์เซ็นต์ กับนิกเกิล ๑๗ เปอร์เซ็นต์
สมัยก่อนวงการพระยังไม่นิยมเหรียญพระเนื้ออัลปาก้าเปลือยเพราะเนื้อเหรียญออกเหลืองๆ ไม่สวยงามจึงแก้ไขด้วยการนำไปชุบนิกเกิล ทำให้เหรียญมีสีขาวแวววาวน่าดูขึ้น
มาถึงสมัยนี้ความนิยมเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากเหรียญเนื้ออัลปาก้าเปลือยมีความคมชัดลึกมากกว่าเหรียญเนื้ออัลปาก้าชุบนิกเกิล อีกทั้งในการพิจารณาพระแท้-เก๊ เหรียญเนื้ออัลปาก้าเปลือยจะดูได้ง่ายกว่าเหรียญเนื้ออัลปาก้าชุบนิกเกิลจึงทำให้ทุกวันนี้ นักสะสมเหรียญพระเปลี่ยนมานิยมเหรียญเนื้ออัลปาก้าเปลือยมากกว่าเหรียญเนื้ออัลปาก้าชุบนิกเกิล การเช่าบูชาเหรียญเนื้ออัลปาก้าเปลือย จึงมีราคาค่านิยมสูงกว่าเหรียญเนื้ออัลปาก้าชุบนิกเกิลเช่น เหรียญหลวงพ่อทวด วัดช้างให้รุ่นเลื่อนสมณศักดิ์ ปี ๒๕๐๘ และ เหรียญหลวงพ่อทวด วัดช้างให้พิมพ์พุทธซ้อน ปี ๒๕๐๙
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนที่ได้ฐานข้อมูลมาจากคุณศิริชัย ยิ้มตระการ เจ้าของโรงงานอรุณชัยการช่าง และบริษัท อรุณชัยเมดดัลเลี่ยน จำกัด จ.ชลบุรีท่านผู้อ่านหรือนักสะสมเหรียญท่านอื่นๆ อาจจะมีความคิดเห็นแตกต่างไปจากนี้ก็ได้
ที่มา
http://www.komchadluek.net/detai ... B8%8A%E0%B8%B2.html
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
2
#
โพสต์ 2016-5-11 17:58
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...