ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2082
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

นิทานเซน

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Marine เมื่อ 2016-2-13 19:47

ระหว่าง รู้ กับ ทำ นั้นช่างห่างไกลกันเสียเหลือเกิน

  1. <b><font face="Tahoma"><font color="#008000">สารบัญนิทานเซน </font></font></b>
  2. <b><font face="Tahoma"><font color="#008000">
  3. </font></font></b>
  4. <a href="http://baanjompra.com/webboard/forum.php?mod=redirect&goto=findpost&ptid=9088&pid=96595&fromuid=1493" target="_blank">1 น้ำชาล้นถ้วย</a>                                                                                                                                                                                                             <div><a href="http://baanjompra.com/webboard/forum.php?mod=redirect&goto=findpost&ptid=9088&pid=96622&fromuid=1493" target="_blank">2.เพชรที่หาได้จากโคลนในถิ่นสลัม</a>     </div><div><a href="http://baanjompra.com/webboard/forum.php?mod=redirect&goto=findpost&ptid=9088&pid=97018&fromuid=1493" target="_blank">3.อย่างนั้นหรือ</a></div>
คัดลอกไปที่คลิปบอร์ด




จะทยอยนำมาลงให้อ่านกันทุกๆวันนะครับ






2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-2-5 06:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Marine เมื่อ 2016-2-5 06:32




เรื่องที่หนึ่ง เรื่อง น้ำชาล้นถ้วย
อาจารย์ แห่งนิกายเซ็น ชื่อ น่ำอิน เป็นผู้มีชื่อเสียงทั่วประเทศ และ โปรเฟสเซอร์คนหนึ่ง  เป็นโปรเฟสเซอร์ที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศ ไปหา อาจารย์น่ำอิน เพื่อขอศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างเซ็น
ในการต้อนรับ ท่านอาจารย์ น่ำอิน ได้รินน้ำชา ลงในถ้วย รินจนล้นแล้วล้นอีก โปรเฟสเซอร์ มองดูด้วยความฉงน ทนดูไม่ได้ ก็พูดโพล่งออกไปว่า "ท่านจะใส่มัน ลงไปได้อย่างไร" ประโยคนี้ มันก็แสดงว่า โมโห
ท่านอาจารย์ น่ำอิน จึงตอบว่า "ถึงท่านก็เหมือนกัน อาตมาจะใส่อะไร ลงไปได้อย่างไร เพราะท่านเต็มอยู่ด้วย opinions และ speculations ของท่านเอง" คือว่า เต็มไปด้วยความคิด ความเห็น ตามความยึดมั่นถือมั่น ของท่านเอง และมีวิธีคิดนึก คำนวณ ตามแบบของท่านเอง สองอย่างนี้แหละ มันทำให้เข้าใจพุทธศาสนาอย่างเซ็นไม่ได้ เรียกว่า ถ้วยชามันล้น
ท่านครูบาอาจารย์ทั้งหลาย จะเตือนสติเด็กของเราให้รู้สึกนึกคิด เรื่องอะไรล้น อะไรไม่ล้น ได้อย่างไร ขอให้ช่วยกันหาหนทาง ในครั้งโบราณ ในอรรถกถา ได้เคยกระแหนะกระแหนถึงพวกพราหมณ์ที่เป็นทิศาปาโมกข์ ต้องเอาเหล็กมาตีเป็นเข็มขัด คาดท้องไว้ เนื่องด้วยกลัวท้องจะแตกเพราะวิชาล้น นี้จะเป็นเรื่องที่มีความหมายอย่างไร ก็ลองคิดดู พวกเรา อาจล้น หรือ อัดอยู่ด้วยวิชาทำนองนั้น จนอะไรใส่ ลงไปอีกไม่ได้ หรือ ความล้นนั้น มันออกมาอาละวาด เอาบุคคลอื่น อยู่บ่อยๆ บ้างกระมัง
แต่เราคิดดูก็จะเห็นได้ว่า ส่วนที่ล้น นั้น คงจะเป็นส่วน ที่ใช้ไม่ได้ จะจริงหรือไม่ ก็ลองคิด ส่วนใดที่เป็นส่วนที่ล้น ก็คงเป็นส่วนที่ใช้ไม่ได้ ส่วนที่ร่างกายรับเอาไว้ได้ ก็คงเป็นส่วนที่มีประโยชน์ ฉะนั้น จริยธรรมแท้ๆ ไม่มีวันจะล้น โปรดนึกดูว่า จริยธรรม หรือ ธรรมะแท้ๆ นั้น มีอาการล้นได้ไหม ถ้าล้นไม่ได้ ก็หมายความว่า สิ่งที่ล้นนั้น มันก็ไม่ใช่จริยธรรม ไม่ใช่ธรรมะ ล้นออกไป เสียให้หมด ก็ดีเหมือนกัน หรือ ถ้าจะพูดอย่างลึก เป็นธรรมะลึก ก็ว่า จิตแท้ๆ ไม่มีวันล้น อ้ายที่ล้นนั้น มันเป็นของปรุงแต่งจิต ไม่ใช่ตัวจิตแท้ มันล้นได้มากมาย แต่ถึงกระนั้น เราก็ยังไม่รู้ว่า จิตแท้คืออะไร อะไรควรเป็น จิตแท้ และอะไรเป็นสิ่ง ที่ไม่ใช่จิตแท้ คือ เป็นเพียง ความคิดปรุงแต่ง ซึ่งจะล้นไหลไปเรื่อย นี่แหละ รีบค้นหาให้พบ สิ่งที่เรียกว่า จิตจริงๆ กันเสียสักที ก็ดูเหมือนจะดี
ในที่สุด ท่านจะพบตัวธรรมะอย่างสูง ที่ควรแก่นามที่จะเรียกว่า จิตแท้ หรือ จิตเดิมแท้ ซึ่งข้อนั้น ได้แก่ ภาวะแห่งความว่าง จิตที่ประกอบด้วย สภาวะแห่งความว่างจาก "ตัวกู-ของกู" นั้นแหละ คือ จิตแท้ ถ้าว่างแล้ว มันจะเอาอะไรล้น นี่เพราะเนื่องจากไม่รู้จักว่า อะไรเป็นอะไร จึงบ่นกันแต่เรื่องล้น การศึกษาก็ถูกบ่นว่า ล้น และที่ร้ายกาจที่สุด ก็คือ ที่พูดว่า ศาสนานี้ เป็นส่วนที่ล้น จริยธรรมเป็นส่วนล้น คือส่วนที่เกิน คือ เกินต้องการ ไม่ต้องเอามาใส่ใจ ไม่ต้องเอามาสนใจ เขาคิดว่า เขาไม่ต้อง เกี่ยวกับศาสนา หรือธรรมะเลย เขาก็เกิดมาได้ พ่อแม่ก็มีเงินให้ เขาใช้ให้เขาเล่าเรียน เรียนเสร็จแล้ว ก็ทำราชการ เป็นใหญ่เป็นโต ได้โดยไม่ต้อง มีความเกี่ยวข้อง กับศาสนาเลย ฉะนั้น เขาเขี่ยศาสนา หรือ ธรรมะ ออกไปในฐานะ เป็นส่วนล้น คือ ไม่จำเป็น นี่แหละ เขาจัดส่วนล้น ให้แก่ศาสนาอย่างนี้ คนชนิดนี้ จะต้องอยู่ ในลักษณะที่ ล้นเหมือน โปรเฟสเซอร์คนนั้น ที่อาจารย์น่ำอิน จะต้อง รินน้ำชาใส่หน้า หรือ ว่ารินน้ำชาให้ดู โดยทำนองนี้ทั้งนั้น เขามีความเข้าใจผิดล้น ความเข้าใจถูกนั้นยังไม่เต็ม มันล้นออกมา ให้เห็น เป็นรูปของ มิจฉาทิฎฐิ เพราะเขาเห็นว่า เขามีอะไรๆ ของเขาเต็มเปี่ยมแล้ว ส่วนที่เป็นธรรมะ เป็นจริยธรรมนี่ เข้าไม่จุ อีกต่อไป ขอจงคิดดูให้ดีเถอะว่า นี้แหละ คือ มูลเหตุที่ทำให้จริยธรรม รวนเร และ พังทลาย ถ้าเรามีหน้าที่ ที่จะต้องผดุงส่วนนี้แล้ว จะต้องสนใจเรื่องนี้





ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-2-5 18:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



เรื่องที่สอง เรื่อง เพชรที่หาได้จากโคลนในถิ่นสลัม โดย พุทธทาสภิกขุ

อาตมา ต้องขอใช้คำอย่างนี้ เพราะไม่ทราบว่า จะใช้คำอย่างไรดี ที่จะให้รวดเร็ว และสั้นๆ ท่านจะรู้สึกอย่างไร ก็ตามใจ ที่จะต้อง ใช้คำอย่างนี้ "เพชรที่หาพบจากโคลนในถิ่นสลัม" เรื่องนี้ก็เล่าว่า

อาจารย์แห่งนิกายเซ็นชื่อ กูโด เป็นอาจารย์ของพระจักรพรรดิแห่งประเทศญี่ปุ่นในสมัยนั้น ท่านอาจารย์องค์นี้ชอบเที่ยวไปไหนคนเดียวโดดๆ อย่างนักบวชเร่ร่อนแบบปริพาชก ไม่ค่อยได้อยู่กับวัดวาอาราม ครั้งหนึ่ง ท่านเดินทางไปยังตำบลอีโด เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งของท่านที่จะมีแก่คนอื่น ท่านได้ผ่านตำบล ๆ หนึ่ง

เย็นวันนั้น ฝนก็ตกมา ท่านจึงเปียกปอนไปหมดและรองเท้าของท่านที่ใช้ เป็นรองเท้าทำด้วยฟาง เพราะ นักบวชนิกายเซ็นใช้รองเท้าฟางถักทั้งนั้น เมื่อฝนตกตลอดวันรองเท้าก็ขาดยุ่ยไปหมด ท่านจึงเหลียวดูว่าจะมีอะไรที่ไหน จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้บ้าง ก็พบกระท่อมน้อยๆ แห่งหนึ่งในถิ่นใกล้ๆ นั้น เห็นรองเท้าฟางมีแขวนอยู่ด้วย ก็คิดจะไปซื้อสักคู่หนึ่ง เอาแห้งๆ มาใส่ เพื่อเดินทางต่อไป หญิงเจ้าของบ้านนั้น เขาถวายเลยไม่ต้องซื้อ และเมื่อเห็นว่า เปียกปอนมาก ก็เลยขอนิมนต์ให้หยุดอยู่ก่อน เพราะฝนตกจนค่ำ ท่านก็เลยต้องพักอยู่ที่บ้านนั้น ด้วยคำของร้องของหญิงเจ้าของบ้าน

หญิงเจ้าของบ้าน เรียกเด็กๆ และญาติๆ มาสนทนาด้วยท่านอาจารย์; ท่านได้สังเกตเห็นว่า สกุลนี้เป็นอยู่ด้วยความข้นแค้นที่สุด ก็เลยขอร้องให้บอกเล่าตรงๆ โดยไม่ต้องเกรงใจว่าเรื่องมันเป็นอย่างไรกัน หญิงเจ้าของบ้านก็บอกว่า

"สามีของดิฉัน เป็นนักการพนัน แล้วก็ดื่มจัด ถ้าเผอิญเขาชนะ เขาก็ดื่มมันจนไม่มีอะไรเหลือ ถ้าเขาแพ้ เขาก็ยืมเงินคนอื่น เล่นอีก เพิ่มหนี้สินให้มากขึ้น เขาไม่เคยมาบ้านเลย เป็นวันเป็นคืน หรือหลายวัน หลายคืน ก็ยังมี ดิฉันไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี"

ท่านอาจารย์กูโดว่า ไม่ต้องทำหรอก ฉันจะช่วยทำ แล้วก็ว่า

“นี่ ฉันมีเงินมาบ้าง ช่วยให้ซื้อเหล้าองุ่น มาให้เหยือกใหญ่ๆ เหยือกหนึ่ง แล้วก็อะไรๆ ที่ดีๆ ที่น่ากิน เอามาให้เป็นจำนวนเพียงพอ เอามาวางที่นี่ แล้วก็กลับไปทำงานตามเรื่องเถอะ ฉันจะนั่งอยู่ที่นี่ ตรงหน้าที่บูชา”

ข้อนี้ หมายความว่า บ้านนั้นก็มีหิ้งบูชาพระ เมื่อผู้ชายคนนั้น กลับมาบ้านเวลาดึก เขาก็เมา เขาก็พูด ตามประสาคนเมา นี่คำนี้ จะแปลว่ายังไง Hey! wife; ก็ต้องแปลว่า เมียโว้ย! มาบ้านแล้วโว้ย; มีอะไรกินบ้างโว้ย ตัวหนังสือเขาเป็นอย่างนี้ ซึ่งมันก็เหมือนๆ กับในเมืองไทยเรา นี้เอง นี่ลองคิดดูว่า คนๆ นี้ จะเป็นอย่างไร

ฉะนั้น กูโด ท่านอาจารย์ที่นั่งที่หน้าหิ้งพระก็ออกรับหน้าบอกว่า

“ฉันได้มีทุกอย่าง สำหรับท่าน เผอิญฉันมาติดฝนอยู่ที่นี่ ภรรยาของท่านเขาขอร้องให้ฉันพัก ค้างฝน ที่นี่ตลอดคืนนี้ ฉันก็ควรจะมีส่วนตอบแทนท่านบ้าง ฉะนั้น ขอให้ท่านบริโภคสิ่งเหล่านี้ตามชอบใจ

ชายคนนั้นดีใจใหญ่ มีทั้งเหล้าองุ่น มีทั้งปลา มีทั้งอาหารต่างๆ เขาก็ดื่มและรับประทาน จนนอนหลับไปไม่รู้สึกตัวอยู่ตรงข้างๆ เข่าของท่านอาจารย์ กูโด ที่นั่งสมาธิ ตลอดคืนนั้น เหมือนกัน

ทีนี้ พอตื่นขึ้นมาตอนเข้า ชายคนนั้นก็ลืมหมด ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เพราะเมื่อคืนนี้เขาเมาเต็มที่ และถามว่า ท่านเป็นใคร  และจะไปข้างไหน ท่านอาจารย์ ก็ตอบว่า

อ๋อ! อาตมาคือ กูโด แห่งนครเกียวโต กำลังจะไปธุระที่ตำบลอิโด ตามเรื่องที่ว่ามาแล้ว เมื่อกี้นี้

ถ้อยคำอย่างนี้ มันประหลาดที่ว่า บางครั้งก็มีอิทธิพลมากมาย คือว่า ชายคนนั้น ละอายจนเหลือที่จะรู้ว่า จะอยู่ที่ไหน จะแทรกแผ่นดินหนีไปที่ไหนก็ทำไม่ไหว แทรกไปไม่ได้ มันละอายถึงขนาดอย่างนั้นแล้ว ก็ขอโทษขอโพย ขอแล้วขออีก จนไม่รู้จะขออย่างไร ต่ออาจารย์ของพระจักรพรรดิ ซึ่งจับพลัดจับผลูเข้ามาอยู่ที่บ้านเขา

ท่านกูโด ก็ยิ้มละไมอยู่เรื่อย แล้วก็พูดขึ้นช้าๆ บอกว่า

"ทุกอย่างในชีวิตนี้ มันเปลี่ยนแปลงเรื่อย เป็นกระแสไหลเชี่ยวไปทีเดียว และทั้งชีวิตนี้ มันก็สั้นเหลือเกินด้วย ถ้ายังเล่นการพนันและดื่มอยู่ดังนี้ ก็หมดเวลาที่จะทำอะไรอื่นให้เกิดขึ้น หรือสำเร็จได้ นอกจากทำตัวเองให้เป็นทุกข์แล้ว ก็จะทำให้ครอบครัวพลอยตกนรกทั้งเป็นกันไปด้วย"

ความรู้สึกอันนี้ได้ประทับใจนายคนนั้น มีอาการเหมือนกับว่า ตื่นขึ้นมาในโลกอื่น เหมือนกับตื่นขึ้นมาจากความฝัน ในที่สุด ก็พูดกับท่านอาจารย์ว่า

“ที่ท่านอาจารย์กล่าวนั้น มันถูกหมดเลย มันถูกอย่างยิ่ง ถ้าอย่างไร ก็ขอให้กระผมได้สนองพระคุณอาจารย์ในคำสั่งสอนที่ประเสริฐนี้ เพราะฉะนั้น ขอให้กระผมออกติดตามท่านอาจารย์ ไปส่งท่านอาจารย์ ในการเดินทางนี้สักระยะหนึ่ง”

ท่านอาจารย์กูโด ก็บอกว่า “ตามใจ”

สองคนก็ออกเดินทาง ไปได้ประมาณ ๓ ไมล์ ท่านอาจารย์ก็บอกว่า “กลับเถอะ”

นายคนนี้ก็บอก “ขออีกสัก ๕ ไมล์”

อาจารย์ขยั้นคะยอให้กลับอีกว่าถึงคราวที่ต้องกลับแล้ว นายคนนั้น ก็บอกว่า ขออีกสัก ๑๐ ไมล์เถอะ ในที่สุดก็ต้องยอม พอถึง ๑๐ ไมล์ ท่านอาจารย์ ขยั้นคะยอให้กลับ เขาก็ว่า ขอตลอดชีวิตของผมเถอะ

นี่ก็เป็นอันว่า ไปกับท่านอาจารย์ ไปเป็นนักบวชแห่งนิกายเซ็น ซึ่งต่อมาก็เป็น ปรมาจารย์พุทธศาสนาแห่งนิกายเซ็นในญี่ปุ่น นิกายเซ็นทุกสาขาที่เหลืออยู่ในญี่ปุ่นในทุกวันนี้ ออกมาจากอาจารย์องค์นี้องค์เดียวเท่านั้น ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ที่สืบมาจากอาจารย์องค์นี้องค์เดียว ท่านกลับตัวชนิดที่เราเรียกกันว่า เพชรที่พบจากโคลนในถิ่นสลัม นี้เป็นอย่างไรบ้าง ก็ลองคิดดู

ในประเทศญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีบางคน ก็มาจากเด็กที่ขายเต้าหู้ หาบหนังสือพิมพ์ ก็เป็น นักเขียนหนังสือพิมพ์น้อยๆ สั้นๆ และเขื่องขึ้นๆ จนเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียง และไปเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยหนึ่งในที่สุด นี่เราจะบอกเด็กๆ ตาดำๆ ของเราว่า สิ่งต่างๆ นั้นเปลี่ยนแปลงได้ถึงอย่างนี้กันสักทีจะได้ไหม เด็กๆ เขาจะมีความรู้สึกอย่างไร ในฐานะของเขา เขาจะทำตัวให้เป็นเหมือนกับ "เพชรที่พบในโคลนจากถิ่นสลัม" ได้อย่างไร โดยมากเขามักจะขายตนเองเสียถูกๆ จนเป็นเหตุให้เขาวกไปหาความสุขทางเนื้อทางหนัง ต่ำๆ เตี้ยๆ ไม่น่าดูนั้น ก็เพราะว่า เขาเป็นคนที่ไม่เคารพตัวเอง ท้อถอยต่อการที่จะคิดว่า มันจะเป็นได้มากอย่างนี้

พระพุทธเจ้า ท่านก็ยังตรัสว่า เกิดมาเป็นคน นี่ ไม่ควรให้ตัวเอง "อตฺตานํ น ทเทยฺยโปโส" แปลว่า เป็นลูกผู้ชาย เป็นบุรุษ ไม่ควรให้ซึ่งตน

“ให้ซึ่งตน” นี้หมายความว่า  ยกตนให้เสียแก่กิเลส หรือ ธรรมชาติฝ่ายต่ำ มันก็ไม่ได้คิด ที่จะมีอะไร ที่ใหญ่โตมั่นคง ที่จะเป็นนั่น เป็นนี่ ให้จริงจังได้ ข้อนี้ เรียกว่า เราควรจะถือ เป็นหลักจริยธรรม ข้อหนึ่งด้วย เหมือนกัน


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-2-13 19:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Marine เมื่อ 2016-2-13 19:45


นิทานเซ็น
อย่างนั้นหรือ
โดย พุทธทาสภิกขุ
คัดลอกจาก http://www.buddhadasa.com

นิทานที่ สาม ชื่อเรื่อง "Is that so?" ท่านลองแปลเอาเองว่า อย่างไรมัน ก็คล้ายๆ กับว่า "อย่างนั้นหรือ?" นิทานที่สามนี้ เล่าว่า

ณ สำนักเซ็น ของอาจารย์ เฮ็กกูอิน ซึ่งเป็นวัดที่เลื่องลือมาก เป็นเหมือนกับว่า เป็นที่พึ่งของหมู่บ้าน ที่ร้านชำใกล้ๆ วัดนั้น มีหญิงสาวสวยคนหนึ่ง เป็นลูกเจ้าของร้าน ทีนี้ โดยกะทันหัน ปรากฏว่า มีครรภ์ขึ้นมา พ่อแม่เขา พยายาม ขยั้นขยอถาม ลูกสาวก็ไม่บอก แต่เมื่อถูกบีบคั้นหนักเข้า ก็ระบุชื่อ ท่านอาจารย์ เฮ็กกูอิน
เมื่อหญิงสาวคนนั้นระบุอาจารย์เฮ็กกูอินเป็นบิดาของเด็กที่อยู่ในครรภ์ พ่อแม่โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ไปที่วัด แล้วก็ไปด่าท่านอาจารย์เฮ็กกูอิน ด้วยสำนวนโวหารของคนที่โกรธที่สุดที่จะด่าได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ไม่มีอะไรจะพูด นอกจากว่า "Is that so?" คือ ว่า "อย่างนั้นหรือ"
สองคนด่าจนเหนื่อย ไม่มีเสียงจะด่า ไม่มีแรงจะด่า ก็กลับไปบ้านเอง
ทีนี้ พวกชาวบ้านที่เคยเคารพนับถือ ก็พากันไปด่าว่าเสียที ที่เคยนับถือ อย่างนั้น อย่างนี้ ท่านก็ไม่มีประโยคอะไรที่จะพูด นอกจากว่า "Is that so?"
พวกเด็กๆ ก็ยังพากันไปด่าว่า พระบ้า พระอะไร สุดแท้แต่ ที่จะด่าได้ ตามภาษาเด็ก ท่านก็ว่า "Is that so?" ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
ต่อมา เด็กคลอดออกมาจากครรภ์ บิดามารดาที่เป็นตายายของเด็ก ก็เอาเด็กไปทิ้งไว้ให้ท่านอาจารย์ เฮ็กกูอินในฐานะเป็นการประชด หรือ อะไรก็สุดแท้ ว่า "แกต้องเลี้ยงเด็กคนนี้"
ท่านอาจารย์ เฮ็กกูอิน ก็มีแต่ "Is that so?" ตามเคย
ท่านรับเด็กไว้ และต้องหานม หาอาหารของเด็กอ่อนนั้น จากบุคคลบางคน ที่ยังเห็นอกเห็นใจ ท่านอาจารย์ เฮ็กกูอินอยู่ พอเลี้ยงเด็กนั้นให้รอดชีวิต เติบโตอยู่ได้
ทีนี้ ต่อมานานเข้า หญิงคนที่เป็นมารดาของเด็กเหลือที่จะทนได้ มันเหมือนกับไฟนรก เข้าไปสุมอยู่ในใจ เพราะเขาไม่ได้พูดความจริง ฉะนั้น วันหนึ่ง เขาจึงไปสารภาพบอกกับบิดามารดาของเขาว่า บิดาที่แท้จริงของเด็กนั้น คือ เจ้าหนุ่มร้านขายปลา
ทีนี้ บิดามารดา ตายายคู่นั้น ก็มีจิตใจ เหมือนกับนรกเผาอยู่ข้างใน อีกครั้งหนึ่ง รีบวิ่งไปที่วัด ไปขอโทษ ขอโพย ต่ออาจารย์เฮ็กกูอิน ขอแล้ว ขอเล่าๆ เท่าที่จะรู้สึกว่า เขามีความผิดมากอย่างไร ก็ขอกันมากมายอย่างนั้น
ท่านก็ไม่มีอะไร นอกจาก Is that so? แล้วก็ขอหลานคนนั้น คืนไป
ต่อมา พวกชาวบ้านที่เคยไปด่าท่านอาจารย์ ก็แห่กันไปขอโทษอีก เพราะความจริงปรากฏขึ้น เช่นนี้ ขอกันใหญ่ ไม่รู้กี่สิบคน ขอกันนานเท่าไร ท่านก็ไม่มีอะไรจะพูด นอกจาก Is that  so? อีกนั่นเอง
เรื่องของเขาก็จบเท่านี้
นิทานเรื่องนี้ จะสอนว่าอย่างไร เราถือว่า นิทานชุดนี้ ก็เหมือนกับ นิทานอิสป ในทางวิญญาณ ในทาง Spiritual point of view
นิทานเรื่องนี้ สอนว่าอย่างไร นั้นหรือ มันก็เหมือนกับที่พระพุทธเจ้า ตรัสว่า "นตฺถิ โลเก รโห นาม" และ "นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต" "การไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก" หรืออะไรทำนองนี้
แต่ท่านทั้งหลาย ลองเปรียบเทียบดูทีหรือว่า ถ้าพวกครูบาอาจารย์ ของเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกกระทำ อย่างท่านอาจารย์เฮ็กกูอิน ท่านจะเป็นอย่างนี้ได้ไหม คือจะ Is that so? คำเดียว อยู่ได้ไหม
ถ้าได้ เรื่องนี้ ก็คงจะไม่เป็น อย่างที่กำลังเป็นอยู่ คือ คงจะไม่ถูกฟ้องว่า ตีเด็กเกินควร หรือ อะไรทำนองนั้น ต้องไปถึงศาลก็มี
อาตมาเคยเห็น ครูที่บ้านนอก ต้องไปพูดกันถึงโรงถึงศาลก็มี เพราะตีเด็กเกินควร เป็นต้น นี่คือ มันหวั่นไหวต่ออารมณ์มากเกินไป จนกระทั่ง เด็กเล็กๆ ก็ทำให้โกรธได้ ทีเรื่องนิดเดียวก็ยังโกรธได้นี่ เพราะว่า ไม่ยึดถือความจริงเป็นหลักอยู่ในใจ มันจึงไหวไปตามอารมณ์ โกรธมาก กลัวมาก เกลียดมาก ล้วนแต่เป็นอารมณ์ร้ายไปเสียทั้งนั้น ทำไมไม่คิดว่า มันไม่ใช่ เรื่องราวอะไรมากมาย มันไม่ใช่ เป็นไปตามเสียงส่วนมาก ที่ยืนยันว่า อันนั้น ต้องเป็นอันนั้นจริง ความจริง มันต้องเป็นความจริง ถ้าจะมีอุเบกขา ก็ควรจะมีอุเบกขาอย่างนี้ ไม่ใช่ อุเบกขาผิดอย่างอื่น ฉะนั้น เราควรจะฟังของเขาไว้


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้