ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1722
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ปาฏิหาริย์น้ำพุทธมนต์ พระเกจิฯดัง"หลวงปู่ทอง"

[คัดลอกลิงก์]
คอลัมน์ มุมพระเก่า สรพล โศภิตกุล
วัดราชโยธา กรุงเทพมหานคร ในอดีตสมัยที่หลวงปู่ทองเป็นเจ้าอาวาส ตั้งอยู่ในแวดวงของหมู่แขก
มีบ้าน แขกเรียงรายล้อมรอบอยู่ทั่วไปในบริเวณ
ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานกันว่าหลวง ปู่ทองได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์
สร้างความดีจนบรรดาพวกแขกนับถือหลวงปู่ทอง เป็นจำนวนมาก
กล่าวได้ทีเดียวว่าสมัยหลวงปู่ทองเป็นเจ้าอาวาสวัดราช โยธา
พวกแขกในย่านนั้นแทบทุกบ้านต่างก็พากันนับถือหลวงปู่ทอง
เรื่อง เล่าถึง "ปาฏิหาริย์" หลวงปู่ทองเรื่องหนึ่ง เล่าสืบกันมาว่า
มีแขก คนหนึ่งเข้าไปตกปลาในวัด ด้วยปลาที่หน้าวัดและที่ในสระนั้น
มีชุกชุมนัก แต่แกตกปลาตลอดทั้งคืนก็หาได้ปลาไม่
แม้บางครั้งเหมือนจะมีปลามาติด แต่พอวัดขึ้นมากลายเป็นใบไม้
บางครั้งก็ฮุบเหยื่อเหนี่ยวไปเหนี่ยวมา พอวัดจวนจะพ้นน้ำดิ้นไปมา
จนน้ำกระจาย แต่พอพ้นน้ำขึ้นมากลับกลายเป็นใบไม้ไป
ครั้งสุดท้ายคล้ายปลาจะกิน เบ็ดจริงๆ แต่วัดเท่าไรก็ไม่ขึ้น
มันลากไปลากมาอยู่ในสระน้ำ ในใจก็คาดคิดว่าจะเป็นปลาตัวใหญ่ ด้วยบางทีลากเสียปลายคันเบ็ดจมลงน้ำไปด้วย
บาง คราวก็ฉุดลากจนตัวแกเกือบคะมำลงน้ำ
สุดท้ายเมื่อลากขึ้นมาพ้นน้ำได้กลับ กลายเป็นหัวกะโหลก
ตกใจจนจับไข้อยู่หลายวัน
ข่าวผีกินเบ็ดก็แพร่ กระจายออกไปว่า หลวงปู่ทองใช้ผีเฝ้าปลาในสระวัด
ยามที่มีผู้คนล้ม ป่วย ซึ่งในสมัยนั้นการคมนาคมไม่สะดวก
ห่างไกลจากสถานพยาบาล ทำให้มีผู้คนล้มตายกัน
ด้วยรักษาไม่ทันการ ชาวบ้านในละแวกวัดที่เป็นคนไทยพุทธ
ล้วนต่างไปหาหลวงปู่ทอง ท่านก็เป่าเสกให้กินยา กินน้ำมนต์
พากันหายจากโรค
ก็เป็นที่ร่ำ ลือกันว่าหลวงปู่ทองเป็นหมอวิเศษ
คราวหนึ่งโรคอหิวาต์ได้ระบาดในชุมชน หมู่บ้านแขก และไทยพุทธ รอบๆ วัดราชโยธา มีผู้คนล้มป่วยกันมากมาย ชาวไทยพุทธที่ไปหาหลวงปู่ทองรักษาให้ล้วนต่างหายจากโรคกัน เป็นที่ร่ำลือกัน
วัน หนึ่งพวกแขกละแวกวัดหลายสิบคนต่างพากันไปหาหลวงปู่ทอง
มีหญิงแขกคนหนึ่ง อุ้มลูกที่ป่วยมาด้วย
หลวงปู่ทองก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ได้ถามไถ่ว่ามีเหตุธุระอันใด
จึงมาหาท่านถึงวัด พวกแขกก็เล่าเรื่องราวให้ฟัง
ท่านก็บอกให้เอาเด็กป่วยมาให้ท่านดู
พอ เห็นท่านก็ทราบว่าเด็กน้อยคนนี้เป็นอะไร
หลวงปู่ทองให้ลูกศิษย์ไป หยิบไพลมาให้หัวหนึ่ง
เมื่อได้มาท่านก็เหลาปลายไพลให้พอแหลม
แล้วท่าน ก็จี้ลงไปที่ตัวเด็ก ทันทีที่จี้ถูกตัว เด็กร้องว่า "กลัวแล้วๆ
ผมกลัว แล้ว"
หลวงปู่ทองก็ถามไป "เอ็งชื่ออะไร"
เสียงเด็กตอบว่า "ผมชื่อโดดครับ"
หลวงปู่ทองว่า "ใครใช้เอ็งมา"
เด็กตอบว่า "หมอสอนครับ"
หลวงปู่ทองถามต่อ "เองมาทำไม"
เด็กตอบกลับว่า "มาเอาชีวิตอ้ายหวังครับ"
หลวงปู่ทองถาม "อ้ายหวังมันทำอะไรให้"
เสียง เด็กตอบมาว่า "มันเยี่ยวรดหมอสอนครับ"
หลวงปู่ทองก็ว่า "หน็อยแน่เรื่องเพียงเท่านี้ถึงจะมาเอาชีวิตชีวาเชียวรึ เอ็งจะอยู่หรือจะไป ถ้าอยู่ข้าจะให้เฝ้าปลาในสระที่หน้าวัด"
เด็กคนนั้นนั่งก้มหน้าเฉย หลวงปู่ทองจึงเอาไพลจี้พร้อมสำทับไปว่า "ยังไง เอ็งจะอยู่หรือจะไป"
เด็ก คนนั้นก็ว่า "ไม่อยู่ครับ หมอสอนแกสั่งให้รีบกลับเร็วๆ ครับ"
หลวง ปู่ทองจึงเอากำหญ้าคาจุ่มน้ำมนต์ฟาดลงไปที่ตัวเด็ก
เสียงของผีร้ายในร่าง เด็กก็ร้องว่า "ผมกลัวแล้วๆ ผมไปแล้วครับ"
หลวง ปู่ทองก็เอาน้ำมนต์ซัดลงไปที่ร่างเด็กอีกครั้ง เด็กดิ้นล้มลงนอนเหยียดยาวแล้วเงียบไปชั่วขณะหนึ่ง พอลืมตาก็ลุกขึ้นนั่งได้ตามปกติ หายราวปลิดทิ้ง แล้วท่านก็เอาด้ายสายสิญจน์มาผูกข้อมือให้
หลวงปู่ทองว่า ด้ายนี้เอาไว้ป้องกันมันจะเข้าอีกไม่ได้
แล้วก็เอาน้ำมนต์ให้พวกแขกไปคน ละขวด พร้อมด้ายสายสิญจน์
ส่วนน้ำมนต์เอาไปอาบบ้าง กินบ้าง ประพรมบ้านบ้าง
น้ำมนต์นี้ป้องกันผีห่าได้
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้น มา พวกแขกเหล่านั้นก็เชื่อมั่นในตัวหลวงปู่ทอง
ต่างพากันนับถือ บางคนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของ "น้ำมนต์"
หลวงปู่ทองด้วยตาของตนเอง บ้างก็ได้ยินคำร่ำลือคำบอกเล่า
บางครั้งพระพายเรือออกบิณฑบาตผ่าน
ทาง หน้าบ้านของแขกเหล่านั้น พวกเขาจะกวักมือเรียกให้พระจอดเรือแล้วเอาข้าวของมาฝากให้หลวงปู่ทอง บางคราวก็นำมาให้ถึงวัด
เขาบอกว่าเขาให้คนที่นับถือ คนที่ไม่เข้าใจก็คิดว่าแขกใส่บาตรพระ
กล่าวสำหรับน้ำมนต์ ในหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ให้นิยามว่า "น้ำเสกเพื่ออาบเป็นมงคล" พจนานุกรมฉบับมติชน
ว่า น้ำมนต์, น้ำมนต์ คือ "น้ำที่เชื่อว่าเป็นมงคลที่ได้จากการสวด
หรือเสก ใช้อาบกินหรือประพรมเพื่อเป็นสิริมงคล"
อย่างไรก็ตาม น้ำมนต์โดยทั่วไป มีการใช้อยู่ 3 ประเภท คือ
1. ใช้เพื่อเป็นมงคล 2. ใช้เพื่อรักษาโรค 3. ใช้ระงับทุกข์ภัย
ใช้เพื่อเป็นมงคล ใช้ในการทำบุญทางศาสนา
ที่เรียกว่า งานมงคล ปกติต้องจัดตั้งบาตรน้ำมนต์ หรือขันน้ำมนต์
ถ้าทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ตั้งบาตรทรายด้วย มีด้ายสายสิญจน์
โยงจากองค์พระพุทธรูปที่ตั้งเป็น ประธานในพิธี วงมาที่บาตรน้ำมนต์ พระสงฆ์ในพิธีทั้งหมดถือด้ายสายสิญจน์ขณะเจริญพระพุทธมนต์
พระสงฆ์ ผู้เป็นสังฆเถระ จะหยดเทียนและดับเทียน
เมื่อถึงบทมนต์ที่กำหนดรู้ไว้ เสร็จพิธีนั้นแล้ว พระสงฆ์เถระจะประพรมน้ำมนต์ให้แก่เจ้าของงานและผู้มาร่วมงาน
ใช้ เพื่อรักษาโรค โบราณนิยมทำเป็นประจำ
โดยเที่ยวไปนมัสการตักน้ำมนต์ใน โบสถ์ตามวัดต่างๆ
นิยมว่า 7 วัด เอามารวมกันในหม้อน้ำมนต์ที่บ้านตั้งไว้หน้าที่บูชาพระ ใครเจ็บไข้ไม่สบายขึ้นมาก็ไปกราบขอน้ำมนต์กิน
โดยมากมักหายคนจึงนิยม และนิยมใช้น้ำมนต์รักษากันสารพัดโรค
ใช้เพื่อระงับทุกข์ ในธัมมปทัฏฐกถา ภาค 7 ปกิณกวรรค
เรื่องอตโนบุพกรรม ท่านเล่าว่า เกิดภัยใหญ่ 3 ประการ
เกิดขึ้นในกรุงไพสาลี แคว้นวัชชี คือ
1. ทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง
2. อมนุสสภัย อมนุษย์ให้โทษ
3. โรคภัย ภัยเกิดแต่โรคระบาด คนล้มตายมากทั่วเมือง
เจ้าลิจฉวีผู้ปกครองเมือง จัดการรักษาทุกทางก็ไม่ระงับ
ในที่สุดเห็นทางแก้ไขอยู่ทางเดียวว่า พุทธานุภาพเท่านั้นจะช่วยได้
จึงส่งคณะเจ้าลิจฉวีไปทูลเชิญเสด็จพระ พุทธองค์
ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
พระพุทธองค์ รับจะเสด็จกรุงไพสาลี โดยเสด็จทางเรือตามแม่น้ำคงคา พอพระพุทธองค์ย่างเข้าเขตแคว้นวัชชีฝนตกใหญ่ น้ำนอง
พอฝนหาย เมืองสะอาด พอเสด็จถึงกรุงไพสาลี
โปรดให้พระอานนท์รับเรียนรัตนสูตรให้เจ้าลิจฉวีถือ บาตรน้ำมนต์
พระอานนท์บริกรรมรัตนปริต ประพรมน้ำมนต์ทั่วบริเวณกรุงไพสาลี
ในกำแพงเมืองทั้งสามชั้น รอบแล้วกลับมาเฝ้าพระพุทธองค์ ภัยทั้ง 3 ระงับทันที ประชาชนกลับเป็นปกติสุขตามเดิม
ในสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวถึงน้ำมนต์ว่า
"น้ำมนต์นี้ ถ้าเสกด้วยพระพุทธมนต์ เรียกว่า น้ำพระพุทธมนต์
นิยมว่า ต้องพระเสก ถ้าเสกด้วยโองการตามลัทธิไสยศาสตร์
เรียก ว่า เทพมนต์ หรือทิพย์มนต์
อย่างที่พวกพราหมณ์ทำอยู่ที่โบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพฯ
น้ำมนต์นี้ เชื่อกันว่าสามารถระงับทุกข์ระงับภัยได้จริงๆ
แต่ จะแก้อะไร ก็มีคาถาสำหรับบริกรรม หรือเสกเฉพาะๆ
เช่น แก้เสนียดจัญไร ก็มีคาถาสำหรับเสกเฉพาะ แก้เสนียดจัญไร
แก้ปวดศีรษะ แก้โรคตาแดง ก็มีคาถาเฉพาะสำหรับแก้โรคนั้นๆ
เป็นทุกข์ใจเพราะอะไร ก็มีคาถาบริกรรมเฉพาะ
ทั้งนี้ก็เป็นอุปเท่ห์ของอาจารย์ผู้ทำน้ำมนต์ ต้องใช้น้ำสะอาดบริสุทธิ์
ใส่ภาชนะเฉพาะ เช่น ขันที่ทำเฉพาะ เรียกว่า หม้อบ้าง ครอบบ้าง
กลตบ้าง ตามที่มี แต่ใช้บาตรดีที่สุด ในน้ำมนต์ ควรมีใบเงิน ใบทอง ใบส้มป่อย ผิวมะกรูด เวลาจะรด ควรมีใบมะตูมทัดหู
แต่ ทั้งนี้ ก็แล้วแต่อาจารย์ผู้รดจะทำให้ อย่างไรก็ต้องทำตามอาจารย์
น้ำมนต์ นี้ที่จะขลังอาศัยเหตุประกอบ 3 ประการ คือ
1. พระอาจารย์ผู้ทำ ต้องใจบริสุทธิ์ มีสมาธิเป็นอัปนาแนบแน่น
มีวสีชำนาญการบริกรรม
2. ผู้รด ต้องมีความเชื่อมั่นไม่ลังเลสงสัย มั่นใจ
3. โรค หรือภัยนั้น อยู่ในวิสัยที่น้ำมนต์จะรักษาได้








ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้