♦ ความสับสนด้านข้อมูล
ตำราหลายร้อยเล่มได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ของหัวสิงโตบนเสาหินต้นนี้ จนทำให้เกิดเรื่องยุ่งยาก และสับสนในปัจจุบัน อีกทั้งคำเล่าลือที่ว่า การฝังเสาหินที่สูงตระหง่านนี้ ได้มีมาแต่ก่อนยุคของจอมพลจักรดิอโศก และบ้างก็ว่า พระองค์มีพระประสงค์สร้างหลักฐานนี้ขึ้นมาจริงๆ เหล่านี้ทำให้มองว่า พระเจ้าอโศกทรงนำเอารูปแบบบางอย่างที่มีอยู่ก่อนมาใช้
อย่างไรก็ตาม เสาหินต้นนี้ได้มีลักษณะที่เด่นชัดในตัวมัน ถึงแม้ว่าจะนำไปเปรียบเทียบกับขนาดที่เหมือนกับวัตถุที่คล้ายกันของชาวอิหร่านโบราณก็ตาม ยิ่งถ้าดูศิลปะการขัดเงาหินทราย หรือ หิน Chunar แล้วถือว่าเป็นเทโนโลยีที่หายากใรอินเดีย แม้ในยุคราชวงศ์เมารยะแล้วยิ่งหายาก คล้ายกับว่าลักษณะของเสาหินของพระเจ้าอโศกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่เจริญมาจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำคงคา (Gangatic Valley) จนถึงอิหร่านถึงอย่างนั้นคงจะไม่ยุติธรรมนักที่จะถือว่าลักษณะเหล่านี้ถูกลอกแบบมาจากสิ่งที่คล้ายคลึงกันจากตะวันตก ♦ ลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรม
อย่างไรก็ตาม มีลักษณะเด่นที่ปรากฏให้เห็นบางประการก็คือ ช่างแกะสลักในยุคของพระเจ้าอโศกได้รับอิทธิพลมาจากทั้งโลกตะวันตกและโลกตะวันออก บ่งบอกถึงความพิเศษของวัฒนธรรมอินเดียอิหร่าน (Indo-Iranian Culture) เพราะมีอักษร "ขโรสถิ" (Kharoshthi) ที่จารึกเป็นเครื่องหมายบนเสาหินยืนยันความเห็นนี้อยู่
ตำราต่างๆพูดถึงเสาหินของพระเจ้าอโศก ในราชการแผ่นดินของพระองค์ เรียกเสาหินนี้ว่า "เสาหินแห่งธรรม" (Dharma-Stambhas) ข้อมูลที่ได้มาจากพระสงฆ์จีนก็คือเสาหินมีลักษณะเป็นแท่งเดียว, Monolith (Single Stone) เรียวสอบขึ้น ไม่มีฐาน แต่ละเสาจะมีรูปสัตว์มงคลด้วย
คนทั่วไปคงเข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งที่แสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมเช่นนี้ยาก ดูจากเสาหินที่สารนาถเป็นตัวอย่างก็ได้ ตั้งตระหง่านสะดุดตา บอกความหมายที่ลึกซึ้งของการพัฒนาไปถึงจุดสูงสุดของงานศิลปะยุคทองของพระเจ้าอโศกมหาราช ♦ สามสิบสองซี่ของวงล้อธรรมจักร สถาปัตยกรรมพุทธศิลป์
มีเสาหินต้นหนึ่งสูงเรียวประมาณ 14 เมตร ส่วนบนสุดมีแผ่นหินใหญ่ เรียกว่า วงล้อธรรมจักร มี 32 ซี่ กางคล้ายร่ม มีสิงโตสี่ตัวนั่งหันหลังเข้าหากันตรงยอดเสาพอดี (Seated back to back) ทั้งสิงโตและล้อธรรมจักร ล้วนแสดงให้เห็นถึงศิลปะการแกะสลักภาพนูนของชาวอินเดีย (มีมาแต่ยุคหลังพุทธปรินิพพาน ประมาณศตวรรษที่ 1 หรือ 2)
ลักษณะทั้งหมดนี้หมายถึงการยึดมั่นในการวางรากฐานทางพุทธศาสนา ในปัจจุบันจะเห็นได้ที่สารนาถเป็นตัวอย่าง เป็นจุดที่น่าสนใจมาก ทำให้ทราบว่าศาสนาได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ที่มูลคันธกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้าก็สำคัญ คำว่า "มูลคันธ" แปลว่า "กลิ่นหมอที่มาจากกายทิพย์ของพระองค์" บริเวณนี้มีเสาหินเป็นจุดศูนย์กลางที่สำคัญและรอบๆก็มีวัดวาอารามของฝ่ายมหายานอยู่ด้านข้าง และสิ่งก่อสร้างของพุทธฝ่ายเถรวาทอยู่อีด้านหนึ่ง
อักษรที่จารึกบนเสาหินของพระเจ้าอโศกนี้ใช้อักษรที่ใช้ในราชการแผ่นดินของพระองค์ ล้วนมีความหมายสำคัญในตัวมันเอง ♦ ลักษณะเด่นสี่ประการ
1. กลีบบัวบาน (ที่คล้ายกับระฆังที่เสาหินของชาวอิหร่าน ที่เรียกเช่นนี้เพราะมีส่วนเหมือนระฆัง)
2. ฐานที่รองรับสิงโต มีพื้นแสดงวงล้อธรรมจักรวงขนาดเล็กสี่วง มีรูปสัตว์มงคลสี่ตัว ตามคลิทางศาสนาแทรกอยู่ในระหว่าง
3. สิงโตสี่ตัวนั่งหันหลังเข้าหากัน ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นที่ทรงคุณค่า เพราะว่าช่วงหลังของสิงโตมิได้ใช้วิธีเจาะ ดังนั้นมันจึงดูลอยเด่นเหมือนกับว่าผุดขึ้นมาจากแกนของหินแท่งเดียว
4. ส่วนขอบล่างของวงล้อธรรมจักร ตรงที่แกนของเสาหินรับน้ำหนักอยู่แทนด้วยการให้สิงโตสี่ตัวรับน้ำหนักไว้ ความสำคัญอยู่ที่ความหมายของวงล้อที่ 32 ซี่ ทำให้เรานึกถึงมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ ของพระพุทธองค์
นอกจากนี้สารนาถยังเป็นศูนย์กลางที่พระองค์แสดงปฐมเทศนาที่เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" หมายถึง "การหมุนล้อแห่งธรรม" ลักษณะของวงล้อนี้ มีความสัมพันธ์กับสารนาถอย่างลึกซึ้งและปรากฏเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของสารนาถนี้ด้วย
มาดูที่ตัวต้นเสาอีกครั้ง มีลักษณะเป็นแกนกลมๆ มีความหมายสัมพันธ์ถึงเหตุการณ์ธรรมชาติในจักรวาลที่หมุนไปตามกฏธรรมดา เช่นเดียวกับล้อแห่งธรรมที่หมุนไป และยังหมายถึงกาลเวลาที่หมุนเวียนไปเป็นความหมายที่แฝงอยู่ในลักษณะทั้งหมดของเสาจ้นนี้ หากเราจะกล่าวถึงกาลเวลาที่ผ่านไปทั้งที่จดจำได้และไม่ได้ ก็หมายถึงกาลเวลาที่เป็นปัจจุบันและอดีตนั่นเอง อีกทั้งยังหมายถึงความไม่จำกัดกาลที่เราจะเข้าไปสัมผัสธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย ส่วนซี่เล็กๆที่อยู่ในธรรมจักรวงเล็ก มีวงละ 24 ซี่ ซึ่งอาจหมายถึง 24 ปักษ์ ในรอบ 1 ปี และอาจหมายถึงกาลเวลาในอดีตที่ถ่ายทอดออกมาทางวัตถุ
"ธัมมจักกัปวัตน" คือหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ทางประวัติสาสตร์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ดูที่จุดรวมแสงที่นายช่างได้กำหนดไว้อย่างดีแล้ว ล้วนหมายถึงกาลและเวลามาบรรจบกัน ณ จุดนี้
ตัวฐานสิงโตสี่ตัวใช้ชั่งรับน้ำหนักวงล้อธรรมจักรนี้ มีการจัดให้สัตว์มงคลสี่ตัวคือ ช้าง ม้า โค สิงโต ประจำทิศสลับกับวงล้อธรรมจักรวงเล็ก สี่วงล้อ รวมสัตว์ทั้งหมดก็เป็น 8 ตัว ใน 8 ทิศ อาจารย์ วี เอส อัคราวาล อธิบายว่าสัตว์ทั้งสี่ประเภทนี้เป็นเครื่องหมายแทนสิ่งสำคัญต่างๆ
ความจริงจุดประกายความคิดมาจากความประสงค์ที่จะให้สัตว์ทั้งสี่ประเภทนี้เป็นผู้พิทักษ์จักรวาล โดยรอบทั้งสี่ทิศ คือตะวันออก, ตก, เหนือ, ใต้ เพราะถือว่าสัตว์ทั้งสี่ประเภทเป็นสัตว์ประเสริฐ (อาชาไนย)
กลับมาดูกลีบดอกบัวใต้ฐานกลม (Abacus) มีอุปมาว่ามีจำนวน 1,000 กลีบ หรือ สหัสสตาล ถือคติว่าดอกบัวคือจุดกำเนิดของจักรวาล และดอกบัวก็ยังหมายถึงกระบวนการทางความคิดของโยคี ที่ถือเอาดอกบัวเป็นจุดศูนย์กลางของ "ความรู้แจ้ง" เป็นสิ่งสำคัญต่อมนุษย์ ในระหว่างกลีบบัวใหญ่จะมีกลีบบัวเล็กๆ แทรกอยู่ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเจริญเติบโตของพฤกษชาติและชีววิทยา หมายถึงจุดกำเนิดของสรรพสิ่ง จักรวาลที่หาจุดเริ่มต้นมิได้ (อนาทิ) หาที่สุดมิได้ (อนันตะ) รวมความหมายทั้งหมดก็คือ สิงโตดอกบัว อยู่ท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ ความมีชีวิตชีวาของเหล่าสัตว์ประเสริฐที่กำลังเดินจากซ้ายไปขวา (ประทักษิณ)
|