เรื่องเล่าชาวสยาม ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ในอัลบั้ม: ศาสตร์และไสยเวทย์
แหวนพิรอด (แหวนป้องกันตัว) เครื่องรางของขลังในสมัยโบราณมากมายหลายชนิด หนึ่งในนั้นอันเป็นที่นิยมกันมากในหมู่ผู้ชายชาตรีคือ “แหวนพิรอด” อนึ่งคนสมัยก่อนมีนิสัยรบทัพจบศึกสงครามอยู่บ่อยครั้งต้องมีการต่อสู้กับข้าศึกจึงมีผู้ประดิษฐ์คิดค้นของขลังชนิดนี้ขึ้นมาโดยอาศัยว่าจะทำให้คงกระพันชาตรี ฟันแทงไม่เข้า ป้องกันตัวจากข้าศึกศัตรู
แหวนพิรอดแต่เดิมนั้นหาได้ไม่ยากนักมีอยู่ถมไปตามสำนักต่างๆ แต่ละอาจารย์ท่านก็สานออกมาให้ลูกศิษย์ลกหาประชันวิชากันอยู่บ่อยๆ แต่มาในปัจจุบันเริ่มหาผู้ถักและมีวิชาอาคมปลุกเสกเลขยันต์แหวนพิรอดไม่ค่อยจะเหลือแล้วจึงถือว่าเป็นของหายากมากๆ ยิ่งอาจารย์เก่าที่ท่านไม่อยู่บนโลกนี้แล้วก็ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่ ถึงปัจจุบันจะมีคนถักเป็นแต่ก็ใช่จะขลังเช่นเดียวกับคนสมัยก่อนถักขึ้นมา
ในเงื่อนต่างๆที่เราได้เรียนจากลูกเสือ ผมก็เรียนมานะแถมไม่ได้เรื่องอีกต่างหาก เงื่อนชนิดหนึ่งชื่อว่าเงื่อนพิรอด เป็นเงื่อนที่ง่ายๆใครๆก็ทำได้ใช้ต่อเส้นเชือกหรือมัดห่อสิ่งของ ผูกอะไรต่อมิอะไร ซึ่งเงื่อนพิรอดนี้เป็นตัวอย่างง่ายๆในการผูกเงื่อนแหวนพิรอดที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
อุปเทห์ว่าแหวนพิรอดใช้ป้องกันตัว เป็นของขลังที่มีคุณทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี ศาตราอาวุธฟันแทงไม่เข้า สวมใส่แล้วอึดทึกอดทนมากขึ้น ป้องกันคุณผีและคุณคน ป้องกันคุณไสยศาสตร์ต่างๆ พิรอด คืออะไร ?
จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า พิรอด น. ชื่อแหวนชนิดหนึ่ง ถักด้วยผ้ายันต์หรือด้ายดิบเป็นต้น ใช้เป็นเครื่องราง.
พันเอกพระสารสารขันธ์ ท่านให้ความหมายแหวนพิรอดว่า "ชื่อ พิรอด มาจากภาษาสันสกฤตว่า วิรุทธ หรือ พิรุทธ แปลว่า อันขัดกันอยู่ อันได้รับการต่อต้านหรือขัดขวาง อันตรงกันข้ามเมื่อพิจารณาจากลายที่ถัก ก็ใช้ขัดกันแบบเงื่อนลูกเสือที่เรียกกันว่า เงื่อนพิรอด ก็ดูจะสมกับชื่อในภาษาสันสกฤตอยู่มาก เงื่อนพิรอดนั้นเป็นเงื่อนที่ใช้กันมาแต่โบราณนานมาก หลักฐานที่พอจะชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างได้ก็คือรูปสลักหินโบราณของพวกขอม จะเห็นว่าผ้าคาดเอวตรงด้านหน้าทำเป็นเชือกผูกเป็นเงื่อนพิรอดอย่างนี้เหมือน กัน เงื่อนชนิดนี้ยิ่งดึงยิ่งแน่น"
ความเป็นมาของแหวนพิรอดนั้นยากที่จะสืบเสาะหา บางท่านกล่าวว่า อาจจะมาจากชื่อคนว่า “พิรอด” เป็นผู้สร้างขึ้นหรือ แหวนหลวงพิรอด นั่นเอง แหวนพิรอดนั้นเชื่อว่าแต่เดิมพัฒนาอาวุธคู่กายของนักมวยที่เรียกว่าสนับแขน ด้วยเหตุว่าการชกต่อยกันจะมีการต่อสู้ในระยะประชิด อาจมการกอดปล้ำกันเมื่อใส่สนับแขนที่ทำด้วยด้ายดิบลงยางรักแล้วแข็งมีความคมทำให้เมื่อถูกโดนจะเจ็บปวดจึงทำให้ศัตรูไม่กลายกอดปล้ำ แหวนพิรอดมี ๒ ชนิด ๑. พิรอดนิ้ว คือ แหวนพิรอดที่มีขนาดเล็กใช้สวมที่นิ้วมือ เป็นเครื่องประดับและเครื่องรางของขลัง
๒. พิรอดแขน คือ สนับแขนพิรอดมีขนาดใหญ่สวมไว้ที่แขนเป็นอาวุธของนักมวยโบราณ แหวนพิรอดด้าย
- ใช้ด้ายผ้าฝ้ายดิบ นำมาถักสานด้วยเงื่อนพิรอด แล้วลงยางรัก แหวนพิรอดกระดาษ
-ใช้กระดาษ หรือกระดาษว่าว เขียนอักขระยันต์ตะกร้อ ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์มะอะอุ ม้วนเป็นเส้นแล้วนำมาถักสานด้วยเงื่อนพิรอด แล้วลงยางรัก แหวนพิรอดผ้า
- ใช้ผ้าขาว ผ้าแดง ผ้าดิบ หรือเศษจีวร ผ้าบังสุกุล ผ้าห่อศพ เขียนยันต์ทำแหวนพิรอด ม้วนเป็นเส้นแล้วนำมาถักสานด้วยเงื่อนพิรอด แล้วลงยางรัก แหวนพิรอดหญ้าหรือเถาวัลย์ - ใช้หญ้าแพรกหรือเถาวัลย์ ไม้หวาย ลงอักขระยันต์ ถักสานด้วยเงื่อนพิรอด แล้วลงยางไม้ ยางสนเคลือบ หรือลงยางรัก แหวนพิรอดไม้
- ใช้ไม้ตะเคียน กิ่งโพธิ์ ไม้มงคลต่างๆ แกะสลักเป็นเงื่อนพิรอด ลงยันต์คาถา เคลือบยางไม้ ยางสนหรือลงยางรัก แหวนพิรอดหางช้าง
- ใช้ขนหางช้าง งาช้าง หรือหางสัตว์ ถักสานเป็นเงื่อนพิรอด แหวนพิรอดหิน
-ใช้หินแกะสลัก หยกแกะสลัก หรืออัญมณีทำหัวแหวนพิรอด เรียกว่า “แหวนพิรอดนพเก้า” แหวนพิรอดโลหะ
-เป็นแหวนพิรอดที่นิยมไม่แพ้แหวนพิรอดด้ายดิบ ทำจากโลหะด้วยการขึ้นรูปเป็นเส้นแล้วถักสานหรือหล่อแบบเป็นแหวนพิรอดทั้งวงเลย โลหะที่นิยมก็ทอง เงิน ทองแดง ทองเหลือง เหล็ก อื่นๆ เมื่อได้แหวนพิรอดมาแล้วจะโยนเข้ากองไฟ หากไฟไหม้แหวนพิรอดนั้นถือว่าใช้ไม่ได้ต้องทำอันใหม่ที่ไฟไม่ไหม้ และการนำไปใช้เมื่อต้องไปทำศึกสงครามให้ถือแหวนพิรอดนี้แล้วบริกรรมด้วย “มะอะอุฯ” และถ้าจะให้เป็นตบะเดชะในสงคราม
ทำให้ข้าศึกครั่นคร้าม ให้บริกรรมด้วยคาถา “โอม ยาวะ พะกาสะตรีนิสิเหฯ” เงื่อนพิรอดนั้น จัดเป็นเงื่อนสำคัญที่ใช้ในการต่อเชือกหรือการผูกโยงเพื่อความมั่นคง แน่นหนาอย่างวิชาเชือกคาดสายหลวงปู่ขัน วัดนกกระจาบ ที่ต่อยุคมายังหลวงปู่ธูปวัดแค นางเลิ้ง กทม. ซึ่งพระเกจิอาจารย์ท่านนี้เป็นผู้ทรงคุณวิทยาสูงส่งเฉพาะด้านมหานิยมก็เข้ม ขลังขนาดอมตะ ดาราอย่าง คุณ มิตร ชัยบัญชายังนับถือเป็นลูกศิษย์ซึ่งวงการผู้นิยมเครื่องรางก็ทราบกันดี โดยเชือกคาดสายหลวงปู่ขันนั้นเวลาคาดต้องขัดเป็นเงื่อนพิรอด มีคาถากำกับว่า "พระพิรอดขอดพระพินัย" และเวลาแก้เชือกก็มีคาถาว่า "พระพินัยคลายพระพิรอด" อันจะเห็นได้ว่าศาสตร์การใช้เงื่อนพิรอดนั้นยังสืบมาถึงเครื่องคาดอย่าง เชือกหรือการ ผูกตะกรุด พิสมรซึ่งต้องรวมถึงเครื่องรางโบราณอีกชนิดที่ปัจจุบันไม่ค่อยมีเกจิอาจารย์ สร้างก็คือ "ผ้าขอด" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องพิรอดด้วยโดยผ้าขอดนั้นจะเป็นการขัด "พิรอดเดี่ยว" เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเรื่องผ้าขอดในยุคเก่า ๆ เช่น หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อกวย ชุตินธโร จังหวัดชัยนาท เป็นต้น ในส่วนเครื่องรางผ้าขอดสายวัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็มีชื่อเช่นกันแต่เป็นฆราวาส ที่ชื่อว่า เฮง ไพรวัลย์ ลอยเรืออยู่ท่าน้ำวัดสะแกบางคนเรียก ว่า อาจารย์เฮงเรือลอยก็มี...
เครดิต เรื่องและภาพ จากเพจ เรื่องเล่าชาวสยาม
|