ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2645
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

จักกิ้ม (จิ้งจก) : ความเชื่อล้านนา

[คัดลอกลิงก์]
บทคัดย่อ : ความเชื่อเรื่องจักกิ้มที่อยู่ในรูปแบบวรรณกรรมตำรา ประเภทลายลักษณ์ไม่ได้ปรากฏเฉพาะเนื้อหาที่เป็นคำพยากรณ์เท่านั้น หากแต่ยังมีตำรายันต์ไม่ว่าจะเป็นยันต์ที่ใช้ลงในแผ่นผ้า แผ่นโลหะ ลงใส่กระดาษเป็นไส้เทียน เป็นเครื่องมือในการทำคุณไสย หรือใช้สำหรับสักบนร่างกาย ตลอดจนพัฒนาเป็นตะกรุดให้ได้ใช้ตามใจประสงค์ ในที่นี้จะนำเอายันต์ดังกล่าวมาแสดงประกอบพอเป็นตัวอย่าง เช่น
ยันต์ที่ใช้ลงบนแผ่นผ้าหรือแผ่นโลหะ : ยันต์นี้มีสรรพคุณด้านเมตตามหานิยม คลาดแคล้วและป้องกันภัยจากมนุษย์และภูตผีปีศาจ
ยันต์ที่ลงใส่กระดาษเป็นไส้เทียน : ยันต์นี้ลงใส่กระดาษเขียนชื่อผู้ที่ต้องการให้รักกันใส่แล้วนำไปม้วนพันไส้เทียน จะทำให้ผู้ที่มีชื่อในนั้นรักกัน
ยันต์สำหรับทำคุณไสย : ยันต์นี้ลงใส่แผ่นกระดาษ หากเกิดถ้อยคดีความท่านให้เขียนชื่อคู่กรณีใส่ แล้วบริกรรมคาถาเสกเป่า เอาไปเผาไฟ จากนั้นนำขี้เถ้าไปคลุกข้าวให้สุนัขกิน เชื่อว่าจะชนะความในศาล
ยันต์สำหรับสักบนร่างกาย : ยันต์นี้ ท่านให้สักลงบนร่างกายในบริเวณที่เห็นสมควร เชื่อว่าจะเกิดคุณด้านเมตตามหานิยม เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ยันต์(ตะกรุด) จักกิ้มสองหาง : นอกจากยันต์รูปต่างๆแล้ว ยังมียันต์ที่อาจารย์บางท่านลงใส่แผ่นโลหะแล้วม้วนผูกเชือกเป็นตะกรุด โดยเน้นการให้คุณทางเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดจากภยันตราย
จักกิ้มสองหาง : เป็นที่น่าสังเกตว่า ยันต์ส่วนใหญ่มักมีรูปจักกิ้มที่มีหางถึงสองหาง ทั้งนี้มีความเชื่อมาแต่เดิมว่า จักกิ้มที่มีลักษณะนี้ สามารถบันดาลโชคลาภให้แก่เจ้าของอาคารหรือเคหสถานที่มีจักกิ้มสองหางอาศัยอยู่ รวมทั้งสามารถบันดาลสิ่งที่พึงปรารถนาให้แก่ผู้ครอบครอง ดังนั้น บ้านเรือนใดมีจักกิ้มสองหาง จะพยายามรักษาไว้โดยไม่มีการทำร้าย แต่ก็พบว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่จับเอามาทำให้ตายแห้งแล้วอัดกรอบพลาสติกเก็บไว้พกพาติดตัวหรือใส่ไว้ในภาชนะเก็บเงิน และวิธีการจับจักกิ้มสองหางอาจมีหลายวิธีด้วยกัน แต่มีอยู่วิธีหนึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมาแต่โบราณ คือ นำเอายางที่ได้จากก้านของใบ "เปล้าต๋องแตก" เขียนรูปจักกิ้มไว้ที่ใดที่หนึ่ง เช่น ฝาผนัง คานหรือเสาตัวอาคาร ในชั่วระยะเวลาไม่นาน บริเวณนั้นจักกิ้มจำนวนมาจะมาชุมนุมกัน จักกิ้มทุกตัวจะมีอาการรื่นเริง ส่งเสียงร้องหยอกกันเล่นอย่างมีความสุข และในจำนวนนั้นอาจมีจักกิ้มสองหางปรากฏตัวมาเริงร่ากับหมู่คณะด้วย ซึ่งสามารถจับเอาได้ตามกลวิธีของแต่ละคน
เรื่องจักกิ้มที่เสนอมาแต่ต้น เป็นจักกิ้มในความเชื่อของชาวล้านนา ซึ่งหากจะศึกษาในวงกว้างออกไป ชนชาติอื่นก็มีความเชื่อเรื่องของสัตว์ชนิดนี้อีกไม่น้อยเช่นกัน.
สนั่น ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/285877
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้