ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1907
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ศึกคชสารกับความสำคัญของต้นพุทรา

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2015-7-7 17:02



นับเป็นอีกฉากที่คนไทยไม่ควรพลาด หลายท่านอาจจะยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมีการทำยุทธหัตถีกันด้วย และศึกครั้งนี้สำคัญอย่างไร คำว่ายุทธหัตถีนั้นก็คือการทำสงครามบนหลังช้าง ซึ่งการทำสงครามประเภทนี้จะมีอยู่ในแถบชมพูทวีปสืบมาถึงอุษาคเนย์ ผู้ทำศึกจะต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวเป็นหลัก ส่วนช้างที่ทรงนี้ก็ต้องเป็นช้างที่ได้ลักษณะเสริมพระบารมีพระเจ้าอยู่หัวและคู่บุญกับขวาญช้างผู้มีหน้าที่บังคับอีกด้วย

การศึกประเภทนี้เป็นจารีตที่กษัตริย์กับกษัตริย์รบกันเพื่อเป็นการแสดงถึงพระบรมเดชานุภาพของแต่ละฝ่าย ระหว่างทำศึกทั้งสองฝ่ายจะสู้กันตัวต่อตัว จะไม่อาศัยกำลังทหารมาหนุนหรือกลอุบายใดๆเข้ามาช่วยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ฝั่งตรงข้ามหมิ่นและดูถูกเอาได้ กษัตริย์องค์ใดที่ทรงทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะก็ถือได้ว่ามีพระเกียรติยศสูงสุด กษัตริย์ผู้แพ้ก็ถืงว่าเป็นนักรบโดยแท้ อย่างเช่นการยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชมังสามเกียรติ ซึ่งเป็นอีกฉากที่มีความสำคัญในภาพยนตร์เรื่องนี้

ในวันทำศึกนั้นสมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชมังสามเกียรติทรงช้างอยู่ในร่มไม้กับเหล่าเท้าพระยา จึงทราบได้ว่าช้างทรงของสองพระองค์หลงถลำลึกเข้ามาถึงกลางกองทัพ และตกอยู่ในวงล้อมของพม่าข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามพระมหาอุปราชมังสามเกียรติที่คุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ครั้งไปเป็นเชลยว่า "พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว"

จากภาพ ต้นพุทราในภาพยนตร์เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไรคือ ในฉากที่ พลายภูเขาทองช้างคู่พระบารมีในสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งในพงศาวดารนั้นได้ระบุว่าพลายภูเขาทองตัวเล็กกว่าพลายพัทธกอช้างทรงของพระมหาอุปราชมังสามเกียรติ ในระหว่างใช้งาขบกันอยู่นั้นปรากฎว่าพลายภูเขาทองสู้แรงพลายพัทธกอไม่ไหวเสียหลัก"จึงเอาเท้ายันโคนต้นพุทราไว้ต้านกำลังอันมหาศารของพลายพัทธกอ" เพราะการยันโคนต้นพุทราในครั้งนั้น ช้างทรงคู่พระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "พลายพุทรากระแทกซึ่งเป็นชื่อที่ได้มาจากในพงศาวดาร

จากจดหมายเหตุของ de Coutre ระบุว่าพลายภูเขาทอง ล้มลงในปี ค.ศ. 1596 (พ.ศ. 2139) หลังศึกยุทธหัตถี 4 ปี สมเด็จพระนเรศวรโปรดได้มีการสร้างเมรุ เผาศพช้างหลวงอย่างสมเกียรติยศเจ้าพระยา ถึง 7 วัน 7 คืน สมเด็จพระนเรศวรทรงเสียพระทัยมากถึงกับปลูกต้นพุทราในบริเวณต่างๆโดยรอบพระบรมหาราชวังและคูเมืองเพื่อเป็นการระลึกถึงพลายภูเขาทองเชือกนี้

ภาพด้านบนนั้นคือภาพ ภาพจิตกรรมวาดยุทธหัตถีบนฝาผนังในพระอุโบสถวัดสุวรรณดาราม แสดงให้เห็นตอของต้นพุทราและนายท้ายช้างที่ถูกทหารฝั่งพม่าลอบยิงจนตาย ซึ่งเป็นอีกฉากหนึ่งที่ทำให้คนไทยทั้งรักและสงสารในโชคชะตาที่อาภัพของไอ้ขามนายท้ายช้างผู้นี้ แสดงโดย ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ

ที่มา:  https://www.facebook.com/ThailandhistoryOFwarehouse?fref=ts







ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้