ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1736
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สถิติอุณหภูมิถูกทำลายต่อเนื่อง ตอกย้ำโลกยังคงร้อนขึ้น

[คัดลอกลิงก์]


พื้นดินแตกระแหงที่โบลเตอร์ซิตี รัฐเนวาดา (ภาพ: AP Photo)
ในช่วงที่ผ่านมาปี 2015 มีการทำลายสถิติใหม่ของการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศหลายประการ ซึ่งตอกย้ำให้เรารู้ว่า อุณหภูมิของโลกนั้นยังคงเพิ่มงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง...
สำนักงานสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) เปิดเผยว่า เดือนมีนาคม 2015 ทำลายสถิติกลายเป็นเดือนมีนาคมที่ร้อนที่สุด นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกสถิติในปี 1880 และในเวลาเดียวกัน ไตรมาสที่ 1 ปี 2015 (ม.ค.-มี.ค.) เป็นไตรมาสที่ 1 ที่ร้อนที่สุดในรอบ 136 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีแนวโน้มว่าปี 2015 จะทำลายสถิติของปี 2014 กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุด
แผนที่ความร้อนในเดือนมีนาคม 2015 (ภาพ: CNN)ตามข้อมูลของศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (NCEI) ของ NOAA เมื่อเดือนมีนาคม 2015 อุณหภูมิพื้นผิวดินและผิวน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.85 องศาเซลเซียสจากอุณหภูมิเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1880 ร้อนกว่าสถิติเดิมเมื่อเดือนมีนาคม 2010 อยู่ 0.05 องศาเซลเซียส
ขณะที่อุณหภูมิพื้นผิวดินและผิวน้ำทะเลทั่วโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2015 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.82 องศาเซลเซียสจากอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงเวลาเดียวกันของศตวรรษที่ 20 ถือว่าร้อนสุดนับตั้งแต่ปี 1880 เช่นกัน และร้อนกว่าสถิติเดิมเมื่อไตรมาสที่ 1 ปี 2002 อยู่ 0.05 องศาเซลเซียส โดยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกอย่างต่อเนื่องไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจ เพราะในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา มีการทำลายสถิติปีที่ร้อนที่สุดไปแล้วถึง 10 ครั้ง
แต่สถิติอีกอย่างที่ถูกทำลายลงในเดือนมีนาคมและเห็นภาพได้ชัดเจนที่สุดคือ การขยายตัวของทะเลน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกบริเวณขั้วโลกเหนือลดลง จนเป็นเดือนมีนาคมที่มีการขยายตัวของทะเลน้ำแข็งน้อยที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติเมื่อปี 1979 เป็นต้นมา โดยมีตัวเลขการขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 430,000 ตารางไมล์เท่านั้น ตรงข้ามกับทะเลน้ำแข็งในแอนตาร์กติก หรือขั้วโลกใต้ ซึ่งการขยายตัวมากขึ้น
ภาพการแตกตัวของชั้นน้ำแข็ง ลาร์สัน ส่วน บี เมื่อปี 2002 (ภาพ: AFP PHOTO)อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของน้ำแข็งในแอนตาร์กติก เป็นผลมาจากการลดลงของน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือไปถึง 1 ใน 3 ส่วน ซึ่งโดยรวมแล้วถือว่าเสียหายมากกว่า และนาซายังเปิดเผยผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ว่า ชั้นน้ำแข็งซึ่งมีอายุกว่า 10,000 ปีในแอนตาร์กติก จะละลายหายไปภายในปี 2020
ชั้นน้ำแข็งที่ว่าคือ ชั้นน้ำแข็ง ลาร์เซน ส่วน บี (Larsen B) ซึ่งขยายออกมาจากธารน้ำแข็งหลายก้อนและทำหน้าที่เป็นเหมือนกันชน โดยนักวิทยาศาสตร์เริ่มให้ความสนใจในกรณีนี้หลังจาก บางส่วนของชั้นน้ำแข็ง ลาร์เซน ส่วน บี แตกออกมาเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่เมื่อปี 2002 อันเป็นผลมาจากฤดูร้อนที่ร้อนกว่าปกติในคาบสมุทรแอนตาร์กติกา และส่วนที่แตกออกมาก็ละลายหายไปภายในเวลาเพียง 6 สัปดาห์
เมื่อปี 1995 ชั้นน้ำแข็ง ลาร์เซน ส่วน บี ถึง 4,445 ตารางไมล์ แต่ลดลงเหลือ 2,573 ตารางไมล์เมื่อเดือนก.พ. 2002 หลังจากน้ำแข็งก้อนใหญ่ดังกล่าวแตกออกมา และเพียง 1 เดือนต่อมา ชั้นน้ำแข็ง ลาร์เซน ส่วน บี ก็มีขนาดเหลือเพียง 1,337 ตารางไมล์
แต่ในปัจจุบัน ชั้นน้ำแข็ง ลาร์เซน ส่วน บี มีขนาดเหลือเพียงประมาณ 618 ตารางไมล์ ขนาดไม่ถึงครึ่งของรัฐโรดไอส์แลนด์ ซึ่งเป็นรัฐที่เล็กที่สุดของสหรัฐอเมริกา และหากชั้นน้ำแข็งนี้หายไปก็หมายธารน้ำแข็งในขั้วโลกใต้จะละลายเร็วมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับความเร็วในการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลโลก
เกิดปรากฏการณ์มิราจ บนถนนในอินเดีย เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดเพราะคลื่นความร้อน (AFP PHOTO)นอกจากธารน้ำแข็งทั่วโลกแล้ว น้ำแข็งตามธรรมชาติในพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกก็ลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน โดยภาวะโลกร้อนทำให้ปริมาณหิมะปกคลุมในซีกโลกเหนือเส้นศูนย์สูตรลดลง โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และในช่วงเดือนมีนาคมปีนี้ ก็เป็นปีที่มีปริมาณหิมะปกคลุมในซีกโลกเหนือน้อยที่สุดเป็นลำดับที่ 7 เท่าที่เคยมีการบันทึกสถิติมา
ในขณะเดียวกัน ระดับของก๊าซเรือนกระจก (รวมถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) ซึ่งเป็นตัวการของภาวะโลกร้อน เพราะกักความร้อนเอาไว้ในชั้นบรรยากาศโลก ก็พุ่งขึ้นสู่ค่าสูงสุดตั้งแต่มีการบันทึกสถิติ โดยข้ามเขตอันตรายที่ 400 ส่วนต่อ 1 ล้านส่วนไปแล้วเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย ตามลำดับเป็นชาติที่ปล่อยการคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสูงชั้นบรรยากาศมากที่สุด 3 ลำดับแรกของโลก โดยสหรัฐฯกำลังเผชิญสภาพอากาศแห้งแล้งในภาคตะวันตกเฉียงในและที่ราบตอนกลางของประเทศ และนาซาเตือนว่าหากระดับก๊าซเรือนกระจกยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อ ก็มีโอกาส 80% ที่จะเกิดความแห้งแล้งครั้งใหญ่ (megadrought) ซึ่งอาจกินระยะเวลานาน 20-40 ปี ในพื้นที่ดังกล่าวของสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน อินเดีย กำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 1,500 รายทั่วประเทศ โดยเป็นผลจากปรากฏการณ์ เอลนีโญ ซึ่งทำให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง NOAA ทำนายว่า มีโอกาส 60% ที่ปรากฏการณ์เอลนีโญ จะเกิดขึ้นยาวนานกว่าปกติ
ควันจากโรงงานในกรุงโซเฟีย ของบัลแกเรีย บดบังแสงจากพระอาทิตย์ยามเช้า (ภาพ: AFP PHOTO)คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) เตือนว่า โลกต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 40-70% ภายในปี 2050 และลดให้เหลือ 0 ภายในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 21 เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อุณหภูมิโลกซึ่งปัจจุบันสูงขึ้น 0.8 องศาเซลเซียสในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะโลกร้อนที่ไม่อาจแก้ไขได้อีกต่อไป

http://www.thairath.co.th/content/501773




ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้