พระประธานภูธราวดี หน้าตัก 29 นิ้ว
สร้างเทหล่อถวายองค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อค่ำคืนวันที่ ๒๔เมษายน พ.ศ. 2506
ศาลากตัญญู
เป็นที่ประดิษฐานพระประธานภูธราวดี
(และเป็นที่ตั้ง ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์ จังหวัดนครปฐม)
จากข้อความคำบันทึกของ พล.ต.ท.ประชา บุรณธนิต ที่เขียนไว้เมื่อ พ.ศ.2506 กับคำบอกเล่าของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ที่ลงในหนังสือพุทธรันดร ปี พ.ศ.2520 ต่างให้รายละเอียดต่างๆได้ตรงกันเช่น วัสดุที่ใช้สร้างพระ การทำพิธี เหตุการณ์มหัศจรรย์อันเป็นนิมิตดี ทั้งๆที่ท่านทั้งสองได้ให้รายละเอียดต่างวาระกัน เรื่องที่เล่าทุกอย่างน่าจะเป็นจริงอย่างแน่นอน
รายชื่อเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสกพระเครื่องภูธาวดี ที่องค์พระปฐมเจดีย์มีดังนี้
1.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
2.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
3.พลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
4.หลวงปู่เพิ่ม วังกลางบางแก้ว
5.หลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์
6.หลวงพ่อห่วงวัดท่านใน
7.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
8.พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ฯ
9.หลวงพ่อคล้าย (วาจาสิทธิ์) วัดสวนขันธ์
10.หลวงปู่ทิม วัดช้างให้
11.หลวงพ่อปาน วัดเขาอ้อ
12.อาจารย์คง วัดบ้านสวน
13.อาจารย์หมุน วัดเขาแดงตะวันออก
14.อาจารย์นำ แก้วจันทร์ (ขณะนั้นยังเป้นชีปะขาวอยู่)
เนื้อพระของพระเครื่องภูธราวดีมีสีน้ำตาลและดำ เป็นพระเครื่องที่อาจารย์นำ แก้วจันทร์ ท่านเป็นประธานการสร้างจนเสร็จพิธี อันเป็นเหตุให้นักสะสมพระเครื่องทางใต้เล่นหาเป็นพระของอาจารย์นำ และเป็นพระเครื่องที่เปี่ยมไปด้วยพุทธานุภาพ เป็นสิริมงคลแก่ท่านที่พกติดตัว เพราะผู้สร้างมีจิตใจอันบริสุทธิ์ และกรรมวิธีการสร้างพระถูกต้องตามโบราณกาล ตลอดจนเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสก ก็เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไป ประกอบกับสถานที่กดพิมพ์พระและสถานที่ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ก็เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงนับได้ว่าเป็นพระเครื่องที่ดีที่สุดที่ท่านอาจารย์นำ แก้วจันทร์ได้สร้างหรือร่วมสร้างขึ้น ค่านิยมโดยทั่วไปองค์พอสวยอยู่ในราคาพันกว่าบาทแต่องค์ที่สวยระดับแชมป์นักเล่นได้ขายไปในราคา ๖,๐๐๐ บาทเมื่อสีปีก่อน อนาคตมีสิทธิ์เล่นหากันถึงหลักหลายหมื่น
พระบูชา 5 นิ้ว
พระกริ่งภูธราวดี ปีพ.ศ. 2506
พระกริ่งภูธราวดี ปีพ.ศ.2506
พิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ครั้งนี้ (ค่ำคืนวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. 2506) นอกจากจะนำพระร่วงภูธราวดีเข้าพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ในพิธีนี้ได้มีการเทหล่อพระประทานหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว 1 องค์ เพื่อถวายองค์พระปฐมเจดีย์ซึ่งปัจจุบันตั้งประดิษฐานอยู่ที่ศาลากตัญญูธรรม เทหล่อพระบูชาหน้าตัก 5 นิ้วและเทหล่อพระยอดธงจำนวน 9 องค์ พระกริ่งภูธราวดีจำนวน 80 กว่าองค์ ทั้งพระยอดธงภูธราวดีและพระกริ่งภูธราวดีได้เทหล่อเป็นเนื้อพิเศษ คือสร้างเป็นเนื้อนวโลหะกลับดำ ซึ่งประกอบด้วยโลหะ 9 อย่างได้แก่
1.ทองคำ
2.เงิน
3.ทองแดง
4.ดีบุก
5.พลวง
6.สังกะสี
7.เจ้าน้ำเงิน
8.เหล็กละลายตัว
9.เหล็กใหล
พระครูอาคมสุนทร(มา) วัดสุทัศน์ฯ เป็นผู้ลงพระยันต์ 108 และนะปถมัง 14 นะ ตามสูตรโบราณกาลและแผ่นทองพระยันต์ของพระคณาจารย์ต่างๆที่เข้าร่วมพิธี ค่านิยมองค์สวยสภาพเรียบร้อยราคาแสนกว่าบาท
พระเครื่องภูธราวดีจึงเป็นวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นด้วยจิตอันบริสุทธ์ของท่านผู้สร้าง สร้างถูกต้องตามกรรมวิธี พร้อมบรรจุด้วยพุทธาคมอันล้ำเลิศ จากพลังจิตของผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณงามความดี และแก่กล้าแห่งพุทธาคม ย่อมต้องบังเกิดความขลังเป็นสิ่งที่ต้องการของพุทธศาสนิกชน เมื่อเป็นของดีย่อมนำผลให้ผู้บูชาประสบความสำเร็จในสิ่งประสงค์อันดี และล่วงพ้นจากพยันตรายทั้งปวง
|