ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1907
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

••• 4 รายาเเห่งนครสันติ •••

[คัดลอกลิงก์]


ภาพแห่งสยาม ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ในอัลบั้ม: ตำนานสยาม
24 มีนาคม เวลา 0:03 น. · จังหวัดปัตตานี ·






••• 4 รายาเเห่งนครสันติ •••
เรื่องราวของ 4 รายาเเห่งปัตตานีได้นำมาสร้างเป็นเรื่องราวของหนังเรื่องหนึ่ง นครแห่งสันติ หมายถึงเมือง ปัตตานีดารัสสลาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2012 – 2057 โดยสุลต่านอิสมาเอลชาฮ์หรือพญาอินทิราทรงเคยปกครองเมืองลังกาสุกะและนับถือพุทธศาสนามาก่อนแล้วเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามจากนั้นจึงย้ายเมืองจากเมืองลังกาสุกะเดิมมาตั้งที่ใหม่บริเวณสันทราย ตันหยงลุโละ ตำบลบานา หมู่บ้านกรือแซะ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ปัตตานีดารัสสลาม ในจังหวัดปัตตานีปัจจุบัน
ปัตตานีดารัสสลาม มีกษัตริย์ปกครองเมืองรวมถึงเก้าพระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์โกตามหลิฆัยแห่งเมืองลังกาสุกะเดิม มีกษัตริย์ที่เป็นผู้ชาย 5 องค์ เรียกว่า "สุลต่าน" และเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งคือกษัตริย์องค์ลำดับที่ 6 – 9 เป็นผู้หญิง เรียกว่า "รายา" ซึ่งเป็นที่น่าทึ่งในความสามารถของกษัตริย์ที่เป็นผู้หญิงในการปกครองเมือง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่รายาทั้งสี่ปกครองเมือง มีเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายที่เป็นความสามารถในการดูแลปกครองบ้านเมืองตลอดจนเรื่องราวแห่งความรักระหว่างกษัตริย์รายากูหนิงกับยังดีเปอรตูวันมูดอโอรส แห่งเมืองยะโฮร์ ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
>> ลำดับกษัตริย์ครองเมืองที่เป็นรายา ได้แก่
รายาฮียา พ.ศ. 2127 – 2159
รายาบีรู พ.ศ. 2159 – 2166
รายาอูงู พ.ศ. 2166 – 2178
ทั้งสามองค์เป็นธิดาของสุลต่านบาร์ฮาดูร์ชาฮ์ กษัตริย์เมืองปัตตานีลำดับที่ 5 (พ.ศ.2216 – 2127)
รายากูหนิง พ.ศ. 2178 – 2229 พระนางเป็นรายาและกษัตริย์องค์สุดท้ายของปัตตานีดารัสสลามพระนางเป็นธิดาในรายาอูงูกับสุลต่านรัฐปาหัง
เรื่องราวแห่งความรักของรายาเกิดขึ้นจากการที่ระหว่างที่รายาฮียาครองเมืองพระนางมีความประสงค์จัดงานแต่งให้เจ้าหญิงอูงูกับสุลต่าลเมืองปาหังจากนั้นเจ้าหญิงอูงูกับสุลต่านก็ไปอยู่ด้วยกันที่เมืองปาหังแล้วให้กำเกิดธิดากูหนิง ต่อมาสุลต่านเจ้าเมืองปาหังสิ้นพระชนม์ ระหว่างนี้ตรงกับสมัยรัชกาลที่รายาบีรูปกครองเมืองปัตตานีพระนางได้ไปรับพระนางอูงูและพระเจ้าหลานเธอกูหนิงจากเมืองปาหังกลับมาประทับยังเมืองปัตตานีตามเดิมจากนั้นรายาบีรูสิ้นพระชนม์รายาอูงูก็ได้ขึ้นปกครองเมืองระหว่างนี้สุลต่านเมืองยะโฮร์มาสู่ขอเจ้าหญิงกูหนิงให้แก่โอรสยังดีเปอรตูวันมูดอและได้แต่งงานขึ้นที่ปัตตานีทั้งๆที่พระนางได้แต่งงานกับพญาเดโชที่เคยปกครองเมืองนครศรีธรรมราชและอยู่ด้วยกันที่นั่นจากนั้นพญาเดโชต้องกลับกรุงสยามและพระนางก็กลับมาปัตตานีจึงได้แต่งงานครั้งที่สองกับ ยังดีเปอรตูวันมูดอและพระนางได้ขึ้นปกครองเมืองเป็นรายากูหนิงจากพระมารดาแต่เรื่องราวของความรักระหว่างรายากูหนิงกับยังดีเปอรตูวันมูดอซึ่งพระนางเป็นรายาและกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งปัตตานี ซึ่งยังดีเปอรตูวันมูดอสวามีเกิดหลงเสน่ห์รักนางรำในวังชื่อ "ดังซิรัต" และจะแต่งงานกับนาง เมื่อพระนางกูหนิงทราบเรื่องได้สั่งงดงานแต่งส่วนยังดีเปอรตูวันมูดอสวามีได้หนีออกจากเมืองปัตตานีไป รายากูหนิงและนางดังซิรัตจึงตามยังดีเปอรตูวันมูดอสวามีไปถึงที่แห่งหนึ่งเกิดการต่อสู้กันนางดังซิรัตถูกยังดีเปอรตูวันมูดอปลิดชีพแล้วหนีกลับไปยังเมืองยะโฮร์จากนั้นก็เกิดสงครามระหว่างเมืองยะโฮร์กับปัตตานีจากกรณีความรัก
หลังจากปี พ.ศ. 2230 รายากูหนิงสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นก็ไม่มีราชวงศ์แห่งปัตตานีได้ปกครองเมือง แต่มาเป็นการแต่งตั้งจากมุขมนตรีและยังมีเรื่องราวเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นานามากมายตามมาที่น่าสนใจ
พญาอินทิรา เป็นกษัตริย์พระองค์องค์ที่ 4 ในราชราชวงศ์โกตามหลิฆัย ที่ปกครองอาณาจักรปัตตานีในระหว่างปี 2012-2057 พระองค์ได้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อจากพญาอินทิรา เป็น "สุลต่านอิสมาเอลชาห์"
+++ ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์โกตามหลิฆัย
1. พระฤทธิเทวา (เจศรีสุตตรา) 1887-1927 ครองกรุงโกตามหลิฆัย
2. พระอัยกาพญาอินทิรา 1927-1967 - ครองกรุงโกตามหลิฆัย
3. พญาตุกุรุปมหาจันทรา 1967-2012 - ครองกรุงโกตามหลิฆัย
4. พญาอินทิรา (สุลต่านอิสมาเอลชาฮ์) 2012-2057 - ผู้สร้างเมืองปัตตานี
5. สุลต่านมูซัฟฟาชาฮ์ 2057-2092 - ปีสิ้นพระชนม์ปรากฏชัดแจ้ง ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระราชหัตถเลขา ตรงกับปี พ.ศ. 2092 ฉบับของเดวิตเคไวอัตว่าเป็นปี พ.ศ. 2106
6. สุลต่านมันดูร์ชาฮ์ (มันโซร์) 2092-2101
7. สุลต่านปาเตะเซียม 2101-2101
8. สุลต่านบาร์ฮาดูร์ชาฮ์ 2101-2135
9. เจ้าหญิงฮียา (เขียว) 2135-2159
10. เจ้าหญิงบีรู (น้ำเงิน) 2159-2183
11. เจ้าหญิงอูงู (ม่วง) 2183-2200
12. เจ้าหญิงกูนิง (เหลือง) 2200-2230
เดวิด เค. ไวอัต ให้ปีครองราชย์ของกษัตริย์ฯ ไว้แตกต่างกันดังนี้
1. สุลต่านอิสมาเอลชาฮ์ ค.ศ. 1500-1530 (พ.ศ. 2043-2070)
2. มาดฟาร์ชาฮ์ ค.ศ. 1530-1563 (พ.ศ 2070-2106)
3.มันดูร์ชาฮ์ ค.ศ. 1563-1572 (พ.ศ. 2106 - 2215)
4.ปาเตะเซียม ค.ศ. 1572-1573 (พ.ศ.2215-2216)
5.บาฮดูร์ ค.ศ. 1573-1584 (พ.ศ.2216-2127)
6.รายาฮียา ค.ศ. 1584-1616 (พ.ศ. 2127-2159)
7.รายาบีรู ค.ศ. 1616-1623 (พ.ศ.2159-2166)
8.รายาอูงู ค.ศ. 1623-1635 (พ.ศ. 2166-2178)
9.รายากูนิง ค.ศ.1635-1686 (พ.ศ.2178-2229)
อาณาจักรปัตตานี วาดไว้โดยชาวฮอลันดา เมื่อ พ.ศ. 2144
.............
••สาเหตุที่พระองค์เปลี่ยนศาสนามีเรื่องเล่าว่า
เมื่อราวปี พ.ศ. 2043 เจ้าเมืองปัตตานีที่ชื่อ พญาตู นักปา หรือตู อันตารา หรือ ราชาอินทิรา (Raja Intira) ซึ่งนับถือพุทธศาสนาได้ล้มป่วยลง โดยมีรอยแตกระแหงตามร่างกาย บางตำราว่าเป็นโรคเรื้อน ซึ่งหมอหลวงชาวปัตตานีรักษาไม่หาย แต่ มีหมอมุสลิมชาวปาซายจากสุมาตรา คนหนึ่ง ชื่อ เชค ซาอิด หรือ เชค ซาฟียุคดิน (Sheikh Safiuddin) อาสารับจะรักษาโรค โดยมีข้อแม้ว่าเมื่อหายแล้วเจ้าเมืองจะต้องเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม เจ้าเมืองก็ยอมตกลงตาม ที่หมอมุสลิมผู้นั้นขอ แต่เมื่อรักษาหายแล้วกลับไม่ทำตามสัญญา จนหลายปีต่อมาโรคเก่ากำเริบอีก หมอมุสลิมคนนั้นก็เข้าไปรักษาโดยขอคำมั่นเช่นเดียวกับครั้งแรก เมื่อรักษาหายแล้ว เจ้าเมืองก็บิด พลิ้วอีกตามเคย เมื่อโรคกำเริบเป็นครั้งที่สาม เจ้าเมืองได้ให้คำสาบานว่า "ในคราวนี้ ข้าขอสาบาน ต่อหน้าพระพุทธรูปที่กราบไหว้อยู่ทุกวันว่า หากข้าบิดพลิ้วอีก ขอให้กลับเป็นโรคเก่าอย่ารู้จักหาย อีกเลย" ดังนั้นเมื่อหายจากโรคแล้ว เจ้าเมืองปัตตานีก็เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามพร้อมกับครอบครัว
รวมทั้งขุนนางทั้งปวง นับแต่นั้นมา ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายในปัตตานีอย่างรวดเร็ว เจ้าเมืองปัตตานี ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สุลต่าน อิสมาอีล ชาห์ (Sultan Ismail Syah) ตามแบบของอาหรับ โอรสของ พระองค์มีนามว่า กรุบ พิชัย ปัยนา เปลี่ยนนามเป็น มุฏ็อฟฟัร ชาห์ ธิดาของพระองค์ที่มีนามว่า ตนเรามหาชัย เปลี่ยน นามเป็น ซีตี อาอีชะฮฺ และโอรสของพระองค์ องค์สุดท้ายมีนามว่า มหาชัยปัยลัง เปลี่ยนนามเป็น มันศูร ชาห์ การเปลี่ยนศาสนาจากพุทธอิสลามของสุลต่านปัตตานีองค์แรกนั้น ในพงศาวดารปัตตานี ระบุว่า เพียงแต่ละทิ้งการกินหมูและไม่กราบไหว้พระพุทธรูปเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วยังทำตามประเพณีเดิมทุกประการ บางตำราว่ามีการสั่งให้ทำลายเทวรูป พระพุทธรูป และสร้างมัสยิดขึ้นแทน
(สุสานพญาอินทิรา มุสลิมคนแรกของเมืองปัตตานี ตั้งอยู่ที่บ้านปาเระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี : ด้านหน้าทางเข้ากุโบร์)
...........................
ตำนานสยาม - สวัสดี


ขอบคุณครับได้ความรู้ดีครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้