แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2015-3-30 06:22
"แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ
ไม่เคยขาดไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี
ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบ
นานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น"
เป็นพุทธพจน์ที่อ้างในหนังสือ "วิธีสร้างบุญบารมี" โดยท่านสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก เป็นหนังสือเล่มบางที่ดีมากเล่มหนึ่งครับ จึงขอนำเนื้อหาบางส่วนมาถอดบทเรียนเป็นธรรมทานดังต่อไปนี้ครับ
- บุญ ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวว่า บุญ คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ กุศลธรรม
- บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง
- วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ขั้นตอน คือ การให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา
- "การภาวนา" นั้นเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่านศีลมากนัก
-
- การภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)
- พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า "ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌาณนานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่งล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม"
- "ทาน" ย่อมไม่มีทางที่จะเทียบ "ศีล"
- "ศีล" ก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับ "สมาธิ"
- และ "สมาธิ" ก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับ "วิปัสสนา"
- แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุก ๆ ทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวนให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น ลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้กำไรมากที่สุด ก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใด ๆ ไว้เลย เมื่อเกิดชาติหน้า เพราะเหตุที่ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน
|