|
ประเภทของเวทมนตร์
เวทมนตร์มีหลายประเภท อาจพบได้ในเกมหรือนิยาย ซึ่งบางส่วนสอดคล้องตรงกับตำราโบราณที่มีจริง แต่ก็มีบางส่วนที่แต่งเติมเสริมต่อออกไป อาจจัดแบ่งตาม ผลที่เกิดจากใช้เวทมนตร์เช่น เวทมนตร์รักษา เวทมนตร์คุ้มกัน เป็นต้น หรือแบ่งตามพลังงานรูปหนึ่งที่อยู่รอบข้างตัว มักจะกำหนดให้ประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ ได้แก่
ธาตุพื้นฐาน 4-5 ธาตุ (ซึ่งตรงกับ ธาตุพื้นฐานที่ศาสตร์โบราณกล่าวถึงจริงๆ) คือ
ตำรายุโรป ได้แก่ ดิน , น้ำ , ลม , ไฟ
ตำราจีน ได้แก่ ดิน , น้ำ , ไม้ (หรือ ลม) , ไฟ , ทอง (หรือโลหะ)
ธาตุเสริม เช่น อัญมณี , สายฟ้า , หมอก , เมฆ , น้ำแข็ง , แสง , โชค โดยบางครั้งเวทมนตร์อาจจะถูกนำมาอ้างอิงในศาสนา , ลัทธิ หรือความเชื่อ
ลัทธิวูดู และ ลัทธิฮูดู
ลัทธิวูดู สามารถสะกดได้หลายอย่าง เช่น Vodun, Vodou, Voudou, Vudu, Vodounเป็นลัทธิของแอฟริกาตะวันตก วูดูเกี่ยวกับ สัตว์ และวิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้ว และพิธีกรรมหลายอย่างของวูดูเกี่ยวกับการทำพิธีกรรมเพื่อบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว มีพื้นฐานมาจาก คาทอลิก คำว่าวูดูมาจากภาษาฟอล อวี หมายถึงวิญญาณ ลัทธิวูดูเป็นลัทธิดั้งเดิมแห่งเกาะเฮติ ที่สอนให้เชื่อเรื่องเวทมนตร์ และพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เหล่าหมอผีใช้มนตร์ดำปลุกวิญญาณคนตายขึ้นมาเป็นทาส รับใช้ที่เรียกว่า ซอมบี้ เชื่อกันว่าในช่วงทศวรรษที่ 1910 ซอมบี้มากมายถูกปลุกขึ้นมาเป็นแรงงานในไร่อ้อย สร้างความแตกตื่นแก่ผู้คนทั้งเกาะ หากวันนี้มนตร์ดำยังไม่คลายความขลัง อาจมีซอมบี้อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งบนเกาะก็ได้ แต่ก็ยังคงเป็นปริศนาถึงเรื่องเวทมนตร์ถึงทุกวันนี้
ฮูดู คือความเชื่อทางไสยศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งผสมผสานระหว่างความเชื่อทางไสยศาสตร์พื้นบ้านของชาวแอฟริกันกับความเชื่อของชาวอเมริกัน โดยมีพื้นฐานมาจากความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและธรรมชาติของแอฟริกันโบราณ ความเชื่อแขนงนี้แพร่สู่ประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านทางทาสชาวแอฟริกันตะวันตกในรูปแบบของเครื่องราง เวทมนตร์คาถาทั้งเพื่อการรักษา ป้องกันเคราะห์ อวยพร ตลอดจนสาปแช่ง เครื่องรางที่เป็นเอกลักษณ์ของความเชื่อแขนงนี้คือ โมโจ (Mojo) มีลักษณะเป็นถุงใส่สมุนไพร รากไม้ เศษกระดูกหรือชิ้นส่วนเล็กๆของสัตว์ เหรียญ หินต่างๆ ตลอดจนวัสุอื่นๆ ที่เชื่อว่ามีพลังพิเศษ
Hoodoo /’hu:du:/ฮูดู/ n. (American English) (bad spell) อาถรรพณ์ (ทางร้าย) , คุณไสย (British English) (bringer of bad luck) ตัวกาลกินี, ตัวซวยOxford River Books English – Thai Dictionary อธิบายคำว่า Hoodoo ไว้ดังนี้
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างฮูดูและวูดู
การเขียนและการออกเสียงที่คล้ายกันทำให้เกิดความสับสนระหว่างคำว่าฮูดูและวูดู (Voodoo) ว่าเป็นคำเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วฮูดูและวูดูมีที่มาและลักษณะที่แตกต่างกัน
วูดู เป็นศาสนาโบราณในประเทศแอฟริกา ซึ่งเป็นที่นิยมและแพร่หลายไปทั่วทวีปแอฟริกาตะวันตก มีอิทธิพลต่อความคิด ขนบประเพณี และการดำเนินชีวิตของชาวแอฟริกันหลายเผ่า แม้ส่วนใหญ่ผู้คนจะรู้จักวูดูในด้านที่น่ากลัว ไม่ว่าจะเป็นซอมบี้ การสาปแช่งโดยนำเศษผมหรือเล็บของศัตรูไปใช้ประกอบพิธีหรือการปักเข็มบนตุ๊กตาวูดู แท้จริงแล้วเป็นเพียงส่วนย่อยของวูดูซึ่งมีรายละเอียดที่ลึกซึ้ง ศาสนาวูดูมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าว่าคอยดูแลธรรมชาติและความเป็นอยู่ของผู้คน กำหนดแนวทางให้อยู่กันอย่างสงบสุขระหว่างคนและธรรมชาติ แม้แต่การปักเข็มลงบนตุ๊กตาก็มีที่มาจากการสอนการรักษาโรค และผู้นับถือศาสนาวูดูก็เป็นเหมือนผู้คนทั่วไปที่นับถือศาสนาอื่นๆ มิได้นับถือปิศาจอย่างที่สื่อนำเสนอแต่อย่างใด
ในขณะที่ฮูดูนั้นเป็นเพียงแค่ความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่ประยุกต์เอาความเชื่อต่างๆ ในแอฟริกา ซึ่งรวมถึงความเชื่อของศาสนาวูดูด้วย มาประยุกต์เข้ากับความเชื่อพื้นบ้านของชาวอเมริกัน ฮูดูใช้วัตถุตามธรรมชาติทั้งเพื่อสาปแช่งและรักษาผู้ป่วย และในเพลงบลูส์ของอเมริกาจำนวนมากล้วนมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับฮูดูแทรกปนอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตาม ทั้งวูดูและฮูดูล้วนเกี่ยวพันกับธรรมชาติ มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความคิด ความรู้สึกของผู้คน แม้จะอยู่ในระดับที่ต่างกัน ที่สำคัญคือมิได้เป็นความเชื่อที่มีแต่ข้อเสีย แต่มีทั้งการรักษาอาการเจ็บป่วย การเยียวยาบำบัดทั้งสภาพกายและใจของผู้คนให้ดีขึ้น ตลอดจนข้อดีอื่นๆ ต่อการดำเนินชีวิตรวมอยู่ด้วย
ตอนหนึ่งจากภาพยนตร์เรื่อง Skeleton Key ขณะที่นางเอกกำลังทำพิธีฮูดู ก่อนที่เรื่องจะจบลงอย่างคาดไม่ถึง
ในอเมริกา ความเชื่อเกี่ยวกับฮูดูแพร่หลายไปในสื่อต่างๆ มากมาย ทั้งในวงการเพลง เช่น เพลงบลูส์ Born on the Bayou ของ Creedence Clearwater Revival ก็มีเนื้อหาบางตอนที่เกี่ยวข้องกับฮูดู หรือวงร็อก Muse ที่ตั้งชื่อเพลงเพลงหนึ่งว่า Hoodoo โดยตรง หนังสือที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความเชื่อแขนงนี้ไปจนถึงตำราฝึกปฏิบัติ เช่นเกม เช่นในเกม Gabriel Knight: Sins of the Father เกมแนว adventure ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อ พ.ศ. 2536 มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับฮูดูเช่นกัน แม้ว่าความเชื่อแขนงนี้ไม่เป็นที่รู้จักมากนักในประเทศไทย แต่ในปี พ.ศ. 2548 ภาพยนตร์เรื่อง Skeleton Key ที่นำเข้ามาฉายในชื่อไทยว่า “เปิดประตูหลอน” ก็ทำให้มีผู้รู้จักฮูดูเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อหาของภาพยนตร์มุ่งเน้นไปที่การใช้เวทมนตร์คาถาของฮูดู
ฮูดูเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ เพราะมีเรื่องราวที่แปลกประหลาด มหัศจรรย์ บางเรื่องอาจเหนือธรรมชาติ จึงช่วยกระตุ้นความใฝ่รู้ได้เป็นอย่างดี กระนั้นควรศึกษาในแง่ของความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสมในฐานะที่ฮูดูเป็นความเชื่อที่มีอยู่จริง สามารถศึกษาได้ทั้งแนวกว้าง คือค้นคว้าหารายละเอียดเพิ่มเติม และแนวลึก คือการวิเคราะห์ วิจัยอย่างลึกซึ้งถึงเหตุผล ทั้งด้านความสัมพันธ์ต่อความเป็นอยู่ของผู้คน หรือศึกษาในแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น แต่ไม่ควรศึกษาด้วยความงมงาย หวังจะนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลตามต้องการ เพราะความเชื่อเรื่องฮูดูนั้นเหมือนกับความเชื่อด้านไสยศาสตร์แขนงอื่นๆ คือไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ทั้งหมด และการเชื่ออย่างไร้เหตุผลนั้นย่อมนำผลเสียมากกว่าผลดีมาสู่ผู้ศึกษา
ที่มา http://www.ict.in.th/37710
|
|