ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2955
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ไม่ต้องสาบาน..ก็มีสิทธิ์ตาย

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-6-13 06:34

ภาพประกอบ


  ฟ้าผ่า...ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อันตราย.....

  ไม่ต้องสาบาน.....ก็มีสิทธิ์เสี่ยงตายไหม้เกรียมได้....


ในแต่ละปีมีเด็กและผู้ใหญ่ทั่วโลกเสียชีวิตเพราะถูกฟ้าผ่ามากกว่า 1,000 ราย

เมืองไทยมีเด็กอายุน้อยกว่า 17 ปี  เสียชีวิต เพราะถูกฟ้าผ่า
เฉลี่ยปีละ 20 คน นับเป็น ความสูญเสียที่น่าเศร้า เพราะเราสามารถป้องกัน
ตัวเองจากภัยธรรมชาตินี้ได้หากมีความรู้และไม่ประมาท






   
เมื่อพ.ศ.2295 นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ชื่อเบญจามิน แฟรงคลิน
ได้พิสูจน์ให้รู้กันแน่นอนว่า ในก้อนเมฆมีประจุไฟฟ้า หรืออำนาจไฟฟ้า
โดยการปล่อยว่าวขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
เขาพบว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลไปตามสายว่าวแล้วกระโดดไปยังมือของเขา
การทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่ามีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นในก้อนเมฆในขณะที่เกิด



พายุฝนฟ้าคะนอง เมฆบางก้อนมีประจุไฟฟ้าบวก แต่บางก้อนมี ประจุไฟฟ้าลบ
เมื่อเมฆมีประจุไฟฟ้าต่างกันมาอยู่ใกล้กัน จะทำให้ประจุไฟฟ้า
จากเมฆก้อนหนึ่งกระโดดไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง



    การกระโดดนี้จะทำให้เกิดประกายไฟขี้น เรียกประกายไฟนี้ว่า "ฟ้าแลบ"

ขณะที่เกิดประกายไฟจะมีเสียงด้วย เรียกว่า
"ฟ้าร้อง"


    บางครั้งประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆอยู่ใกล้พื้นดิน มากกว่าเมฆก้อนอื่น
มันจะกระโดดลงสู่พื้นดินซึ่งอันตรายมาก ตึกสูงๆ หรือต้นไม้สูง
ที่ถูกไฟฟ้าในก้อนเมฆกระโดดเข้าไปใส่ จะเกิดอันตรายเพราะกระแสไฟฟ้า
มีความรุนแรงมาก เรียกว่า "ฟ้าผ่า" ดังนั้น ในขณะที่ฝนตก ไม่ควรไปยืนใต้

ต้นไม้ใหญ่ๆ เพื่อป้องกันอันตราย และบนตึกสูงๆ ควรจะมีสายล่อฟ้าเอาไว้



   ฟ้าแลบไม่ได้มีแต่ผลเสียเพียงอย่างเดียว แต่ผลพลอยได้
ของการเกิดพายุฟ้าคะนอง คือ การเพิ่มพูนปริมาณของสารประกอบ
ไนโตรเจนให้แก่ดิน



โดยมีการคาดการณ์ไว้ว่า ฟ้าแลบครั้งหนึ่งจะทำให้ธาตุไนโตรเจน
ตกลงมายังพื้นดิน 2 กิโลกรัม ต่อพื้นที่จำนวน 1 ไร่ ในเวลาหนึ่งปี
และเมื่อคิดคำนวณ ทั้งโลก พบว่าจะมีธาตุไนโตรเจนตกลงมายัง
โลกทั้งสิ้น 770 ล้านตัน



    ในขณะที่เกิดฟ้าแลบ พลังงานบางส่วนที่เกิดจากฟ้าแลบ
จะทำให้ไนโตรเจนทำปฏิกิริยาเคมีกับออกซิเจน เกิดเป็นสารประกอบ
ไนตริกออกไซต์ สารประกอบไนตริกออกไซต์จะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลง
ตัวเอง ไปเป็นไนโตรออกไซต์ ซึ่งจัดว่าเป็นสารที่มีการละลายได้ดีในน้ำฝน
และจะเปลี่ยนเป็นกรดดินประสิว ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อตกลงมาแล้ว
จะไปรวมตัวกับสารเคมีอื่นๆ บนพื้นโลก กลับกลายเป็นแคลเซียมไนเตรท
ในที่สุด แ
คลเซียมไนเตรท เป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับพืช ดังนั้นการเกิดฟ้าแลบ
ฟ้าคะนอง  นอกจากจะช่วยให้พื้นดินชุ่มฉ่ำแล้ว ยังช่วยเพิ่มปุ๋ยให้กับพืชด้วย

http://atcloud.com


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-13 06:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ภาพฟ้าผ่าภูเขาไฟ ที่ชิลี

นอกจากการประทุของภูเขาไฟจะพ่นเถ้าถ่านที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังเกิดฟ้าผ่าท่ามกลางเถ้าถ่านที่พวยพุ่งนั้นด้วย และนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร
      
       ไลฟ์ไซน์ระบุว่านักวิทยาศาสตร์ทราบมานานแล้วว่า ระหว่างที่ภูเขาไฟพ่นเถ้าถ่านออกมาจากปากปล่องนั้น ทำให้เกิดฟ้าผ่าขึ้นได้ แต่กระบวนการที่ทำให้เกิดฟ้าผ่านั้นยังค่อนข้างเป็นปริศนา โดยฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นนั้นสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของเถ้าถ่านที่ถูกพ่นออกมา ซึ่งบางครั้งถูกบิดเกลียวเหมือนทอร์นาโด
      
       ระหว่างการหมุนบิดเกลียวของเถ้าถ่านนั้นทำให้เกิดละอองน้ำหรือฝุ่นที่แลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างกัน แล้วก่อตัวเป็นฟ้าผ่าได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมฆหมอกของเถ้าถ่านภูเขาไฟนั้นทำให้เกิดฟ้าผ่าได้อย่างไร อย่างไรก็ดี พวกเขาคาดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นผลจากการเสียดของอนุภาคที่ถูกพ่นออกมา แล้วทำให้เกิดประจุไฟฟ้าขึ้น
      
       เป็นไปได้ว่าฟ้าผ่าระหว่างภูเขาไฟประทุนั้น มีกำเนิดไม่ต่างจากฟ้าผ่าระหว่างการเกิดฝนฟ้าคะนอง โดยไซน์เดลีระบุว่า ระหว่างเกิดฝนฟ้าคะนองนั้นอนุภาคน้ำแข็งขัดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า ส่วนกรณีของภูเขาไฟนั้นอาจเกิดจากการขัดสีของเศษหินที่แตกสลาย เถ้าถ่านและน้ำแข็ง แล้วทำให้เกิดประจุไฟฟ้าขึ้น แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบว่าอนุภาคจากภูเขาไฟกลายเป็นอนุภาคมีประจุไฟฟ้าเมื่อใด ซึ่งสิ่งที่พวกเขาทำได้คือสังเกตปราฏการณ์ในช่วงสั้นๆ ขณะเกิดฟ้าผ่าระหว่างภูเขาไฟพ่นเถ้าถ่าน

ภาพฟ้าผ่าภูเขาไฟ ที่ชิลี
       ขณะที่เนชันนัลจีโอกราฟิกรายงานคำอธิบายจาก สตีฟ แมคนัตต์ (Steve McNutt) จากหอสังเกตการณ์ภูเขาไฟอลาสกา (Alaska Volcano Observatory) สหรัฐฯ ว่า การเกิดฟ้าผ่าระหว่างการประทุของภูเขาไฟนั้นยังเป็นปริศนา แต่เป็นไปได้ว่า ปรากฏการณ์นี้อาจเกิดจากซิลิกาที่มีประจุซึ่งเป็นส่วนประกอบของหินหนืดร้อนแมกมา (magma) โดยซิลิกาดังกล่าวได้ทำอันตรกริยากับชั้นบรรยากาศระหว่างถูกพ่นออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟ
      
       อย่างไรก็ดี ขณะที่เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าฟ้าผ่าระหว่างภูเขาไฟประทุนั้นเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ได้รวบรวมภาพปราฏการณ์ดังกล่าว ระหว่างการประทุของภูเขาไฟพูเยฮอย (Puyehue) ของชิลีมานำเสนอ ซึ่งภูเขาไฟดังกล่าวได้เริ่มประทุเมื่อ 4 มิ.ย.2011 ที่ผ่านมา หลังจากเงียบสงบมานานเป็นครึ่งศตวรรษ
      
       ข้อมูลจากเอเอฟพียังระบุด้วยว่า สำนักธรณีวิทยาและเหมืองแร่ชิลี (National Service of Geology and Mining) ได้แจ้งว่า ภูเขาไฟพูเยฮอยซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของชิลีได้ประทุและพ่นก๊าซขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศสูงถึง 10 กิโลเมตร และเถ้าถ่านถูกพ่นไปไกลถึงอาร์เจนตินา หลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงเตือนล่วงหน้าหลายชั่วโมง และประชาชนในระแวกใกล้เคียงประมาณ 3,500 คน ได้รับการอพยพออกจากพื้นที่ดังกล่าว
ภาพที่ดูเหมือนจะสวยงาม และมหัศจรรย์ แต่แฝงไปด้วยความน่าสะพรึงกลัว

ภาพฟ้าผ่าภูเขาไฟ ที่ชิลี


ภาพฟ้าผ่าภูเขาไฟ ที่ชิลี


ภาพฟ้าผ่าภูเขาไฟ ที่ชิลี


ภาพฟ้าผ่าภูเขาไฟ ที่ชิลี


ภาพฟ้าผ่าภูเขาไฟ ที่ชิลี


ภาพฟ้าผ่าภูเขาไฟ ที่ชิลี

ภาพฟ้าผ่าภูเขาไฟ ที่ชิลี


ภาพเถ้าถ่านที่ถูกพ่นออกจากภูเขาไฟพูเยฮอย


ภาพถ่ายทางอากาศโดยกองทัพอากาศชิลีเผยให้เถ้าถ่านจากภูเขาไฟพูเยฮอยที่ถูกพ่นออกมาราวกับดอกเห็ด

http://news.tlcthai.com
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-13 06:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-6-13 06:32

ไม่กี่เดือนมานี้มีข่าว ฟ้าผ่าคนตาย ไปหลายรายแล้ว...ฝนตกฟ้าคะนองก็อย่าไปอยุ่ในที่โล่งแจ้งหรือต้นไม้ใหญ่นะครับ... โดยเฉพาะ คนชอบสาบานทั้งหลาย....
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-2-26 18:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้