ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4187
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วัดเขาบันใดอิฐ

[คัดลอกลิงก์]
ถ้ำพระยานคร พระที่นั่งคูหาสวรรค์คฤหาสน์  หลังจากกลับจากไปร่วมงาน "เสริมมงคลชีวิต ประสิทธิพรปีใหม่" ที่ ยุวพุทธิกสมาคม ศูนย์ ๒ จ.ปทุมธานี ก็ถึงเวลาไปออกเที่ยวกันแล้ว เตรียมแพคกระเป๋าไปปราณบุรี ค่ะ สอบถามอาจารย์ว่าถ้าไปประจวบฯ ควรไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิที่ใด อาจารย์แนะนำให้ไปไหว้ "หลวงพ่อแดง" ที่ วัดเขาบันใดอิฐ ก็เลยตั้งต้นเริ่มเรื่องที่นั่น



ด้านหน้าทางเข้า เขาบันใดอิฐ



มิสเตอร์ลิง (โชว์การปัสสาวะกลางที่ธารณะ ) ที่นำรูปมาลงเพราะ ตอนแรกเรียกเขามาถ่ายรูป เขาก็เดินมาเรื่อย ๆ แล้วหยุด อยู่ประมาณ ๒ ครั้ง พอเดินมาใกล้ตัวกำลังเล็งจะถ่ายรูป คุณลิงเธอ "เด็ดดอกไม้" โชว์ค่ะ รีบเดินหนี เปล่าเขินลิงนะ กลัวคุณลิงหางยาวสะบัดฉิ๊งฉ่องใส่ค่า



และ "มาดามลิง" (ลิงแต่งงานแล้ว) พร้อมบุตร อิอิ



ทางเดินขึ้นไปเจดีย์เก่า



มีลิงน้อยกำลังกัดสายไฟ โหนตากแดดแก้หนาวอยู่บริเวณนี้ค่ะ


ก็ไปพบ ตำนานโบสถ์เมียหลวง - วิหารเมียน้อย

เรื่องตามประวัติที่เขียนไว้ มีอยู่ว่า


งานเขียนบนเพดานในโบสถ์เมียหลวง

"สันนิษฐาน ว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณ พ.ศ.๒๒๔๖ - ๒๒๕๑ โดยดูจากปฏิมากรรมปูนปั้น และงานเขียนบนเพดานในโบสถ์เมียหลวง

มีเรื่องเล่าเป็นตำนานสืบต่อกันมาว่าเศรษฐีผู้หนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เชิงเขาบันใดอิฐด้านทิศตะวันออกเศรษฐีผู้นี้มีภรรยาสองคน แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ประสงค์ที่จะสร้างปูชนียสถานถาวรวัตถุ เพื่อเป็นที่ระลึกในพระพุทธศาสนา ดังนั้น จึงได้นำทรัพย์สินเงินทอง ที่มีอยู่สร้างโบสถ์ วิหาร และเจดีย์



โดยภรรยาหลวงได้สร้างโบสถ์ขึ้นทางทิศตะวันตก



ภรรยาน้อยสร้างวิหารทางทิศตะวันออก ส่วนเศรษฐีได้สร้างเจดีย์ตรงกลางระหว่างโบสถ์ และวิหาร

ด้วยภรรยาทั้งสองอยากรู้ว่าเศรษฐีผู้เป็นสามีจะรักภรรยาทั้งสองเท่ากันหรือไม่ จึงได้ตั้งสัตยาธิฐานว่า หากเศรษฐีมีใจลำเอียงไปฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็ขอให้ยอดเจดีย์ที่เศรษฐีสร้างขึ้น เอียงไปทางนั้น ต่อมาเป็นที่น่าแปลกใจว่ายอดเจดีย์ได้เอียงไปทางวิหารที่ภรรยาน้อยสร้างขึ้นจนถึงทุกวันนี้ จะเป็นด้วยแรงอธิษฐานของภรรยาทั้งสองหรือไม่ประการใด"



พระพุทธรูปในวิหารเมียน้อย



พระพุทธรูปในโบสถ์เมียหลวง ปัจจุบันโบสถ์ยังใช้ทำพิธีทางศาสนา และบูรณะไปแล้วค่ะ (มูลค่างาน สามล้านบาท)



หลังคาที่ทำด้วยกระเบื้อง สวยงาม ทนทาน ต่อมือน้องลิง ที่มาทึ้งเอาลอนหลังคาออก



ทางเข้าถ้ำฤาษี ไม่ได้เข้าค่ะ



มณฑปพระครูญาณวิลาส (หลวงพ่อแดง)



สวดมนต์บริเวณนี้ และนั่งสมาธิ ถวายแด่ พระบรมสารีริกธาตุ (หลังสวดมนต์เรียบร้อย เด็กน้อยเดินมาบอกว่า คุณลิงเอารองเท้าไปแล้ว หนึ่งข้าง แหมตอนนั้นอุตสาห์ดีใจ จะได้รองเท้าใหม่ พอดีน้องเขาบอกว่าเขาไปตามมาให้ได้ ว๊า.... อดได้คู่ใหม่เลย อิอิ กลับมาพร้อมส้นรองเท้าโดนกัดออกเล็กน้อย)



หลังจากที่สักการะวัดเขาบันใดอิฐ เห็นว่ามีพระพุทธรูปองค์ใหญ่กำลังก่อสร้าง จึงอยากไปชม เลยขับรรถไปตามทางที่พระ และชาวบ้านแนะนำ แต่หาไม่เจอเลยขับลงมา ได้ภาพพระธาตุจอมเพชร ถ่ายบนเขาอีกฝั่ง สวยงามมากค่ะ



พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่กำลังก่อสร้าง



หลังจากนั้นก็เคลื่อนขบวนไป ผจญภัยที่ "ถ้ำพญานคร" ทางเข้า



หมู่บ้านชาวเล



หลังจากจอดรถที่ทางขึ้นเขา ก็เริ่มเดินไปขึ้นเขาเลย (ขอแนะนำเตรียมรองเท้าให้เหมาะกับการเดินเขา ไม่แนะนำรองเท้าแตะ หรือรองเท้าส้นสูง นะจ๊ะ )



ทางขึ้นถ้ำเพียง 1 กล. โหยยย สบม. ยห. สบายมาก อย่าห่วง!



ทางขึ้นมีทั้ง ชัน แนวราบ แนวดิ่ง



และเดินชมบรรยากาศสวยงาม



เมื่อมาถึงทางลง ก็จะมีป้ายต้อนรับว่า "สุขภาพของท่านยังแข็งแรงดีอยู่" สังเกตุนายแบบของเรา "ลิ้น" ห้อยมาแตะพื้นรองเท้าแล้ว ...



หันกลับไปดู น้องหมาสีดำเขาเดินมาส่งด้วย โห ....



เดินไปตามทางต้นสน และทรายขาว .... อืมมมม



เดินลมเย็น ๆ เข้ามาจนถึง "บ่อพระยานคร" มีประวัติคร่าว ๆ คือ สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๗) หลังจากศรีปราชญ์ถูกเนรเทศไปอยู่กับพระยานครที่เมืองนครศรีธรรมราชแล้วหลังจากน้นไม่นาน พระยานครได้สั่งประหารชีวิตด้วยเข้าใจว่าเป็นชู้กับสนม แต่การประหารชีวิตไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์ได้มีรับสั่งเรียกตัว ศรีปราชญ์กลับเข้ารับราชการและทราบว่าศรีปราชญ์ถูกประหารชีวิต ทรงพระพิโรธและสั่งให้พระยานครไปเข้าเฝ้า เมื่อพระยานครมาถึงปปากน้ำ เจ้าพระยานครทราบว่าจะถูกประหารชีวิต จึงหันเรือกลับ แต่ถูกลมแรงในบริเวณเทือกเขาสามร้อยยอด จึงขึ้นฝั่งและหลบซ่อนอยู่ที่เขานี้ ในไม่ช้าต่อมาทางกรุงศรีอยุธยาสืบทราบและจับตัวได้และนำไปประหารชีวิต สันนิษฐานว่าถูกประหารชีวิตประมาณ พ.ศ. ๒๒๒๗ (ก)



มีนักเรียนมารับจ้างเป็นไกด์พาทัวร์ ชื่อ "น้องเจ"



ทางขึ้นไปสู่ "ถ้ำพระยานคร" ตั้งอยู่บนไหล่เขาในทิวเขาสามร้อยยอด ชายฝั่งทะเลตะวันตกของอ่าวไทย บริเวณส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด การค้นพบถ้าพระยานครนั้น ไม่มีหลักฐานว่าพระยานครคนใดเป็นผู้พบ แต่สันนิษฐานว่าพบในสมัยกรุงศรีอยุทธยา และต้นกรุงรัตนโกสินทร์



ป้ายทางขึ้นถ้ำ สูงเพียง ๔๓๐ เมตร (กา - จอกกกก เราเดินผ่านมาแล้ว ๑ กล.)



มองขึ้นไปอีกที เอ๋!!!! ราวบันใดอยู่ไหนเนี่ย ....



เดินตาม ๆ กันไปเรื่อย ๆ



คุณรุ่งธรรมตะโกนบอกว่า "ระวังกิ่งไม้!!" หลังจากก้มหน้าก้มตาเดินไปไม่ได้เงยมองข้างบน ต้องระวังกิ่งไม้ข้างทางด้วยค่ะ



มาถึงจุดชมวิว ขอแนะนำให้ยืดกล้ามเนื้อเล็กน้อย จะทำให้การเดินอภิมย์ขึ้นอีกนิด เฮ้อออ.....





เมื่อเดินลึกขึ้นไป ความงามตามธรรมชาติของหินรูปทรงต่าง ๆ พร้อมกับมีแสงแดดลอดผ่านใบไม้ และลาดไปบนโขดหิน เป็นภาพที่สวยงามมากค่ะ

เมื่อเข้าไปจะมีจุดเที่ยวชมทั้งหมด ๑๐ จุดค่ะ ขอไล่เรียงตามนี้ค่ะ



ภาพนี้ถ่ายเอง ไม่ชัดค่ะ



(ภาพนำมาจาก web
[size=120%]http://www.pantip.com เนื่องจากของตัวเองถ่ายไม่ได้เปิด Flash ค่ะ)ภาพเป็นเหมือนแท่งน้ำแข็ง ด้านหลังคือ "น้ำตกแห้ง" (จุดเที่ยวชมที่ ๑) ถ้าในช่วงหน้าฝนก็จะมีน้ำไหลมาเอื่อย ๆ ค่ะ



อีกมุมหนึ่งก่อนเข้าไปถ้ำส่วนที่สอง



เดินไปอีดนีด ไม่น่าเชื่อแค่มุมมอง ก็เปลี่ยนบรรยากาศของความงามได้เพียงนี้



"สะพานมรณะ" (จุดเที่ยวชมที่ ๒) เป็นทางเดินหินที่แคบ ๆ ส่วนใหญ่นายพรานจะล่อให้สัตว์ป่าวิ่งมาบนสะพานนี้ และพลัดตกลงมาเหมือนเป็นกับดักธรรมชาติค่ะ



"ทางเดินสันจระเข้" (จุดเที่ยวชมที่ ๓) จะเป็นทางเชื่อระหว่างถ้ำส่วนที่สองไปสู่พลับพลา ต้องเดินลอดถ้ำไปนะคะ ค่อนข้างมืด เดินไปประมาณ ๖ - ๗ เมตร นะ คิดว่า



"หินรูปเจดีย์" (จุดเที่ยวชมที่ ๔) หินงอกขึ้นรูปเป็นเหมือนเจดีย์





และแล้วก็มาถึงที่หมายจนได้ แสงแดดส่องผ่านไปยัง "พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์" (จุดเที่ยวชมที่ ๕) ดูงามตามาก ๆ ค่ะ



๓ พระมหากษัตริย์ บรมราชจักรี เสด็จประภาส "พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์"
มีประวัติคร่าว ๆ ดังนี้

* ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) พระเจ้าปดุงกษัตริย์ของพม่าได้ยกทัพมาตีไทยใน พ.ศ. ๒๓๒๘ จำนวน ๙ทัพ มาตีกรุงเทพ ๕ ทัพ เมืองเหนือ ๒ ทัพ ปักษ์ใต้ ๒ ทัพ ทัพพม่าที่ยกมาทางปักษ์ใต้ออกจากเมืองมะริดเข้าด่านสิงขร ตีเรื่อยไปถึงกะบุรี ระนอง ชุมพร ไชยา ไปถึงนครศรีธรรมราชแล้วล้อมเมืองไว้ และได้หลอกพระยานครว่ากรุงเทพฯ แตกแล้วในตอนแรกพระยานครเตรียมสู้แต่ไม่ทราบข่าวจากกรุงเทพฯ คืดว่าเป็นจริง จึงอพยพครอบครัวหนีเข้าป่า พม่าจึงยึดเมืองนครและจะยกไปตีเมืองพัทลุง พอดีกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาถยกทัพหลวงไปถึงเมืองไชยา พม่ายึดยกทัพมาสู้ทัพไทยแต่สู้ไม่ได้จึงแตกทัพไป ส่วนพระยานครนั้นถูกจับตัวไปกรุงเทพ เมื่อสอบสวนความจริงแล้วว่าถูกพม่าหลอก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงได้รับอภัยโทษ และได้กลับไปครองเมืองนคร เมื่อเดินทางมาถึงเขาสามร้อยยอด เรือถูกคลื่นลมจัด นักเดินเรือเมื่อผ่านบริเวณนี้หากมีคลื่นลมจัดจะต้องจอดเรือหลบคลื่นลมที่ชายหาด เพราะเป็นทำเลที่หลบคลื่นได้

** ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบถึงความสวยงามของถ้ำพระยานคร มีพระประสงค์จะเสด็จประพาสจึงตรัสสั่งให้นายช่างประจำราชสำนักออกแบบพลับพลาแบบจตุรมุขขนาดย่อม กว้าง ๒.๕๕ เมตร ยาว ๘ เมตร สูง ๒.๕๕ เมตร (วัดถึงช่อฟ้า) แล้วนำไปประกอบติดตั้ง ดังปรากฏในจดหมายเหตุคราวเสด็จประพาสแหลมมลายู พ.ศ. ๒๔๓๓ ตอนหนึ่งว่า

- วันที่ ๒๐ (มิถุนายน ร.ศ.๑๐๙) เวลาบ่ายสามโมงเศษ เสด็จลงเรือกระเชียงไปขึ้นหาดทรายหน้าเขาสามร้อยยอด แล้วเสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับในถ้ำใหญ่มียกช่อฟ้าพลับพลาในถ้ำด้วย พลับพลานี้ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์(ปรุง)ส่งไปแต่กรุงเทพฯ พระยาชลยุทธโยธินเป็นนายงานยกคุมขึ้นตั้งแต่กลางคืนวันที่ ๑๙ พอเสด็จขึ้นถึงก็พอแล้วเสด็จโปรดให้ยกช่อฟ้าพลับพลา ทหารถวายคำนับเป่าแตรด้วยแล้วเสด็จขึ้นมาประทับบนพลับพลาพระราชทานนามว่า พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ เวลาบ่าย ๕ โมง เสด็จกลับลงเรือพระที่นั่งประทับแรมที่นี่

** พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จประพาสเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๓๓ (ร.ศ.๑๐๙) พระราชทานนามว่า ''พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์" พร้อมกับลงพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ไว้ที่ผนังทำด้านเหนือของพลับพลา

** สมัยสมเด็จพนระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จประพาสเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๖๙ และได้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร. ไว้ที่ผนังถ้ำด้านทิศตะวันตกของพลับพลา เข้าใจว่าคงเสด็จทางชลมารค

** ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังไกลกังวลหัวหิน มีพระราชประสงค์จะเสด็จประพาสถ้ำพระยานคร แต่มีเหตุสุดวิสัย ฝนตกอย่างหนัก ทะเลมีคลื่นลมแรง จึงงดเสด็จและได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๐๑ จึงมีเพียงนายเขียว แสงขาว ราษฎรหมู่ที่ ๘ บ้านบางปู ตำบลสามร้อยยอด ที่รู้เห็นและพายเรือออกไปรับเสด็จจากเรือพระที่นั่งเข้าหาฝั่ง ในปัจจุบันถ้ำพระยานครอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีหาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใส และถ้ำที่สวยงามที่สุดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

(ที่มา : สุรินทร์ บัวงาม."บันทึกตำนานเมืองปราณบุรี."ประจวบคีรีขันธ์, สภาวัฒนธรรมอำเภอปราณบุรี, ๒๕๔๔. หน้า ๙๕-๙๗)



ลายพระหัตถ์ "จ.ป.ร." ของรัชกาลที่ ๕ และ "ป.ป.ร." ของรัชกาลที่ ๗ (จุดเที่ยวชมที่ ๖)



(ภาพนำมาจาก web http://www.chomthai.com เนื่องจากของตัวเองถ่ายไม่ได้เปิด Flash ค่ะ) มากราบ "อัฐิหลวงพ่อเงิน" วัดดอนยายหอม พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง (จุดเที่ยวชมและสักการะที่ ๗) แล้วก็สวดมนต์บทเมตตาใหญ่พิสดารถวายหลวงพ่อเงินค่ะ



น้องเจ ชี้ให้ดู "ต้นซุ้มรอดคู่" (จุดเที่ยวชมที่ ๘) และเล่าความเชื่อให้ฟังว่า เป็นต้นไทรรูปทรงประหลาด รากอากาศของแต่ละกิ่งงอกยาวห้อยลงมาเป็นซุ้ม มีความเชื่อกันว่าหากคู่รักได้ลอดซุ้มนี้จะรักกันมากขึ้น ส่วนคนที่ยังไม่พบรัก ให้อธิษฐานให้ได้พบเนื้อคู่ก็จะสมหวัง (ลองดูนะจ๊ะ)

ส่วนจุดเที่ยวชมที่ ๙ "หินจระเข้" และจุดเที่ยวชมที่ ๑๐ "ต้นไม้มีพิษ" หรือต้นช้างร้อง เมื่อโดนหนามจากใบ ได้รับความเจ็บปวดมาก (ก็ขนาดช้างร้องนะน๊ะ) ไม่ได้เขาชมค่ะ เพราะตอนนั้นขาสั่นแล้ว เดินไม่ออกแล้วค่ะ



นำภาพของต้นช้างร้อง หรือ เรียกว่า "ตะลังกังช้าง" มาให้ชม พยายามอย่าโดนนะมันเจ็บ แสบคัน่ะ

หลังจากนั้นก็กลับไปสลบกันหมดที่ที่พักค่ะ "สามร้อยยอดรีสอร์ท"

ขอบคุณครับ ยังไม่เคยไปเลย
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้