ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3772
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เหรียญ ร.5 ครบ 100 ปี วัดราชบพิธ พ.ศ. 2513

[คัดลอกลิงก์]






เหรียญเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5 รุ่นที่ระลึกงานฉลองครบรอบร้อยปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ ปี 2513 เนื้อทองแดง พิธีดี พิธีใหญ่มาก เกจิอาจารย์แห่งยุคปลุกเสกมากมาย น่าบูชามาก หายากมาก

วัตถุมงคล ฉลอง ๑๐๐ ปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม อีกหนึ่ง ของดี ที่ถูกซ่อนเร้น เหรียญพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ จัดทำเป็น ๒ ชนิด คือ ทองคำ ๒๐๙ เหรียญ และ ทองแดง ๑๐๐,๐๐๐ (หนึ่งแสน) เหรียญ ออกแบบโดยกรมศิลปากร และ กองกษาปณ์กรมธนารักษ์ เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ครึ่งพระองค์มีตัวอักษรล้อมรอบพระบรมรูปมีใจความว่า (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดราชบพิธฯ ๒๗ มกราคม ๒๔๑๒) ซึ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏ คือบางเหรียญมีรอย แตกร้าว และเมื่อเหรียญรุ่นนี้ เนื้อกลับดำ แล้วจะมีลักษณะออกไปทาง เนื้อสำริด มิใช่ เนื้อทองแดง จึงตรงกับข้อมูลของช่างและทางวัดว่าเป็น เนื้อทองผสม ที่เจือ โลหะมงคล ที่เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองเป็น ปฐมฤกษ์ และเจือด้วย “โลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่าของวัดราชบพิธฯ” และ “แผ่นโลหะลงอักขระ” ของพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักร ๑๐๘ รูป ส่วนด้านหลังเป็น “ตราวัดราชบพิธฯ” มี “พระเจดีย์” อยู่ตรงกลางแวดล้อมด้วย “พระอุโบสถ” และ “พระวิหาร” มีก้อนเมฆและสุมทุมพุ่มไม้ประกอบเป็นทิวทัศน์และมีอักษรล้อมรอบว่า “ที่ระลึกงานครบรอบร้อยปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๒๗ มกราคม ๒๕๑๒” ทั้งนี้ ก็เพราะเป็นรุ่นที่จัดสร้างขึ้นในโอกาสที่ “วัดราชบพิธฯ” ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนา เป็น “พระอารามที่ ๑” ในรัชกาลของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕” โดยพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ ๒๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๑๒ และ วันที่ ๒๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ จึงมีอายุครบ ๑๐๐ ปี บริบูรณ์ ดังนั้นในศุภวาระมหามงคลดิถีพิเศษนี้ “ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ)” สมเด็จพระสังฆราชลำดับที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๓๑) ครั้งยังทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” และทรงเป็น “เจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ” ได้ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งขณะนั้น “จอมพลประภาส จารุเสถียร” (ครั้งครองยศพลเอก) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นประธานกรรมการ อำนวยการจัดงานสมโภช จึงได้ตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธฯ โดยจัดสร้าง “ปูชนียวัตถุ” หลายชนิดเพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์และโดยที่ “วัดราชบพิธฯ” เป็นพระอารามที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาเป็น “วัดประจำรัชกาล” จึงได้กราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญ “ตราสัญลักษณ์” พระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” ประดิษฐานไว้ที่ปูชนียวัตถุที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษในครั้งนี้

วัตถุ มงคล ‘ฉลอง 100 ปีวัดราชบพิธฯ’ อีกหนึ่ง ‘ของดี’ ที่ถูกซ่อนเร้น ซึ่งท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” (วาสนมหาเถระ) ทรงเป็นประธานกรรมการดำเนินงานจัดทำของที่ระลึก โดยได้ปรึกษาหารือกับกรรมการท่านอื่น ๆ หลายครั้งเพื่อให้ปูชนียวัตถุที่สร้างในวาระอัน เป็นพิเศษครั้งนี้ “อุดมไปด้วย สิริมงคล” จึงได้จัดหาแผ่นทองถวาย “พระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ” ทั่วพระราชอาณาจักรลง “อักขระเลขยันต์” พร้อมปลุกเสกตามถนัดของแต่ละท่าน เพื่อนำมาหลอมหล่อเจือปนในปูชนียวัตถุที่จะสร้างขึ้น

โดยมีรายนาม “พระอาจารย์” รูปสำคัญ ๆ ดังนี้ “หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา, หลวงพ่อเกษมเขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, พระอาจารย์นำแก้วจันทร์ วัดดอนศาลา, หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้, หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว, หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะ บำรุง ฯลฯ” และคณาจารย์รูปอื่นๆ จำนวน 108 รูป ซึ่งพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักรตามรายนามข้างต้นก็ได้ “มรณภาพ” ไปแล้วได้ทำการลงอักขระในแผ่นยันต์ “108 แผ่น” เพื่อให้เป็นชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ผสมผสานในวัตถุมงคลชุดนี้โดยแต่ละ ท่านได้ “ตั้งใจ” ทำกันอย่างเต็มที่เพราะถือเป็น “งานใหญ่” ที่นานๆ จะมีขึ้นสักครั้งในยุคนั้นโดย “วัตถุมงคล” ทั้งหมด อันได้แก่ “พระพุทธอังดีรสจำลอง, พระพุทธ รูปบูชาศิลปะไทยประยุกต์แบบคุปตะ, พระกริ่งจุฬาลงกรณ์-พระชัยวัฒน์จุฬาลงกรณ์, พระหูยานจุฬาลงกรณ์ (จ.ป.ร.) พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ครึ่งพระองค์, เหรียญพระบรมรูปรัชกาลที่ 5” และ “แหวนมงคล 9” ที่สร้างขึ้นในวาระ “อันเป็นพิเศษ” เดียวกันนี้ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น “ปฐมฤกษ์” ในวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2513 โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์เนื้อทองคำ” เป็นปฐมฤกษ์และ “ทองชนวน” ที่เหลือนั้นช่างได้นำไปผสมผสานกับเนื้อโลหะที่สร้าง “วัตถุมงคล” ทุกชนิดจนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ “9 เดือน” จึงแล้วเสร็จจากนั้นทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธี “มหาพุทธาภิเษก” เป็นเวลา “3 วัน 3 คืน” คือ ระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 อันเป็นวันครบรอบวันสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ครบ “101 ปี” กับ 2 วัน อนึ่งนับเป็นวาระ “อันพิเศษยิ่ง” ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แก่ “วัดราชบพิธฯ” ยิ่งนักเพราะตามบันทึกของวัดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง “พิธีพุทธาภิเษก” วัตถุมงคลฉลอง “100 ปี” ที่วัดราชบพิธฯ ถึง “2 วัน” ด้วยกันคือ “วันที่ 29 มกราคม 2514” อันเป็นวันเริ่มพิธี “มหาพุทธาภิเษก” ได้เสด็จฯ ทรงจุด “เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล” และ “เทียนนวหรคุณ” ในเวลา 16.05 น. และในวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2514 เวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรง “พระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้” จึงนับเป็น “กรณีพิเศษยิ่ง” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลาถึง “2 วัน” นอกเหนือจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในพิธี “เททอง” เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2513 แล้วดังนั้น “วัตถุมงคล” ชุด “ฉลอง 100 ปี วัดร
http://www.olx.co.th/product-6576357/

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้