ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2655
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

กำเนิดวัดปากคลองมะขามเฒ่า

[คัดลอกลิงก์]


เรื่องเล่าชาวสยาม
21 ชม. · มีการแก้ไข ·




กำเนิดวัดปากคลองมะขามเฒ่า


เมื่อหลวงปู่ศุขท่านรับนิมนต์จากโยมมารดาแล้ว โยมท่านพร้อมด้วยชาวบ้าน จึงได้ช่วยกันสร้างกฏิหลังแรกให้ท่านอยู่ เป็นกุฏิเล็กๆหลังคามุงด้วยแฝก จากนั้นได้ช่วยถางป่าไผ่ ขยายอาณาเขตของวัดออกไปเรื่อยๆ พร้อมกับปลูกกล้วยและผลไม้อื่นๆลงไป ภายหลังมีชาวบ้านฝั่งตรงกันข้ามกับวัดปากคลองมะขามเฒ่าได้ถวายบ้านให้รื้อเอามาปลูกเป็นกุฏิถาวรขึ้นเป็นหลังแรก ต่อมามีผู้ถวายบ้านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นกุฏิถาวรขึ้นสี่หลัง นับว่าเป็นสภาพวัดปากคลองมะขามเฒ่าในยุคแรกๆ
ข้าพเจ้าเกิดความสนใจว่า วัดปากคลองมะขามเฒ่าเริ่มถือกำเนิดเกิดขึ้นเมื่อใด เนื่องจากไม่มีการบันทึกไว้จึงเป็นการยากมากในการหาหลักฐาน ยิ่งเนิ่นนานออกไปจะไม่มีโอกาสรู้เลยจึงได้ลองสอบถามกับนายทองดี สุวรรณวัฒนะ ซึ่งข้าพเจ้าต้องยอมรับว่าความจำดีเลิศ โดยสอบเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวนายทองดีเองยกตัวอย่างเช่น เมื่อหลวงพ่อศุข มาปักกลดนั้น มีใครเกิดใครตายบ้าง แล้วคิดออกมาเป็นพ.ศ. ปรากฏได้ความว่า วัดปากคลองมะขามเฒ่าถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ อย่างช้าไม่เกิน พ.ศ. ๒๔๓๖
ถ้าถือว่าวัดปากคลองสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ แล้ว หลวงพ่อศุขจะมีอายุ ๔๔ ปี และบวชได้ ๑๙ พรรษา ใกล้เคียงกับที่บางคนกล่าวว่า ท่านออกธุดงค์ได้ประมาณ ๑๕ พรรษา
การเรียกชื่อวัด
เดิมทีเดียวนั้น ที่ปากคลองมะขามเฒ่าเหนือ มีต้นมะขามใหญ่มากอยู่ต้นหนึ่ง มีขนาดประมาณ ๓ คนโอบ ต้นไม่สูงมากนัก ขึ้นอยู่ตรงริมคลอง ต่อมาน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลเซาะดินฝั่งด้านตะวันตกของแม่น้ำพังลงไปเรื่อยๆจนในที่สุดต้นมะขามใหญ่ต้นนี้ก็ถูกน้ำเซาะล้มลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ให้ประวัติหลวง พ่อศุขบางท่านที่ข้าพเจ้ารู้จัก ยัง-ทันได้เห็นต้นมะขามใหญ่ต้นนี้ ซึ่งต้นมะขามต้นนี้จึงเป็นที่มาของชื่อคลองมะขามเฒ่าและวัดปากคลองมะขามเฒ่าในปัจจุบันนี้
ในระยะแรกที่หลวงพ่อศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่ามาตั้งวัดนั้น ท่านได้สร้างพระอุโบสถและวิหารไม่ห่างจากวัดร้างวัดหนึ่งซึ่งเรียกว่า วัดอู่ทอง สมัยก่อนนั้นพระอุโบสถของวัดอู่ทองยังคงมีผนังโบสถ์ให้เห็นอยู่ได้ชัดเจน ตัวพระอุโบสถตั้งอยู่กลวงสระมีน้ำล้อมรอบพระเจดีย์ต่างๆยังมีฐานสูงพอให้แลเห็นได้ แต่บริเวณทั่วๆ ไปของวัดยังรกร้างอยู่มาก
เมื่อหลวงพ่อศุขสร้างวัดขึ้นสำเร็จแล้ว คงจะได้นำชื่อวัดอู่ทองมาใช้เป็นชื่อวัดของท่าน มีหลักฐานทางวัตถุพอเป็นที่อ้างอิงได้ก็คือ เหรียญรุ่นหนึ่งของท่านซึ่งนำมาออกที่วัดทรงเสวย ตำบลหนองน้อย อำเภอวังสิงห์ ยังมีจารึกด้านหลังว่า "พระครูวิมล อยู่วัดอู่ทอง คลองมะขามเฒ่า"
พยานบุคคลอีกผู้หนึ่งก็คือ นายเนตร แพ่งกลิ่น ผู้ทำหน้าที่เป็น "เลขานุการ" ของหลวงพ่อศุขอยู่หลายปีก็กล่าวกับข้าพเจ้าว่า ชื่อเดิมของวัดปากคลองมะขามเฒ่าก็คือวัดอู่ทองปากคลองมะขามเฒ่า
สมุห์ทองหล่อ ทัศมาลี (ทองหล่อฐาวโร) อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ ๕ ของวัดปากคลองมะขามเฒ่า เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า สมัยเป็นเด็กก็เป็นลูกศิษย์อยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เมื่องานศพหลวงพ่อศุขก็เคยแต่งลูกเสือร่วมขบวนแห่ศพด้วย ท่านผู้นี้บอกกับข้าพเจ้าว่า ป้ายชื่อวัดสมัยเดิมเขียนว่า วัดอู่ทอง ปากคลองมะขามเถ้า ใช้ ถ แทน ฒ เป็นการเขียนแบบโบราณ
จากการค้นคว้าทำให้ข้าพเจ้าทราบว่า ชื่อวัดอู่ทอง ปากคลองมะขามเฒ่านี้ ยังคงใช้กันต่อมาเรื่อยจนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๔๗๔ สมัยพระปลัดนิด (นิด มานิตากูล) เป็นเจ้าอาวาส ได้ใช้ชื่อวัดปากคลองมะขามเฒ่าเป็นชื่อทางราชการตั้งแต่นั้นมา โดยตัดคำว่าอู่ทองออก ข้อมูลนี้ตรงกับคำบอกเล่าของสมุห์ทองหล่อ ทัศมาลี ซึ่งกล่าวว่าชื่อวัดเปลี่ยนเมื่อท่านบวชเป็นพระพรรษาแรก คือ พ.ศ. ๒๔๗๔
สาเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อวัดสาเหตุ ๒ ประการคือ ประการแรก ชื่อวัดเดิมยาวเกินไป ประการที่สอง ชาวบ้านเองก็นิยมเรียกว่า วัดปากคลองมะขามเฒ่า
การพระราชทานวิสุงคามสีมา
วัดปากคลองมะขามเฒ่าจะได้นับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อใด ยังไม่สามารถหาหลักฐานยืนยันได้ เท่าที่สืบทราบได้ สมุห์ทองหล่อ ทัศมาลี อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่ากล่าวว่า ยังมันได้เห็นใบพระราชทานวิสุงคามสีมา ซึ่งเขียนด้วยตัวขอมมีลายเซ็นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย แต่ต่อมาไม่ทราบว่า เอกสารแผ่นนี้สูญหายไปไหน
ขอบคุณข้อมูลจากพี่ Ba Deang มา ณ ที่นี้ด้วยครับ







ขอบคุณข้อมูลดีๆ ครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้