ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
สุญญตา : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2017
ตอบกลับ: 2
สุญญตา : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-11-22 20:58
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
การปฏิบัติธรรมะ บุคคลทุกคนย่อมปฏิบัติได้ ไม่ว่าจะเป็นสตรีบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์บรรพชิต ไม่ว่าจะเป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ และในการปฏิบัติธรรมะนั้นก็ปฏิบัติให้รู้จักศีล ให้รู้จักสมาธิ ให้รู้จักปัญญา ก็ให้รู้จักที่จิตนี้เอง เมื่อจิตเป็นศีลก็จะรู้จักศีลที่จิต เมื่อจิตเป็นสมาธิก็รู้จักสมาธิที่จิต เมื่อจิตเป็นปัญญาก็รู้จักปัญญาที่จิต และก็จะรู้จักผลของการปฏิบัติ อันเป็นความว่าง อันเป็นความสงบ หรือเรียกชื่ออย่างอื่นว่าเป็นความหลุดพ้นเป็นต้น
ซึ่งล้วนมีศัพท์แสง และเมื่อใช้ศัพท์แสงหากไม่เข้าใจก็จะทำให้ฝั้นเฝือ แต่ถ้าเข้าใจก็จะทำให้เข้าถึงความหมายด้วยศัพท์แสงที่เป็นคำสั้นๆ
อันความหลุดพ้นเมื่อใช้ศัพท์แสงก็เรียกว่า วิมุติ หรือเรียกว่า นิพพาน อันความสงบก็เรียกว่า สันติ หรือ สมถะ อันความว่างก็เรียกว่า สุญญตา เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมะในพุทธศาสนา เมื่อรู้จักผลเหล่านี้แม้เพียงเล็กน้อย คือรู้จักความว่าง รู้จักความสงบ รู้จักความหลุดพ้น แม้เพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้เข้าใจพุทธศาสนาได้ดีขึ้น ได้รู้จักพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งเป็นพระรัตนตรัยนี้ ได้ดีขึ้น ได้ถูกต้องขึ้น
สุญญตา
ดังจะยกขึ้นมากล่าวสักคำหนึ่ง คือคำว่าความว่าง หรือเรียกตามศัพท์ว่า สุญญตา ที่แปลว่าความว่าง อันความว่างนั้นก็เป็นคำที่พูดกันอยู่ และก็พูดกันทั้งในด้านที่ดี และทั้งในด้านที่ไม่ดี ว่าถึงในด้านที่ไม่ดีก็ดังคำว่า ว่างการว่างงาน ไม่มีอะไรทำ อยู่ว่างๆ ก็ทำให้ขาดประโยชน์ที่จะพึงได้ และทำให้จิตใจกลัดกลุ้ม ดังเช่นเมื่อเคยทำการทำงานต่างๆ อยู่เป็นประจำ เมื่อมาว่างงาน ไม่ทำอะไร เป็นเหมือนอยู่เฉยๆ ก็ทำให้กลัดกลุ้ม และสำหรับผู้ที่ต้องการประโยชน์จากการงาน เมื่อว่างงานก็แปลว่าขาดประโยชน์ ก็ทำให้เกิดความขัดข้องต่างๆ ในการดำรงชีวิต เหล่านี้เป็นความว่างที่ใช้ในทางที่ว่าไม่ดี แต่อีกอย่างหนึ่งความว่างที่ใช้ในทางดี ก็คือความที่ว่างโดยที่ได้พักผ่อน เมื่อต้องการความพักผ่อน และเมื่อได้โอกาสซึ่งเป็นความว่าง ได้พักผ่อน ก็ทำให้บังเกิดความผาสุข
ในทางพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้รู้จัก สุญญตา คือความว่าง มุ่งถึงความว่างกิเลส และว่างทุกข์ซึ่งเกิดจากกิเลส ว่างบาปอกุศลทุจริต ก็เป็นการว่างจากความทุกข์เพราะเกิดจากบาปอกุศลทุจริต
ในการปฏิบัติธรรมะนั้นต้องการผลคือความว่างกิเลส ว่างบาปอกุศลทุจริต และว่างความทุกข์ที่เกิดเพราะกิเลส และบาปอกุศลทุจริตต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงต้องเข้าใจความว่าง ดังที่กล่าวมานี้
การปฏิบัติธรรม
การปฏิบัติธรรมะนั้น การเข้ามาบวชก็เป็นการเข้ามาปฏิบัติธรรมะ หรือแม้การไม่เข้ามาบวช แต่ว่าการที่มาสมาทานศีลฟังธรรม ก็เป็นการปฏิบัติธรรมะ หรือแม้การที่ตั้งใจปฏิบัติด้วยตัวเองในศีลในสมาธิในปัญญาก็เป็นการปฏิบัติธรรมะ ก็มุ่งผลให้จิตนี้ว่างกิเลสและความทุกข์ที่เกิดเพราะกิเลส ว่างบาปอกุศลทุจริตทั้งหลาย และว่างความทุกข์ อันเป็นผลของบาปอกุศลทุจริตทั้งหลาย ให้จิตนี้มีความว่างดังกล่าวนี้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็ให้กายวาจาใจนี้เองว่างจากบาปอกุศลทุจริตทั้งหลาย
ความว่างดังกล่าวนี้แหละ ก็เป็นความสงบ และก็เป็นความพ้น สงบก็คือสงบกิเลส โลภ โกรธ หลง สงบบาปอกุศลทุจริตต่างๆ ทางกายทางวาจาทางใจ และก็เป็นความหลุดพ้น คือว่าหลุดพ้นจากบาปอกุศลทุจริตต่างๆ ตลอดจนถึงหลุดพ้นจากกิเลสต่างๆ กองโลภ กองโกรธ กองหลง จะเป็นความพ้นได้ชั่วคราว หรือว่าความพ้นได้นานๆ หรือตลอดไปก็ตาม ก็เป็นความหลุดพ้นทั้งนั้น แล้วก็เป็นความสงบทั้งนั้น และอันนี้เองก็เป็นความว่าง
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-11-22 20:59
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อาลัยของจิต
แต่จิตใจของบุคคลทั่วไปนั้นมีความไม่ว่างประจำอยู่ ก็คือมีนันทิคือความเพลิน มีราคะคือความติดใจยินดี มีตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากของใจอยู่เป็นประจำ ซึ่งเรียกว่าอาลัย หรือเรียกว่ากังวลบ้าง เรียกว่ากามฉันท์ความพอใจรักใคร่อยู่ในกาม คือรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย
หรือเรียกอำนาจกิเลสกาม มีอยู่เป็นประจำ จิตย่อมอยู่ในอาลัย หรืออาศัยอยู่กับอาลัยดังกล่าวนี้ อาลัยดังกล่าวนี้จึงเหมือนอย่างเป็นบ้านของจิต ท่านจึงเปรียบเหมือนอย่างว่าอาลัย คือน้ำเป็นที่อาศัยอยู่ของปลา ฉะนั้น
เพราะฉะนั้นจิตนี้จึงไม่ว่างอยู่โดยปรกติ และเมื่อปล่อยให้จิตนี้ท่องเที่ยวไปในอาลัยอันเป็นที่อยู่ อันเรียกว่ากามคุณ หรือเรียกว่ากามฉันท์ก็จะไม่รู้สึกเดือดร้อน แม้ว่าจะต้องมีความทุกข์มาสลับกับความสุขเป็นครั้งเป็นคราว ก็อยู่ได้ เพราะอำนาจของความเพลิดเพลิน และความติดอยู่ ลักษณะของจิตสามัญทั่วไปย่อมเป็นไปอยู่ดั่งนี้ และการที่ได้ปฏิบัติจัดทำต่างๆ ไปตามวิสัยของกิเลสดังกล่าว หรือของอาลัยดังกล่าว จึงทำให้รู้สึกเพลิดเพลินไป ไม่รู้สึกเดือดร้อน
แต่เมื่อต้องมาอยู่กับความว่าง แม้ในบางครั้งบางคราว อันหมายความว่าไม่ขวนขวายจัดทำทางกายทางวาจาทางใจ ไปตามอำนาจของกิเลสหรืออาลัยดังกล่าวนั้น ก็จะรู้สึกเหมือนอย่างว่า เหมือนอย่างการที่มานั่งทำความสงบก็ดี นั่งฟังอบรมหรือฟังเทศน์ก็ดี หรือการเข้ามาบวชก็ดี ซึ่งเป็นการหยุดพักจากการวิ่งเต้นขวนขวายไปต่างๆ ตามอำนาจของอาลัย หรืออำนาจของกิเลส ก็ทำให้รู้สึกเหมือนอย่างว่าว่าง และทำให้เกิดความรำคาญ หรือความดิ้นรนไปเพื่อที่จะได้ปฏิบัติจัดทำ เหมือนอย่างที่จะทำตามปรกติ จึงทำให้เข้าใจว่าความว่างทำให้เดือดร้อน
แต่อันที่จริงนั้น เมื่อศึกษาดูให้ดี กำหนดดูให้ดีที่จิตแล้ว จึงจะเข้าใจว่าอันที่จริงไม่ว่าง เพราะจิตนี้ยังมีนันทิความเพลิดเพลิน
ราคะความติดใจยินดีไปด้วยกันอยู่กับตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก ในอารมณ์คือเรื่องทั้งหลายอยู่เป็นประจำ และเมื่อต้องมาหยุด แม้ในขณะที่มานั่งสมาธินี้ก็ต้องมาหยุดจิต ไม่ให้คิดไปในอารมณ์คือเรื่องทั้งหลายตามใคร่ตามปรารถนา ก็ทำให้รู้สึกอึดอัดรำคาญไม่สบาย ก็ทำให้เข้าใจว่าเพราะว่าง
เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมะจึงต้องหัดกำหนดจิตให้รู้จักว่า อันที่จริงเป็นความไม่ว่าง จิตยังไม่ว่าง จิตยังมีนันทิความเพลิน ราคะความติดใจยินดี ไปด้วยกันอยู่กับตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก จึงทำให้ยินดีเพลิดเพลินยิ่งๆ ขึ้นไปอีกในอารมณ์คือเรื่องนั้นๆ โดยไม่หยุด เพราะฉะนั้นจึงต้องทำความรู้จักว่าอันที่จริงไม่ว่าง ยังไม่เป็นความว่าง
ความว่างในขั้นศีลสมาธิปัญญา
การที่จะเป็นความว่างนั้นต้องหัดกำหนดให้รู้จัก ความสงบกายสงบวาจาสงบใจ ซึ่งเป็นศีล ไม่ดิ้นรนไปเพื่อที่จะประพฤติก่อภัยก่อเวรต่างๆ จิตพร้อมทั้งกายทั้งวาจาสงบเรียบร้อย ดั่งนี้ก็เป็นศีล ตัวศีลนี่แหละเป็นความว่าง ว่างจากภัย ว่างจากเวรทั้งหลาย ไม่ก่อภัยไม่ก่อเวรอะไรๆ ขึ้น ทางกายวาจาพร้อมทั้งทางใจ คือใจก็ไม่คิดที่จะไปก่อภัยก่อเวรแก่ใคร ไปทำร้ายเบียดเบียนใคร กายวาจาก็ไม่ไปประพฤติกระทำร้ายใครเบียดเบียนใคร ก็ว่างจากภัยจากเวรทั้งหลาย ใจที่ว่างดั่งนี้ กายวาจาที่ว่างดั่งนี้เป็นศีล
จิตก็เหมือนกัน เมื่อจิตสงบได้จากความคิดฟุ้งซ่านไป ในอารมณ์ตามใคร่ตามปรารถนาต่างๆ มาตั้งมั่นอยู่ในกิจที่ควรทำต่างๆ ตลอดจนถึงมีความสงบอยู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านออกไป ความสงบจิตดั่งนี้ก็เป็นสมาธิ และปัญญาคือตัวความรู้ ความรู้ที่รู้จักศีลตามเป็นจริง รู้จักสมาธิตามเป็นจริง
ตลอดจนถึงรู้จักตัวความว่าง ว่าความว่างที่เป็นความว่างจริงนั้น ต้องว่างจากความเพลิดเพลิน ความติดใจยินดีที่ไปกับตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก ดั่งนี้ก็เป็นปัญญา คือรู้จักสัจจะคือความจริงที่กายวาจาใจของตัวเอง ดั่งนี้ก็เป็นปัญญา จิตที่เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญานี้เอง ก็เป็นตัวความว่างซึ่งเป็นตัวผล เป็นความสงบที่ยิ่งๆ ขึ้นไป และเป็นความรู้ที่ยิ่งๆ ขึ้นไป
เมื่อเป็นดั่งนี้แล้ว จึงจะรู้จักธรรมะ รู้จักพุทธศาสนา เมื่อรู้จักธรรมะรู้จักพุทธศาสนาดั่งนี้ แม้น้อยหนึ่งก็เป็นประโยชน์มาก เพราะได้รู้จักของจริงของแท้ ว่าพุทธศาสนาที่จริงที่แท้นั้นเป็นอย่างนี้ และจะทำให้รู้จักลู่ทางที่จะปฏิบัติให้พบกับความว่าง ให้พบกับความสงบ ให้พบกับความหลุดพ้นของตนยิ่งๆ ขึ้นไปได้
ความจริงที่ตนเอง
พระบรมศาสดาผู้ทรงรู้ทรงเห็น ได้ทรงแสดงธรรมะสั่งสอน ก็เพื่อให้ผู้ปฏิบัติทุกคนได้รู้ได้เห็นสัจจะคือความจริงนี้ ที่ตนเองของทุกๆ คน ไม่ใช่ที่อื่น แม้ที่ทรงแสดงสติปัฏฐานทั้ง ๔ ตั้งสติกำหนดดูกายเวทนาจิตธรรม ก็เป็นการดูให้รู้เข้ามาในการที่จะปฏิบัติอาศัยกายเวทนาจิตธรรมนี้เอง ให้เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญาขึ้นมา และให้พบกับความว่าง ให้พบกับความสงบ ให้พบกับความหลุดพ้น ไม่ใช่อย่างอื่น
และก็ทรงจำแนกแจกธรรม ก็คือตรัสสอนให้ผู้ฟัง รู้จักจำแนกทางปฏิบัติออกไปเป็นกาย เป็นเวทนา จิต ธรรม ดูให้รู้จักกาย รู้จักเวทนา รู้จักจิต รู้จักธรรม ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว และโดยเฉพาะในข้อที่เกี่ยวกับธรรมะนั้น ก็ได้ทรงสรุปเข้าในสัจจะคือความจริง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-11-22 21:00
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ความทุกข์ ความสุข
(เริ่ม ๓๑/๒) อันได้แก่ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ก็ให้รู้จักตัวทุกข์ที่ กาย เวทนา จิต ธรรม นี้นี่เอง คือให้รู้จักว่าตัวทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่ต้องทน โดยสามัญบุคคลนั้น สิ่งที่ทนยากจึงเรียกกันว่าทุกข์ แต่สิ่งที่ทนง่ายเรียกกันว่าสุข แต่ที่จริงนั้นก็เป็นสิ่งที่ต้องทนทั้งนั้น เป็นทุกข์ทั้งนั้น โลกเรียกว่าสุข เรียกว่าทุกข์ แต่อย่างละเอียดตามคดีธรรมนั้นเป็นทุกข์ทั้งนั้น คือเป็นสิ่งที่ต้องทนทั้งนั้น ทั้งสุขและทั้งทุกข์ที่คนเข้าใจกันอยู่ และเมื่อทนง่ายก็ไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์มาก แต่อันที่จริงนั้นเป็นทุกข์คือทุกข์น้อย แต่ว่าเมื่อต้องทนยากจึงเรียกกันว่าเป็นทุกข์
เพราะเหตุว่าทุกๆ สิ่งนั้น ที่เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งหมด ย่อมเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ต้องเกิดต้องดับ เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งที่ต้องเกิดต้องดับ ก็เป็นสิ่งที่เป็นทุกข์คือทนยากทั้งนั้น คือทนอยู่ไม่ได้ ถ้าหากว่าทนอยู่ได้แล้วก็จะไม่ต้องดับ เหมือนอย่างความสุขที่ว่าเป็นความสุขกันทางคดีโลกนั้น แม้ไม่กล่าวว่าทนง่าย คือว่าทุกข์น้อย เรียกกันว่าสุข หรือกล่าวกันว่าสุขนี่แหละ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ตั้งอยู่ตลอดไป อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป เมื่อหายไปอาการที่ต้องทนมาก หรือทนยาก ที่เรียกกันว่าความทุกข์ตามธรรมดานั้น ก็บังเกิดขึ้นมาอีก เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เป็นความสุขอะไรที่แท้จริง แต่เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่เพียงชั่วคราว คือตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป
เพราะฉะนั้นจึงต้องหัดดูให้รู้จัก ว่าแม้ความสุขที่เข้าใจกันนี้ก็เป็นตัวทุกข์ คือเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป และแม้สิ่งที่น่าปรารถนาพอใจทั้งหลายอย่างอื่น เช่นลาภยศสรรเสริญต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน ก็เป็นสิ่งที่ต้องเกิดต้องดับ ไม่ตั้งอยู่คงที่ อาจจะมีอยู่ ตั้งอยู่ นานบ้าง แต่ในที่สุดก็ต้องดับ ต้องหายไป
แม้ว่าจะดำรงอยู่นาน ชีวิตนี้ก็จะต้องดับไปก่อน เพราะชีวิตนี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องเกิดต้องดับ เมื่อชีวิตนี้ดับไปก่อนก็เป็นอันว่า ก็ต้องละทุกอย่าง ไม่เป็นเจ้าเข้าเจ้าของในสิ่งทั้งปวงอยู่ได้ตลอดไป พิจารณาให้รู้จักดั่งนี้ ว่าเป็นทุกข์ทั้งนั้นคือเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป
พิจารณาให้รู้จักทุกข์ตามเป็นจริง
แต่ว่าบุคคลนั้น เมื่อยังไม่กำหนดให้รู้จักทุกข์อย่างละเอียดลงไปจริงๆ จึงทำให้มีความเพลินอยู่ในทุกข์ มีความติดอยู่ในทุกข์ ยึดเอาทุกข์ไว้ เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ปล่อยไม่ได้ พระบรมศาสดาจึงได้ตรัสสอนให้กำหนดให้รู้จักทุกข์ตามความเป็นจริง และก็ตรัสสอนไว้เป็นอันมากในเรื่องนี้ เพื่อให้หมั่นพิจารณาให้รู้จักทุกข์ตามความเป็นจริง และเมื่อมองเห็นทุกข์แล้ว ก็จะทำให้ผ่อนคลายความเพลิดเพลิน ความติดใจยินดี ความดิ้นรนไปในทุกข์ต่างๆ ก็จะทำให้ปล่อยทุกข์ได้
พระบรมศาสดาได้ตรัสสอนไว้โดยปริยายคือทางเป็นอันมาก และในสติปัฏฐานก็ได้ตรัสสอนให้พิจารณาให้รู้จัก ตลอดจนถึงตัวสมุทัยคือเหตุเกิดทุกข์ คือตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก ว่าก็เกิดขึ้นที่ทุกข์นี่แหละ แล้วก็ดับไปที่ทุกข์นี่แหละ และโดยที่ตรัสขยายทุกข์ออกไปเป็นอายตนะภายใน อายตนะภายนอก เป็นวิญญาณ เป็นสัมผัส เป็นเวทนา เป็นสัญเจตนา เป็นตัณหา เป็นวิตก เป็นวิจาร ทั้งหมดนี้ก็รวมอยู่ในคำว่าทุกข์ทั้งนั้น คือตัวทุกข์นี้เอง อันสรุปเข้าได้ว่าตัณหาก็บังเกิดขึ้นตั้งอยู่ที่ตัวทุกข์ ดับไปก็ดับไปที่ตัวทุกข์นี้เอง ไม่ใช่ที่อื่น
เพราะฉะนั้น การที่จะพิจารณาให้เห็นทุกข์นั้น จึงต้องพิจารณาให้ผ่านตัวทุกข์ที่เข้าใจว่าเวทนาต่างๆ ที่ทนง่ายทนยากดังกล่าวนั้น
เข้าไปจนถึงตัวสังขารอันเป็นที่ตั้งของทุกข์ทั้งปวง ที่ตรัสเรียกว่าขันธ์บ้าง อายตนะบ้าง ธาตุบ้าง หรือที่ตรัสจำแนกไว้ในหมวดที่ทรงแสดงถึงสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ และความดับทุกข์ดังกล่าวนี้ รวมเข้าในคำว่าทุกข์คำเดียวทุกๆ ข้อ ตัณหาก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ที่ทุกข์ แต่เพราะยังไม่เห็นทุกข์ จึงได้มีความเพลินอยู่ในทุกข์ และมีความติดใจอยู่ในทุกข์ แต่ว่าเมื่อเห็นทุกข์แล้วก็จะทำให้ปล่อยวาง ไม่ต้องการ ก็เป็นความดับทุกข์ ก็ดับที่ทุกข์นั้นเอง เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติจึงสมควรที่จะหมั่นฝึกหัดพิจารณา ให้รู้จักสัจจะคือตัวความจริงนี้ และจะพบกับสุญญตาคือความว่าง พบกับสันติคือความสงบ จะพบกับวิมุติคือความหลุดพ้น ตามสมควรแก่ความปฏิบัติที่ได้ที่ถึง
ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป
.......................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40773
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...