ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วัดพระพุทธฉาย สระบุรี

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-28 21:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



บันไดทางขึ้น มณฑป สองยอด
พระพุทธฉาย จากลานวัดเชิงภูเขา มีบันไดคอนกรีต ขึ้นไปยังระเบียงคต ซึ่งล้อมหน้าผา ตอนที่ปรากฏพระพุทธฉาย

ภายในมณฑปสองยอดที่สร้างครอบพระพุทธฉายเอาไว้ ตรงเชิงหน้าผาประดิษฐานพระพุทธรูปข้างละ ๕ องค์


ภาพพระพุทธฉาย เมื่อมองจากด้านตรง องค์พระพุทธฉายเป็นเส้นเงาสีแดงช้ำ แม้ไม่คมชัดก็พอให้เห็นขอบนอก

   
(ซ้าย)  ภาพพระพุทธฉาย  (ขวา)  ภาพโครงร่างแสดงวิธีดูเงาพระพุทธฉาย ซึ่งสูงประมาณ 5 เมตร

          ในส่วนของ รอยพระบาท นั้นเมื่อค้นพบจึงโปรดให้สร้างเป็นมหาเจดียสถานมีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาท และโปรดให้สร้างสังฆารามแล้วทรงพระราชอุทิศที่ส่วนหนึ่งโดยรอบพระพุทธบาทและ พระพุทธฉายถวายเป็นพุทธบูชา
          ต่อมาถึงรัชสมัยพระเสือ ราว พ.ศ.2246 - 2251 ปรากฏว่า ทรงปฏิสังขรณ์พระมณฑปโปรดให้เปลี่ยนแปลงเป็นพระมณฑป 5 ยอด จากพงศาวดารตำนานที่ปรากฏชัดว่า “สมเด็จพระเจ้าเสือพร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธบาท เป็นต้น จนถึงกษัตริย์พระองค์สุดท้ายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธฉาย ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรงุศรีอยุธยาฉบับพันจันทนมาศ (เจิม หน้า 484 ได้ กล่าวไว้ในบท “สมโภชพระพุทธบาท” เกี่ยวกับพระพุทธฉายว่า ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ว่า “ครั้นเดือนอ้ายเสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธฉาย แรมอยู่ 3 วัน ฯลฯ แล้วเสด็จกลับมาสมโภชพระพุทธบาท 7 วัน”)
          จากประวัติและพระ ราชพงศาวดารดังกล่าวมาแสดงให้เห็นว่า พระพุทธฉายได้เจริญมาสมัยหนึ่งแล้ว ปรากฏจากหลักฐานและวัตถุโบราณนานับประการ ที่ยังปรากฏเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบันนี้ เช่น มณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธบาทบนยอดเขาลม รวมอายุของพระมณฑปนับจากสมัยพระเจ้าเสือได้ประมาณเกือบ 400 ปี
          เหตุ ที่พระมณฑปซึ่งมีอายุเกือบ 400 ปี คงสภาพอยู่ได้ก็คงด้วยอำนาจความศักดิ์สิทธิ์แห่งรอยพระพุทธบาทเป็นแน่แท้ ไม่เช่นนั้นแล้วคงตั้งอยู่ไม่ได้แน่เพราะเหตุมีพายุฝนหลายครั้งหลายหนด้วย กันจนสิ่งปลูกสร้างขึ้นภายหลังยังถูกพายุฝนพัดพังพินาศจนหมดสิ้นคงเหลืออยู่ แต่พระมณฑปหลังนี้เท่านั้นเป็นที่อัศจรรย์
พระมณฑป ๕ ยอด บนยอดเขาลม
           กาลเวลาได้ผ่านมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการบูรณะฟื้นฟูพระพุทธฉายอีกครั้งหนึ่ง ตามศิลาจารึกที่ค้นพบเป็นหลักฐานว่า “พระพุทธศาสนาล่วงมาได้ 2374 ปีมะโรง นักษัตรจัตวาศก มีพระคุณเจ้าสมภาร 4 วัด คือพระปลัด วัดปากเพรียว 1 สมภารวัดบางระกำ 1 สมภารดวงวัดเกาะเลิ่ง 1 และสมภารวัดบางเดื่อ 1 สมภารทั้ง 4 พร้อมทั้งญาติโยมได้มีอุตสาหะพากันมาบูรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธฉาย เป็นเวลาถึง 7 ปี และในปีที่ 8 จึงพระมหายิ้ม ได้มาร่วมกับสมภารทั้ง 4 พร้อมด้วยญาติโยม ได้บูรณะปริสังขรณ์พระพุทธปฏิมากร ระเบียงมณฑป ลงลักปิดทอง บ้างจำลองลายสุวรรณอันบวร ปฏิสังขรณ์พระสถูปเจดีย์ สร้างหอระฆัง สร้างศาลา เป็นต้น ด้านบนยอดเขาได้บูรณะพระมณฑปและลานพระโมคคัลลานะ ขุดบ่อน้ำ บูรณะพระอุโบสถ และตบแต่งสถานที่เป็นเวลาอีก 3 ปี จนถึงปีฉลูจึงเสร็จตามความประสงค์ ได้จัดมหกรรมฉลององค์พระพุทธฉาย เมื่อปีเถาะ เบญจศก” จากศิลาจารึกที่นำมาโดยสังเขปนี้ จะเห็นได้ว่าพระพุทธฉายได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาในระยะหนึ่ง


12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-28 21:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
  กาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราช และสมเด็จพระพันวษาอัยยิกาเจ้า ได้เสด็จมาฟื้นฟูบูรณะพระพุทธฉาย ทรงสร้างมณฑปขึ้นใหม่เป็นมณฑปสองยอดแทนมณฑปเดิม และทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุอื่น ๆ มีเสนาสนะสงฆ์ เช่น ศาลา พระอุโบสถบนยอดเขาลม   ปฏิสังขรณ์มณฑปยอดเดี่ยวบนยอดภูเขาด้านตะวันออก  ซึ่งยังเหลือเป็นอนุสรณ์อยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ นอกจากนั้นพระองค์พร้อมด้วย พระราชวงศ์และข้าราชบริพาร ยังได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธฉายอีกหลายครั้ง ดังปรากฏในประวัติศาสตร์การประพาสต้นและจดหมายเหตุ การบำเพ็ญพระราชกุศลนับเนื่องเกี่ยวกับพระพุทธฉาย เกี่ยวกับพระอุปัชณาย์รัน และพระอธิการรูปอื่น ๆ อีกมาก ให้ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ติดอยู่ ณ เงื่อมผาด้านทิศตะวันตกของมณฑปพระพุทธฉายพร้อมด้วยนามาภิไธยพระบรมวงศานุ วงศ์ ซึ่งปรากฏชัดเจนจนถึงปัจจุบันนี้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช หรือ พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕
เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธฉาย 4 ครั้ง คือ ร.ศ. ๗๙  (พ.ศ.2403)  , ร.ศ. ๙๑ (พ.ศ.2428) ,ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ.2439)
          วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม เวลาเช้า หนึ่งโมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จทรงม้าพระที่นั่ง ออกพลับพลาไปตามทางหลวงข้ามทางรถไฟออกทุ่งนา และเข้าดงถึงพระพุทธฉาย เวลาเช้า 3 โมงเศษ ระยะทาง 223 เส้น มีพระสงฆ์สวดชยันโตรับเสด็จอยู่ที่เชิงเขา เสด็จพระราชดำเนินขึ้นนมัสการพระพุทธฉาย แล้วประทับเสวยเช้าที่ศาลา แล้วทรงจารึกอักษรพระนาม จ.ป.ร. ที่เพิงผา และมีปีที่เสด็จพระราชดำเนินมา ณ ที่นี้ ร.ศ.๗๙ และ ๙๑ และ ๑๐๔ และ ๑๐๕ แล้วโปรดให้อาราธนาเจ้าอธิการลัน เจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย มาถวายเทศนามหาชาติคำลาว เวลาบ่ายเสด็จพระราชดำเนินขึ้นเขาลม มีมณฑปพระบาทบนยอดเขา เสด็จลงจากเขาลมแล้วเสวยกลางวันที่ศาลานั้น แล้วทรงฉายพระรูป เวลาบ่าย 3 โมงครึ่ง เสด็จกลับจากพระฉาย
          พระพุทธฉายได้ บูรณะซ่อมสร้างมาเป็นเวลาช้านาน ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอย่างมาก จนทางข้าราชการร่วมกับคณะสงฆ์เห็นว่าจะปล่อยทิ้งรกร้างไว้อีกต่อไปไม่ได้ ปูชนียสถานที่สำคัญจะถูกทำลายลง จึงได้ส่งพระครูพุทธฉายาภิบาล (นาค ปานรัตน์) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.2491 เพื่อบูรณะซ่อมสร้างสถานที่พระพุทธฉายให้เจริญต่อไป เจ้าอาวาสได้ซ่อมแซมใหญ่ โดยซ่อมมณฑปที่ชำรุดซึ่งสร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้คงสภาพถาวรตามรูปทรงเดิม แล้วก่อสร้างต่อเติมชานมณฑปด้านหลังเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขึ้นไป นมัสการ ในปี พ.ศ.2498  ได้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่แทนหลังเดิมซึ่งสร้างครั้งรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงเทพฯ บนยอดภูเขาตามเดิม ส่วนมณฑปเก่าครอบพระบาทจำลองบนยอดเขายังคงไว้เป็นอนุสรณ์ ในลำดับต่อมาได้สร้างบันไดจากพื้นล่างด้านตะวันออกพระพุทธฉายขึ้นไปจนถึงยอด ภูเขายาวประมาณ 270 ขั้น เพื่อให้ความสะดวกแก่ประชาชน จะได้ขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ข้างบน    การก่อสร้างซ่อมแซมพระพุทธฉายได้รับการเอาใจใส่ตลอดเวลา ในปี พ.ศ. 2500 ได้จัดสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น ณ ไหล่ภูเขาลมด้านทิศตะวันตกมณฑปพระพุทธฉายไว้อีก 1 องค์
          พระพุทธไสยาสน์ ที่จัดสร้างนี้มีขนาดองค์ใหญ่ยาว 15 วาเศษ อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ มณฑปพระพุทธฉาย ไสยาสน์ทอดองค์หันพระบาทมาทางมณฑปพระพุทธฉาย (พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ต่างกับองค์อื่น คือ พระบาทซ้ายไขว้ทับขวาซ้อนเหลื่อมกัน)
พระพุทธไสยาสน์ (สังเกตที่พระบาท)

เมื่อก่อนตอนกลับบ้าน ตจว. ก็จะไปกราบสักการะบ่อยๆครับ _/\_

ขอบคุณครับ สาธุ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้