ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7851
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ต้นโพธิ์ กับ พระพุทธศาสนา

[คัดลอกลิงก์]
ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้อันเป็นสถานที่ประทับและตรัสรู้บรรลุพระสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ด้วยสาเหตุนี้ต้นโพธิ์จึงเป็นพรรณไม้ที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในพุทธประวัติปรากฏต้นโพธิ์ที่เด่นชัดอยู่สองครา คือ เป็นสถานที่ตรัสรู้ ณ พุทธคยา ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ซึ่งมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่าต้นศรีมหาโพธิ์ ส่วนอีกครั้งหนึ่งคือต้นอานันทโพธิ์ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ซึ่งต้นโพธิ์ดังกล่าวยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน คำว่า “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” นั้นมีความหมายได้แตกต่างก่อนออกกันไป ไม่ว่าจะเป็นต้นโพธิ์ที่ตั้งอยู่ที่ พุทธคยา ต้นโพธิ์ที่เติบโตมาจากหน่อของโพธิ์ ณ พุทธคยา หรือต้นโพธิ์ที่ตั้งอยู่ภายในวัดต่าง ๆ ก็ได้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันมีอยู่สามต้นด้วยกัน ได้แก่ ต้นพระศรีมหาโพธิ์อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ต้นอานันทโพธิ์ ณ เมืองอนุราธปุระ และต้นอานันทโพธิ์ ณ วัดพระเชตวันมหาวิหาร อย่างไรก็ตามต้นโพธิ์พระเจ้าอโศกแห่งเมืองอนุราธปุระนำหน่อมาปลูกจากพุทธคยา ได้รับการเคารพสักการะและบูชามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๒๐๐๐ ปีแล้ว แตกต่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ในพุทธคยาที่ถูกโค่นลงและล้มลงตามธรรมชาติหลายครั้ง และต้นอานันทโพธิ์ที่วัดเชตวันที่ขาดการดูแลจากพุทธศาสนิกชนหลังจากที่พระพุทธศาสนาเสื่อมลงในประเทศอินเดีย
ต้นโพธิ์ที่ชาวลังกาเรียกว่า “Bohd Tree” หรือชาวอินเดียเรียกว่า “Pipal” มีความสำคัญประการแรกเมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญเพียรเพื่อค้นหาสัจธรรม พระองค์ทรงเลือกนั่งประทับใต้ต้นโพธิ์ จนกระทั่งพระองค์ได้ตรัสรู้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ คืออริยสัจ ๔ อันประกอบไปด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เมื่อวันเพ็ญเดือนหก อริยสัจ ๔ นี้หมายถึงความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ซึ่งเป็นแนวทางการดับทุกข์ แก้ไขปัญหา อย่างมีระบบ มีเหตุผล และรอบด้าน แม้พระองค์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็ยังทรงต้องฝึกฝนสมาธิสติเพื่อกำจัดกิเลสมารฝ่ายต่ำ โดยพระองค์ก็ทรงเลือกประทับใต้ต้นโพธิ์เช่นกัน กล่าวกันว่าต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าประทับเพื่อรวบรวมจิตของพระองค์เพื่อให้บรรลุเข้าถึงสัจธรรมนั้นแม้จะได้ถูกทำลายไปแล้ว แต่ด้วยบุญญาธิการของพระองค์ เมื่อมีผู้ใดนำน้ำนมโคไปรดที่รากจะเกิดแขนงแตกแยกออกมาและมีชีวิตอยู่ต่อไป เมื่อตายแล้ว ก็จะแตกหน่อออกเพิ่ม จนในปัจจุบันถือได้ว่าต้นที่เหลืออยู่นั้นเป็นช่วงที่สามแล้ว
นอกจากนี้ต้นโพธิ์ที่วัดเชตวันมหาวิหาร หรือ อานันทมหาโพธิ์นั้น มีความเป็นมาว่า เมื่อวัดเชตวันได้กลายเป็นสถานที่ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายและความสงบมาสู่มนุษย์ได้ดียิ่งกว่าสถานที่อื่นใดอันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ก็มิได้ประทับตลอดทั้งปี ในแต่ละปีพระพุทธองค์จะทรงประทับเพียง ๘
เดือนในพรรษา ส่วน ๔ เดือนที่เหลือของปีนอกฤดูฝน พระองค์จะเสด็จไปจารึกแสดงธรรมในชนบทและหัวเมืองอื่น ชาวนครสารัตถีจะทูลเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นนิจ ไม่ปรารถนาให้พระองค์เสด็จไปประทับที่อื่น จึงปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้พระองค์ประทับอยู่ได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ต้องเสด็จไปยังสถานที่อื่น จะหาสิ่งใดแทนพระองค์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ เครื่องระลึกแทนได้ เมื่อความทราบไปถึงพระอานนท์เถระ จึงนำความกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทราบ พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งให้มีการปลูกโพธิ์ที่ตำบลพุทธคยาหน้าวัดเชตวันเพื่อเป็นเครื่องหมายแทนพระองค์ จนเป็นที่เคารพบูชาของคนทั้งปวง
พระโมคัลลานะ อัครสาวกฝ่ายซ้ายทราบความประสงค์ของพระองค์จึงเหาะไปยังตำบลพุทธคยาเพื่อนำผลสุขแห่งโพธิ์กลับมายังวิหารพระเชตวัน แล้วจึงปรึกษากันว่าผู้ใดควรเป็นผู้ปลูก เบื้องต้นชาวเมืองและพระสงฆ์พร้อมใจถวายแด่พระเจ้าปเสนโกศลเป็นผู้ทรงปลูก แต่พระองค์ได้ปฏิเสธ จนกระทั่งท้ายที่สุด อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้เป็นผู้ปลูก จากนั้นชาวเมืองก็ได้นิยมไปสักการบูชาต้นโพธิ์แทนพระพุทธเจ้า จึงเรียกชื่อกันว่าพระอานันทโพธิ์ เนื่องจากพระอานนท์เป็นผู้จัดการดูแลเรื่องการปลูกทั้งสิ้น ต้นโพธิ์ต้นนี้ยังมีอายุยืนอยู่ภายในวัดเชตวันวิหาร นครสาวัตถี ประเทศอินเดีย
จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ต้นโพธิ์นั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับพระพุทธศาสนา และเนื่องในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นปีพุทธชยันตี หรือการเฉลิมฉลองการครบรอบ ๒๖๐๐ ปีการตรัสรู้ของพระองค์ พุทธศาสนิกชนทุกคนจึงควรร่วมกันส่งเสริมการศึกษาทำความเข้าใจพุทธประวัติไปพร้อมกับการศึกษาพรรณไม้อย่างต้นโพธิ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-11-16 11:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C[/url]
[url=http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Mahabodhitree.jpg]

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เหนือพระแท่นวัชรอาสนพุทธบัลลังก์ สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ต้นโพธิ์ที่สำคัญที่สุดของชาวพุทธ


ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นไม้สำคัญในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้ที่ประทับและตรัสรู้สัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ดังปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่าต้นโพธิ์เปรียบได้กับพุทธอุเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่ง ทำให้พันธ์ต้นโพธิ์กลายเป็นพันธ์ไม้ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธเสมอมานับแต่สมัยพุทธกาล ต้นโพธิ์ในพระพุทธประวัติสองต้นคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ และ ต้นอานันทโพธิ์ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ซึ่งอานันทโพธิ์ยังคงยืนต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยคำว่า "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" นั้น อาจหมายถึงต้นที่อยู่ที่พุทธคยา ต้นโพธิ์ที่สืบมาจากหน่อโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา หรือต้นโพธิ์ที่เป็นอุเทสิกเจดีย์อื่น ๆ ก็ได้ เช่น ต้นโพธิ์ตามวัดต่าง ๆ
ในปัจจุบันต้นพระศรีโพธิ์สำคัญที่ยังคงยืนต้นอยู่ในปัจจุบันมี 3 ต้นด้วยกัน คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา, ต้นพระศรีมหาโพธิ์เมืองอนุราธปุระ, และต้นอานันทโพธิ์วัดพระเชตวันมหาวิหาร แต่ต้นโพธิ์พระเจ้าอโศกแห่งเมืองอนุราธปุระ ที่นำหน่อพันธ์มาจากพุทธคยา ได้รับการเคารพนับถือและปฏิบัติบูชาด้วยความเคารพอย่างสูงมาตลอดตั้งแต่สองพันปีโดยไม่ขาดช่วง มีการทำกำแพงทองคำและมีชาวพุทธผู้ศรัทธามาทำการสักการะตลอดเวลา ซึ่งต่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาที่ถูกทำลายและล้มลงตามธรรมชาติหลายครั้ง และต้นอานันทโพธิ์ที่วัดเชตวันที่ขาดช่วงการดูแลจากชาวพุทธหลังจากพระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย[1]
แม้ในประเทศไทย จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับต้นพระศรีมหาโพธิ์เท่ากับชาวพุทธในศรีลังกา แต่ปรากฏตามความเชื่อในประเทศไทยว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำปีเกิดสำหรับผู้ที่เกิดปีมะเส็ง สำหรับชาวล้านนายังมีความเชื่ออีกว่า ต้นโพธิ์เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ช่วยขจัดความทุกข์ได้ จึงมีประเพณีถวายไม้ค้ำโพธิ์ และเครื่องประกอบพิธีกรรม ใต้ต้นโพธิ์ โดยผูกคติกับความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งไม่ใช่ความหมายเดิมของการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ตามคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา
อย่างไรก็ตามต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่สืบหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ในประเทศไทยยังคงมีอยู่หลายต้น เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่วัดต้นศรีมหาโพธิ์ (ที่เชื่อว่านำเข้ามาปลูกสมัยทวาราวดี), วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร, วัดเบญจมบพิตร (ปลูกในสมัยรัชกาลที่ 5) เป็นต้น
แม้การทำลายต้นโพธิ์ตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจะระบุว่าเป็นการทำบาปและหลบหลู่พระรัตนตรัย แต่ในมหาสมณวินิจฉัย ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส[2] กล่าวว่าเฉพาะต้นโพธิ์ที่เป็นอุทเทสิกเจดีย์เท่านั้น ต้นโพธิ์ที่งอกทั่วไปและไม่ได้เป็นอุเทสิกาเจดีย์ คือไม่มีผู้เคารพบูชาในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า (เช่นเดียวกับพระพุทธรูป)
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-11-16 11:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

อานันทโพธิ์..ต้นโพธิ์ที่อายุยืนที่สุดในโลก
http://www.oknation.net/blog/mylifeandwork/2009/11/30/entry-1
                                     ต้นอานันทโพธิ์
                ประวัติความเป็นมาของ อานันทมหาโพธิ์ จากหนังสือปูชาวัลลิยะ ของสมาคมมหาโพธิ์ในกัลกัตตา กล่าวไว้ว่า…
                “แม้ว่ามหาวิหารเชตวัน  จะเป็นที่ยังความสะดวกและความสงบให้เกิดได้ยิ่งกว่าสถานที่แห่งใดๆ อันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ได้ประทับพักตลอดปีไม่ แต่ละปีพระพุทธองค์ทรงประทับพักเพียง 3 เดือนในพรรษาเท่านั้น ส่วนอีก 4 เดือนของปีนอกฤดูฝน พระองค์เสด็จจาริกออกไปแสดงธรรมในคามนิคมชนบทและหัวเมืองอื่น
เมื่อพระพุทธเจ้าต้องเสด็จไปสู่ที่อื่นประมาณปีละ 9  เดือน ชาวนครสาวัตถีผู้เลื่อมใสในพระธรรม ใคร่จะทูลเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นนิจ ไม่ปรารถนาให้พระองค์เสด็จไปประทับแห่งใด ๆ จึงพากันเกิดความเดือดร้อนใจ ปรึกษากันว่า จะทำไฉนหนอ จึงจะทูลเชิญพระองค์ให้ประทับอยู่ตลอดปีได้ เมื่อพระองค์ต้องเสด็จไป ก็ทำให้เกิดความอ้างว้างใจ จะหาสิ่งใดของพระองค์ให้ปรากฏอยู่เป็นเครื่องระลึกแทนองค์พระพุทธเจ้าได้”
ความนั้นทราบถึงพระอานนท์เถระ พุทธอุปัฏฐาก เป็นต้น จึงนำกราบทูลให้ทรงทราบ  พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงพระมหากรุณา จึงรับสั่งให้นำกิ่งโพธิ์ ที่ตำบลพุทธคยา มาปลูกไว้ที่หน้ามหาวิหารเชตวันเพื่อเป็นเครื่องหมายแทนพระองค์ จักได้เป็นที่บูชากราบไหว้ของคนทั้งปวง พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกฝ่ายซ้ายทราบความประสงค์ของพระพุทธองค์ จึงทูลอาสาแสดงฤทธิ์โดยเหาะไปถึงตำบลพุทธคยา นำเอาผลสุขแห่งโพธิ์กลับมายังวิหาร เชตวันได้ในวันนั้น
ครั้นนำผลสุขแห่งโพธิ์มาแล้ว ก็ปรึกษากันว่า ผู้ใดจักสมควรเป็นผู้ปลูก เบื้องต้นชาวเมืองและพระสงฆ์พร้อมใจกันถวายแด่ พระเจ้าปเสนทิโกศลให้เป็นผู้ทรงปลูกแต่ทรงปฏิเสธ ในที่สุดก็ได้ตกลงให้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้ปลูก เพราะด้วยคิดกันว่า ต้นโพธิ์จะอยู่ภายในที่สำคัญของท่านอย่างหนึ่ง และท่านมีบริวาร ข้าทาสหญิงชายมากคงสืบตระกูลช่วยกันรักษาต้นโพธิ์ต่อ ๆ กันไปได้อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปลูกเสร็จก็ได้มีการฉลองต้นโพธิ์  และพระพุทธองค์ก็ได้เสด็จประทับนั่งอยู่ภายใต้ต้นโพธิ์ หนึ่ง ราตรี ตั้งแต่นั้นมาชาวเมืองก็พากันกราบไหว้ต้นโพธิ์แทนพระพุทธเจ้า ที่เรียกชื่อ อานันทโพธิ์ นั้นเป็นเพราะว่า พระอานนท์เป็นผู้จัดการดูแลเรื่องการปลูกและรดน้ำจนต้นโพธิ์เจริญเติบโตนั่นเอง และต้นโพธิ์ต้นนี้ยังมีอายุยืนตั้งอยู่ ณ ภายในวัดพระเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี รัฐอุตตประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย ตราบเท่าถึงปัจจุบันนี้ ฯ
โพธิ์หลวงปู่หล้า

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
โพธิ์หลังโบส วัดที่บ้านเกิดครับ

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้