ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1882
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ธรรมอย่างยิ่ง ๔ อย่าง ที่ไม่เป็นไปเพื่อพ้นจากทุกข์

[คัดลอกลิงก์]


....พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า ธรรมอย่างยิ่งทั้ง ๔ อย่างนี้เราได้ทำมาแล้ว  ซึ่งไม่มีใครจะทำได้เหมือนเรา แต่ก็ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ได้ ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน ธรรม ๔ อย่าง คือ
        
เกลียดอย่างยิ่ง ๑   
กลัวอย่างยิ่ง ๑   
ระวังอย่างยิ่ง ๑   
ตบะอย่างยิ่ง ๑


เกลียดอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ เห็นร่างกายของตนและของคนอื่นเป็นของน่าเกลียด และทุกข์ทั้งหลายในโลกนี้เป็นของน่าเบื่อหน่ายแทบจะอยู่ไม่ได้เสียเลย  นั่นเรียกว่า เห็นหน้าเดียว คนทั้งโลกพร้อมด้วยตัวของเราทำไม่จึงอยู่มาได้จนบัดนี้  เขาโง่หรือตัวเราโง่ ท่านผู้รู้ทั้งหลายเห็นสภาพตามความเป็นจริงแล้วเกิดสลดสังเวชเบื่อหน่าย  ถอนความยินดีในโลกด้วยอุบายแยบคายอันชอบแล้ว
  
กลัวอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ กลัวบาปอกุศลแม้แต่อาบัติเล็กๆ น้อยๆ ก็กลัว  เป็นต้นว่าจะยกย่างเดินเหินไปมาที่ไหนก็กลัวจะไปเหยียบมดและตัวแมลงต่างๆ ให้ตายเป็นอาบัติ นั่นเรียกว่า ระวังส่งออกไปนอก  พระวินัยท่านสอนให้ระวังที่ใจถ้าไม่มีเจตนาแกล้งทำให้ ล่วงเกินก็ไม่เป็นอาบัติ
        
ระวังอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ สังวรกาย วาจา ใจ ไม่ให้เกิดกิเลสบาปอกุศลทั้งหลาย ซึ่งมันล่องลอยมาตามอายตนะทั้ง ๖ นี้ ระวังจนไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยินสิ่งต่างๆ  จนเข้าไปอยู่ในป่าคนเดียวเวลาเข้าไปบิณฑบาตในบ้านก็เอาตาลปัตรบังหน้าไว้ กลัวมันจะเห็นคน  อย่างนี้เขาเรียกว่า ลิงหลอกเจ้า  

กิเลสมันไม่ได้เกิดขึ้นที่อายตนะ แต่มันจะเกิดที่ใจต่างหาก ขอโทษเถิด  คนตายแล้วให้ผู้หญิงคนสวยๆ ไปนอนด้วย มันก็นิ่งเฉย ผู้หญิงที่ไปนอนกลับกลัวเสียอีก
  
ตบะอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ นักพรตที่ทำความเพียรเร่งบำเพ็ญตบะธรรมที่จะให้พ้นจากทุกข์ในเดี๋ยวนั้น  ทำความเพียรตลอดทั้งกลางวันกลางคืน ไม่คิดถึงชีวิตชีวาเลย  เหมือนกับกิเลสมันเป็นตัวเป็นตนวิ่งจับผูกเอามาได้ฉะนั้น  แท้จริงกิเลสมันวิ่งเข้ามาซุกอยู่ในความเพียร (คือ ความอยากพ้นจากทุกข์) นั่นเอง

ไม่รู้ตัวมัน  ความอยากทำให้ใจขุ่นมัว  น้ำขุ่นทำให้ไม่เห็นตัวปลา  ถึงแม้น้ำใสแต่ยังกระเพื่อมอยู่ก็ไม่เห็นตัวปลาเหมือนกัน
  
ความเกลียด ความกลัว ความระวัง  และตบะอย่างยิ่ง ทั้ง ๔  อย่างนี้ พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญมาแล้ว  พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เป็นไปเพื่อพ้นจากทุกข์ทั้งปวง จึงละเสีย  แล้วทรงปฏิบัติทางสายกลางจึงทรงสำเร็จพระโพธิญาณ สิ่งใดมันไม่พอดี  สิ่งนั้นมันก็ไม่งาม เขาจึงเรียกว่า ไม่พอดีไม่พองาม  เช่น รถ เรือ ล้อ เกวียน บรรทุกเกินน้ำหนักของมันมันเป็นอันตราย บางทีถึงกับล่มจมหรือหักก็ได้  มันไม่งาม....
  
: ปุจฉาวิสัชนาในประเทศ
: หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ๘ กุมภาพันธ์  ๒๕๒๕


..............................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40783

สาธุ คับพี่
เกลียดอย่างยิ่ง ๑   
กลัวอย่างยิ่ง ๑   
ระวังอย่างยิ่ง ๑   
ตบะอย่างยิ่ง ๑



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้