ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2945
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก

[คัดลอกลิงก์]



พระพุทธชินราช
พระประธานในพระวิหารใหญ่ หรือพระวิหารหลวง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก


“พระพุทธชินราช” ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารใหญ่
(พระวิหารหลวง) ด้านทิศตะวันตกของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร
หรือวัดใหญ่ ริมถนนพุทธบูชา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ซึ่งเป็นด้านหน้าของวัด ผินพระพักตร์ไปทางด้านริมแม่น้ำน่าน
องค์พระพุทธชินราชนั่งขัดสมาธิอยู่บนฐานชุกชีบัวคว่ำบัวหงาย
เป็นพระพุทธรูปที่มีส่วนสัดเหมาะสมตามแบบประติมากรรม
โดยมีพระพุทธลักษณะงดงามมากที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย

ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ได้ทรงตรัสยกย่องสรรเสริญพระพุทธชินราช แห่งเมืองสองแคว ว่า
“งามหาพระพุทธรูปองค์ใดเปรียบมิได้ เป็นพระพุทธปฏิมากรดีล้ำเลิศ
ประกอบไปด้วยพุทธลักษณะอันประเสริฐ มีสิริอันเทพยดา
หากอภิบาลรักษา ย่อมเป็นที่สักการบูชานับถือแต่โบราณ”

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 03:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย
ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว (หรือ ๒.๘๗๕ เมตร)
มีส่วนสูงตั้งแต่หน้าตักถึงพระเกศ ๗ ศอก (หรือ ๓.๕ เมตร)
พระพักตร์ทรงรูปไข่ หรือเรียกว่า รูปหน้านาง
ที่แสกพระพักตร์มีเครื่องหมายศูลประดับด้วยเพชร แสดงให้เห็นเป็นอุณาโลม

การสร้างใช้วิธีหล่อเป็นท่อนๆ ด้วยทองสัมฤทธิ์ตลอดทั้งองค์
นิ้วพระพักตร์และพระบาทเสมอกัน แต่แรกสร้างนั้นยังไม่ได้ปิดทอง
คงขัดเงาเกลี้ยงแบบทองสัมฤทธิ์เท่านั้น

ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างพระพุทธชินราชในปีใด
แต่มีการสันนิษฐานโดยอ้างอิงตามพงศาวดาร
คาดว่าน่าจะสร้างพร้อมกับ ‘พระพุทธชินสีห์’ และ ‘พระศรีศาสดา’  
ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท)


จากนั้นจึงมีการลงรักปิดทององค์พระเป็นครั้งแรก
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปีพุทธศักราช ๒๑๗๔
สมเด็จพระเอกาทศรถ โปรดให้นำทองเครื่องราชูปโภคไปแผ่เป็นทองแผ่น
แล้วนำมาปิดพระพุทธชินราชด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองจนแล้วเสร็จ

ต่อมาในคราวที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
เสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ ได้โปรดเกล้าฯ
ให้ปฏิสังขรณ์และลงรักปิดทององค์พระพุทธชินราชอีกครั้ง
พระพุทธชินราชจึงงดงามยิ่งดังที่เห็นในปัจจุบัน

พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่มีเรือนแก้วหรือที่เรียกว่า พระรัศมี
แกะสลักด้วยไม้สักลงรักปิดทอง มีลวดลายเป็นรูปนาค
วงขนานไปตามทรงขององค์พระ ขึ้นไปบรรจบกันที่เหนือพระเกศ
มีลักษณะเป็นลายรักร้อยและลายทองสร้อยสลับกัน
มีสายสังวาลทำด้วยทองเนื้อนพเก้า หรือทองสีดอกบวบ
คือ ตรานพรัตน์ราชวราภรณ์ ประดับด้วยบุศย์น้ำเพชร
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงสร้างถวายเป็นพุทธบูชา


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 03:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ รัชกาลปัจจุบัน
ได้ถวายตรานพรัตน์แด่พระพุทธชินราช เมื่อคราวเสด็จภาคเหนือ
ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ ซึ่งยังไม่เคยมีพระพุทธรูปองค์ใด
ได้รับเครื่องราชสักการะสูงส่งถึงเพียงนี้ และมีรูปยักษ์ทั้งซ้ายขวา
คือ ท้าวเวสสุวรรณ และท้าวอาฬวกยักษ์ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์

พระพุทธรูปองค์นี้แสดงออกซึ่งความสงบเย็น ความมีสติปัญญา
ความเมตตาอันหาที่เปรียบไม่ได้ ถือเป็นความอัศจรรย์
ที่คนไทยเมื่อประมาณพันปีล่วงมาแล้ว มีความสามารถอย่างสูงส่ง
ที่สามารถนำเอาพุทธจริยาทั้งสามประการ คือ พระมหากรุณาคุณ
พระวิสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ ซึ่งเป็นนามธรรมมาถ่ายทอด
เป็นรูปลักษณะของมนุษย์ที่ปั้น หล่อ ให้มองเห็นในความรู้สึกส่วนลึก
ของผู้ที่ได้ประสบพบเห็นได้เช่นที่ปรากฏในพุทธลักษณะของพระพุทธชินราชนี้

พระพุทธชินราช นอกจากเป็นพระปฏิมากร ที่มีลักษณะงดงามอย่างยอดเยี่ยมแล้ว
ยังเป็นพระพุทธรูปที่ทรงมีพระปาฏิหาริย์เป็นอัศจรรย์อีกมากมายหลายอย่าง
ซึ่งหลายๆ คนได้เคยเล่าสืบต่อกันมา ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ก็มีเช่น
เมื่อคราวเมืองพิษณุโลกถูกเผาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ตอนอื่นๆ ไฟไหม้หมด แต่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ซึ่งเป็นที่สถิตของพระพุทธชินราช หาได้ไหม้ไฟไม่


ปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่นิยมกราบไหว้ขอพรให้ประสบแต่สิ่งที่ดีงามในชีวิต
ประสบความสำเร็จในทุกกิจการงาน
รวมถึงการสักการะวัตถุมงคลที่มีพระพุทธชินราชเป็นองค์ประกอบหลัก

สำหรับคาถากราบไหว้มีอยู่ว่า “นะ ชาลีติ ปะสิทธิลาภา ปะสันนะจิตตา
สะทา โหติ ปิยัง มะมะ สัพเพ ชะนา พะหู ชะนา สัพเพ ทิสา
สะมาคะตา กาละโภชะนา วิกาละโภชะนา อาคัจฉันติ ปิยัง มะมะ”


เนื่องจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวง (วัดหลวง)
แต่เดิมวัดนี้มีงานฉลองกันตามโอกาส หลังจากในการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา
หรือเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จมานมัสการพระพุทธชินราช จึงจะโปรดเกล้าฯ
ให้มีการฉลองสมโภช ๓ วันบ้าง ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้างแล้วแต่ความเหมาะสม

ปัจจุบันนี้ ทางวัดได้จัดงานประจำปีขึ้นมาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗
กำหนดเอาวันพระกลางเดือน ๓ เป็นต้นไป มีการฉลองใหญ่ถึง ๗ วัน ๗ คืน
กลายเป็นงานประจำปีของทางวัด จัดขึ้นในราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้นมัสการกราบไหว้
พระพุทธชินราชหรือหลวงพ่อใหญ่ได้อย่างทั่วถึง

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 03:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ป้ายชื่อวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร (วัดใหญ่)


พระวิหารใหญ่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร (วัดใหญ่)



หนังสือไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน


~ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=24657

พระเหลือ หรือ “หลวงพ่อเหลือ” หรือ “พระเสสันตปฏิมากร”
พระประธานในพระวิหารพระเหลือ หรือพระวิหารหลวงพ่อเหลือ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19715                                                                                       
..........................................................................

ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19299

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้