|
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2013-5-3 09:51
หางนาค
รูปสลักนี้มาจากระเบียงปราสาทนครวัด
ซึ่งแสดงถึงพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ตอนที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงทำพิธีรวมญาติเพิอถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
โดยการจำลองพิธีกวนเกษียรสมุทร
เมือสิ้นพิธีนี้ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้รับการยกย่องว่าพระองค์คือ ปรมวิษณุโลก
คือพระวิษณุผู้สถิตย์อยู่บนโลก
ภาพที่เห็นเป็นภาพทรงเป็นประธานในการกวนเกษียรสมุทร โดยเป็นองค์ถือหางนาคที่พันรอบเขาพระสุเมร
ที่เอามากวนเกษียรสมุทร คือสระบัว
ในภาพแกะสลักชุดนี้ยังแสดงถึง ชนชาติไทย ที่ได้เข้าร่วม
รูปสลักที่ระเบียงปราสาทนครวัด คือเรื่องพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ยอยกกษัตริย์สุริยวรมันแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นพระวิษณุ
พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ที่ว่านั้น คือ กวนเกษียรสมุทร ที่มีรูปสลักอยู่ถัดไปข้างหน้า (ระเบียงทิศตะวันออก) เพื่อทำน้ำอมฤต เข้าพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
ขบวนแห่ ยอยกพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ คือพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ฉะนั้นบรรดาผู้มีสิทธิเข้าร่วมขบวนแห่ ควรเป็นฝูง "เครือญาติ" เป็นเชื้อสายผู้มีศักดิ์ เช่น พระราชวงศ์, พราหมณ์ปุโรหิต, นักบวช, ขุนนางผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือน, ฝ่ายในกับฝ่ายหน้า, รวมถึงราชตระกูลที่ยังทรงพระเยาว์
รูปสลักเสียมกุก ที่เรียกและรู้จักกันทั่วไปเมื่อภายหลังในชื่อ "กองทัพสยาม" คงเป็นขบวนแห่ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์นี้ขบวนหนึ่ง นับเป็นขบวนของ "เครือญาติ" ฝูงหนึ่งที่เกี่ยวดองกันทางการแต่งงาน
พิธีกวนเกษียรสมุทรนี้ ทางกรุงศรีอยุธยารับแบบแผนไปจากเขมรเมืองพระนคร แล้วเรียกชักนาคดึกดำบรรพ์ มีผู้รู้ภาษาเขมรอธิบาย ว่า "ดึกดำบรรพ์" เพี้ยนมาจากคำเขมรว่า "ตึ๊กตะบัล" (ตึ๊ก = น้ำ ตะบัล = ตำ) แปลว่าตำน้ำ หรือกวนน้ำ
ต่อมาราชสำนักกรุงศรีอยุธยาพัฒนาการละเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ให้ประณีตขึ้น แล้วก้าวหน้าเป็นการเล่นรามเกียรติ์กลางสนามเฉพาะฉากยกรบ มีแต่พากย์กับเจรจา ไม่มีร้องลำ เรียกว่า โขน ถือเป็นเครื่องราชูปโภค เล่นในพิธีกรรมสรรเสริญพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น
อนึ่ง ยังเป็นเค้ามูลให้รู้พิธีถือน้ำพระพัทธ์ หรือถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ที่มีโองการแช่งน้ำ เป็นวรรณคดีสำคัญ
รูปสลักเล่าเรื่องต่างๆ บนระเบียงรอบปราสาทนครวัด ยังเป็นต้นแบบให้เขียนรูปเรื่องรามเกียรติ์บนผนังระเบียงคดรอบโบสถ์ วัดพระแก้ว ยุครัตนโกสินทร์ด้วย
|
|