ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1975
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

คาถาชนะสัจจกนิครนถ์

[คัดลอกลิงก์]
คาถาชนะสัจจกนิครนถ์



สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ.
เมื่อสัจจกนิครนถ์ผู้มืดบอดละเลยความจริงอันประเสริฐ
ประสงค์ประลองโต้วาทะกับพระพุทธองค์ เพื่อประกาศความเห็นของตนว่าถูกต้อง
พระพุทธองค์ทรงชนะด้วยวิปัสสนาปัญญาญาณ
ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-27 02:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เล่าเรื่อง
          ณ  กรุงไพศาลี  แห่งแคว้นวัชชี  สัจจกนิครนถ์ผู้เป็นพระอาจารย์สอนบรรดาราชกุมาร

และพระญาติวงศ์ในราชสำนักแห่งกษัตริย์ลิจฉวี  มีความถือตนว่าเป็นผู้เลิศล้ำทางปรัชญาอันลึกซึ้ง

ในลัทธิศาสนาของตน  และลัทธิศาสนาอื่นๆ  เป็นอย่างดี เชื่อมั่นว่าตนเป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์

ใหญ่ของบ้านเมือง   ด้วยความมั่นใจในความรู้ที่ตนมี   จึงเที่ยวท้าทายโต้วาทีประลองความรู้กับ

เจ้าลัทธิตามเมืองต่างๆ เจ้าลัทธิทั้งหลายต่างพากันพ่ายแพ้ในความรู้ของสัจจกนิครนถ์ จนหมดสิ้น

และชัยชนะที่ได้รับนั้น  นับวันก็ยิ่งเพิ่มความอหังการในตนเป็นยิ่งนัก  ถึงกับปรารภต่อหน้ามหาชน

ทั้งหลายว่า
          “ สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิคณาจารย์และผู้ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์  เมื่อต้อง

มาโต้วาทะประลองความรู้กับเราสัจจกนิครนถ์แล้วละก็   จักต้องมีอาการสะทกสะท้าน  ประหม่า

หวั่นไหว  จนเหงื่อกาฬแตกไหลออกมาเป็นแน่นอน ”
          กระทั่งวันหนึ่ง  กิตติศัพท์ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ขจรขจายเข้าสู่นคร

ไพศาลี   ว่าพระองค์ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า   ทรงคุณอันเลิศ   ประกอบด้วย

พระมหาปัญญาญาณ  หาบุคคลใดจะเปรียบปานได้  เทพยดา  อินทร์  พรหม  มนุษย์ และสัตว์

ทั้งปวง  ต่างน้อมใจกระทำการสักการะบูชาเป็นอันมาก
          เมื่อสัจจกนิครนถ์ทราบถึงกิตติศัพท์ของพระบรมศาสดา  ก็เกิดความอดรนทนไม่ได้

เพราะสำคัญตนว่า  ที่หนึ่งแห่งปัญญาต้องเป็นตนผู้เดียวเท่านั้น   ด้วยความหลงในความรู้พร้อม

ความเชื่อมั่นที่ได้รับชัยชนะทุกครั้งจากการโต้วาทะ   ความอหังการก็กำเริบหนักขึ้นคิดไปว่า  

ถ้าได้ประลองวาทะกับพระสมณโคดมผู้ที่มหาชนยกย่องว่าเป็นผู้ล้ำเลิศทางปัญญา  หากความ

พ่ายแพ้ของพระสมณโคดมเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตามหาชนแล้ว  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  ของตน

จักต้องปรากฏระบือลือไกลไปทั่วทุก ๆ  แว่นแคว้น

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-27 02:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รุ่งอรุณหนึ่ง  พระอัสสชิเถระเดินรับบาตรในเมืองไพศาลี  สัจจกนิครนถ์เห็นพระภิกษุ

ในพุทธศาสนา  จึงตรงเข้ามาลองเชิงเลียบเคียงตั้งคำถามถึงพระสมณโคดม
สัจจกนิครนถ์
:
ท่านบวชในศาสนาของพระสมณโคดมด้วยเหตุผลอันใดเล่า
พระอัสสชิ
:
อาตมาออกบรรพชาเพื่อประโยชน์ในมรรคผล  นิพพาน
สัจจกนิครนถ์
:
หลักคำสอนของพระสมณโคดมว่าอย่างไรเล่า
พระอัสสชิ
:
พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่อง  ขันธ์  ๕ ( รูป  เวทนา  สัญญา สังขาร

วิญญาณ )  เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  ( ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์

ไม่ใช่ตัวตน )

สัจจกนิครนถ์
:
พระสมณโคดมมีหลักคำสอนเช่นนี้เองรึ  เห็นทีเราจักต้องเป็นผู้

ปลดเปลื้องความเห็นผิดให้กับพระสมณโคดมเสียแล้วกระมัง
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-27 02:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อสัจจกนิครนถ์ได้สนทนากับพระอัสสชิ  และทราบถึงหลักคำสอนของพระสมณโคดม

แล้ว  ก็ยิ่งเกิดความลำพองใจเป็นยิ่งนัก  หมายใจมั่นว่าการท้าประลองวาทะครั้งนี้  ตนก็จักเป็น

ผู้มีชัย  เช่นทุกคราที่ผ่านมาเป็นแน่นอน
          ครั้นวันต่อมา  สัจจกนิครนถ์จึงเข้ากราบทูลกษัตริย์ลิจฉวี  ว่าตนประสงค์จักสนทนา

เพื่อถามปริศนาธรรมกับพระสมณโคดม  พร้อมชักชวนสานุศิษย์กว่า  ๕๐๐  คน ซึ่งล้วนแต่เป็น

พระราชบุตร  พระญาติวงศ์ของกษัตริย์ลิจฉวีร่วมติดตามไปเป็นสักขีพยานในการโต้วาทะครั้งนี้ด้วย
          ครานั้น  องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าสู่มหากรุณาสมาบัติแผ่ข่ายสัพพัญญุตญาณ

( พระปรีชาญาณหยั่งรู้ อดีต  ปัจจุบัน  อนาคต )  เล็งเห็นอุปนิสัยแห่งสัจจกนิครนถ์  จักประกอบด้วย

ปัญญาสมบัติอันยิ่งยวดในอนาคตชาติ  ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธองค์ทรงมีพระดำริ

จักเสด็จโปรดสัจจกนิครนถ์ในวันรุ่งขึ้น
          ครั้นอรุณรุ่ง  องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระราชดำเนินพร้อมภิกษุสาวกเข้าสู่

กรุงไพศาลี  เสด็จประทับ  ณ  กูฏาคารศาลา  กลางป่ามหาวัน
          บ่ายคล้อยนั้น  สัจจกนิครนถ์พร้อมสานุศิษย์กว่า  ๕๐๐  คน  เดินทางเข้าป่ามหาวัน

มุ่งตรงยังกูฏาคารศาลาอันเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า


5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-27 02:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
  สัจจกนิครนถ์เมื่ออยู่ต่อหน้าพระพักตร์แล้ว  ด้วยความหยิ่งผยองลำพองตนก็หาได้ทำการ

อภิวาทพระองค์ไม่ แล้วทูลว่า
สัจจกนิครนถ์
:
ข้าพเจ้าได้ยินกิตติศัพท์ความล้ำเลิศทางปัญญาของท่านขจรขจาย

ทั่วกรุงไพศาลี  ในกาลนี้ข้าพเจ้าจะขอซักถามว่าท่านแนะนำสั่งสอน

สาวกด้วยหลักคำสอนใด
พระผู้มีพระภาค
:
ดูกร.....สัจจกนิครนถ์  เราแนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายว่า  ขันธ์  ๕  อัน

ได้แก่  รูป  ( กาย )  เวทนา  ( ความรู้สึก )  สัญญา  ( รู้ตัว )  สังขาร

( การปรุงแต่ง )  วิญญาณ  ( การรับรู้ทางอายตนะ  ๖ )   เป็น อนิจจัง

ทุกขัง  อนัตตา
  ( ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  ไม่มีตัวตน )
สัจจกนิครนถ์
:
เป็นเช่นนั้นรึ...สมณะ  หากบรรดาพืชพันธุ์ต่าง ๆ  ยังคงต้องอาศัย

ผืนแผ่นดินในการเจริญงอกงามฉันใด  บุคคลก็จักต้องอาศัยรูปที่เป็น

ตัวตนนี้ประกอบกรรมดี - ชั่วฉันนั้น   หากท่านกล่าวว่า  ขันธ์  ๕  อันมี

รูป  เป็นต้น  ไม่มีตัวตน  ( อนัตตา )  แล้วบุคคลจักประสบบุญ - บาป

ได้อย่างไรเล่า
พระผู้มีพระภาค
:
ดูกร....สัจจกนิครนถ์  ท่านกล่าวว่า  ขันธ์  ๕  เป็นตัวตนของท่าน

ใช่หรือไม่
สัจจกนิครนถ์
:
ใช่  ข้าพเจ้ายืนยันและเชื่อเช่นนั้นว่า  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร

วิญญาณ  เป็นตัวตนของเรา  ( อัตตา )
พระผู้มีพระภาค
:
หากท่านยืนยันดังคำที่กล่าว  เราขอถามท่านว่า
  ๑. ท่านมีอำนาจสั่งการ รูป ว่าอย่าได้ป่วยชราได้หรือไม่?
  ๒. ท่านมีอำนาจสั่งการ เวทนา  ว่าอย่าได้มีความรู้สึกใดๆ ได้หรือไม่?
  ๓. ท่านมีอำนาจสั่งการ สัญญา  ว่าอย่าจำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้หรือไม่?

  ๔.
ท่านมีอำนาจสั่งการ สังขาร ว่าอย่าได้ปรุงแต่งความคิดได้หรือไม่?

  ๕. ท่านมีอำนาจสั่งการ วิญญาณ  ว่าอย่าได้รับรู้การสัมผัสจาก ตา หู

       จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้หรือไม่?




6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-27 02:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสถามสัจจกนิครนถ์ถึง  ๒  ครั้ง  สัจจกนิครนถ์ยังคงนั่งนิ่งมิยอมตอบ

เหงื่อกาฬเริ่มแตกไหลไปทั่วร่าง  พระองค์จึงตรัสเตือนว่า
พระผู้มีพระภาค
:
ดูกร....สัจจกนิครนถ์  ใยท่านจึงนิ่งเงียบไม่ตอบคำถามเรา  ท่าน

ยังคงยืนยันและเชื่อว่า  ขันธ์  ๕  เป็นตัวตนของท่านอีกหรือไม่
สัจจกนิครนถ์
:
ไม่พุทธเจ้าข้า  ข้าพเจ้าไม่มีอำนาจสั่งการ  รูป  เวทนา  สัญญา

สังขาร วิญญาณ  ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาค
:
ดูกร.....สัจจกนิครนถ์  บัดนี้คำพูดของท่านขัดแย้งกันเองเสียแล้ว

คำก่อนเป็นอย่างหนึ่ง  คำหลังเป็นอีกอย่างหนึ่ง
          ขณะนั้น  สัจจกนิครนถ์มิได้หลงเหลือสภาพของนักปราชญ์ใหญ่แม้แต่น้อย  สูญเสีย

ความมั่นใจรู้สึกร้อนรุ่มไปทั่วกาย  เหงื่อกาฬแตกไหลไม่หยุดหย่อน  จึงตัดสินใจกราบทูลว่า
สัจจกนิครนถ์
:
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ขอพระองค์โปรดเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า

โปรดเมตตาให้หลักธรรมคำสอน  เพื่อแจ้งในปัญญาของข้าพระองค์

ณ  บัดนี้เถิดพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาค
:
ดูกร....สัจจกนิครนถ์  อันบรรดาพืชพันธุ์ต่างๆ  มิได้เกิดมาจากผลกรรม

เหตุเพราะมีแต่รูป  แต่ไม่มีจิต  ( เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ )

จึงสืบต่อผลกรรมมิได้ แต่สรรพสัตว์ทั้งหลายใน ๓๑ ภพภูมิ มีทั้งรูปและจิต

( รวมเรียกว่า ขันธ์ ๕ ) โดยมีกิเลสตัณหาเป็นผู้บงการให้กระทำกรรมต่างๆ

ทั้งที่เป็นบุญและบาป แล้ววิบากที่เป็นผลของกรรมนั้น

ก็จะส่งผลให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
สัจจกนิครนถ์
:
พุทธเจ้าข้า ข้าพระบาทมักเป็นผู้สำคัญตน คอยลบล้างคุณความดีผู้อื่น

ด้วยความคะนองวาจา บัดนี้ ข้าพระบาทพร้อมด้วยสานุศิษย์ทั้งปวงได้

รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระพุทธองค์แสดงพระสัทธรรมโปรด

ขจัดมิจฉาทิฏฐิ  ( ความเห็นผิด )  ให้อันตรธานหายไปจนหมดสิ้น

นับว่าเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่สำหรับข้าพระบาทและสานุศิษย์ทั้งปวง

และในวันรุ่งขึ้น ข้าพระบาทขอกราบอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วย

พระสงฆ์สาวกฉันภัตตาหารยังอารามข้าพระบาทเถิดพุทธเจ้าข้า

          องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการสงบ  สัจจกนิครนถ์จึง

ทูลลาพระพุทธองค์  และค่ำนั้นสัจจกนิครนถ์ก็เร่งตกแต่งอาสนะอย่างประณีตเพื่อถวายการต้อนรับ

พระพุทธองค์และหมู่สงฆ์สาวกในวันรุ่งขึ้น

          ครั้นรุ่งอรุณ  พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมพระสงฆ์สาวกเสด็จยังอารามแห่งสัจจกนิครนถ์

แล้วสถิตบนอาสนะอันประณีตนั้น  สัจจกนิครนถ์ถวายภัตตาหาร  แล้วนั่งในที่อันควร
          ครั้นพระพุทธองค์ เสร็จภัตตากิจแล้ว  จึงตรัสต่อสัจจกนิครนถ์ว่า
           “ ดูกร.....สัจจกนิครนถ์  บุญกุศลที่ท่านได้บำเพ็ญในภพนี้  จักไม่สูญหายไปพร้อมกับ

การดับของจิต  เพราะจิตดวงใหม่มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม  เพื่อสืบต่อบุญที่ท่านสั่งสมไว้

ไปจนกว่าจะนิพพาน ”

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้