ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1605
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สาเหตุของการต้องตั้งนโม หลวงปู่มั่น

[คัดลอกลิงก์]
  ได้มีโยมคนหนึ่ง คือ อาชญาขุนพิจารณ์ (บุญมาก) สุวรรณรงค์ เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีอยู่ในอำเภอพรรณา นิคม บุตรของพระเสนาณรงค์ (สุวรรณ์) เจ้าเมืองพรรณานิคมคนที่ 4 ( และเป็นนายอำเภอพรรณานิคม คนแรกในรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้นมัสการถามพระอาจารย์มั่นถึงเรื่อง"นโม" ว่าเหตุใดการให้ทานหรือการรับศีลจึงต้องตั้ง "นโม" ก่อนทุกครั้ง จะกล่าวคำถวายทาน และรับศีลเลยที เดียวไม่ได้หรือ พระอาจารย์มั่นได้เทศชี้แจงเรื่อง "นโม" ให้ฟังว่า...
           "เหตุใดหนอ นักปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดีจะรับ ศีลก็ดีหรือจะทำการกุศลใดๆก็ดีจึงต้องตั้งนโมก่อนจะทิ้ง นโมไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็น สิ่งสำคัญ จะยกขึ้นพิจารณา ได้ความปรากฏว่า น คือธาตุน้ำ โมคือธาตุดิน พร้อมกับบทพระคาถาขึ้นมาว่า
มาตาเปตฺติกสมฺภโว โอทนกุมฺมาสุปจโย
            สัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกันจึงเป็นตัวตนขึ้นมาเมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้วก็ได้รับข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นเครื่องเลี้ยงจึงเจริญเติบโตขึ้นมาได้
"น" เป็นธาตุ ของมารดา โม เป็นธาตุของบิดา ฉะนั้น เมื่อธาตุทั้ง 2 ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า "กลละ" คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิ ได้จิต จึงได้ปฏิสนธิในธาตุ "นโม" นั้นเมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว "กลละ" ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น "อัมพุชะ" คือ เป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น "ฆนะ" คือ แท่งและเปสี คือ ชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็น ปัญจสาขา คือ แขน 2 ขา 2 หัว
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-30 10:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
  ส่วนธาตุ "พ" คือ ลม "ธ" คือ ไฟนั้น เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจาก" กลละ" นั้นแล้ว กลละ ก็ต้องเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจาก
กลละนั้นแล้ว กลละ ก็ต้องทิ้งเปล่า หรือ สูญเปล่า ลม และไฟก็ไม่มี คนตายลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุ ทั้ง 2 คือ นโม เป็นดั้งเดิม
ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย "น" มารดา "โม" บิดาเป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยการให้ข้าวสุก และขนมกุมมาสเป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง
           ท่านจึงเรียกมารดาบิดา ว่า "ปุพพาจารย์" เป็นผู้สอนก่อนใคร ๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ท่านทำให้กล่าวคือ รูปกายนี้แลเป็นมรดกดั้งเดิม ทรัพย์สินเงินทองอันเป็นภายนอก ก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลย
           เพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น "มูลมรดก" ของมารดาบิดาทั้งสิ้น จึงว่าคุณของท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่
เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ตั้งขึ้นก่อน แล้วจึงทำกิริยา หาได้แปล ต้นกิริยาไม่ มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุนทำการฝึกหัดปฏิบัติตน ไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ
           นโม เมื่อกล่าวเพียง 2 ธาตุเท่านั้นยังไม่สมประกอบ หรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้ คือ เอาสระอะ จากตัว "น" มาใส่ตัว "ม" เอา สระโอจากตัว "ม" มาใส่ตัว "น" แล้วกลับตัวมะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่า ใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้ทั้งกายทั้งใจ เต็มตามสมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้
มโน คือ ใจ นี้เป็นดั้งเดิมเป็นมหาฐานใหญ่ จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมดได้ในพระพุทธพจน์ว่า มโนปุพฺพงฺ คมา ธมฺมา มโนเสฎฐา มโมยา
           ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัยก็ทรงบัญญัติออกไปจากใจ คือ มหาฐานนี้ทั้งสิ้น
           เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้สึก นโมแจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมบัติทั้งหลาย ในโลกนี้ต้องออกไปจากนโมทั้งสิ้น
ของใครก็ก้อนของใคร ต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้ ถือเอาเป็นสมบัติ บัญญัติตามกระแสแห่งน้ำ โอฆะ จนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลงถือว่าตัวเป็นเราเป็นของเราไปหมด
ขอบคุณครับ

สาธุครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้