ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3823
ตอบกลับ: 9
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ทวด? ดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์

[คัดลอกลิงก์]
ความเชื่อ? (belief) คือรูปแบบของความคิดอีกรูปแบบหนึ่ง  เป็นประเภทคิดแบบยึดมั่นถือมั่นหรือเข้าใจอย่างหนักแน่นว่าน่าที่จะเป็นเฉกเช่นนั้น  หากความเชื่อดังกล่าวเชื่อกันมากๆเข้าก็จะถูกยกระดับเป็น ?คตินิยม? ซึ่งหมายถึงแบบอย่างทางความคิด ความเชื่ออันมีวิธีการคิดร่วมกันในแนวทางเดียวกันของคนหมู่มาก เห็นพ้องต้องกันโดยองค์รวม  กล่าวกันว่ารากเหง้าของความเชื่อนั้นต่างฝังอยู่คู่กับมวลมนุษยชาติเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว


             รากเหง้าทางความเชื่อในระยะเเรกเริ่มเดิมทีมนุษย์ล้วนเชื่อกันว่ามีดวงวิญญาณแฝงเร้นสถิตอยู่ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นในต้นไม้ ก้อนหิน แม่น้ำ สัตว์ หรือแม้แต่ป่าเขาก็ล้วนมีดวงวิญญาณสิงสถิตอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งกรอบแนวคิดและความเชื่อดังกล่าวมีลักษณะสอดคล้องสัมพันธ์กันในรูปของ ?วิญญาณนิยม? (animism) หรือ ?คติถือผีสางเทวดา?  อันหมายถึงความเชื่อที่ว่ารูปวัตถุบางสิ่งบางอย่างมีชีวิต ต่อมาดวงวิญญาณเหล่านี้ได้รับการยกระดับหรือยกสถานะให้สูงขึ้นเป็นผีฟ้า หรือเทวดา กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพสักการบูชาสืบเนื่องมาจวบจนปัจจุบันความเชื่อเหล่านี้ก็ยังมีให้เห็นอยู่อย่างมากมาย



                "ทวด" (tuad) หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในความเชื่อของชาวไทยถิ่นใต้และคนในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ในหมู่ของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยอันเรียกตนเองว่า ?ไทยสยาม? ดังมีความเชื่อร่วมกันว่า ?ทวด? เป็นดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ พ่อ แม่ ของปู่ย่าตายาย บรรพชน หรือผู้มีบุญวาสนาที่ล่วงลับดับสูญไปแล้ว และรวมถึงเทวดากึ่งสัตว์ ประเภทพญาสัตว์ อันมีลักษณะพิเศษที่สง่าและน่ายำเกรงกว่าบรรดาสัตว์สามัญปกติโดยทั่วไป มีความเชื่อร่วมกันว่าหากเซ่นสรวงบูชาแก่ทวดแล้วจะก่อให้เกิดความรุ่งเรืองและได้รับความคุ้มครองตามมา แต่หากมีการลบหลู่ดูหมิ่นก็จะได้รับโทษ ผลเสีย รวมถึงความวิบัติตามมาในไม่ช้า


               ทวดในวัฒนธรรมทางความเชื่อของชาวไทยถิ่นใต้มีปรากฏให้ได้พบเห็นอยู่อย่างมากมาย  อาทิ  ทวดในรูปคน  ทวดในรูปต้นไม้  ทวดไร้รูป  นอกจากนี้ยังปรากฏทวดในรูปสัตว์ อันเป็นทวดที่เชื่อกันว่าดำรงตนอยู่ในรูปแบบ  ?กึ่งเทวดากึ่งสัตว์?  เป็นพญาสัตว์มีความสามารถและเดชานุภาพให้คุณและให้โทษได้  เช่น ทวดงู  ทวดจระเข้  ทวดช้าง  และทวดเสือ  เป็นต้น


               กล่าวกันว่า ?ทวด? เปรียบได้ดั่งเทวดาอารักษ์ประจำถิ่น ซึ่งมีฤทธิ์ อำนาจ สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้ใดก็ได้ ซึ่งในเรื่องนี้ เอมอร  บุญช่วย  ได้ศึกษาไว้พอที่จะสรุปได้ว่า  ทวด  หมายถึง ดวงวิญญาณอันมีเดชานุภาพสูง ต้องมีการปฏิบัติบูชาเอาใจจึงจะให้คุณ และให้โทษหากมีการล่วงละเมิด ทวด แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ


               1. ทวดที่เชื่อว่าเป็นรูปคน เช่น ทวดคำแก้ว ตำบลสะทิ้งหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นต้น
                2. ทวดที่เชื่อว่าไม่มีรูป  เช่น ทวดสระโพธิ์ ตำบลเชิงแส  อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นต้น
                3. ทวดที่เชื่อว่าเป็นรูปสัตว์ เช่น ทวดแหลมจาก(ทวดจระเข้) ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์  จังหวัดสงขลา  และทวดตาหลวงรอง(ทวดงู  หรือ งูทวด)ตำบลสะทิ้งหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นต้น(เอมอร  บุญช่วย.2544  :  93)


                รูปแบบความเชื่อในเรื่อง ?ทวด ที่เชื่อว่าเป็นรูปสัตว์? หรือ ?ทวด ในรูปสัตว์? ถือกันว่าเป็นรูปแบบทางความเชื่ออีกรูปแบบหนึ่ง ที่กล่าวกันว่ามีเทวดาอารักษ์ประจำถิ่นในรูปสัตว์ชนิดต่างๆคอยป้องปกรักษาอยู่ซึ่งในเรื่องนี้ สมบัติ  พลายน้อย  ได้แสดงทรรศนะเอาไว้ว่า  ในการศึกษาประวัติของมนุษยชาติและพงศวดารของมนุษย์ต่างๆ  เรามักจะพบความจริงอย่างหนึ่งว่า มนุษย์ในสมัยโบราณนั้นล้วนมีความสัมพันธ์กับสัตว์มาอย่างใกล้ชิดมาก  บางชาตินับถือสัตว์เป็นเทพเจ้า  บางชาตินับถือสัตว์เป็นต้นตระกูลของตน  ความเชื่ออันนี้ได้สืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานแม้ในเวลานี้ก็ยังมีคนเชื่อถือกันอยู่ (สมบัติ  พลายน้อย.2541  )






..http://www.nightsiam.com
ขอบคุณ ข้อมูล ดี ๆ ครับ
ทวดงู ผมเคยได้ยินผู้ชราเขาเล่าให้ฟังตอนเด็ก สมัยที่ผู้ชรายังเด็ก ท่านเคยเห็นงูเหลือมขนาดใหญมีงอนเหมือนไก่ และงอนใหญ่จนพับ จะเลือยผ่านบ้าน งูไม่ทำร้ายคน พ่อของผู้ชราจะนำเสื่อไปปู งูก็จะเลือยมานอนบนหมอน พ่อของผู้ชราเรียกงูว่าทวดและเรียกให้ลูกๆไปหาเห็บในเกล็ดงู ผู้ชราเล่าว่า สมัยเด็ก ท่านทำแบบนี้อยู่นาน จนงูนั้นไม่ปรากฎให้เห็นอีก แต่ผู้ชราทราบว่า ท่านเป็นเจ้าที่ใหญ่ดูแลปริเวณแถวนั้น ถ้าสร้างบ้านไม่เอยซื้อท่าน จะอยู่ไม่เป็สุข ผู้ชรายังเล่าเรื่อง งูเจ้าที่มี่เคยเห็นเป็นงูเงามีหอน สมันก่อนอาศัยอยู่ที่ในวัด คนจะมาแสดงหนัง ก็ไปประกาศบอกให้เก็บลูกหลานไว้ด้วย จะไม่ปรากงูเลือยให้เห็นเลย ส่วนงูเงาเจ้าที่ก็จะโพรหน้าจากโพลงดูการแสดง ผู้ชราบอกว่า คนสมัยก่อนเขาไม่กลัวงูเจ้าที่ เพราะไม่ทำร้ายคน งูเจ้าที่ไม่ทำร้านสัตว์หรือคน ยกเว้นเราทำเขาตกใจหรือทำร้ายเขาก่อน ....เล่าเพื่อเป็นความรู้ครับ  
ธี ตอบกลับเมื่อ 2014-11-9 01:41
ทวดงู ผมเคยได้ยินผู้ชราเขาเล่าให้ฟังตอนเด็ก สมัยที่ ...

ขอบคุณครับ คนแถวบ้านเคยงูมีหงอกคล้ายไก่เจอเหมือนกันครับ

และหลังจากเจอแกก็มีความสามารถพิเศษ

รักษาคนที่ถูกพิษงูกัด ให้หายได้อย่างน่าแปลก

ทวดงูที่เกาะแตน  เป็นความเชื่อของชาวบ้านเกาะแตน  ตำบลตลิ่งงาม  อำเภอเกาะสมุย  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  มีเล่าไว้ว่าชาวบ้านที่บ้านเกาะแตนแห่งนี้ล้วนเชื่อว่า ณ  ที่ดินบริเวณเกาะแตนนี้มีเจ้าที่ผู้ป้องปกเป็นพญางูขนาดใหญ่  ชาวบ้านและคนเก่าคนแก่ในหมู่บ้านเรียกท่านว่า  ?งูเจ้าที่?  หรือ  ?ทวดงู?  มีลักษณะเป็นงูบองหลาขนาดใหญ่(งูบอง  คือ งูจงอางขนาดวัยรุ่น  งูบองหลา  คือ งูจงอางขนาดใหญ่)ใครต้องการอะไรก็ให้มาทำการ ?บน? กับท่านแล้วจะได้สมดั่งใจหมายนอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่งที่ว่า ?งูเจ้าที่ของที่นี่เกลียดสุนัขมาก  และไม่มีสุนัขตัวไหนสามารถมีชีวิตอยู่ในบริเวณที่เจ้าที่งูปกครองได้เกิน 7 วันจะต้องล้มตายลงจนหมดสิ้น?  ดังตำนานเล่าขานไว้ว่าครั้งหนึ่งมีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภาลำใหญ่แวะเข้ามาเติมเสบียง  ณ  บ้านเกาะแตน  บนเรือสำเภานั้นมีสุนัขดำเป็นจำนวนมาก(ชาวจีนนิยมเอาสุนัขดำติดเรือไว้สำหรับปรุงอาหารทานแก้หนาว)งูเจ้าที่เกาะแตนไม่พอใจจึงว่ายน้ำและกระโจนขึ้นเรือสำเภา  ขึ้นมาถึงก็นอนขดตัวอยู่ไม่ยอมหนีหายไปไหนจนเจ้าของเรือต้องไปสอบถามจากชาวบ้านรู้ว่าเป็นงูเจ้าที่จึงกระทำการเซ่นไหว้ขอขมา  งูใหญ่จึงยอมเลื้อยลงจากเรือและว่ายน้ำหายไปในทะเลท้ายเกาะแตน  
                ทวดงูพ่อตาหลวงรอง  เป็นความเชื่อของชาวบ้านสทิ้งหม้อ  ตำบลสทิ้งหม้อ  อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา  เชื่อและเคารพบูชาว่า ?ทวดงูพ่อตาหลวงรอง?  หรือ  ?ทวดตารอง? เป็นเทวดาอารักษ์ประจำหมู่บ้านที่คอยช่วยป้องปกรักษาบ้านสทิ้งหม้อ ให้ปกติสุขตราบปัจจุบัน ดังมีเล่าเอาไว้เป็นตำนานว่า แต่เดิมท่านตาหลวงรองเป็นพระธุดงค์เดินทางมาจากทางภาคเหนือ ท่านได้ปักกรดลงบริเวณที่เป็นวัดโลการามในปัจจุบันจวบจนวาระสุดท้ายของท่าน  บริเวณที่ท่านมรณภาพปรากฏมีชาวบ้านเห็นพญางูขนาดใหญ่สีขาว  ลำตัวเท่ากับลำต้นตาล  มีหงอนแดงตรงกลางหัวนอนขดตัวอยู่ในบริเวณที่ท่านตาหลวงรองมรณภาพ  จึงล้วนเชื่อว่าท่านตาหลวงรองได้กลายสภาพเป็น ?ทวดงู? ไปเสียแล้ว  ใครต้องการอะไรก็ขอให้มาทำการ ?บน? กับท่านก็จะได้ดั่งใจหมาย  อนึ่ง  ต่อมาราวปี พ.ศ. 2529 ได้มีการสร้างรูปเคารพบูชาของท่านตาหลวงรองขึ้น  เป็นรูปทวดงูพ่อตาหลวงรองขนาดใหญ่อยู่บนฐานปูนสูงจากพื้นราว 2 เมตร บริเวณฐานมีจารึกเอาไว้ว่า ?พ่อตาหลวงรอง  9 มิถุนายน พ.ศ. 2529?  สืบทราบมาว่าช่างปั้นเป็นคนในพื้นที่ชื่อนายจู้ห้วน  สุวรรณรัตน์  อายุ 95 ปี(ถึงแก่กรรมราวปี พ.ศ. 2540)เป็นช่างปั้นงานประติมากรรมชิ้นนี้




ทวดงูมูลเหตุแห่งหายนะของทัพลูกพระอาทิตย์  เรื่องทวดงูมูลเหตุแห่งหายนะของทัพลูกพระอาทิตย์นี้มาจากคำบอกเล่าของ  พระอธิการฐานุตตฺโม  เจ้าอาวาสวัดน้ำน้อยใน  ตำบลน้ำน้อย  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  ดังมีใจความว่าในราวปี พ.ศ. 2484  ซึ่งเป็นปีที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2  มีทหารญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งกำลังก่อสร้างถนนอยู่เพื่อที่จะใช้เป็นเส้นทางขนส่งไพร่พลไปตีเมืองโกตาบารู ในประเทศมาเลเซีย  ปรากฏว่าขณะที่ทหารกำลังขุดถนน ถางป่าอยู่นั้นมีงูจงอางขนาดใหญ่เลื้อยออกมาขวางการก่อสร้างเส้นทางไว้มิให้การก่อสร้างดำเนินไปได้ต่อ(ท่านพระอธิการฐานุตตฺโม  มิได้ระบุว่าเป็นสถานที่ใด)เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นนายทหารจึงสั่งการให้พลทหารในสังกัดใช้ปืนใหญ่ระดมยิงใส่พญางูจนตายจมกองเลือดอยู่ ณ ที่แห่งนั้น  มิหนำซ้ำทหารญี่ปุ่นยังใช้มีดกรีดและตัดร่างพญางูออกเป็นชิ้นๆย่างกินกันอย่างเอร็ดอร่อย  ถึงชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงจะออกมาว่ากล่าวว่าเป็นงูเจ้าที่ก็ไม่มีใครเชื่อ  จนสุดท้ายฝ่ายญี่ปุ่นแพ้สงคราม  จึงมีเสียงเล่าลือกันไปต่างๆนาๆว่าเป็นเพราะอิทธิฤทธิ์และแรงอาฆาตแค้นของงูเจ้าที่  เป็นต้น
                ทวดงูพญาขันธ์ที่จังหวัดพัทลุง  ชาวจังหวัดพัทลุงล้วนเชื่อกันว่าที่บ้านพญาขันธ์  ตำบลบ้านพญาขันธ์  อำเภอเมืองพัทลุง  จังหวัดพัทลุง  ในสมัยเก่าก่อนซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ในราวสมัยกรุงธนบุรียังปรากฏมีสระน้ำใหญ่อยู่แห่งหนึ่ง(เมืองเก่า)มีทวดขัน  หรือทวดพญาขันธ์ เป็นเจ้าผู้ครอบครอง  ภายในสระน้ำประกอบไปด้วยวังของทวดพญาขันธ์และทรัพย์สมบัติต่างๆมากมาย เช่น แก้ว แหวน เงิน ทอง ถ้วยชามโบราณ  และอื่นๆ  ถึงแม้นว่าทวดพญาขันธ์จะอยู่ในรูปลักษณ์ของพญางูบองหลาขนาดใหญ่(งูจงอางขนาดใหญ่)แต่ทวดก็ใจดี  และมักที่จะให้ชาวบ้านหยิบยืมทรัพย์สินเงินทองเหล่านั้นไปใช้เสมอๆ จวบจนอยู่มาวันหนึ่งปรากฏมีคนพาลมาท้าทวดพญาขันธ์เล่นการพนันแล้วโกงสมบัติของทวดไปทั้งหมด  ทวดพญาขันธ์จึงไปเข้าฝันชาวบ้านว่าจะไปอยู่เมืองแขกเพราะไม่มีทรัพย์สมบัติจะต้องเฝ้าอีกต่อไปแล้ว  นับแต่บัดนั้นก็ไม่มีใครพบเห็นทวดพญาขันธ์อีกเลย  แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีชาวบ้านอีกเป็นจำนวนมากที่ยังศรัทธาในอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของทวดอยู่และทำการบนบานสานกล่าวขอพรในโอกาสต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก
                ทวดงูเฝ้าเทวดาน้ำร้อน  เป็นความเชื่อของชาวบ้านตำบลเหนือคลอง  กิ่งอำเภอเหนือคลอง  จังหวัดกระบี่  ว่าด้วยเรื่องพญางูบองหลา 2 ตน(หลายคนเรียกทวดงูเฝ้าเทวดาน้ำร้อน)ซึ่งมีหน้าที่ในการเฝ้า ?เทวดาน้ำร้อน? (เทวดาน้ำร้อน  คือ  บ่อน้ำร้อน 2 บ่อติดกัน) บ่อแรกเรียก ?บ่อโผ้?  บ่อที่ 2 เรียก ?บ่อเหมีย?  ซึ่งน่าจะมาจากคำว่า ?บ่อตัวผู้-บ่อตัวเมีย? ในภาษากลาง  ชาวบ้านเชื่อกันว่าทวดงูทั้ง 2 ตนจะดำรงหน้าที่ในการป้องปกรักษาบ่อน้ำร้อนทั้ง 2 บ่อมิให้ผู้ใดเข้ามาใช้ประโยชน์แต่เพียงผู้เดียวอย่างเห็นแก่ตัว
                ทวดงูพ่อตาเขาวง  เป็นความเชื่อของชาวบ้านเขาวง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เล่าลือกันมาอย่างยาวนานว่า แต่เดิมบริเวณที่ราบของบ้านเขาวงยังมีสภาพเป็นป่ารกชื่นอันเป็นลักษณะที่เหมาะในการดำรงชีพของงูจงอางมาก  ต่อมาเมื่อมีชาวบ้านย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำมาหากินในบริเวณพื้นราบมากขึ้นก็เกิดการแผ้วถางป่าในบริเวณพื้นราบจนหมดสิ้น  ด้วยเหตุนี้งูจงอางส่วนใหญ่จึงย้ายขึ้นไปอาศัยอยู่บนเขาวงแทน  ปรากฏว่าอยู่มาวันหนึ่งได้มีทวดงูตนหนึ่งมีชื่อว่า  ?ทวดตาเขาวง?  ได้มาเข้าฝันและบอกกับชาวบ้านว่า ?ทวดตาเขาวงจะช่วยให้การเก็บเกี่ยวพืชไร่พืชสวนได้ดอกผลเจริญดี ทำมาหากินได้อย่างปกติสุข แล้วขอให้กระทำการไหว้บวงสรวงสังเวยทวดตาเขาวงเสียสักครั้งหนึ่ง?  ชาวบ้านจึงกระทำตามคำขอที่ทวดตาเขาวงมาเข้าฝันและก็ปรากฏว่าการทำไร่ทำสวนได้ดอกผลดีแทบทุกครั้ง  ชาวบ้านเชื่อว่ามาจากอิทธิฤทธิ์ของทวดงูพ่อตาเขาวง
                ทวดงูพญาตรีเศียรแห่งควนเจดีย์   ควนเจดีย์  หรือเขาคอหงส์  จังหวัดสงขลานั้นปรากฏมีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งเรียกว่า ?เจดีย์ไตรภพ ไตรมงคล?  ที่ปากทางเข้าเจดีย์นี้เองจะปรากฏศาลอยู่แห่งหนึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า ?ศาลสมเด็จปู่เจ้าไตรภพ?  ซึ่งมีพญางู 3 เศียร เป็นประติมากรรมสีทองอร่ามไปทั้งตนเรียกว่า  ?ทวดงูพญาตรีเศียรแห่งควนเจดีย์?  ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพญางูมีหน้าที่ในการเฝ้าป้องปกควนเจดีย์ และเจดีย์ไตรภพ ไตรมงคล  เป็นทวดงูที่มีการสร้างเป็นงานประติมากรรมเคารพบูชาที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีความยาวถึง 192 เมตร  ส่วนตำนานที่สำคัญของทวดพญาตรีเศียรนี้มีเล่าเอาไว้ว่า ทวดตรีเศียรมีหน้าที่เฝ้าภพทั้ง 3 กล่าวคือ สวรรค์  มนุษย์  และพิภพ  14 จังหวัดภาคใต้ไปจนถึงสุดเขตแดนจังหวัดราชบุรี  อายุของทวดพญาตรีเศียรว่ากันว่าอยู่ในหลักพันปี  ว่าเศียรหนึ่งเป็นจีน เศียรหนึ่งเป็นอิสลาม และเศียรหนึ่งเป็นไทย ประกอบไปด้วยชื่อเสียงเรียงนามดังนี้คือ  
                1. ท่านขุนพลายดำ  
                2. ท่านขุนพลายเหลือง
                3. ท่านขุนพลายแดง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธี เมื่อ 2014-11-10 14:57

สุดยอดครับ รู้ละเอียดดี ....แต่ขอเสริมครับ ทวดงู(ใหญ่)จะมีหงอดคล้ายไก่ แต่บางตัวเป็นลูกหลานไม่มีหงอนครับ ต้องระวังให้ดี อย่าไปทำร้าย จะเจอภัยอันตราย


ยายผมเล่าว่า ยายกับตาไปทำนาและต้องพักอยู่ที่กระท่อมในนา ยายบอกตาว่า ถ้าพบงูอย่าได้ทำร้าย เพราะงูบริเวณนี้เป็นลูหลานทวดงู ตาของผมไม่เชื่อ พบงูตัวหนึ่ง ตาตีงู กลางคืนวันเดียวกัน มีเสียงร้องของงูรอบกระท่อม ส่องไฟดูเห็นงูหลายชนิดมันล้อมอยู่บริเวณรอบกระท่อม ทั้งตัวใหญ่ตัวเล็ก ยายเล่าว่า งูตัวใหญ่ร้องเสียงเหมือนวัว ยายบอกตาว่า ลงไปตีงูเลยมาให้ตีเยอะ ตาของผมกลัวมาก ยายเข็งใจลงจากระท่อม ยกมือไหว้แล้วเอยขอขมาโทษว่า ลูกหลานไม่รู้ว่าที่ทำร้ายเป็นลูกหลานทวด ขอให้ทวดให้อภัยสักครั้งจะไม่ทำอีก ยายบอกว่า พอกล่าวจบ งูก็แยกย้ายกันไป  ....(เรื่องเล่าของยายผมเอง)


ยายผมบอกว่า งูที่เป็นลูกหลานทวดงู บางตัวไม่มีหงอน แต่คนโบราณเล่าให้ฟังว่า ให้สังเกตที่....หาง...ครับ หางงูทั่วไปจะกลมไปจนสุดปลายหาง ...แต่งูลูกหลานทวดงู..หางจะเป็นสามเหลี่ยมไปขนปลายหาง..(ไม่ใช่งูปะสามเหลี่ยมนะครับ) เป็นความรู้ครับ ผมจำมาไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า.....
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆครับ
ธี ตอบกลับเมื่อ 2014-11-10 10:34
สุดยอดครับ รู้ละเอียดดี ....แต่ขอเสริมครับ ทวดงู(ใหญ่) ...

ขอบคุณครับสาระดีๆ ที่มีจริง

น่าเสียดายที่อีกหน่อย ชนรุ่นหลัง

จะเชื่อว่าเป็นเพียงแค่นิยาย


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้