ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
คณะศิษย์หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ (คศช.)
›
พูดคุยตามประสา คศช.
»
การพิสูจน์ความเป็นพระโสดาบัน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1865
ตอบกลับ: 3
การพิสูจน์ความเป็นพระโสดาบัน
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-2-1 11:20
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-2-1 11:56
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-1 11:33
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-1 11:36
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-2-1 12:02
พระราชสังวรญาณ(หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
อาจาริโยวาท
หลวงปู่ดูลย์ท่านเทศน์เอาไว้ว่า เพ่งเข้ามาดูข้างในรู้ข้างใน เป็นมรรค รู้นอกเป็นสมุทัย รู้ในแล้วมันมายกโทษตัวเอง เพ่งโทษตัวเอง แก้ไขแต่ตัวเอง ถ้ามองออกไปข้างนอก ไปมองเห็นความประพฤติคนอื่น ที่ไม่ถูกหูถูกตาเกะกะ ก็ยกโทษแต่คนอื่น
หลวงปู่ตื้อนี่ไปเห็นต้นมะขามป้อม เอาตีนถีบ ต้นขนาดแขน ลูกมันดก ตีนถีบมันหล่นลงมาแล้วเก็บมาฉันเลย แต่หลวงปู่มั่นบอกว่า ใครอย่าไปดูถูกท่านตื้อนะ "ท่านตื้อเป็นพระเถระ" อย่างนี้เป็นต้น
หัวใจโอวาทของพระอาจารย์ฝั้น ท่านว่า "อย่าปล่อยให้จิตอยู่ว่าง" ความหมายของท่านคือ
๑. อย่าให้ว่างจากการกำหนดรู้
๒. อย่าให้ว่างจากอารมณ์อันเป็นกุศล ส่วนของท่านอาจารย์มั่น
"อย่าไปว่าให้เขา ทัศนะของเขาเป็นอย่างนั้น"
วิสัยของพระโสดาบัน ใครพูดมาฉันฟังได้หมด
ดีฉันฟังได้ ชั่วฉันฟังได้ ฉันจะเอาหรือไม่เอานั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
หัดเป็นพระโสดาบัน
เราจะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร
พยายามอย่าให้มันมีความรู้สึกลบหลู่ดูหมิ่นครูบาอาจารย์และคน อื่น
มานะความถือตนถือตัวนี่ ภูมิของอรหัตมรรค เป็นตัวตัดขาด
มานะความถือตนถือตัวมันเป็นกิเลสละเอียด พอสมควร พระอนาคามีก็ละไม่ขาด
โน่น! ต้องภูมิอรหัตมรรคจึงละได้ขาด
พยายามหัดเป็นพระโสดาบัน โส-ตะ-ปัน-นะ แปลว่าผู้ถึงซึ่งการฟัง
ใครพูดดีฉันก็ฟังได้ พูดเสียฉันก็ฟังได้
แต่ฉันจะเอาหรือไม่เอาเป็นหน้าที่ของฉันจะพิจารณาโดยเหตุผล
โส-ตะ แปลว่า ผู้ฟัง ปัน-นะ แปลว่า ถึงแล้ว ซึ่ง การฟัง รวมความว่า ผู้รับฟัง
ไปตรงกับมารยาทของสังคมว่า เคารพมติของผู้พูด
ท่านอาจารย์วัน เพื่อนหลวงพ่อ ลูกศิษย์ท่านวิพากษ์วิจารณ์กรรมฐานคณะนั้นกรรมฐานคณะนี้
ท่าน นั่งฟังเฉย พอท่านจะพูดท่านก็ว่า..
"ทัศนะของเขาเป็นอย่างนั้น ความเห็นของเขาเป็นอย่างนั้น อย่าไปขัดคอ เขา"
นี่แสดงว่าท่านผู้นี้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรม
ถ้าใครพูดมาไม่ถูกหูเรา เราเถียงคอเป็นเอ็น นั่นยังใช้ไม่ได้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-1 11:48
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพ่อ - พระแม่
พระท่านสอนให้เราบำเพ็ญทาน เราก็ทำ แต่ส่วนใหญ่ท่านจะสอนให้เราไปทำทานกับวัด หลวงพ่อจะสอน ให้คนทำทานกับพ่อกับแม่ ถ้าเราไหว้พ่อไหว้แม่ไม่ได้ อย่าไปไหว้พระ มันไม่มีประโยชน์ เราต้องกราบพ่อกราบแม่ เราได้เราจึงไปกราบพระ ถ้าพ่อแม่ของเรายังไม่อิ่ม อย่าไปเที่ยวหาเลี้ยงพระให้อิ่ม ถ้าเราจะเลี้ยงพระให้อิ่มเราต้อง เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ให้อิ่มด้วย ของดีๆ ขนไปให้พระกินหมด ให้พ่อแม่อดอยากนี่ตกนรกกันหมด เพราะฉะนั้นต้องเลี้ยง พ่อเลี้ยงแม่
เจิมรถ
งานหนึ่งซึ่งมีผู้มาขอความกรุณาให้หลวงพ่อทำให้อยู่เนือง ๆ คือ การเจิมรถ มีทั้งรถเก่านำมาเจิมใหม่ รถออกจากอู่ใหม่ ๆ รถส่วนตัว รถโดยสาร หลวงพ่อท่านก็เมตตาทำให้ทุกครั้ง แต่ท่านมักจะพูดเสมอว่า "มาให้หลวงพ่อเจิมให้น่ะ คนเจิมก็รถคว่ำมาหลายครั้งแล้ว" หวัง "เจิมรถน่ะมันไม่ถูกหรอก ต้องเจิมคนจึงจะถูก"
มุมมอง
หมอนี่ไปว่าคนนั้นโลภ คนนี้โลภ ก็เพราะตัวเองมีความโลภอยู่จึงไปเห็นความโลภของคนอื่น คนที่ไปว่าคนโน้นไม่ดี ก็เพราะตัวเองยังไม่ดีจึงมองเห็นความไม่ดีของคนอื่นธรรมวินัยนี้ ถ้าจิตมันถึงแล้วมันไม่อยากจะไปคิดตำหนิใคร ธรรมะนี่ถ้าตั้งใจจะปฏิบัติกันจริง ๆ แล้วมันไม่มีที่ไหนจะไปวัดกัน
ผู้มีบุญ
โยมผู้หญิงคนหนึ่งปรารภเวลาโกรธแล้วดับไม่ได้สักที หลวงพ่อแนะนำว่าถึงดับไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ขอเพียงแต่ว่าเมื่อโกรธแล้ว อย่าไปด่าว่าหรือทำร้ายเขา นอกจากนี้ยังให้อุบายกำจัดความอิจฉาริษยาว่า "พอเห็นคนเขานั่งรถเก๋งคันงาม สาธุ ท่านมีบุญ ท่านจึงมีรถเก๋งงาม ๆ นั่ง เห็นเขามีบ้านสวย สาธุ ท่านมีบุญ ท่านจึงมีบ้านสวย ๆ อยู่ เห็นเขาร่ำรวย สาธุ ท่านมีบุญ ท่านจึงร่ำรวย ถ้าเขารวยเพราะโกงมา จะยังสาธุอยู่ไหม.. ก็สาธุซิ เขามีบุญเขาจึงโกงแล้วรวย เราโกงทีเดียวติดตารางจ้อย นี่ที่จริงเขารวยเพราะบุญเก่าของเขา"-
หลวงพ่อกับเหล็กไหล
มีโยมผู้หญิงคนหนึ่งเป็นลูกศิษย์อาจารย์องค์หนึ่งอยู่แถวชลบุรี มานั่งเฝ้านอนเฝ้าหลวงพ่ออยู่หลายวัน หลวงพ่อก็ไม่เข้าใจว่าเขาต้องการอะไร จนวันหนึ่งเขาบอกว่าที่เขามาเฝ้าอยู่นี่เพราะมีคนบอกว่าหลวงพ่อมีเหล็กไหลอยากจะมาขอ หลวงพ่อจึงบอกว่าท่านไม่มีหรอก "แต่มีอยู่แห่งหนึ่ง ทราบว่ามีเหล็กไหลมากมายถ้าคุณอยากได้จะบอกที่ให้ อยากรู้ไหมล่ะ" เมื่อโยมต้องการจะรู้แหล่ง ท่านจึงบอกว่า "ไปที่หัวรถไฟแน่ะ ทุกวันจะมีเหล็กไหลจากโคราชไปกรุงเทพฯ วันละหลาย ๆ เที่ยว" ไม่ทราบว่าพอโยมได้คำตอบอย่างนี้แล้วมีปฏิกิริยาอย่างไร
อีกครั้งหนึ่ง มีโยมมาจากศรีสะเกษ มาเสนอขายเหล็กไหลให้หลวงพ่อในราคา ๖๐,๐๐๐ บาท โดยบรรยายสรรพคุณว่ามีแล้วจะทำให้ร่ำรวย หลวงพ่อตอบข้อเสนอว่า "ก่อนคุณจะมา ทำไมไม่สืบประวัติฉันก่อนว่าฉันเป็นพระนักค้าหรือเปล่า คุณไปรวยคนเดียวซะ ถ้าฉันอยากจะรวย ฉันไม่มาห่มผ้าเหลืองอยู่อย่างนี้หรอก"
คติธรรมจากนักมวย
ถ้าดูมวยได้ความคิดเพียงแค่ว่าไอ้หมอนี้มันอยากได้เงินมันลงแรง ลงเงินของมัน ให้เขาต่อย ดีกว่าพวกที่เอาไก่ไปชน ไก่ชนไม่เก่งก็เอาไปต้ม ไปแกง ดูแล้วมันสลดใจ พ่อแม่อุสาหะเลี้ยงอย่างทะนุถนอม ริ้นไม่ให้ไต่ ไรไม่ให้ตอม พองั้นมันโตแล้วมันก็เอาสมบัติของแม่มาชกมาต่อย มาตีกัน
เคยฝึกเรื่องอยู่ยงคงกระพัน
สมัยหลวงพ่อเป็นพระหนุ่ม ใครพูดเรื่องอยู่ยงคงกระพันหนังเหนียวเป็นไม่ได้ อยากจะลองก็เลยไปฝึกกับ พอ.ชม สุคนธรัตน์ เขาสอนให้เสกใบพลู ๗ ใบแล้วภาวนา ตอนบริกรรมอยู่ลองเอามีดแทงเนื้อจนทะลุหนังสือที่รองแขนอยู่ ยกแขนขึ้นมาหนังสือยังติดมีดติดแขนมาด้วย โดยไม่มีบาดแผลสักนิด แต่พอไม่บริกรรม ยังไม่ทันออกแรงแทงเลือดก็สาดแล้ว
ของขลัง
พระลูกศิษย์องค์หนึ่งมากราบเรียนของวัตถุมงคล (เหรียญ) ของหลวงพ่อ หลวงพ่อจึงสอนว่า "เครื่องรางของขลังนี่อย่าไปสอนให้ผู้คนเขาเชื่อจนงมงายมากนัก การแจกเหรียญก็เหมือนกับการถ่ายรูปแจก กันไปเป็นของที่ระลึก ที่พูดนี่ไม่ใช่ผมไม่เชื่อนะ ผมนี่แหละทดลองเอาเนื้อหนังไปทดสอบมาแล้ว สุดท้ายมันก็ ไม่มีความเป็นอมตะ ทหารออกรบแบกเครื่องรางกันเป็นกิโล ๆ แต่ก็คุ้มครองไม่ได้ เวลาแบกศพทหารนี่น้ำหนักตัวพอ ๆ กับน้ำหนักเครื่องราง เครื่องรางที่ดีที่สุดคือ ศีลธรรม เครื่องรางของผมน่ะ คืออะไรรู้ไหม คือ ความกตัญญู ใครทำบุญกับผมเท่าขี้เล็บ ผมจะตอบแทนเขาเป็นสิบเท่าร้อยเท่า
"
อยู่ที่ไหนก็ได้ถ้าทำความดี
หลวงพ่อเล่าว่าบางครั้งท่านก็เกิดความเบื่อหน่ายสภาพแวดล้อมจนอยากจะย้ายไปที่โน่นที่นี่ตามประสา ครั้งหนึ่งเคยบ่นอยากย้ายที่ เจ้าคุณอริยคุณาธารได้ยินเข้าก็ให้แง่คิดว่า "อย่าไปหาย้ายให้มันยุ่งยาก คนเราจะไปไหนกรรมมันพาไป เอาเป็นว่าอยู่ที่ไหนก็ขอให้ทำความดีตรงนั้นให้มาก ๆ"
ต่อมาหลวงพ่อก็ถูกย้ายจากเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวันตามธรรมดาของโลกที่มีคนรักเท่าผืนหนังคนชังเท่าผืนเสื่อ ในการย้ายครั้งนี้ก็มีผู้สมน้ำหน้า หลวงพ่อว่าถูกย้ายจากตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดมาเป็นแค่เจ้าอาวาส แต่หลวงพ่อก็ไม่สนใจตั้งหน้าตั้งตาทำความดีตามที่ครูบาอาจารย์สอนไว้ ความดีของหลวงพ่อค่อย ๆ เป็นที่รับรู้ของ คนทั่วไปจนกลายเป็นพระ "ดัง" องค์หนึ่ง ผู้คนรู้จักกันทั่วบ้านทั่วเมืองไปไหนมาไหนก็มักมีคนเข้ามากราบมาทักว่า "นี่เองหลวงพ่อพุธ ได้ยินชื่อมานานแล้ว เพิ่งได้เห็นตัวจริงวันนี้เอง" แล้วคนที่เคยสมน้ำหน้าหลวงพ่อก็ไปบอกกับคนอื่นว่า
อย่าไปเอาอย่างหลวงพ่อพุธนะ
ทำไมจะเอาอย่างไม่ได้ ไม่ดีอย่างไร
ไม่ใช่ไม่ดี มันดีเกินไปน่ะซี ไปเอาอย่างเดี๋ยวความดีมันจะทับตาย
ในที่สุดความดีของหลวงพ่อก็เอาชนะผู้ที่เคยคิดไม่ดีกับหลวงพ่อ
http://202.44.204.76/cgi-bin/kratoo.pl/005617.htm
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...