|
ครั้นถึงเวลาน้ำลง พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงมีรับสั่งให้เหล่าเสนาบดีกลับไปรักษาพระนคร ส่วนพระองค์นั้นเสด็จไปโดยเรือพระที่นั่งเอกชัยเพียงลำเดียว เดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ด้วยอำนาจแห่งราชกุศลที่สร้างมาแต่ปางหลัง จึงทำให้การเดินทางเป็นไปด้วยความเรียบร้อยปลอดภัย จนกระทั่งลุถึงกรุงจีน ชาวจีนทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงนำความขึ้นทูลว่าพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์นี้มีบุญญาธิการมาก พระเจ้ากรุงจีนจึงรับสั่งให้เสนาบดีผู้ใหญ่ไปสืบดูว่าพระเจ้ากรุงไทยมี บุญญาธิการจริงหรือไม่ เสนาบดีจีนออกไปทูลเชิญพระเจ้าสายน้ำผึ้งประทับที่อ่าวนาค ซึ่งเป็นที่ที่มีภยันตรายมาก ตกเพลาค่ำเสนาบดีจีนใช้ทหารไปสอดแนมดูว่า “ เหตุการณ์ร้ายแรงอันใดจะเกิดขึ้นหรือไม่ ” มีแต่เสียงดุริยางค์ดนตรีเป็นที่ครึกครื้น ในคืนต่อมาเสนาบดีจึงทูลเชิญเสด็จพระเจ้าสายน้ำผึ้งประทับที่มีอันตรายมาก ขึ้นไปอีก เหตุการณ์ยังเหมือนคืนก่อนเมื่อพระเจ้ากรุงจีนได้ทรงทราบก็ทรงโสมนัสยิ่ง นัก จึงมีรับสั่งให้จัดกระบวนแห่ออกไปรับพระเจ้าสายน้ำผึ้งเข้ามาภายในพระราชวัง และให้ราชาภิเษกพระนางสร้อยดอกหมากขึ้นเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง
เมื่อเวลาผ่านไป พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงกราบถวายบังคมลาพระเจ้ากรุงจีนกลับพระนคร พระเจ้ากรุงจีนให้นำสำเภาห้าลำพร้อมด้วยเครื่องอุปโภคเป็นอันมาก เมื่อถึงปากน้ำพระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จเข้าพระนครก่อน เมื่อจัดตำหนักซ้ายขวาเสร็จก็จัดขบวนมารับพระนางสร้อยดอกหมากจากเรือ โดยพระองค์ไม่ได้เสด็จไปด้วย พระนางสร้อยดอกหมากจึงไม่ยอมเสด็จขึ้นจากเรือ กล่าวว่า“มาด้วยพระองค์ก็โดยยากเมื่อมาถึงพระราชวังแล้วเป็นไฉนพระองค์จึงไม่มารับ ถ้าพระองค์ไม่เสด็จมารับก็จะไม่ไป”
เสนาบดีนำเนื้อความไปกราบทูล พระเจ้าสายน้ำผึ้งคิดว่านางหยอกเล่นจึงกล่าวสัพยอกว่า“เมื่อมาถึงแล้วจะอยู่ที่นั่นก็ตามใจเถิด”เมื่อ พระนางทราบเนื้อความจึงสำคัญว่าพระเจ้าสายน้ำผึ้งพูดจริง จึงน้อยพระทัยและเศร้าพระทัยยิ่งนัก ครั้นรุ่งเช้าเมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งจัดกระบวนแห่มารับ และเสด็จมาด้วยพระองค์เอง เมื่อเสด็จขึ้นไปบนสำเภา พระนางสร้อยดอกหมากจึงตัดพ้อต่อว่าพระองค์ พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงทรงสัพยอกอีกว่า “เอาละ เมื่อไม่อยากขึ้นก็จงอยู่ที่นี่เถิด” ฝ่ายพระนางสร้อยดอกหมากได้ฟังดังนั้น ด้วยความน้อยพระทัยนางจึงกลั้นพระทัยตายทันที พระเจ้าสายน้ำผึ้งทรงเสียพระทัยมาก โปรดเกล้าให้อัญเชิญพระศพของพระนางขึ้นมาพระราชทานเพลิง ท่ามกลางความอาลัยรักของประชาชนชาวจีนและชาวไทย จึงทรงสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระนางสร้อยดอกหมาก และได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “ วัดพระนางเชิญ ” แต่นั้นมา
ตำนานเรื่อง “เจ้าชายสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก” จึงเป็นตำนานแห่งการสร้างวัด พนัญเชิง หรือวัดพระเจ้าแพนงเชิง หรือวัดพระนางเชิญ ก็มี วัดนี้เป็นวัดสำคัญเก่าแก่แต่โบราณของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่ได้รับความเคารพนับถือของชาวไทยและจีน ทุกปีจะมีงานฉลองตามประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันนี้ และในปี ๒๕๔๔ พระธรรมญาณมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัด และพระพิพัฒน์วราภรณ์ รองเจ้าอาวาสในสมัยนั้น (ในปัจจุบันได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชรัตนวราภรณ์ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในปัจจุบัน) ได้ให้มีการบูรณะศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมากขึ้นใหม่จนมีความสวยงามเป็นยิ่งนัก ฯ
๖. เมรุ ที่ใช้เป็นที่ฌาปนกิจในปัจจุบันนี้ สร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นวัดมณฑปมาก่อน เป็นเมรุเตาอบสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ด้วยเงินผลประโยชน์ของวัด หลังคาเป็นยอดมณฑป มีศาลาบำเพ็ญกุศล ๒ ศาลา และสถานที่บรรจุศพอีก ๑ หลัง สิ้นงบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท
๗. โรงฉันภัตตาหาร ปัจจุบัน กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิม เป็นลักษณะอาคาร ๓ ชั้น สำหรับใช้เป็นสถานที่ฉันภัตตาหารของพระภิกษุ-สามเณร และรับประทานอาหารของประชาชนโดยทั่วไปที่มาติดต่องานต่างๆ หรือมาประชุมภายในวัดพนัญเชิงฯ โดยติดเครื่องปรับอากาศ ซึ่งสามารถจะรองรับได้ประมาณ ๑,๐๐๐ รูป/คน และจะใช้เป็นสถานที่ประชุมขนาดกลาง สามารถจะรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ประมาณ ๒๐๐ ที่นั่ง
๘. ตำหนักเดิม (หอสวดมนต์) ได้ รับการบูรณะขึ้นใหม่ในปี ๒๕๔๔ โดยพระพิพัฒน์วราภรณ์(แวว กตสาโร พ.ศ.๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชรัตนวราภรณ์) มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทย ๒ ชั้น ชั้นบนมีห้องพักรับรองพระภิกษุอาคันตุกะ อีกด้านหนึ่งเป็นโถงกว้างใช้เป็นที่ประชุมของพระภิกษุสงฆ์เพื่อทำวัตรสวด มนต์ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ชั้นล่างได้จัดเป็นห้องประชุมขนาดเล็ก สามารถจุผู้เข้าประชุมได้ประมาณ ๑๐๐ ที่ ติดเครื่องปรับอากาศและเครื่องขยายเสียงเพื่อรองรับการใช้งานอย่างสมบูรณ์
๙. หอพระไตรปิฎก ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๙ เมตร ปัจจุบันเป็นที่เก็บพระไตรปิฎกและตู้พระคัมภีร์โบราณ ได้รับการบูรณะใหม่ให้มีความสวยงาม
๑๐. หอประชุมสงฆ์ สร้างเมื่อพระราชสุวรรณโสภณ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ได้จัดการก่อสร้างเมี่อระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๑ สำเร็จเรียบร้อย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ สิ้นค่าก่อสร้าง ประมาณ ๔ ล้านบาทเศษ ต่อมาในสมัยพระธรรมญาณมุนี (ไวทย์ มุตฺตกาโม) เป็นเจ้าอาวาส พระพิพัฒน์วราภรณ์ (นพปฎลหรือแวว กตสาโร) เป็นรองเจ้าอาวาส ได้มีการต่อเติมทำให้สามารถจุผู้เข้าประชุมได้ประมาณ ๑,๐๐๐ คน ติดเครื่องปรับอากาศพร้อมเครื่องเสียงอย่างสมบูรณ์ โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น จำนวน ๒๔ ล้านบาทเศษ
๑๑. กุฏิพระธรรมญาณมุนี เป็น กุฏิทรงไทยกลุ่ม จำนวน ๖ หลัง ทำด้วยไม้สักทองล้วน สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๔๒ ในสมัยของพระธรรมญาณมุนี (ไวทย์ มุตฺตกาโม ป.ธ.๕) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๒. กุฏิเฉลิมพระเกียรติ ๑๒ สิงหามหาราชินี ๒๕๔๗ (พระราชรัตนวราภรณ์) ฝา กุฏิทรงไทยทำด้วยไม้สักทอง พื้นไม้ตะเคียนทอง มีลวดลายที่เป็นการอนุรักษ์จิตรกรรมไทย จำนวน ๔ หลัง ขวาง ๑ หลัง ข้าง ๒ หลัง ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน มีการติดเครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นสถานที่สำหรับการทัศนศึกษากุฏิทรงไทยแบบโบราณที่มีความสวยงาม โดยจะเปิดให้ผู้มากราบไหว้หลวงพ่อโตได้เข้าเยี่ยมชมตลอดทุกวัน และใช้เป็นสถานที่รับรองพระมหาเถระหรือพระอาคันตุกะ มีขนาดกว้าง ๑๒.๒๐ เมตร ยาว ๓๒.๑๐ เมตร สร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ ในสมัยพระราชรัตนวราภรณ์ (แวว กตสาโร) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
๑๓. ศาลเจ้าแม่กวนอิม เจ้าพ่อกวนอูและเทพเจ้าอุ่ยท้อ ตั้ง อยู่ริมแม่น้ำด้านทิศเหนือของวัด ติดกับตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๙ เป็นสถานที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระสังกัจจายน์ เจ้าแม่กวนอิม (พระโพธิสัตว์) เจ้าพ่อกวนอู(เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์)และเทพเจ้าอุ่ยท้อ (เทพเจ้าผู้คุ้มครองพระศาสนา) ซึ่งประชาชนให้ความเคารพนับถือมาก
การเดินทางสู่วัดพนัญเชิงวรวิหาร ๓ ทาง
ก. เดินทางโดยรถยนต์ไป ตามถนนพหลโยธิน แยกเข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่สามแยกอำเภอวังน้อย ถนนสายโรจนะถึงเจดีย์ใหญ่วัดสามปลื้ม ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑ เลี้ยวซ้ายไปตามถนน ผ่านวัดใหญ่ชัยมงคลแล่นเรื่อยไปจนถึงวัด
ข. เดินทางโดยรถไฟไป ยังสถานีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่อรถประจำทาง หรือรถรับจ้างเพื่อข้ามเรือที่สถานีตำรวจป้อมเพชร ซึ่งเรียกว่า ท่าข้ามวัดสุวรรณดาราราม – วัดพนัญเชิงฯ
ค. เดินทางโดยเรือ มีเรือ ๓ สาย สายใต้และสายตะวันตก จะถึงวัดซึ่งอยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจป้อมเพชรก่อนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายเหนือจะถึงตัวจังหวัดก่อนถึงวัด
ที่อยู่ ป ๒ หมู่ ๑๒ ต.กะมัง อ. พระนครศรีอยุธยา
จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐
|
|