“ทีนี้มาพูดถึงเรื่อง จาคะ ด้านภาวนาดูบ้าง เมื่อพูดถึงด้านภาวนา จะเห็นว่า จาคะเป็นเรื่องของภาวนาโดยแท้ เรียกว่าเป็น อนุสสติภาวนาอย่างหนึ่ง ในขณะที่นั่งภาวนา….เราจะเอาอะไรมาเป็นทานวัตถุนอกจากอารมณ์ที่เกิดจากใจทั้งนั้น และการภาวนาก็ไม่ให้ส่งจิตออกไปภายนอก ให้กำหนดนิ่งแน่วอยู่ในที่เดียว
เมื่ออารมณ์อันใดเกิดขึ้นมาที่ใจ ก็ให้สละจาคะออกไปเสีย นี่แหละจึงจะเป็นจาคะอันแท้จริง
ของที่เราจะจาคะมีมากมายเหลือเกิน เช่น โลภ โกรธ หลง ล้วนแต่เป็นสิ่งที่น่าจาคะทั้งนั้น
จาคะหมายความว่า “สละ” เข้ากับศัพท์บาลีที่ท่านว่า “จาโค ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติ อนฺาลโย“
จาโค ปฏินิสฺสคฺโค สละคืนของเดิมไป มุตฺติ อนาลโย ไม่มีอาลัยในสิ่งที่เราจาคะแล้ว ลองพิจารณาดูว่า จาคะตรงนั้นจะจาคะอะไร?
ก็จาคะสิ่งที่มีอยู่ในใจของเรานั่นเอง ใจมันผูกพันในสิ่งใด สละให้ไป
จะเป็นวัตถุสิ่งของก็ได้ จะเป็นอารมณ์ต่าง ๆ ก็ได้ เช่น ...
เรามาอยู่วัด คิดถึงบ้านมีความกังวลต่าง ๆ ก็ค่อย ๆ จาคะไป
คิดถึงลูกหลานก็ค่อยจาคะไป
ความรัก ความชัง ความเกลียด ความโกรธ ก็ค่อยจาคะไป
จาคะไปทีละเล็กละน้อย มันก็ค่อยหมดไป…” ที่มา : หนังสือธรรมลีลา ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔๑ ธรรมปฏิบัติ จาคานุสสติ
|