ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3831
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>> ตำราพิชัยสงคราม <<

[คัดลอกลิงก์]
ตำราพิชัยสงคราม
21 กลศึก


๑. กลฤทธี
        “กลศึกอันหนึ่ง        ชื่อว่าฤทธีนั้น
        ซั้นทะนงองค์อาจ        ผกผาดกล่าวเริงแรง
        สำแดงแก่ข้าแกล้วหาร        ชวนทำการสอนสาตร
        อาจเอาบ้านเอาเมือง        ชำนาญเนืองณรงค์
        ยงใจผู้ใจคน        อาษาเจ้าตนทุกค่ำเช้า
        จงหมั่นเฝ้าอย่าคลา        ภักตราชื่นเทียมจันทร์
        ทำโดยธรรม์จงภักดิ์        บันเทิงศักดิจงสูง
        จูงพระยศยิ่งหล้า        กลศึกนี้ชื่อว่า ฤทธีฯ”

๒. กลสีหจักร
                “กลหนึ่งชื่อว่าสีหจักร        ให้บริรักษพวกพล
        ดูกำลังตนกำลังท่าน        คิดคเนการแม่นหมาย
        ยกย้ายพลเดียรดาษ        พาษไคลคลี่กรรกง
        ต้อรพลลงเป็นทิศ        สถิตรช้างม้าอย่าไหว
        ตั้งพระพลาไชยจงสรรพ         จงตั้งทับโดยสาตร
        ฝังนพบาทตรีโกณ        ให้ฟังโหรอันแม่น
        แกว่นรู้หลักหมีคลาด        ให้ผู้องอาจทะลวงฟัน
        ให้ศึกผันแพ้พ่าย        ย้ายพลใหญ่ให้ไหว
        ไสพลศึกให้หนี        กลศึกอันนี้ชื่อว่า สีหจักรฯ”

๓. กลลักษณ์ซ่อนเงื่อน
                “กลหนึ่งลักษณส้อนเงื่อน        เตือนกำหนดกฎหมายตรา
        แยกปีกกาอยู่สรรพ        นับทหารผู้แกล้ว
        แล้วกำหนดจงคง        แต่งให้ยงยั่งเย้า
        ลากศึกเข้าในกล        แต่งคนแต่งช้างม้า
        เรียงหน้าหลังโจเจ        รบโยเยแล้วหนี
        ศึกติดตีตามติด        สมความคิดพาดฆ้องไชย
        ยกพลในสองข้าง        ยกช้างม้ากระทบ
        ยอหลังรบสองข้าง        จึ่งบ่ายช้างอันหนี
        คระวีอาวุทธโห่ร้อง        สำทับก้องสำคัญ
        ยืนยันรบทั้งสี่        คลี่พลออกโดยสั่ง
        สัตรูตั้งพังฉิบหาย        อุบายศึกนี้
        ชื่อว่าลักษณซ่อนเงื่อนฯ”

๔. กลเถื่อนกำบัง
                “กลหนึ่งชื่อว่าเถื่อนกำบัง        รั้งรบพลตนน้อย
        ชัดคนคล้อยแฝงป่า        แต่งพลหล้าแล่นวง
        ทั้งกงนอกกงใน        ไว้ช้างม้าให้แฝง
        แทงให้ร้องทรหึง        มี่อึงฆ้องกลองไชย
        ไว้ให้เสียงสำทับ        ปืนไฟกับธนู
        น่าไม้กรูกันมา        ดาบถะลวงฟันดาหน้า
        ประดังช้างม้าเรี่ยชายไพร        ลูกหาบในป่าโห่
        เกราะเสโลห์นี่นั่น        ให้ศึกงันร่าถอย
        ครั้นศึกคล้อยเหนผู้ห้าว        กลเสือคราวครึมป่า
        แล้วออกล่าเเล่นฉาว        ทำสำหาวซ่อนเล็บ
        เกบแต่เตียนกินรก        ลอบฉวยฉกเอาจงเนือง
        ให้ศึกเคืองใจหมอง        คลองยุบนดังนี้
        ชื่อว่าเถื่อนกำบังฯ”

๕. กลพังภูผา
                “กลนี้ชื่อพังภูผา        แม้ศึกมาปะทะ
        อย่าเพ่อระเริงแรง        สำแดงดุจเหนน้อย
        ชักคล้อยแฝงป่าเข้า        ศึกเหนเราดูถูก
        ผูกช้างม้าออกไล่        ยอพลใหญ่กระทบ
        ผิรบเข้าบอไหว        ให้ช้างม้าโรมรุม
        กลุ้มกันหักอย่าคลา        อย่าช้าเร่งรุมตี
        ศึกแล่นหนีตามต่อย        ให้ยับย่อยพรายพรัด
        ตัดเอาหัวโห่เล่น        เต้นเริงรำสำแดงหาร
        ให้ศึกคร้านคร้ามกลัว        ระรั้วระเสิดสัง
        กลศึกอันนี้        ชื่อว่าพังภูผาฯ”

๖. กลม้ากินสวน
                “กลหนึ่งชื่อว่าม้ากินสวน        ให้หาผู้ควนหารห้าว
        ลาดเอาเย่าเอาเรือน        บ้านถิ่นเถื่อนอยู่ใกล้
        จับกุมได้เอามา        นานาเลศเทศกาล
        ปันพนักงานจงขาด        ปรนไปลาดเนืองเนือง
        ให้ศึกเคืองใจแค้น        แม้นจะอยู่บมีสุข
        บุกขับกับทุกเดือน        เตือนใจตื่นไปมา
        กลขับปลาให้ห้อม        ด้อมดักสักสุ่มเอา
        ให้ศึกเหงาใจถอย        ค่อยเก็บนอกเข้ามา
        ให้ระอาใจอ่อน        ผ่อนผู้คนให้หนี
        กลอนกล่าวกลศึกนี้        ชื่อว่าม้ากินสวนฯ”

๗. กลพวนเรือโยง
                “กลศึกอันหนึ่ง        ชื่อว่าพวนเรือโยง
        ประดุจผะโองปืนตาล        ทำจงหวานแช่มชื่น
        ผูกเปนมิตรไมตรี        สิ่งใดดียกให้
        ละไลต่ออย่าเสีย        แต่งลูกเมียให้สนิจ
        ติดต่อตั้งยังกล        ยุบลช้างเถื่อนตามทั้งโขลง
        โยงเบ็ดราวคร่าวเหยื่อกาม        ค่อยลากก้ามเอามา
        ด้วยปัญญาพิสดาร        กลการศึกอันนี้
        ชื่อว่าพวนเรือโยงฯ”

๘. กลโพงน้ำบ่อ
                “กลหนึ่งชื่อว่าโพงน้ำบ่อ        คิดติดต่อข้าศึก
        ฝ่ายเขานึกดูแคลน        ใครรุกแดนรุกด้าว
        เลียบเลียมกล่าวข่มเหง        ชระเลงดูหมิ่นเรา
        โอนเอนเอาอย่าขวาง        ข้างเราทำดุจน้อย
        ค่อยเจรจาพาที        ลับคดีชอบไว้
        อ่อนคือใครตามใจ        น้ำไหลลู่หลั่งหลาม
        พูดงามก้านกิ่งใบ        อัทยาไศรถ่อมถด
        อดคำกล่าวท่าวเอา        ครั้นว่าเขาดูหมิ่น
        ผินฟังพลดูแคลน        แดนพังพลดูถูก
        ประดุจลูกหลายตน        ครั้นสปสกลไซ้
        จึ่งยกได้เขาคืน        เราลุกยืนผูกเอา
        ได้เขาทำสง่าเงย        เตยหน้าตาโอ่โถง
        ดุจหนึ่งโพงได้น้ำ        คำคิดติดต่อ
        ชื่อว่าโพงน้ำบ่อฯ”       

๙. กลล่อช้างป่า
                “กลหนึ่งชื่อว่าฬ่อช้างป่า        ผี้ศึกมาคะคึก
        ศึกครั้นหนีครั้นไล่        บค่อยไต่ค่อยตาม
        ลามปามแล่นไล่มา        ให้แทงหาขุมขวาก
        พากยที่เหวที่ตม        แต่งให้ล้มหลุมขุม
        ซุ่มซ่อนตนสองปราด        แต่งให้ลาดเบื้องน่า
        คอยอยู่ท่าที่ดี        ถ้าไพรีเหนได้
        ศึกเหนใคร่ใจคด        ค่อยถอยถดฝ่ายเรา
        ฝ่ายเขาขามบไล่        ฝ่ายเราไปล่รี้พล
        ไว้เปนกลหลายถาน        ปันการตามน่าหลัง
        ระวังยอหลายแห่ง        สบที่แต่งเนืองเนือง
        พลเขาเปลืองด้วยกล        ยุบลฬ่อช้างเถื่อน
        แล้วแต่งเตือนน่าหลัง        ทั้งไปน่าก็บได้
        ถอยหลังไปก็บรอด        ทอดตนตายกลางช่อง
        คลองยุบลดังนี้        ชื่อว่าฬ่อช้างป่าฯ”

๑๐. กลฟ้างำดิน
                “กลศึกอันหนึ่ง        ชื่อว่าฟ้างำดิน
        หมั่นสำเนียกพลพฤนทรามตย์        ให้ใจอาจใจหาญ
        ชำนาญช้างม้ากล้าณรงค์        หมั้นคงชี้ฉับเฉียว
        เหลือบเหลียวน่าซ้ายขวา        ไปมาผับฉับไว
        ใช้สอยยอดยวดยง        จงชำนาญแล่นแอ่นไว
        ปืนไฟน่าไม้พิศม์        สนิทธนูดาบดั้งแพน
        แสนเสโลหโตมร        กรไว้พุ่งเชี่ยวชาญ
        ชำนาญศิลป์ทั้งปวง        ถลวงฟันรันรุม
        ชุมพลสิบพลร้อย        อย่าให้คล้อยคลายกัน
        ทั่วพลพันพลหมื่น        หื่นพลแสนพลล้าน
        จรเดียวดาลเด็ดมา        แปรงาช้างบ่ายตาม
        ฟังความตามบังคับ        กับเสบียงเรียงถุง
        ประดุงไพร่พลช้างม้า        กลศึกอันนี้ว่า
        ชื่อฟ้างำดินฯ”

๑๑. กลอินทร์พิมาน
                “กลหนึ่งชื่อว่า        อินทพิมาน
        ให้อาจารยผู้รู้        เทพยาครูฝังนพบาท
        แต่งสีหนาทข่มนาม        ตามโบราณผู้แม่น
        อันชาญแกวนเหนประโยชน์        บรรเทาโทษโดยสาตร
        ยุรยาตรโดยอรรถ        ให้ประหยัดซึ่งโทษ
        อย่าขึ้งโกรธอหังกา        มนตราคมสิทธิ์ศักดิ์
        พำนักน์ในโบราณ        บูรพาจารยพิไชย
        โอบเอาใจพลหมู่        ให้ดูสกุณนิมิตร
        พิศโดยญาณุประเทศ        พิเศศราชภักดี
        ศรีสุริยศักดิ์มหิมา        แก่ผู้อาษานรนารถ
        เทพาสาธุการ        โดยตำนานดั่งนี้
        ชื่อว่าอินทพิมานฯ”

๑๒. กลผลาญศัตรู
                “กลหนึ่งชื่อว่าผลานศัตรู        ข้าศึกดูองอาจ
        บพลาดราษฎรกระทำ        นำพลพยัคฆะปะเมือง
        พลนองเนืองแสนเต้า        แจกเล่าเข้าเชาเรา
        เอาอาวุธจงมาก        ลากปืนพิศม์พาดไว้
        ขึ้นน่าไม้ธนู        กรูปืนไฟจุกช่อง
        สองจงแม่นอย่าคลา        ชักสารพาบันทุก
        อย่าอุกลุกคอยฟัง        อย่าประนังตนเด็ด
        เล็ดเล็งดูที่หมั้น        กันที่พลจงคง
        คนหนึ่งจงอย่าฉุก        ปลุกใจคนให้หื่น
        ให้ชื่นในสงคราม        ฟังความสั่งสำคัญ
        ฆ้องกลองพรรณแตรสังข์        ประนังโรมรันรุม
        เอาจุมพลดาศึก        พิฦกคะเปนนาย
        ครั้นถูกกระจายพ่ายพัง        พลเสริดสั่งฤาอยู่
        บ่เปนหมู่เปนการ        โดยสารโสลกดั่งนี้
        ชื่อว่า ผลานศัตรูฯ”

๑๓. กลชูพิษแสลง
                “กลหนึ่งว่าชูพิศม์แสลง        ข้าศึกแรงเรืองฤทธิ์
        คิดไฝ่ไภยเอาเรา        เคยเขามากมาก
        ภากย์ที่แคบที่คับ        สลับรี้พลช้างม้า
        เคยคลาปล้นรุกราม        ผลานฬ่อลวงบ้านเมือง
        เนืองเนืองมาเพื่อนตน        ให้ใส่กลปราไศรย
        ฝากของไปฝากรักษ์        ลักลอบให้เงินทอง
        รังวันปองขุนใหญ่        หัวเมืองไพร่ข้าศึก
        ให้ตฤกจงลับแล้ง        แข่งอุบายเลห์คิด
        ไปมาสนิทเปนกล        ให้เขาฉงนสนเท่ห์
        เพราะเปนเล่ห์ภายใน        บไว้ใจแก่กัน
        ผันใจออกกินแหนง        แยงให้ผิดด้วยกัน
        ชูพิศม์ผรรแปรพิศม์        ให้ผิดกันเองโจกเจก
        บเป็นเอกใจเดียว        บเปนเกี่ยวเปนการ
        เพราะพิศม์ผลานศัตรู        กลศึกอันนี้
        ชื่อว่าชูพิศม์แสลงฯ”

๑๔. กลแข็งให้อ่อน
                “กลหนึ่งแขงให้อ่อน        ผ่อนเมื่อศัตรูยก
        ให้ดูบกดูน้ำ        ซ้ำดูเข้ายาพิศม์
        พินิตพิศม์จงแหลก        ตัดไม้แบกเบื่อเมา
        เอาไปทอดในน้ำ        ทัพซ้ำหนามขวาก
        แต่งจงมากท่าทาง        วางจาวห้าวแหลมเล่ห์
        บ่อดานทางเข่าที่ขัน        กันหลายแห่งที่คับ
        แต่งสนับไว้จ่อไฟ        ไล่เผาคลอกป่าแขม
        แนมขวากแนมห่วงน้ำค่าม        ตามเผาป่าแทบทัพ
        ยับไม้เผาเปนถ่าน        หว่านไฟไว้รายเรียง
        รอเผาเสบียงจงสิ้น        อย่าให้กินเปนอาหาร
        แต่งคนชาญหลอกทัพ        ให้เสียหับเสียหาย
        ทำลายคาบเนืองเนือง        เปลืองเสบียงเปล่าเฉาแรง
        กลเชื้อแขงให้อ่อนฯ”

๑๕. กลยอนภูเขา
                “กลหนึ่งยอยภูเขา        ข้าศึกเนาประชิะ
        ให้ริะดูช่องชอบ        ที่จะขอบจะขัง
        แต่งระวังยักย้าย        ฝ่ายพลเขาเอาเสบียง
        เรียงงานในเมืองเรา        เอาใจไพร่ใจพล
        คนอยู่ประจำการ        พนักงานใครใครรบ
        แต่งบรรจบพลแล่น        ให้ทำแกว่นชวนกัน
        แต่งถลวงฟันบุกทัพ        คอยฟังศัปทสำคัญ
        หาที่ยันที่อ้าง        เอาม้าช้างเป็นดิน
        ปืนคูหักค่ายเข้า        รบรุกเร้ารุมแทง
        อย่าคลายแคลงพรายพรัด        ตัดให้ม้วยด้วยกัน
        ให้สำคัญจงแม่น        แล่นช้างม้าวางขวาก
        เขาตามยากเอาเรา        เท่าทิศที่ตนหมาย
        ฆ่าให้ตายกลากลาด        ต้องบาดเจ็บป่วยการ
        ศัตรูดาลระทด        ขดด้วยเสียงปืนไฟ
        ในเมืองเร่งโห่ร้อง        ให้มี่ก้องนิรนาท
        มีปี่พาทย์เสียงสรวญใน        ชมชื่นใจขับรำ
        ซ้ำทนงองอาจ        ปืนไฟพาดประนัง
        กลชื่อพังภูเขาฯ”

๑๖. กลเย้าให้ผอม
                “กลหนึ่งเย้าให้ผอมนั้น        บั้นเมื่อให้เธอลีลา
        พาธาอธิราช        ให้พินาศศัตรู
        หมั่นตรวจดูกำลัง        ช้างม้าทั้งรี้พล
        ปรนกันเปลี่ยนไปลาด        ผาดจู่เอาแต่ได้
        หนังสือไว้หมายหมก        ว่าจะยกพลหลวง
        ลวงใส่กลเป็นเขตร        ดูในเทศการ
        ให้ป่วยงานทำนา        แสงตรวจตราพลแกล้ว
        แล้วคลายพลเราเสีย        เยียกลเมฆมืดฝน
        ฝนไป่ตกตรนกอางขนาง        ให้แผ้วถางแส้งทำ
        คคึกคำแรงรณ        ครั้นหลงกลกลยกเล่า
        ลากพลเข้าเนืองเนือง        แยงให้เปลืองไปมา
        ดุจกลกาลักไข่        จะไล่ก็ไล่มิทัน
        วันคืนปีป่วยการ        ข้าศึกต้านยืนอยาก
        ให้ข้าวยากหมากแพง        สิ่งเปนแรงให้แรงถอย
        ร่อยรอนไข้ใจหิว        ตีนมือปลิวพลัดพราย
        ไพร่หนีนายนายเปลี่ยว        บเป็นเรี่ยวเปนแรง
        ใครใครแขงมิได้        ใครใครไม่มีลาภ
        ถ้ารูปงามเสาวภาพย์ก็จะเศร้า        กลอุบายนี้เล่า
        ชื่อว่าเย้าให้ผอมฯ”

๑๗. กลจอมปราสาท
                “กลหนึ่งชื่อจอมปราสาท        องอาจมุ่งมาทดู
        คูหอคอยเวียงวัง        ตั้งไชยภุมจงผับ
        รู้ตั้งทัพพระพลาไชย        อย่าได้ไหวได้หวั่น
        หมั่นดูฉบับธรรมเนียม        เตรียมปูนปันเป็นกอง
        น่าหลังสองตราบข้าง        รอบไว้ช้างม้ารถ
        ห้วยธารคชโยธา        ให้รักษาจงรอบ
        ทุกคันขอบนอกใน        อย่าได้ไหวปั่นป่วน
        อย่าได้ด่วนคอยฟัง        คอยดูหลังดูน่า
        จัดช้างม้ารี้พล        ปรนกันกินกันนอน
        อย่ายอหย่อนอุส่าห์        ให้หมั่นว่าหมั่นตรวจตรา
        ทังกระลากระแลงแกง        อย่าได้แฝงนายไพร่
        ไภยรักษาจงมาก        อย่าให้ยากใจพล
        อย่าทำกลดุจเสือ        บกเรือจงชำนาญ
        ชาญทั้งที่โดยกระบวน        คิดควรรู้จงผับ
        นับหน้าดูผู้อาษา        หาคนดีเป็นเพื่อน
        อย่าเลื่อนถ้อยให้เสียคำ        ทำอันใดทำโดยสาตร์
        ตามฉบับราชโบราณ        กระทำการให้รอมชอม
        กลศึกนี้ชื่อว่าจอมปราสาทฯ”

๑๘. กลราชปัญญา
                “กลหนึ่งชื่อว่าราชปัญญา        พร้อมเสนาทั้งสองข้าง
        ช้างม้ารถเสมอกัน        หานักธรรม์ผู้ฉลาด
        อาจใส่กลไปปลอม        ด้อมดูที่ดูทาง
        วางต้นหนคนใช้        ไว้กังวลแก่เขา
        เอาสิ่นให้หฤหรรษ์        ให้คิดผันใจออก
        ทั้งภายนอกภายใน        หวั่นไหวใจไปมา
        แต่งโยธาหัดกัน        หลายหมู่พรรค์หลายกอง
        จองนายหนึ่งไพร่สี่        ทวีนายหนึ่งไพร่หก
        ยกนายหนึ่งไพร่เก้า        เคล้านายห้าจองพล
        ซ้ายขวาคลน่าหลัง        ทั้งอาวุธท่าทาง
        ถอยพึงกางกันรบ        ทบท่าวอย่าหนีกัน
        คอยยืนยันรบพลาง        ไส่ยาวางเรียเด็ก
        นายไพร่เล็ดลอดตาม        ให้ฟังความสั่งสำคัญ
        ฆ้องกลองพรรณธงไชย        กดให้ไล่ให้หนี
        ลีลาลาดศึกเข้า        ในพลเคล้าเปนกล
        สองกองพลซ้ายขวา        ดูมรรคาชอบกล
        เอาพลตั้งสองข้าง        กองกลางง้างพลถอย
        ศึกตามลอยแล่นไล่        ครั้นศึกไปล่ออกข้าง
        คอยดูช้างดูม้า        ดูทวยคลารี้พล
        สบสกลโดยสำคัญ        จึ่งกระทบกันเข้ารบ
        สบสำเนียกเสียกสา        อย่าให้คลาให้คลาด
        ผาดเอาคงเอาวัน        หยิบเอาพลันจงได้
        ไว้กำหนดนายกอง        ช่องปองปูนจงสรับ
        นับอ่านเร่งตรวจตรา        กลศึกอันนี้ชื่อว่า
        กลราชปัญญาฯ”

๑๙. กลฟ้าสนั่นเสียง
                “กลชื่อฟ้าสนั่นเสียง        เรียงพลพยุหกำหนด
        กดประกาศถึงตาย        หมายให้รู้ถ้วนตน
        ปรนปันงานณรงค์        ยวดยงกล่าวองอาจ
        ผาดกำหนดกดตรา        ยามล่าอย่าลืมตน
        ทำยุบลสีหนาท        ดุจฟ้าฟาดแสงสาย
        สำแดงการรุกรัน        ปล้นปลอมเอาชิงช่อง
        ลวงเอาบุรีราชเสมา        ตรารางวันเงินทอง
        ปองผ้าผ่อนแพรพรรณ์        ยศอนันต์ผายผูก
        ไว้ชั่วลูกชั่วหลาน        การช้างม้าพลหาญ
        ใช้ชำนาญการรบ        สบได้แก้จงรอดราศฏร์
        ดุจฟ้าฟาดเผาพลาญ        แต่งทหารรั้งรายเรียง
        เสียงคะเครงคะคฤ้าน        ทังพื้นป่าคะครัน
        สนั่นฆ้องกลองไชย        สรในสรัพแตรสังข์
        กระดึงดังฉานฉ่า        ง่อนงาช้างรายเรียง
        เสียงบันฦาคร้านครั่น        กล่าวกลศึกนั้น
        ชื่อฟ้าสนั่นเสียงฯ”

๒๐. กลเรียงหลักยืน
                “กลศึกชื่อเรียงหลักยืน        ให้ชมชื่นรุกราน
        ผลาญให้ครอบทั่วพัน        ผันเอาใจให้ชื่น
        หื่นสร้างไร่สร้างนา        หาปลาล่วงแดนต่าง
        โพนเลื่อนช้างล่วงแดนเขา        เอาเปนพี่เปนน้อง
        พร้องตั้งค่ายตั้งเวียง        บ้านถิ่นเรียงรายหมั้น
        เร่งกระชั้นเข้าเรียงราย        เกราะเอานายเอาไพร่
        ไว่ใจไกยใจถึง        ระวังพึงใจให้
        ใส่ไคล้เอาเปนเพื่อน        ใครแขงกล่นเกลือนเสีย
        ให้เมียผูกรัดรึง        ให้เปนจึ่งม่ามสาย
        รายรอบเอาจงหมั้น        จงเอาชั้นเปนกล
        กลให้เขาลอบล้น        ปล้นบ้านถิ่นเถื่อนไปมา
        ระวาเพศแทบเวียง        กลศึกอันนี้ชื่อว่าเรียงหลักยืนฯ”

๒๑. กลปืนพระราม
                “กลชื่อว่าปืนพระราม        ว่าอย่ามีความโกรธขึ้ง
        ทรอึง ใจหนักฦก        สำแดงศึกใหญ่มา
        พาธาจงคอยฟัง        ให้ระวังถอยแกล้ง
        แม่นอย่าแอ่วแวนไว้        ได้แล้วกลับคืนรอด
        ริรอบปลอดมีไชย        หวั่นไหวใจศัตรู
        ดูสนั่นใจเศร้า        ให้พระยศเจ้ารุ่งเรือง
        เลื่องฦาเดชหาญห้าว        ทุกทั่วท้าวเกรงขาม
        ชื่อปืนพระรามสำเรทธิ์        ญี่สิบเบ็ดกลณรงค์
        ด้วยประสงค์ดั่งนี้”
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-11 11:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตามอ่านเนื้อหา กลยุทธ์ต่อที่

http://writer.dek-d.com/tamada/story/view.php?id=666139



                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                         
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-11 12:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตำราพิชัยสงคราม ๒๑ กลยุทธไทย "


ตำราพิชัยสงครามของไทย เขียนโดยการผูกโยงเป็นคำกลอน มีทั้งสิ้น ๒๑ กลยุทธ์

ฤทธี สีหจักร ลักษณ์ซ่อนเงื่อน
เถื่อนกำบัง พังภูผา ม้ากินสวน
พวนเรือโยง โพงน้ำบ่อ ล่อช้างป่า
ฟ้างำดิน อินทร์พิมาน ผลาญศัตรู
ชูพิษแสลง แข็งให้อ่อน ยอนภูเขา
เย้าให้ผอม จอมปราสาท ราชปัญญา
ฟ้าสนั่นเสียง เรียงหลักยืน ปืนพระราม


กลยุทธ์ ๑ : กลฤทธี

กลอันหนึ่ง..........................ชื่อว่าฤทธีนั้น
ชั้นทะนงองอาจ....................ผกผาดกล่าวเริงแรง
สำแดงแก่ข้าแกล้วหาญ..........ชวนทำการสอนศาสตร์
อาจเอาบ้านเอาเมือง..............ชำนาญเนืองณรงค์
ยงใจผู้ใจคน.......................อาสาเจ้าตนทุกค่ำเช้า
จงหมั่นเฝ้าอย่าครา...............พักตราชื่นเทียมจันทร์
ทำโดยธรรมจงภักดิ์..............บันเทิงศักดิ์จงสูง
จูงพระยศยิ่งหล้า.................กลอันศึกนี้ว่า กลชื่อฤทธี

กลยุทธ์นี้สรุปความว่า ให้ฝึกซ้อมให้เชี่ยวชาญการศึก ให้พร้อมที่จะรบได้ตลอด เมื่อมีโอกาสจะได้อาสาเจ้านายทำศึก การจะชนะศึกได้ต้องเตรียมพร้อมให้ดี ฝึกฝนฝีมือสม่ำเสมอไม่ประมาท มีวินัย นับเป็นกลยุทธ์พื้นฐานที่ ทุกกองทัพต้องมี ถ้าทัพใดหย่อนยานการฝึกและขาดวินัย ก็เตรียมใจพ่ายแพ้ได้เลย และการที่กองทัพจะแสดง “ฤทธิ์” ได้นั้นต้องมีแม่ทัพที่ดี ที่เอาใจใส่ร่วมเป็นร่วมตายกับลูกน้อง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจึงจะสามารถฝ่าฟัน พิฆาตไพรีเอาชนะศึกได้


กลยุทธ์ ๒ : กลสีหจักร

“กลหนึ่งชื่อว่าสีหจักร..........ให้บริรักษ์พวกพล
ดูกำลังตนกำลังท่าน..........คิดคะเนการแม่นหมาย
ยักย้ายพลเดียรดาษ..........พาสไครคลี่กรรกง
ตั้งพลลงแปดทิศ..............สถิตช้างม้าอย่าไหว
ตั้งพระพลาชัยจงสรรพ.......จงตั้งทัพโดยศาสตร์
ฝังนพบาทตรีโกน.............ให้ฟังโหรอันแม่น
แกว่นรู้หลักมิคลาด............ให้ผู้อาจทะลวงฟัน
ให้ศึกผันแพ้พ่าย..............ย้ายพลใหญ่ให้ไหว
ไสพลศึกให้หนี................กลศึกอันนี้ชื่อว่า สีหจักร”

กลยุทธ์นี้สรุปใจความอยู่ที่ “ดูกำลังตนกำลังท่าน” ซึ่งก็คือ “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครา” ในพิชัยสงครามซุนวูนั่นเอง การรู้เขารู้เราเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเราไม่รู้ว่าจุดด้อยของเราคืออะไร เราก็จะป้องกันไม่ถูก และถ้าเราไม่รู้จุดบอดของข้าศึก ดุ่มๆโจมตีไปความเสียหายย่อมมีมาก ดีไม่ดีสูญเสียทั้งกองทัพ ประดุจเดินผิดตาเดียวแพ้ทั้งกระดาน ดังนั้นข้อมูลข่าวสารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการวางแผนทำศึก


กลยุทธ์ ๓ : กลลักษณ์ซ่อนเงื่อน

“กลหนึ่งลักษณ์ซ่อนเงื่อน.........เตือนกำหนดกฎหมายตรา
แยกปีกกาอยู่สรรพ.........................นับทหารผู้แกล้ว
กำหนดแล้วจงคง............................แต่งให้ยงยั่วเย้า
ลากศึกเข้าในกล............................แต่งคนแต่งช้างม้า
เรียงหน้าหลังโจเจ..........................รบโยเยแล้วหนี
ศึกติดตีตามติด.............................สมความคิดพาดฆ้องชัย
ยกพลในสองข้าง...........................ยกช้างม้ากระทบ
ยอหลังรบสองข้าง..........................จึ่งบ่ายช้างอันหนี
คระวีอาวุธโห่ร้อง............................สำทับก้องสำคัญ
ยืนยันรบทั้งสี่................................คลี่พลออกโดยสั่ง
ศัตรูตั้งพังฉิบหาย...........................อุบายศึกอันนี้

ชื่อว่าลักษณ์ซ่อนเงื่อน”

กลยุทธ์นี้มีให้เห็นทุกนิยายพงศาวดาร และทุกตำราพิชัยสงคราม นักการทหารทุกคนทราบดี แต่ก็มักจะได้ผลเสมอ ๆ ปราชญ์โบราณท่านแต่งร่ายได้เห็นภาพเลย คือแต่งทัพหลอกล่อให้ข้าศึกหลงกลตามตีแล้วทำเป็นพ่ายให้ข้าศึกได้ใจตามตีต่อ เข้าสู่ killing field ที่มีทัพหนุนของเราซุ่มคอยโอบล้อมโจมตีอยู่ ที่ไหนกองทัพข้าศึกจะไม่พลาดพลั้งเสียทีแก่เรา

กลยุทธ์ ๔ : กลเถื่อนกำบัง

“กลหนึ่งชื่อว่าเถื่อนกำบัง........รั้งรบพลตนน้อย
ชัดคนคล้องแฝงป่า.......................แต่งพลหล้าแล่นวง
ทั้งกงนอกกงใน..........................ไว้ช้างม้าให้แฝง
แทงให้ร้องทรหึง..........................มี่อึงฆ้องกลองชัย
ไว้ให้เสียงสำทับ..........................ปืนไฟกับธนู
หน้าไม้กรูกันมา...........................ดาบทะลวงฟันดาหลัง
ประนังช้างม้าเรี่ยชายไพร...............ลูกหาบในป่าโห่
เกราะเสโลนี่นั่น..........................ให้ศึกงันรึถอย
ครั้นศึกคล้อยเห็นผู้ห้าว.................กลเสือคราวครึมป่า
แล้วออกหล้าแล่นฉาว...................ทำสามหาวซ่อนเล็บ
เก็บแต่เตียนกินรก.......................ลอบฉวยฉกเอาจงเนือง
ให้ศึกเคืองใจหมอง......................คลองยุบลดังนี้
ชื่อว่าเถื่อนกำบัง”

กลเถื่อนกำบังคือ ฝ่ายเราคนน้อยกว่าแต่ทำเป็นมีกำลังมากกว่า หลอกให้ศัตรูไม่กล้าโจมตี เพราะเกรงว่าจะมีกำลังซ่อนอยู่ อุบายเมืองเปล่าที่ขงเบ้งขู่สุมาอี้นับเป็นตัวอย่างอันดี

(ใครที่เคยดู ภาพยนตร์ สุริโยไท ๕ ชั่วโมง ก็จะเคยได้ยินนะครับ ตอนที่ ขุนพินิจ กำลังถวายการสอนแก่ ราชธิดาในพระสุริโยไท ขุนพินิจจึงสอน กลศึก "เถื่อนกำบัง" )


กลยุทธ์ ๕ : กลพังภูผา

“กลนี้ชื่อพังภูผา................แม้ศึกมาปะทะ
อย่าเพ่อระเริงแรง..............สำแดงดุจเห็นน้อย
ชักคล้อยแฝงป่าเข้า............ศึกเห็นเราดูถูก
ผูกช้างม้าออกไล่..............ยอพลใหญ่กระทบ
ผิรบเข้าบ่ไหว...................ให้ช้างม้าโรมรุม
กลุ้มกันหักอย่าคลา............อย่าช้าเร่งรุมตี
ศึกแล่นหนีตามต่อย...........ให้ยับย่อยพรายพรัด
ตัดเอาหัวโห่เล่น.................เต้นเริงรำสำแดงหาร
ให้ศึกคร้านคร้ามกลัว...........ระรัวระเสริดสัง
กลศึกอันนี้ชื่อว่าพังภูผา”

กลยุทธ์นี้จะตรงกันข้ามกับกลเถื่อนกำบัง คือฝ่ายเรามีมากกว่าแต่กลับหลอกให้ข้าศึกตายใจว่า เรามีทัพน้อยอ่อนด้อย หลอกให้ข้าศึกตั้งตนประมาทเข้าตี แล้วในที่สุดก็เสร็จเรา



กลยุทธ์ ๖ : กลม้ากินสวน

“กลหนึ่งชื่อว่าม้ากินสวน.....ให้หาผู้ควรหาญห้าว
ลาดเอาเหย้าเอาเรือน.................บ้านถิ่นเถื่อนอยู่ใกล้
จับกุมได้เอามา.........................นานาเลศเทศกาล
ปันพนักงานจงขาด....................ปรนไปลาดเนืองๆ
ให้ศึกเคืองใจแค้น....................แม้นจะอยู่ก็บ่มีสุข
บุกขับกับทุกเดือน....................เตือนใจตื่นไปมา
กลขับปลาให้ห้อม....................ด้อมดักสักสุ่มเอา
ให้ศึกเหงาใจถอย....................ค่อยเก็บนอกเข้ามา
ให้ระอาใจอ่อน.......................ผ่อนผู้คนให้หนี
กลอนกล่าวกลศึกนี้.................ชื่อว่าม้ากินสวน”

พฤติกรรมม้ากินสวนคือ ค่อย ๆ ตอดเล็มกินทีละนิดทีละนิดค่อยเป็นค่อยไป แต่สุดท้ายก็กินจนหมดสวน คือการตีรุกคืบทีละนิดค่อยๆกลืนกินดินแดนทีละส่วนทีละน้อย เป็นกลยุทธ์ที่ใช้มากในสงครามโลกครั้งที่1 คือสงครามสนามเพาะ คือค่อยๆยึดพื้นที่ทีละน้อย แล้วขุดสนามเพาะไว้ให้ทหารประจำการ ทหารที่อยู่ในหลุมเพาะสามารถโจมตีข้าศึกที่เคลื่อนที่เข้ามาได้ แต่ตัวอยู่ในหลุมสามารถป้องกันการโจมตีจากอีกฝ่ายได้ สงครามนี้กินเวลายาวนานเพราะทั้งสองฝ่ายต่างทำสนามเพาะเฝ้าระวังซึ่งกันและ กัน กว่าจะกินพื้นที่ได้สักกิโลเมตรหนึ่งใช้อาจเวลานานเป็นสัปดาห์ สงครามลักษณะนี้สิ้นสุดด้วยการประดิษฐ์รถถังเข้าโจมตี เพราะรถถังสามารถป้องกันกระสุนที่เหล่าทหารในหลุมเพาะโจมตีได้ และยังเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่เป็นหลุมบ่อ ของสนามเพาะไปโจมตีข้าศึกได้


กลยุทธ์ ๗ : กลพวนเรือโยง

“กลศึกอันหนึ่ง...........ชื่อว่าพวนเรือโยง
ประดุจพะองปีนตาล..............ทำจงหวานแช่มชิด
ผูกเป็นมิตรไมตรี.................สิ่งใดดียกให้
ละไล่ต่ออย่าเสีย.................แต่งลูกเมียให้สนิท
ติดต่อตั้งยังกล....................ยุบลช้างเถื่อนตามโขลง
โยงเบ็ดราวคร่าวเหยื่อย่าม......ค่อยลากก้ามเอามา
ด้วยปัญญาพิสดาร...............กลการศึกอันนี้
ชื่อว่าพวนเรือโยง”

เมื่อข้าศึกมีฝีมือเก่งกล้าเอาชนะไม่ได้ง่าย อย่ากระนั้นเลยเอามันเป็นพวกเลยดีกว่า ไม่ต้องรบให้เหนื่อยแถมได้กำลังอันเก่งกล้านั้นเป็นพวกอีกต่างหาก ทำได้โดยการ ให้ทรัพย์สมบัติดีมีราคา ใ ห้สาวงาม ยกลูกสาวให้จะได้เป็นญาติกันเสีย ฝ่ายนั้นก็ไม่กล้ามาโจมตีเรา เพราะเรามีศักดิ์เป็นพ่อตาเสียแล้ว ในพงศาวดารไทย และจีนมีตัวอย่างกลยุทธ์เช่นนี้มาก



กลยุทธ์ ๘ : กลโพงน้ำบ่อ

“กลหนึ่งชื่อว่าโพงน้ำบ่อ.......คิดติดต่อข้าศึก
ฝ่ายเขานึกดูแคลน....................ใครรุกแดนรุกด้าว
เลียบเลียมกล่าวข่มเหง...............ชรเลงดูหมิ่นเรา
โอนอ่อนเอาอย่างขวาง...............ข้างเราทำดุจน้อย
ค่อยเจรจาพาที........................ลับคดีชอบไว้
อ่อนคือใครตามใจ....................น้ำไหลลู่หลั่งหลาม
พูดงามก้านกิ่งใบ.....................อัธยาศัยถ่อมถด
อดคำกล่าวท่าวเอา....................ครั้นว่าเขาดูหมิ่น
ผินฟังคนดูแคลน.....................แดนพังพลดูถูก
ประดุจลูกหลานตน....................ครั้นสบสกลไซร้
จึงยกได้เขาคืน.......................เราลุกยืนผูกเอา
ได้เขาทำสง่าเงย......................เตยหน้าตาโอ่โถง
ดุจหนึ่งโพงใต้น้ำ......................คำคดีติดต่อ
ชื่อว่าโพงน้ำบ่อ”

กริยาโพงน้ำคือ ต้องน้อมตัวลงวิดน้ำ จึงจะได้น้ำมา เมื่อฝ่ายข้าศึกมีกำลังเก่งกล้า ต้องโอนอ่อนผ่อนตามเขาไปก่อน รอให้เขาประมาทเลิกระแวงคลายใจ เราจึงค่อยหาจังหวะลงมือ



กลยุทธ์ ๙ : กลล่อช้างป่า

“กลศึกอันหนึ่งชื่อว่าล่อช้างป่า.......ผี้ศึกมาคะคึก
ศึกครั้นหนีครั้นไล่...............................บ่ค่อยไต่ค่อยตาม
ลามปามแล่นไล่มา.............................ให้แทงหาขุมขวาก
พากที่เหวที่ตม..................................แต่งให้ล้มหลุมขุม
ซุ่มซ่อนตนสองปราด..........................แต่งให้ลาดเบื้องหน้า
คอยอยู่ท่าที่ดี..................................ถ้าไพรีเห็นได้
ศึกเห็นใคร่ใจคด...............................ค่อยถอยถดฝ่ายเรา
ฝ่ายเขาขามบ่ไล่...............................ฝ่ายเราไปล่รี้พล
ไว้เป็นกลหลายฐาน...........................ปันการตามน่าหลัง
ระวังยอหลายแห่ง.............................สบที่แต่งเนืองเนือง
พลเขาเปลืองด้วยกล..........................ยุบลล่อช้างเถื่อน
แล้วแต่งเตือนหน้าหลัง........................ทั้งไปน่าก็บ่ได้
ถอยหลังไปก็บ่รอด............................ทอดตนตายกลางช่อง
คลองยุบลดังนี้.................................ชื่อว่าล่อช้างป่า”

เคล็ดลับของกลยุทธ์นี้อยู่ที่ หลอกล่อให้ข้าศึกหลงกลมาติดกับเรา วางหลุมพรางล่อหลอกเป็นระยะ ๆ จนสุดท้ายทัพข้าศึกก็ถูกทำลายย่อยยับปราชัยไป การหลอกล่อจะใช้อะไร ก็ขึ้นอยู่กับแม่ทัพของฝ่ายศัตรู ถ้าโลภก็ทิ้งของมีค่า ทิ้งสเบียงให้ตามไปเก็บ ถ้าแม่ทัพมีปัญญา ต้องลวงล่อด้วยกลศึก ให้หลงเข้าใจผิด


กลยุทธ์ ๑๐ : กลฟ้างำดิน

“กลศึกอันหนึ่ง...................ชื่อว่าฟ้างำดิน
หมั่นสำเหนียกพลพฤนทรามาตย์.....ให้ใจอาจใจหาญ
ชำนาญช้างม้ากล้าณรงค์ ...............มั่นให้คงชี้ฉับเฉียว
เหลีอบเหลียวหน้าซ้ายขวา..............ไปมาผับฉับไว
ใช้สวยยอดยวดยง.......................จงชำนาญแล่นแอ่นไว
ปืนไฟหน้าไม้พิษ.........................สนิทธนูดาบดั้งแพน
แสนเสโลหโตมร.........................กรไว้พุ่งเชี่ยวชาญ
ชำนาญศิลป์ทั้งปวง.......................ถลวงฟันรันรุม
ชุมพลสิบพลร้อย.........................อย่าให้คล้อยคลายกัน
ทั่วพลพันพลหมื่น........................หื่นพลแสนพลล้าน
จรเดียวดาลเด็ดมา.......................แปรงาช้างบ่ายตาม
ฟังความตามบังคับ.......................กับเสบียงเรียงถุง
ประดุงไพร่พลช้างม้า.....................กลศึกอันนี้ว่า ชื่อฟ้างำดิน”

กลยุทธ์นี้ เน้นที่การเคลื่อนทัพให้พร้อมเพรียง แม่ทัพสามารถบังคับบัญชากองทัพประดุจบังคับนิ้วในมือ แม้จะมีกองทัพใหญ่ก็เหมือนบังคับบัญชาทหารหน่วยย่อย
การที่จะสามารถบังคับบัญชา ทหารนับหมื่นนับแสนให้ พร้อมเพรียงกัน ทำงานประสานกันได้อย่างกลมกลืนนั้นทำได้ยาก ทุกหน่วยต้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มิฉะนั้นแม้มีกำลังนับล้านก็มิอาจแสดงกำลังได้ สุดท้ายต้องพ่ายแพ้ภัยไปเอง



กลยุทธ์ ๑๑ : กลอินทร์พิมาน

“กลหนึ่งชื่อว่าอินทพิมาน.....ให้อาจารยผู้รู้
เทพยาคูฝังนพบาท....................แต่งสีหนารทข่มนาม
ตามโบราณผู้แม่น......................อันชาญแกวนเเหนประโยชน์
บรรเทาโทษโดยศาสตร์...............ยุรยาตรโดยอรรถ
ให้ประหยัดซึ่งโทษ....................อย่าขึ้งโกรธอหังการ์
มนตราคมสิทธิ์ศักดิ์....................พำนักในโบราณ
บูรพาจารย์พิไชย......................โอบเอาใจพลหมู่
ให้ดูสกุณนิมิต..........................พิศโดยญาณประเทศ
ภิเษกราชภักดี.........................ศรีสุริยศักดิ์มหิมา
แก่ผู้อาสานรนารถ....................เทพาสาธุการ
โดยดำนานดั่งนี้.......................ชื่อว่าอินทพิมาน”

กลยุทธ์นี้เน้นที่ การสร้างขวัญกำลังใจให้ฝ่ายเรา สมัยก่อน มี การใช้จิตวิทยาเพื่อปลุกระดมให้หึกเหิม ไม่กลัวศึก การปลุกเสกของวิเศษ คาถาอาคม มนตรายังเป็นสิ่งที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน กองทัพที่มีขวัญกำลังใจดี ย่อมเอาชนะศึกได้ไม่ยาก ของไทยเราที่เห็นเด่นชัดมาแต่โบราณก็คือพิธีตัดไม้ข่มนาม คือทำพิธีตัดต้นไม้ที่มีนามพ้องกับศัตรู ยกตัวอย่างเช่นสมัยรัชกาลที่6 เมื่อทรงนำไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 ทรงกระทำพิธีตัดไม้ข่มนาม ฟันต้น “ฝรั่ง” ก่อนจะส่งทหารไปร่วมรบในยุโรป


กลยุทธ์ ๑๒ : กลผลาญศัตรู

“กลหนึ่งชื่อว่าผลาญศัตรู........ข้าศึกดูองอาจ
บ่พลาดราษฎรกระทำ....................นำพลพยัคฆะปะเมือง
พลนองเนืองแสนเต้า.....................แจกเล่าเข้าเชาเรา
เอาอาวุธจงมาก...........................ลากปืนพิษพาดไว้
ขึ้นหน้าไม้ธนู..............................กรูปืนไฟจุกช่อง
ส่องจงแม่นอย่าคลา......................ชักสารพาบรรทุก
อย่าอุกลุกคอยฟัง........................อย่าประนังตนเด็ด
เล็ดเล็งดูที่มั่น.............................กันที่พลจงคง
คนหนึ่งจงอย่าฉุก........................ปลุกใจคนให้หื่น
ให้ชื่นในสงคราม........................ฟังความสั่งสำคัญ
ฆ้องกลองพลันแตรสังข์................ประนังโรมรันรุม
เอาจุมพลดาศึก..........................พิพฤกคะเป็นนาย
ครั้นถูกกระจายพ่ายพัง.................พลเสริดสั่งฤาอยู่
บ่เป็นหมู่เป็นการ........................โดยสารโสลกดั่งนี้
ชื่อว่าพลาญศัตรู”

กลยุทธ์นี้คือการปลุกใจกองทัพให้หึกเหิมกล้าหาญ พร้อมจะตะลุยฟาดฟันอริราชศัตรู การที่ทัพจะหึกเหิมกล้าหาญไม่กลัวตายได้นั้น ต้องมีผู้นำทัพที่เป็น“ทหารเสือ” กล้าบุกตะลุยนำทัพจึงจะชนะศึกได้ ทัพแกะที่มีราชสีห์นำ อาจชนะทัพราชสีห์ที่แกะนำได้ฉันใด แม้จะมีกองทัพที่อ่อนแอ แต่ถ้ามีแม่ทัพที่เข้มแข็งก็อาจเอาชนะศึกได้ฉันนั้น


กลยุทธ์ ๑๓ : กลชูพิษแสลง

“กลหนึ่งว่าชูพิษแสลง.......ข้าศึกแรงเรืองฤทธิ์
คิดไฝ่ภัยเอาเรา......................เคยเขามากมาก
ภาคที่แคบที่คับ......................สลับรี้พลช้างม้า
เคยคลาปล้นรุกราม.................ผลาญล่อลวงบ้านเมือง
เนืองเนืองมาเพื่อนตน...............ให้ใส่กลปราศรัย
ฝากของไปฝากรักษ์.................ลักลอบให้เงินทอง
รังวันปองขุนใหญ่....................หัวเมืองไพร่ข้าศึก
ให้ตรึกจงลับแล้ง....................แข่งอุบายเล่ห์คิด
ไปมาสนิทเป็นกล....................ให้เขาฉงนสนเท่ห์
เพราะเป็นเล่ห์ภายใน.................บ่ไว้ใจแก่กัน
ผันใจออกกินแหนง...................แยงให้ผิดด้วยกัน
ชูพิษผันแปรพิษ......................ให้ผิดกันเองโจกเจก
บ่เป็นเอกใจเดียว......................บ่เป็นเกี่ยวเป็นการ
เพราะพิษพลาญศัตรู.................กลศึกอันนี้
ชื่อว่าชูพิษแสลง”

กลยุทธ์นี้คือการยุแยงให้พันธมิตร ไม่ไว้ใจกัน ไม่ให้รวมตัวกันติด แล้วเข้าทำลาย และเข้ายึดครอง เป็นกลยุทธ์หลักที่มหาอำนาจตะวันตกชอบใช้ ในสมัยล่าอาณานิคม ให้แต่ละเผ่าแต่ละฝ่ายในประเทศผิดใจกัน ไม่ไว้ใจกันจนเป็นปัญหาสืบมาจนถึงปัจจุบัน ดังเช่นปัญหาอินเดีย-ปากีสถาน, ตะวันออกกลาง, และคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น



กลยุทธ์ ๑๔ : กลแข็งให้อ่อน

“กลหนึ่งแข็งให้อ่อน.......ผ่อนเมื่อศัตรูยก
ให้ดูบกดูน้ำ..........................ซ้ำดูเข้ายาพิษ
พินิจพิษจงแหลก....................ตัดไม้แบกเบื่อเมา
เอาไปทอดในน้ำ....................ทัพซ้ำหนามขวาก
แต่งจงมากท่าทาง..................วางจางห้าวแหลมเล่ห์
บ่อดานทางเข่าที่ขัน................กันหลายแห่งที่คับ
แต่งสนับไว้จ่อไฟ..................ไล่เผาคลอกป่าแขม
แนมหวากแนมห่วงน้ำข้าม........ตามเผาป่าแทบทัพ
ยับไม้เผาเป็นถ่าน..................หว่านไฟไว้รายเรียง
รอเผาเสบียงจงสิ้น.................อย่าให้กินเป็นอาหาร
แต่งคนชาญหลอกทัพ............ให้เสียหับเสียหาย
ทำลายคาบเนืองเนือง.............เปลืองเสบียงเปล่าเฉาแรง
กลเชื้อแข็งให้อ่อน”

กลยุทธ์นี้คือการทำให้ศัตรูอ่อนแรง โดยการล่อหลอกวางเล่ห์กล ทำขวากหนาม เผาทำลายค่ายเสบียง ให้ข้าศึกอ่อนแรง จนไม่มีศักยภาพพอในการทำศึกสงครามกับเรา


กลยุทธ์ ๑๕ : กลยอนภูเขา

“กลหนึ่งยอนภูเขา..........ข้าศึกเนาประชิ
ให้ริดูช่องชอบ........................ที่จะขอบจะขัง
แต่งระวังยักย้าย.....................ฝ่ายพลเขาเอาเสบียง
เรียงงานในเมืองเรา.................เอาใจไพร่ใจพล
คนอยู่ประจำการ.....................พนักงานใครใครรบ
แต่งบรรจบพลแล่น.................ให้ทำแกว่นชวนกัน
แต่งถลวงฟันบุกทัพ.................คอยฟังศัพย์สำคัญ
หาที่ยันที่อ้าง.........................เอาม้าช้างเป็นดิน
ปีนคูหักค่ายเข้า......................รบรุกเร้ารุมแทง
อย่าคลายแคลงพรายพรัด.........ตัดให้ม้วยด้วยกัน
ให้สำคัญจงแม่น.....................แล่นช้างม้าวางขวาก
เขาตามยากเอาเรา..................เท่าทิศที่ตนหมาย
ฆ่าให้ตายกลากลาด................ต้องบาดเจ็บป่วยการ
ศัตรูดาลระทด.......................ขดด้วยเสียงปืนไฟ
ในเมืองเร่งโห่ร้อง...................ให้มี่ก้องนิรนาท
มีปี่พาทย์เสียงสรวญใน............ชมชื่นใจขับรำ
ซ้ำทะนงองอาจ......................ปืนไฟพาดประนัง
กลชื่อพังภูเขา”

ชื่อของกลยุทธ์นี้อาจทำให้สับสน เพราะขึ้นต้นด้วย “ ยอนภูเขา” แต่กลับจบด้วย “ พังภูเขา” อาจเป็นเพราะหาคำสัมผัสไม่ได้ ใจความสำคัญอยู่ที่ “ ฝ่ายพลเขาเอาเสบียง เรียงงานในเมืองเรา” คือรู้ว่าข้าศึกส่งสายสืบเข้ามาในทัพเรา เราแสร้งทำเป็นไม่รู้แต่ซ้อนกลใช้สายนั้นให้ ส่งข่าวที่ผิดๆ หลอกล่อฝ่ายข้าศึกเป็นการ “ยอน หรือ ย้อนรอย” ให้ข้าศึกสูญเสียในที่สุด นอกจากนี้ยังต้องคอยระวังรักษาป้องกัน อย่าให้ข้าศึกบุกรุกเข้ามาได้


กลยุทธ์ ๑๖ : กลเย้าให้ผอม

“กลหนึ่งเย้าให้ผอมนั้น..........บั้นเมื่อให้เธอลีลา
พาธาอธิราช ...............................ให้พินาศศัตรู
หมั่นตรวจดูกำลัง..........................ช้างม้าทั้งรี้พล
ปรนกันพลัดไปลาด.......................ผาดจู่เอาแต่ได้
หนังสือไว้หมายหมก......................ว่าจะยกพลหลวง
ลวงใส่กลเป็นเขต..........................ดูในเทศการ
ให้ป่วยงานทำนา........................... แสงตรวจตราพลแกล้ว
แล้วคลายพลเราเสีย.......................เยียกลเมฆมืดฝน
ฝนไป่ตกตรนกอางขนาง..................ให้แผ้วถางแสร้งทำ
คคึกคำแรงรณ...............................ครั้นหลงกลยกเล่า
ลากพลเข้าเนืองเนือง......................แยงให้เปลืองไปมา
ดุจกลกาลักไข่...............................จะไล่ก็ไล่มิทัน
วันคืนปีป่วยการ..............................ข้าศึกต้านยืนอยาก
ให้ข้าวยากหมากแพง.......................สิ่งเป็นแรงให้แรงถอย
ร่อยรอนไข้ใจหิว.............................ตีนมือปลิวพลัดพราย
ไพร่หนีนายนายเปลี่ยว.....................บ่เป็นเรี่ยวเป็นแรง
ใครใครแข็งมิได้.............................ใครใครไม่มีลาภ
ถ้ารูปงามเสาวภาพย์ก็จะเศร้า..............กลอุบายนี้เล่า
ชื่อว่าเย้าให้ผอม”

กลยุทธ์นี้คือการนำกำลังทหารหน่วยย่อย ๆ เข้าตีรบกวนตามแนวชายแดน ให้ข้าศึกต้องเตรียมทัพเข้าสกัดไม่มีเวลาหยุดพักเพราะไม่รู้กำลังพลเรา ทำให้ขวัญและกำลังใจอ่อนด้อยลง ต้องเกณท์ทหารจัดทัพทั้งปีไม่มีเวลาทำไร่ไถนา เตรียมเสบียง เมื่อขวัญและกำลังข้าศึกอ่อนล้าเต็มที่แล้ว จึงค่อยเคลื่อนทัพใหญ่เข้าเผด็จศึก



กลยุทธ์ ๑๗ : กลจอมปราสาท

“กลหนึ่งชื่อจอมปราสาท..........องอาจมุ่งมาทดู
คูหอคอยเวียงวัง.............................ตั้งไชยภุมจงผับ
รู้ตั้งทัพพระพลาไชย.......................อย่าได้ไหวได้หวั่น
หมั่นดูฉบับธรรมเนียม......................เตรียมปูนปันเป็นกอง
น่าหลังสองตราบข้าง.......................รอบไว้ช้างม้ารถ
ห้วยธารคดโยธา.............................ให้รักษาจงรอบ
ทุกคันขอบนอกใน..........................อย่าได้ไหวปั่นป่วน
อย่าได้ด่วนคอยฟัง.........................คอยดูหลังดูน่า
จัดช้างม้ารี้พล................................ปรนกันกินกันนอน
อย่ายอหย่อนอุตส่าห์.......................ให้หมั่นว่าหมั่นตรวจตรา
ทังกะลากะแลงแกง.........................อย่าได้แฝงนายไพร่
ภัยรักษาจงมาก..............................อย่าให้ยากใจพล
อย่าทำกลดุจเสือ............................บกเรือจงชำนาญ
ชาญทั้งที่โดยกระบวน......................คิดควรรู้จงผับ
นับหน้าดูผู้อาสา..............................หาคนดีเป็นเพื่อน
อย่าเลื่อนถ้อยให้เสียคำ....................ทำอันใดโดยศาสตร์
ตามฉบับราชโบราณ.........................กระทำการให้รอมชอม
กลศึกอันนี้ชื่อว่าจอมปราสาท”

กลยุทธ์นี้ท่านให้รู้จักจัดทัพ วางค่ายกล ให้รู้ว่าภูมิประเทศแบบไหนควรตั้งทัพอย่างไร จึงจะได้ชัย นอกจากนี้ท่านสอนให้รู้จักดูลักษณะของผู้ที่จะเป็นแม่ทัพไปทำศึก ให้เลือกคนที่เหมาะสมกับหน้าที่นั้นๆ ถ้าเลือกแม่ทัพผิดก็เตรียมใจแพ้ได้เลย


กลยุทธ์ ๑๘ : กลราชปัญญา

“กลหนึ่งชื่อว่าราชปัญญา..........พร้อมเสนาทั้งสองข้าง
ช้างม้ารถเสมอกัน...........................หานักธรรม์ผู้ฉลาด
อาจใส่กลไปปลอม..........................ด้อมดูที่ดูทาง
วางต้นหนคนใช้..............................ไว้กังวลแก่เขา
เอาสินให้หฤหรรษ์...........................ให้คิดผันใจออก
ทั้งภายนอกภายใน..........................หวั่นไหวใจไปมา
แต่งโยธาหัดกัน..............................หลายหมู่พรรค์หลายกอง
จองนายหนึ่งไพร่สี่...........................ทวีนายหนึ่งไพร่หก
ยกนายหนึ่งไพร่เก้า..........................เคล้านายห้าจองพล
ซ้ายขวาพลหน้าหลัง.........................ทั้งอาวุธท่าทาง
ถอยพึงกางกันรบ.............................ทบท่าวอย่าหนีกัน
คอยยืนยันรบพลาง..........................ใส่ยาวางเรียเด็ก
นายไพร่เล็ดลอดตาม.......................ให้ฟังความสั่งสำคัญ
ฆ้องกลองพลันธงไชย......................กดให้ไล่ให้หนี
ลีลาลาดศึกเข้า...............................ในพลเคล้าเป็นกล
สองกองพลซ้ายขวา.........................ดูมรรคาชอบกล
เอาพลตั้งสองข้าง............................กองกลางง้างพลถอย
ศึกตามลอยแล่นไล่..........................ครั้นศึกไปล่ออกข้าง
คอยดูช้างดูม้า................................ ดูทวยค้ารี้พล
สบสกลโดยสำคัญ............................จึ่งกระทบกันเข้ารบ
สบสำเหนียกเสียกสา.........................อย่าให้คลาให้คลาด
ผาดเอาคงเอาวัน..............................หยิบเอาพลันจงได้
ไว้กำหนดนายกอง............................ช่างปองปูนจงสลับ
นับอ่านเร่งตรวจตรา...........................กลศึกอันนี้ชื่อว่า
กลราชปัญญา”

ถ้าทัพทั้งสองฝ่ายมีกำลังพอกัน มีแม่ทัพที่มีความสามารถพอกัน ท่านให้ใช้กลราชปัญญาเอาชัยกล่าวคือ การใช้สายลับจารชน ซึ่งสมัยก่อนนิยมใช้ผู้ทรงศีลสูงวัยเนื่องจากเป็นที่เคารพเกรงใจของเหล่าขุน พลฝ่ายตรงข้าม ให้เข้าไปยุแหย่ให้แตกแยก ไปให้สินบนต่างๆนานา และล้วงความลับต่างๆ



กลยุทธ์ ๑๙ : กลฟ้าสนั่นสียง

“กลชื่อฟ้าสนั่นเสียง..........เรียงพลพยุหกำหนด
กดประกาศถึงตาย.....................หมายให้รู้ถ้วนตน
ปรนปันงานณรงค์......................ยวดยงกล่าวองอาจ
ผาดกำหนดกดตรา....................ยามล่าอย่าลืมตน
ทำยุบลสีหนารท.......................ดุจฟ้าฟาดแสงสาย
สำแดงการรุกรัน.......................ปล้นปลอมเอาชิงช่อง
ลวงเอาบุรีราชเสมา....................ตรารางวัลเงินทอง
ปองผ้าผ่อนแพรพรรณ................ยศอนันต์ผายผูก
ไว้ชั่วลูกชั่วหลาน.......................การช้างม้าพลหาญ
ใช้ชำนาญการรบ.......................สบได้แก้จงรอดราษฏร์
ดุจฟ้าฟาดเผาผลาญ...................แต่งทหารรั้งรายเรียง
เสียงคะเครงคะคร้าน..................ทังพื้นป่าคะครัน
สนั่นฆ้องกลองไชย....................สรในสรรพแตรสังข์
กระดึงดังฉานฉ่า........................ง่อนงาช้างรายเรียง
เสียงบรรณพาคร้านครั่น...............กล่าวกลศึกนั้น

ชื่อฟ้าสนั่นเสียง”

กลยุทธ์ฟ้าสนั่นเสียงคือ การใช้กำลังทางทหาร บุกตะลุยรวดเร็วอย่างฉับพลัน ใช้ฆ้องกลองแตรสร้างเสียงข่มขวัญข้าศึก ทำให้ไม่มีกำลังใจที่จะต่อกรกับเรา ประดุจเราตกใจกลัวเสียงฟ้าร้อง



กลยุทธ์ ๒๐ : กลเรียงหลักยืน

“กลศึกชื่อเรียงหลักยืน..........ให้ชมชื่นรุกราน
ผลาญให้ครอบทั่วพัน....................ผันเอาใจให้ชื่น
หื่นสร้างไร่สร้างนา.......................หาปลาล่วงแดนต่าง
โพนเลื่อนช้างล่วงแดนเขา..............เอาเป็นพี่เป็นน้อง
พร้องตั้งค่ายตั้งเวียง.....................บ้านถิ่นเรียงรายมั่น
เร่งกระชั้นเข้ารียงราย...................เกาะเอานายเอาไพร่
ไว้ใจกายใจถึง............................ระวังพึงจงให้
ใส่ไคร้เอาเป็นเพื่อน.....................ใครแข็งกล่นเกลื่อนเสีย
ให้เมียผูกรัดรึง............................ให้เป็นจึ่งม่ามสาย
รายรอบเอาจงมั่น.........................จงเอาชั้นเป็นกล
กลให้เขาลอบลัน.........................ปล้นบ้านถิ่นเถื่อนไปมา
ระวาเพศแทบเวียง........................กลศึกอันนี้ชื่อว่าเรียงหลักยืน”

กลยุทธ์นี้คือการค่อยขยายอำนาจอย่างใจเย็น ค่อย ๆ รุกรานเข้าชิงพื้นที่ทีละนิด แล้วส่งคนของเราเข้ามาสร้างความคุ้นเคยอยู่อาศัย แต่งงานอยู่กินจนกลายเป็นพวกเราเลย


กลยุทธ์ ๒๑ : กลปืนพระราม

“กลชื่อว่าปืนพระราม..........ว่าอย่ามีความโกรธขึ้ง
ทรอึงใจหนักพฤกษ์.....................สำแดงศึกใหญ่มา
พาธาจงคอยฟัง..........................ให้ระวังถอยแกล้ง
แม่นอย่าแอ่วแวนไว้....................ได้แล้วกลับคืนรอด
ริรอบปลอดมีชัย.........................หวั่นไหวใจศัตรู
ดูสนั่นใจเศร้า.............................ให้พระยศเจ้ารุ่งเรือง
เลื่องลือเดชหาญห้าว....................ทุกทั่วท้าวเกรงขาม
ชื่อปืนพระรามสำเร็จ.....................ยี่สิบเอ็ดกลณรงค์
ด้วยประสงค์ดั่งนี้”

มาถึงกลยุทธ์สุดท้าย กลยุทธ์นี้ใจความอยู่ที่ “สำแดงศึกใหญ่มา พาธาจงคอยฟัง ให้ระวังถอยแกล้ง” ก็คือให้รู้จักถอย เมื่อข้าศึกมีกำลังพลมหาศาลเกินกว่าที่จะเอาชนะได้ ต้องรู้จักถอย
*
*
*
เขียนโดย VikingsX ที่ 20:44
http://vikingsx.blogspot.com/2010/01/21.html


ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้